วันป่าไม้โลก (International Day of Forests) เมื่อวันที่ 21 มีนาคมในปีนี้มีหัวข้อหลักเรื่อง 'ป่าไม้และสุขภาพ' โดยเรียกร้องให้มนุษยชาติพิจารณาความสัมพันธ์ที่มีต่อผืนป่าบนโลก และผลกระทบโดยตรงต่อการมีอายุยืนและความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์
หลายคนคุ้นเคยกับคำเปรียบเปรยที่ว่าป่าไม้เป็นปอดของโลก ช่วยฟอกอากาศให้บริสุทธิ์และทำหน้าที่เป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนที่สำคัญ ซึ่งช่วยลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อย่างไรก็ตาม น้อยคนนักที่จะตระหนักถึงความเชื่อมโยงที่แท้จริงที่ป่าไม้มีต่อสุขภาพประจำวันของเรา
รู้หรือไม่?
นอกจากจะทำหน้าที่เป็นปอดของโลกแล้ว ป่าไม้ยังเป็นร้านขายยาและแหล่งอาหารของธรรมชาติอีกด้วย
ป่าไม้ใช้ทำเป็นยาแผนตะวันตกประมาณ 25% โดยมีพืชมากกว่า 50,000 ชนิดที่เป็นส่วนประกอบของยาแผนปัจจุบัน และการศึกษาใน 27 ประเทศในแอฟริกาแสดงให้เห็นว่าเด็ก ๆ ที่ได้สัมผัสกับป่ามีความหลากหลายทางอาหารมากขึ้น 25% เนื่องจากมีผักผลไม้ เนื้อสัตว์ป่า ปลา และน้ำมันที่บริโภคได้อยู่มากมาย
อย่างไรก็ดี แนวโน้มสถานการณ์สำหรับป่าไม้นั้นน่ากังวลอย่างยิ่ง โดยโลกสูญเสียพื้นที่ป่าไปแล้วประมาณ 35% ส่วน 82% ของพื้นที่ป่าที่เหลือนั้นอยู่ในสภาพเสื่อมโทรม
เพื่อปกป้องป่าจากภัยคุกคามที่ลุกลามเป็นวงกว้างนี้ เราจึงต้องยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือในระยะยาวอย่างเต็มที่
เรื่องราวของการปกป้องผืนป่า
วิธีหนึ่งที่เทคโนโลยีใช้ปกป้องระบบนิเวศของป่าไม้คือการป้องกันการลักลอบตัดไม้ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 90% ของกิจกรรมการทำไม้ทั้งหมด และเป็นตัวการสำคัญของการตัดไม้ทำลายป่าทั่วโลก
ในอุทยานแห่งชาติซิมิลาจาว (Similajau National Park) ในรัฐซาราวักของมาเลเซีย เรากำลังทำงานร่วมกับกรมป่าไม้ซาราวัก (Sarawak Forest Department) และบรรษัทการป่าไม้ซาราวัก (Sarawak Forestry Corporation) เพื่อให้รัฐบาลซาราวักสามารถปกป้องดูแลป่าฝนที่มีอยู่ได้ อุทยานแห่งชาตินี้ไม่เพียงแต่อุดมไปด้วยความหลากหลายทางชีวภาพเท่านั้น แต่ยังเป็นแหล่งยาและอาหารที่ยั่งยืนสำหรับคนในท้องถิ่นอีกด้วย ซึ่งหลายคนพึ่งพาป่าในการดำรงชีวิต
อย่างไรก็ตาม การลักลอบตัดไม้ยังคงเป็นภัยคุกคามหลัก ที่ก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศป่าฝนและการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพเป็นวงกว้าง
แต่ตอนนี้ยังมีความหวัง อุปกรณ์ตรวจจับเสียง 'การ์เดียน' (Guardian) สามารถตรวจจับเสียงของรถบรรทุกและเลื่อยยนต์ที่ใช้ในการลักลอบตัดไม้ได้ โดยการ์เดียนแต่ละเครื่องสามารถครอบคลุมพื้นที่ 7 กม. และส่งการแจ้งเตือนบนเครือข่ายแบบเรียลไทม์ผ่านแพลตฟอร์มคลาวด์ไปยังโทรศัพท์ของเจ้าหน้าที่อุทยาน ทำให้มีการเข้าไปขัดขวางได้ทันท่วงที
นอกจากนี้ เทคโนโลยีการตรวจจับภาพและเสียงและการวิเคราะห์ด้วย AI ยังสามารถช่วยตรวจตราดูแลสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ผ่านการส่งเสียงร้องของพวกมัน การติดตามจำนวนประชากรและการกระจายตัวของสัตว์ป่าทำให้นักอนุรักษ์สามารถพัฒนามาตรการอนุรักษ์ที่แม่นยำได้ โดยเฉพาะสัตว์ในสปีชีส์ค้ำจุน (umbrella species) ความเป็นอยู่ที่ดีของสัตว์กลุ่มนี้มีความสำคัญต่อสุขภาพของระบบนิเวศป่าไม้ที่พวกมันอาศัยอยู่ ตัวอย่างของโครงการตรวจสอบความหลากหลายทางชีวภาพที่มุ่งเป้าไปที่สัตว์ในสปีชีส์ค้ำจุนนี้ ได้แก่ สุนัขจิ้งจอกดาร์วินในชิลี และเสือจากัวร์ในเขตสงวนพันธุ์สัตว์ป่าซิลาม (Dzilam State Reserve) ของเม็กซิโก
เทคโนโลยียังสามารถกระตุ้นการอนุรักษ์อย่างชาญฉลาดในพื้นที่ป่าได้อีกด้วย โดยในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โครงการนำร่องเทคฟอร์เนเจอร์ (Tech4Nature) ซึ่งร่วมกับองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) และมูลนิธิโปรินิ (Porini Foundation) ใช้บล็อกเชนเพื่อพัฒนาระบบติดตามการกักเก็บคาร์บอน เพื่อเพิ่มความโปร่งใสและการตรวจสอบย้อนกลับของธุรกรรมแหล่งกักเก็บคาร์บอนในป่า โดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้เครดิตเหล่านี้เป็นทุนสนับสนุนโครงการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพอื่น ๆ
ตัวอย่างข้างต้นคือโครงการปกป้องระบบนิเวศป่าไม้ภายใต้โครงการริเริ่มเทคฟอร์ออล (TECH4ALL) ของหัวเว่ย (Huawei) โซลูชันทางเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาร่วมกับพันธมิตรระดับโลก ประกอบด้วยอุปกรณ์ตรวจสอบภาพและเสียง เครือข่ายการสื่อสาร ระบบคลาวด์ และการวิเคราะห์ด้วย AI ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้สามารถทำให้การอนุรักษ์สำเร็จลุล่วงในแบบที่ไม่เคยทำได้เมื่อทศวรรษที่แล้ว
หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ชี้ให้เห็นความเกี่ยวข้องกันอย่างมากระหว่างสุขภาพของป่าและสุขภาพของมนุษย์ จึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องรักษาผืนป่าให้สมบูรณ์แข็งแรง ประสบการณ์ของเราแสดงให้เห็นว่าวิธีการนี้ได้ผล และความรู้ดังกล่าวผลักดันให้เราทำงานร่วมกับพันธมิตรต่อไป เพื่อช่วยสร้างอนาคตที่ทั้งเราและป่าไม้ต่างมีสุขภาพดีและยั่งยืน
เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการริเริ่มเทคฟอร์ออลและเทคฟอร์เนเจอร์ของหัวเว่ย
วิดีโอ - https://mma.prnewswire.com/media/2037228/malaysia_nature_guardian_720_1.mp4