- การแข่งขันแอพพิไทเซอร์ แฮกกาธอน ซึ่งจัดขึ้นเป็นปีที่สอง ปิดฉากลงอย่างสวยงามด้วยพิธีมอบรางวัล
- มีการพัฒนาแบบจำลองธุรกิจที่โดดเด่นหลายรายการ โดยใช้ API ชั้นเยี่ยมของเกาหลีใต้
การแข่งขันแฮกกาธอนออนไลน์ระดับโลก แอพพิไทเซอร์ แฮกกาธอน ประจำปี 2565 (APPETIZER HACKATHON 2022) ซึ่งกระทรวงเอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพ (Ministry of SMEs and Startups) และมูลนิธิเพื่อความร่วมมือของธุรกิจขนาดใหญ่และขนาดย่อมและกิจการชนบทแห่งเกาหลี (Korea Foundation for Cooperation of Large & Small Businesses, Rural Affairs) เป็นเจ้าภาพ จัดโดยเนเวอร์ คลาวด์ (NAVER Cloud) และสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เกาหลี (Korea Software Industry Association) ได้ปิดฉากลงหลังการแข่งขันต่อเนื่องราวหกสัปดาห์ โดยมีพิธีมอบรางวัลในรอบชิงชนะเลิศเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายนที่ผ่านมา
ปีนี้เป็นปีที่สองของการแข่งขันแอพพิไทเซอร์ แฮกกาธอน และมีทีมเข้าร่วมประมาณ 30 ทีม ประกอบด้วย นักพัฒนาในเกาหลีใต้ บริษัทสตาร์ทอัพ และนักศึกษามหาวิทยาลัยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยแต่ละทีมได้เลือกใช้ API ชั้นเยี่ยมจากบริษัท API สิบแห่งในเกาหลีใต้เพื่อพัฒนาแบบจำลองธุรกิจต่าง ๆ
คณะกรรมการซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้าน API ได้ทำการจัดอันดับ 8 ทีมที่เข้ารอบสุดท้าย โดยตัดสินจากการนำเสนอในรอบชิงชนะเลิศ ซึ่งผลปรากฏว่าทีมบรูสเคตตา (Bruschetta) ของนักศึกษาจากอินโดนีเซียเป็นผู้ชนะการแข่งขันแฮกกาธอนระดับโลกในครั้งนี้ และได้รับรางวัลใหญ่มูลค่า 5,000 ดอลลาร์สหรัฐ
ทีมบรูสเคตตา ผู้คว้ารางวัลชนะเลิศในการแข่งขันประจำปีนี้ เลือกใช้ API บริหารจัดการสมาชิกจากสเต็ปเพย์ (STEPPAY) เป็น API หลัก และใช้แลงโค้ด ซีเอ็กซ์พี (Langcode CXP) ซึ่งเป็นปัญญาประดิษฐ์ที่สร้างคำถามและคำตอบอย่างเฉพาะเจาะจงเป็น API รอง เพื่อพัฒนาบริการชื่อว่า "สมีมส์" (SMEEMS) ที่ช่วยให้ลูกค้าสามารถจัดการสมาชิกในส่วนของค่าบริการได้ภายในคลิกเดียว โดยคาดว่าจะมอบความสะดวกสบายให้กับลูกค้าด้วยฟังก์ชันแชตบ็อตและโซลูชันคลิกเดียว พร้อมทั้งช่วยเพิ่มยอดขายและเพิ่มการรับรู้ของแบรนด์สำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
ทีมคุกกี้ (COOKIE) ผู้คว้าอันดับสองในปีนี้ เลือกใช้ API ยูไซน์ (USIGN) ซึ่งเป็นโซลูชันลายมือชื่อดิจิทัลมาตรฐานระหว่างประเทศจากโคเรีย คอร์ปอเรชัน ซีเคียวริตี้ (Korea Corporation Security หรือ KCS) เพื่อพัฒนาแอปที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม "สไวป์" (SWIPE) ซึ่งช่วยให้องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรและผู้ใช้สามารถรายงานปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมโดยไม่ต้องใช้เอกสารอื่น โดยได้รับเสียงตอบรับเชิงบวกอย่างท่วมท้น ขณะที่ทีมโค้ดเดอร์ (CODER) ผู้คว้าอันดับสองร่วม เลือกใช้ API พีแคนพาย (Pcanpi) จากดาต้า บี (Data B) ผู้ให้บริการตรวจแก้ภาษาอังกฤษอัตโนมัติ เพื่อพัฒนา "คิดส์ลิงโก" (KIDSLINGO) ของเล่นสำหรับเด็กที่สามารถตรวจแก้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ ซึ่งได้รับความสนใจอย่างมาก
ทีมดีทูเอชดี (D2HD) ผู้คว้าอันดับสามร่วม เลือกใช้ API ดึงข้อมูลจากทวิตเตอร์แบบเรียลไทม์ของแฮช สเครเปอร์ (Hash Scraper) เพื่อพัฒนา "เก็ตโกอิง" (Getgoing) บริการสืบค้นข้อมูลสำหรับบริษัทขนาดกลางและขนาดย่อม ขณะที่ทีมซันซัน เทค (SanSan Tech) ได้พัฒนาผู้ช่วยดิจิทัล "อีฟ" (EVE) โดยใช้ API ดึงข้อมูลตลาดระดับโลกของลามี โซลูชัน (Lamy Solution) และแลงโค้ด ซีเอ็กซ์พี ซึ่งได้รับความสนใจเช่นเดียวกัน ส่วนทางด้าน "เวจวอลต์" (VegVault) บริการสั่งอาหารที่ช่วยให้พนักงานบริษัทสามารถบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพไปพร้อมกับรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งพัฒนาโดยใช้ API อีโคลูป (EcoLoop) จากฮานา ลูป (Hana Loop) และ API บริหารจัดการสมาชิกจากสเต็ปเพย์ ก็ดึงดูดความสนใจเช่นกัน
ทีมที่คว้ารางวัลชนะเลิศในการแข่งขันแฮกกาธอนครั้งนี้ได้รับรางวัล 5,000 ดอลลาร์สหรัฐ ส่วนทีมที่คว้าอันดับสองจำนวนสองทีมได้รับรางวัลทีมละ 3,000 ดอลลาร์สหรัฐ และทีมที่คว้าอันดับสามจำนวนห้าทีมได้รับรางวัลทีมละ 1,000 ดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ ทุกทีมที่เข้าร่วมการแข่งขันแฮกกาธอนตั้งแต่ต้นจนจบยังได้รับเงินรางวัล 500 ดอลลาร์สหรัฐ
การแข่งขันแอพพิไทเซอร์ แฮกกาธอน ประจำปี 2565 จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมและดึงดูดผู้ใช้ในตลาด API ทั่วโลก และเป็นเวทีนำเสนอ API ชั้นเยี่ยมของเกาหลีใต้สู่ตลาดโลก ผู้ที่สนใจสามารถสัมผัส API ชั้นเยี่ยมจากเกาหลีใต้ได้ที่ https://www.appetizer.kr
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/1974279/image01.jpg