"อจิลิตี้" เผยผลสำรวจผู้บริหารสายโลจิสติกส์ พบส่วนใหญ่มองเศรษฐกิจ "น่าจะ" ถดถอย หรือถดถอย "แน่นอน" ในปี 2566

ข่าวทั่วไป Tuesday February 7, 2023 14:03 —ข่าวประชาสัมพันธ์พีอาร์นิวส์ไวร์

ผู้บริหารส่วนใหญ่ยังคงมุ่งมั่นต่อเป้าหมายสุทธิเป็นศูนย์ ตลาดเกิดใหม่วางแผนรับมือแม้แนวโน้มไม่สดใส

ผู้บริหารสายโลจิสติกส์เกือบ 70% ทั่วโลกมองว่า ตนกำลังเตรียมพร้อมรับมือภาวะเศรษฐกิจถดถอยในยามที่ต้นทุนสูงขึ้น อุปสงค์ชะลอตัว และการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานอันเป็นผลจากการที่จีนพยายามคุมโควิด สงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน และผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

90% จากผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมทั้งหมด 750 รายที่ตอบแบบสำรวจประกอบการจัดทำดัชนีโลจิสติกส์ตลาดเกิดใหม่ประจำปี 2566 ของอจิลิตี้ (2023 Agility Emerging Markets Logistics Index) ยังกล่าวว่าค่าขนส่ง การจัดเก็บ และค่าโลจิสติกส์อื่น ๆ ยังคงสูงกว่าระดับก่อนเกิดโรคระบาดในช่วงต้นปี 2563

"ผู้ให้บริการและผู้ส่งสินค้าต่างรู้สึกถึงผลกระทบเมื่อราคาพลังงานสูงขึ้น ตลาดแรงงานตึงตัว และเงินเฟ้อครอบคลุมกว้างขึ้น แม้อัตราค่าระวางจะลดลงและท่าเรือต่าง ๆ ได้เคลียร์สินค้าค้างส่งแล้ว" ทาเรก สุลต่าน (Tarek Sultan) รองประธานบริษัทอจิลิตี้ (Agility) กล่าว "สามปีหลังจากที่โรคเริ่มระบาด ซัพพลายเชนยังคงมีความผันผวนอยู่มาก ขณะนี้ก็เกิดความไม่แน่นอน เมื่อผู้บริโภคและภาคธุรกิจลดการใช้จ่ายและจ้างงานลง"

การสำรวจความคิดเห็นและดัชนีดังกล่าวสะท้อนภาพรวมความเชื่อมั่นในอุตสาหกรรมและจัดอันดับตลาดเกิดใหม่ชั้นนำ 50 แห่งของโลก ซึ่งอจิลิตี้ดำเนินการมาเป็นปีที่ 14 แล้ว ดัชนีนี้จัดอันดับประเทศต่าง ๆ ตามความสามารถในการแข่งขันในภาพรวม โดยพิจารณาจากจุดแข็งด้านโลจิสติกส์ บรรยากาศทางธุรกิจ และความพร้อมด้านดิจิทัล ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้ประเทศเหล่านี้มีความน่าสนใจสำหรับผู้ให้บริการโลจิสติกส์ บริษัทขนส่งสินค้า ผู้ให้บริการขนส่งทางอากาศและทางทะเล ผู้กระจายสินค้า และนักลงทุน

จีนและอินเดีย ซึ่งเป็นสองประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก ครองอันดับที่ 1 และ 2 ในการจัดอันดับโดยรวม ตามมาด้วยสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ซาอุดีอาระเบีย กาตาร์ ไทย เม็กซิโก และเวียดนามใน 10 อันดับแรก ส่วนตุรกี ซึ่งอยู่ที่อันดับ 10 ในปี 2565 หล่นมาอยู่ที่ 11 สำหรับอันดับที่อย่าง 24 แอฟริกาใต้ และ 25 เคนยา ได้อันดับสูงสุดในกลุ่มประเทศแอฟริกาใต้สะฮารา

ประเทศแถบอ่าวอาหรับ ได้แก่ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กาตาร์ ซาอุดีอาระเบีย และโอมาน เสนอเงื่อนไขทางธุรกิจที่ดีที่สุดอีกครั้ง ส่วนมาเลเซียซึ่งมีสภาพแวดล้อมที่ดีที่สุดสำหรับธุรกิจเป็นอันดับที่ 4 เป็นประเทศนอกอ่าวเพียงแห่งเดียวใน 5 อันดับแรก

จีนและอินเดียเป็นผู้นำด้านโลจิสติกส์ในประเทศและระหว่างประเทศ โดยอินเดียพุ่งขึ้นสี่อันดับสู่อันดับ 1 ในด้านความพร้อมด้านดิจิทัล ตามมาด้วยสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ จีน มาเลเซีย และกาตาร์

ยิ่งไปกว่านั้น การจัดอันดับครั้งนี้มีความผันผวนมากกว่าดัชนีปีก่อน ๆ โดยความขัดแย้ง การคว่ำบาตร ความวุ่นวายทางการเมือง ข้อผิดพลาดทางเศรษฐกิจ และผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิดที่มีมาต่อเนื่อง ทำให้ความสามารถในการแข่งขันของยูเครน อิหร่าน รัสเซีย โคลอมเบีย ปารากวัย และประเทศอื่น ๆ เสียหาย อย่างไรก็ดี บังกลาเทศ ปากีสถาน จอร์แดน ศรีลังกา และกานา อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีความก้าวหน้าในบางหมวด

ไฮไลท์ประจำดัชนีปี 2566

แบบสำรวจ

  • ความมุ่งมั่นต่อเป้าหมายสุทธิเป็นศูนย์ - ผู้บริหารด้านโลจิสติกส์ 53% กล่าวว่า บริษัทของพวกเขามุ่งมั่นที่จะปล่อยมลพิษสุทธิเป็นศูนย์ และอีก 6.1% กล่าวว่าธุรกิจของพวกเขาบรรลุเป้าหมายสุทธิเป็นศูนย์แล้ว
  • การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ - ผู้บริหารครึ่งหนึ่งกล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นเรื่องที่ธุรกิจของพวกเขาต้องวางแผนรับมือ ในขณะที่อีก 18% กล่าวว่าพวกเขาได้รับผลกระทบแล้ว
  • ตลาดเกิดใหม่ - ผู้บริหาร 55% กล่าวว่า พวกเขาจะรุกมากขึ้นในการขยายตลาดและลงทุนในตลาดเกิดใหม่ หรือวางแผนที่มีอยู่ไว้ตามเดิม แม้จะมีความกังวลว่าจะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย
  • การรับจัดส่งสินค้าโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล - ผู้ตอบแบบสอบถามกล่าวว่า ข้อได้เปรียบที่สำคัญที่สุดคือการติดตามและการมองเห็นที่ดีขึ้น ส่วนข้อเสียที่สำคัญที่สุดคือการจัดการข้อผิดพลาด/ข้อยกเว้น
  • ยูเครน - ผู้บริหาร 97% ระบุว่า ธุรกิจของพวกเขาได้รับผลกระทบจากต้นทุนที่สูงขึ้นหรือความท้าทายด้านห่วงโซ่อุปทานอื่น ๆ อันเป็นผลมาจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครน
  • จีน - ผู้บริหารในการสำรวจครั้งนี้มีความคิดเห็นแตกต่างเป็นสองฝั่งพอ ๆ กัน ระหว่างฝ่ายที่วางแผนลดการพึ่งพาการจัดหาจากจีน กับฝ่ายที่วางแผนจะขยายธุรกิจในจีน แต่มีเพียง 11% ของผู้ตอบแบบสอบถามที่กล่าวว่าฐานการผลิตของตนยังเหมือนกับช่วงก่อนเกิดโควิด
  • เศรษฐกิจแถบอ่าว - นวัตกรรม เทคโนโลยี และเงื่อนไขที่ดีสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก ถูกมองว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการลดการพึ่งพาน้ำมันและก๊าซของประเทศแถบอ่าวอาหรับ
  • แอฟริกา - ผู้บริหารสายโลจิสติกส์มองว่า ข้อตกลงการค้าเสรีภาคพื้นทวีปแอฟริกา (AfCTA) เป็นประโยชน์อย่างมากต่อแอฟริกา แม้จะดำเนินการได้ช้าก็ตาม

การจัดอันดับประเทศ

  • ในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ อันดับโดยรวม ได้แก่ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (3) ซาอุดีอาระเบีย (6) กาตาร์ (7) ตุรกี (11) โอมาน (12) บาห์เรน (14) คูเวต (15) จอร์แดน (16) โมร็อกโก (20) อียิปต์ (21) ตูนิเซีย (32) เลบานอน (33) อิหร่าน (36) แอลจีเรีย (41) ลิเบีย (50)
  • อันดับในแอฟริกาใต้สะฮารา ได้แก่ แอฟริกาใต้ (24) เคนยา (25) กานา (29) ไนจีเรีย (34) แทนซาเนีย (37) ยูกันดา (43) เอธิโอเปีย (45) โมซัมบิก (46) แองโกลา (48)
  • อันดับดัชนีโดยรวมในเอเชีย ได้แก่ จีน (1) อินเดีย (2) มาเลเซีย (4) อินโดนีเซีย (5) ไทย (8) เวียดนาม (10) ฟิลิปปินส์ (18) คาซัคสถาน (22) ปากีสถาน (26) ศรีลังกา (30) บังคลาเทศ (35) กัมพูชา (38) เมียนมาร์ (49)
  • อันดับในลาตินอเมริกา ได้แก่ เม็กซิโก (9) ชิลี (13) บราซิล (19) อุรุกวัย (23) เปรู (27) โคลอมเบีย (28) อาร์เจนตินา (31) เอกวาดอร์ (39) ปารากวัย (40) โบลิเวีย (44) เวเนซุเอลา (47)
  • ในยุโรป ได้แก่ รัสเซีย (17) ยูเครน (42)

ทรานสปอร์ต อินเทลลิเจนซ์ (Transport Intelligence หรือ Ti) บริษัทวิเคราะห์และวิจัยชั้นนำสำหรับอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ เป็นผู้จัดทำดัชนีดังกล่าวนับตั้งแต่ที่เปิดตัวเมื่อปี 2552

จอห์น แมนเนอร์ส-เบลล์ (John Manners-Bell) ประธานบริหารของทรานสปอร์ต อินเทลลิเจนซ์ กล่าวว่า "ความท้าทายที่ประเทศตลาดเกิดใหม่เผชิญในช่วงสองสามปีที่ผ่านมานั้นเป็นเรื่องที่กล่าวเกินจริงไม่ได้ ความตึงเครียดด้านภูมิรัฐศาสตร์ประกอบกับความไม่แน่นอนทางการเงินและผลกระทบที่ยืดเยื้อของการระบาดใหญ่ ได้สร้างสภาพแวดล้อมทางธุรกิจและการลงทุนที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น บทบาทของดัชนีโลจิสติกส์ตลาดเกิดใหม่จากอจิลิตี้ในการให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับภูมิทัศน์ของสภาพแวดล้อมที่ผันผวนและไม่แน่นอนนั้น มีความสำคัญมากกว่าที่เคยเป็นมา"

ดูดัชนีผลสำรวจโลจิสติกส์ในตลาดเกิดใหม่ประจำปี 2566 ของอจิลิตี้ได้ที่ agility.com/2023Index

เกี่ยวกับอจิลิตี้

อจิลิตี้ (Agility) เป็นผู้นำด้านบริการซัพพลายเชน โครงสร้างพื้นฐาน และนวัตกรรมระดับโลก ตลอดจนเป็นผู้บุกเบิกในตลาดเกิดใหม่ อจิลิตี้ดำเนินหลายธุรกิจ โดยประกอบด้วยธุรกิจเขตโลจิสติกส์ ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทเอกชนรายใหญ่ที่สุดที่เป็นเจ้าของคลังสินค้าและนิคมอุตสาหกรรมในตะวันออกกลางและแอฟริกา รวมถึงบริษัทผู้ให้บริการด้านการบิน, ธุรกิจโลจิสติกส์เชื้อเพลิงเหลว ตลอดจนบริษัทต่าง ๆ ที่ส่งมอบบริการระบบศุลกากรดิจิทัล, บริการโครงสร้างพื้นฐานทางไกล, การสนับสนุนด้านอีคอมเมิร์ซและดิจิทัลโลจิสติกส์ และการจัดการอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์และสถานประกอบการ นอกจากนี้ อจิลิตี้ยังเป็นผู้ลงทุนในนวัตกรรม ความยั่งยืน และความยืดหยุ่น รวมถึงมีพันธมิตรด้านการลงทุนทั้งที่อยู่ในและนอกตลาดหลักทรัพย์ในภาคธุรกิจต่าง ๆ ที่ต้องการพลิกโฉมอุตสาหกรรมของตน

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอจิลิตี้ได้ที่

เว็บไซต์ :  www.agility.com   
ทวิตเตอร์: twitter.com/agility 
ลิงด์อิน: linkedin.com/company/agility
ยูทูบ: youtube.com/user/agilitycorp

รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/1994924/Agility.jpg
โลโก้ - https://mma.prnewswire.com/media/1739997/Agility_Logo.jpg 


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ