การประชุมสุดยอดเทคฟอร์เนเจอร์ (Tech4Nature) ครั้งที่ 3 จัดขึ้นในวันครบรอบ 50 ปี วันสิ่งแวดล้อมโลก
เนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี วันสิ่งแวดล้อมโลก หัวเว่ย (Huawei) และองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ หรือ ไอยูซีเอ็น (IUCN) ได้เน้นย้ำถึงโซลูชันอัจฉริยะสำหรับการสนับสนุนการจัดการและการกำกับดูแลพื้นที่คุ้มครองและอนุรักษ์อย่างมีประสิทธิภาพและยุติธรรม ตลอดจนความสำคัญที่เพิ่มขึ้นของเทคโนโลยีในการติดตามสายพันธุ์สัตว์ที่ถูกคุกคาม และปกป้องแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของสัตว์เหล่านี้
หัวเว่ยและไอยูซีเอ็นได้ร่างวิสัยทัศน์สำหรับพื้นที่คุ้มครองและอนุรักษ์ เพื่อใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล ในการช่วยให้บรรลุเป้าหมายด้านความหลากหลายทางชีวภาพทั่วโลก โดยในการประชุมสุดยอดนั้น ได้มีการเปิดตัวสมุดปกขาวพื้นที่คุ้มครองอัจฉริยะ (Smart Protected Areas White Paper) ซึ่งพัฒนาร่วมกันโดยหัวเว่ยและไอยูซีเอ็นประจำประเทศจีน และสถาบันวนศาสตร์จีน (Chinese Academy of Forestry) เพื่อแบ่งปันพิมพ์เขียวสำหรับการสร้างพื้นที่คุ้มครองอัจฉริยะ โดยอ้างอิงจากประสบการณ์จากพื้นที่คุ้มครองของจีน
กุญแจสำคัญในการคุ้มครองสัตว์ป่าคือการทำความเข้าใจการกระจายตัวของสัตว์ พฤติกรรมของสัตว์ พฤติกรรมตามฤดูกาลของแต่ละสายพันธุ์ และว่ากิจกรรมของมนุษย์อาจส่งผลกระทบต่อรูปแบบการใช้ชีวิตของสัตว์เหล่านี้อย่างไร การจะทำสิ่งนี้ได้จำเป็นต้องมีข้อมูลอย่างมหาศาล และการรวบรวมข้อมูลดังกล่าวอาจเป็นเรื่องท้าทายเนื่องจากพื้นที่บางแห่งห่างไกลและเข้าถึงได้ยาก ซึ่งก็มักมีอุปสรรคจากสภาพอากาศที่รุนแรงเพิ่มมาด้วย ความพยายามในการเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิจัยในช่วงต้นจึงต้องพึ่งพากลุ่มนักวิทยาศาสตร์ที่เดินทางลงพื้นที่เพื่อติดตั้งกล้องสำหรับดักจับภาพ ซึ่งกล้องเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการบำรุงรักษา เปลี่ยนแบตเตอรี่ เปลี่ยนการ์ดหน่วยความจำ ตลอดจนการวิเคราะห์ กระบวนการเหล่านี้มักจะกินแรงและกินเวลามากจนส่งผลให้ข้อมูลและรูปภาพที่ได้นั้นเก่าไปนานหลายเดือน
การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลล้ำสมัย เช่น คอมพิวเตอร์ระบบคลาวด์, ไอโอที (IoT), อินเทอร์เน็ตมือถือ, บิ๊กดาต้า (Big Data) และเอไอ (AI) ช่วยให้สามารถรวบรวมข้อมูลและมีการสื่อสารระหว่างกันได้แบบเรียลไทม์ นี่เป็นกุญแจสำคัญในการปรับปรุงการตรวจจับอัจฉริยะ การวิเคราะห์และการจัดการการคุ้มครองสายพันธุ์และความพยายามในการอนุรักษ์ตามพื้นที่ ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น และด้วยเหตุนี้จึงช่วยอนุรักษ์ธรรมชาติได้ดียิ่งขึ้น
นั้บตั้งแต่ปี 2562 หัวเว่ยได้ทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ระดับโลกมากกว่า 30 ราย รวมถึงไอยูซีเอ็น ในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อให้บรรลุการอนุรักษ์และฟื้นฟูที่มีประสิทธิภาพในพื้นที่คุ้มครองและพื้นที่อนุรักษ์ 46 แห่งทั่วโลก ตั้งแต่ป่าฝนเขตร้อนในมณฑลไห่หนานของจีน ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสายพันธุ์ชะนีที่หายากที่สุดในโลก ไปจนถึงโอเอซิสในพื้นที่ชุ่มน้ำของอิตาลี และแนวปะการังนอกชายฝั่งตะวันออกของมอริเชียส
ยกตัวอย่างเช่น ภายใต้เทคฟอร์เนเจอร์ในเม็กซิโก ซึ่งหัวเว่ยร่วมมือกับไอยูซีเอ็น, ซีไมนด์ส (C-Minds), มหาวิทยาลัยโพลีเทคนิคแห่งยูกาตัน (Polytechnic University of Yucatan), เรนฟอเรสต์ คอนเนกชัน (Rainforest Connection) และชุมชนท้องถิ่นของดซิลัม ได้รวบรวมภาพถ่ายสัตว์ป่ามากกว่า 30,000 ภาพ การบันทึกเสียงสัตว์ป่ามากกว่า 550,000 ชิ้น และคลิปวิดีโอสัตว์ป่าอีกเป็นจำนวนมาก โดยอัลกอริทึมได้รับการพัฒนาและฝึกฝนเพื่อช่วยระบุสายพันธุ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะเสือจากัวร์ และจนถึงตอนนี้ ทีมงานสามารถระบุสายพันธุ์สัตว์ได้ 119 สายพันธุ์ รวมถึงเสือจากัวร์ 5 ตัว
ดร.เกรเธล อากีลาร์ (Dr Grethel Aguilar) รองผู้อำนวยการของไอยูซีเอ็น กล่าวว่า "เราได้อะไรต่าง ๆ มากมายตลอดช่วงระยะเวลา 3 ปีที่ได้ร่วมงานกัน ในระหว่างนั้นหัวเว่ยได้ทำงานร่วมกับเราเพื่อแสดงให้เห็นถึงการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่างมีความรับผิดชอบในการปกป้องธรรมชาติ ไอยูซีเอ็นตั้งตารอที่จะได้ร่วมมือระยะยาวกับหัวเว่ยในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยี เพื่อช่วยให้บรรลุเป้าหมายระดับโลก อาทิ เป้าหมายในการอนุรักษ์ผืนดินและผืนน้ำอย่างน้อย 30% ของโลกภายในปี 2573"
วัตถุประสงค์หลักของสมุดปกขาวพื้นที่คุ้มครองอัจฉริยะ คือการอนุรักษ์พื้นที่คุ้มครองอย่างมีประสิทธิภาพและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ตามเป้าหมายนี้ สมุดปกขาวจึงได้ระบุสถานการณ์สำคัญ 7 ประการ อาทิ การปกป้องและฟื้นฟูระบบนิเวศ, การจัดการทรัพยากร, การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และอื่น ๆ
ในสถานการณ์ต่าง ๆ ดังกล่าวจำเป็นต้องนำความสามารถหลัก 4 ประการมาใช้ ได้แก่ การตรวจจับระบบนิเวศแบบหลายมิติที่ครอบคลุม การสื่อสารหลายเครือข่ายแบบบูรณาการที่สามารถปรับให้เข้ากับภูมิประเทศที่ซับซ้อน การวิเคราะห์อัจฉริยะที่สามารถประมวลผลข้อมูลจำนวนมหาศาลจากแหล่งต่าง ๆ และความสามารถในการนำผลการวิเคราะห์ไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานและการจัดการพื้นที่คุ้มครอง พิมพ์เขียวนี้นำเสนอสถาปัตยกรรมโซลูชันแบบครอบคลุมสำหรับพื้นที่คุ้มครองอัจฉริยะ โดยใช้พัฒนาการล่าสุดในเทคโนโลยีดิจิทัล
คุณเต๋า จิงเหวิน (Tao Jingwen) กรรมการของหัวเว่ยและประธานคณะกรรมการการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์กร (CSD) กล่าวว่า "การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นสองวิกฤตสิ่งแวดล้อมโลกที่เกี่ยวข้องกันซึ่งจำเป็นต้องมีการตอบสนองร่วมกัน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคู่ไปกับการปกป้องธรรมชาติสามารถช่วยให้เกิดการพัฒนาสีเขียวในอุตสาหกรรมต่าง ๆ นับพัน และช่วยให้รับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ดีขึ้น"
คุณเผิง ซ่ง (Peng Song) รองประธานอาวุโสและประธานฝ่ายกลยุทธ์และการตลาด ICT ของหัวเว่ย กล่าวว่า "โลกคือบ้านเพียงหลังเดียวของเรา เทคโนโลยีดิจิทัลสามารถช่วยปกป้องเขตอนุรักษ์ธรรมชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และส่งเสริมการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ความตั้งใจเดิมของเราคือการรวมแนวปฏิบัติระหว่างด้านวิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยีในการช่วยปกป้องธรรมชาติ และทำงานร่วมกับพันธมิตรเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเขตอนุรักษ์ธรรมชาติอัจฉริยะมากขึ้น"
รายงานเศรษฐกิจธรรมชาติแบบใหม่ (New Nature Economy Report) ของ WEF ระบุว่า มากกว่าครึ่งหนึ่งของ GDP ของโลก หรือประมาณ 44 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ พึ่งพาธรรมชาติและบริการที่ธรรมชาติมอบให้ อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพกำลังคุกคามความอยู่รอดและการพัฒนาที่ยั่งยืนของมนุษยชาติ เศรษฐกิจธรรมชาติแบบใหม่สามารถสร้างมูลค่าธุรกิจต่อปีได้ถึง 10.1 ล้านล้านดอลลาร์ และสร้างงาน 395 ล้านตำแหน่งภายในปี 2573
การประชุมสุดยอดครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจศักยภาพในอนาคตของการอนุรักษ์ธรรมชาติอัจฉริยะ โดยการประชุมพันธมิตรเทคฟอร์ออล ซึ่งประกอบด้วยรัฐบาลแห่งมลรัฐยูกาตันของประเทศเม็กซิโก, ซีไมนด์ส หน่วยงานด้านนวัตกรรมของเม็กซิโก, ไอยูซีเอ็นประจำประเทศจีน, องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากลประจำประเทศอิตาลี (WWF Italy), เรนฟอเรสต์ คอนเนกชัน และเขตอนุรักษ์ธรรมชาติแห่งชาติสามเหลี่ยมปากแม่น้ำหวงมณฑลชานตง
คลิกเพื่อรับชมการประชุมสุดยอด: https://www.huawei.com/en/tech4all/news-and-events/events/environment-day-2023
ภูมิหลัง
เทคฟอร์เนเจอร์เป็นโครงการริเริ่มด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติที่หัวเว่ยและไอยูซีเอ็นเปิดตัวในปี 2563 โดยมีเป้าหมายเพื่อประเมินความสำเร็จด้านการอนุรักษ์ของพื้นที่คุ้มครองมากกว่า 300 แห่งทั่วโลกผ่านการใช้มาตรฐานบัญชีสีเขียวไอยูซีเอ็น (IUCN Green List) และเทคโนโลยีดิจิทัล
วันที่ 5 มิถุนายนนี้เป็นวันครบรอบ 50 ปีของวันสิ่งแวดล้อมโลก ริเริ่มโดยโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) และจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในวันที่ 5 มิถุนายน มาตั้งแต่ปี 2516 วันสิ่งแวดล้อมโลกเป็นเวทีระดับโลกที่ใหญ่ที่สุดในการปลุกจิตสำนึกสาธารณะเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม และมีการเฉลิมฉลองโดยผู้คนหลายล้านคนทั่วโลก ประเทศเจ้าภาพจัดงานในปี 2566 นี้คือโกตดิวัวร์
เกี่ยวกับโครงการเทคฟอร์ออล
เทคฟอร์ออล (TECH4ALL) เป็นโครงการริเริ่มและแผนปฏิบัติการระยะยาวของหัวเว่ย ซึ่งขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัยและความร่วมมือ เพื่อช่วยส่งเสริมความเท่าเทียมและความยั่งยืนในโลกดิจิทัล
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์โครงการเทคฟอร์ออลของหัวเว่ย
https://www.huawei.com/en/tech4all
ติดตามเราได้ที่
https://twitter.com/HUAWEI_TECH4ALL
ติดต่อสำนักงานโครงการเทคฟอร์ออล
tech4all@huawei.com
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/2093184/Technologies_monitoring_biodiversity_nature_conservation_projects_1.jpg
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/2093185/Dr_Grethel_Aguilar_Deputy_Director_General_IUCN_gave_speech_summit_2.jpg
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/2093186/1.jpg
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/2093187/2.jpg