หัวเว่ย (Huawei) ประกาศแผนเปิดตัวอุปกรณ์เครือข่าย 5.5G เชิงพาณิชย์ครบชุดในปี 2567 ณ การประชุม 5G แอดวานซ์ ฟอรัม (5G Advanced Forum) ในระหว่างงานโมบายล์ เวิลด์ คองเกรส (MWC) เซี่ยงไฮ้ ประจำปี 2566 โดยคุณหยาง เฉาบิน (Yang Chaobin) ผู้อำนวยการและประธานฝ่ายผลิตภัณฑ์และโซลูชันไอซีทีของหัวเว่ยระบุว่า บริษัทฯ ตั้งใจให้การเปิดตัวครั้งนี้เป็นจุดเริ่มต้นของยุค 5.5G สำหรับอุตสาหกรรมไอซีที
การใช้งาน 5G ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา และสร้างเม็ดเงินจำนวนมหาศาล ปัจจุบัน มีเครือข่าย 5G เชิงพาณิชย์ที่ดำเนินการอยู่มากกว่า 260 เครือข่ายทั่วโลก ซึ่งให้บริการฐานผู้ใช้กว่า 1.2 พันล้านราย และมีผู้ใช้งาน F5G ระดับกิกะบิตแล้ว 115 ล้านราย เนื่องด้วยรูปแบบการบริการและคอนเทนต์ที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง เทคโนโลยีที่ล้ำสมัยต่าง ๆ เช่น 3D แบบไม่ต้องสวมแว่นตา กำลังสร้างประสบการณ์สุดดื่มด่ำอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนให้แก่ผู้ใช้ อย่างไรก็ตาม บริการใหม่เหล่านี้ยังคงต้องอาศัยขีดความสามารถของเครือข่าย 5G ที่แข็งแกร่งขึ้น อุตสาหกรรมต่างเห็นพ้องกันว่า 5.5G จะเป็นก้าวสำคัญในวิวัฒนาการ 5G และกำลังใกล้เข้ามาอย่างรวดเร็ว
หัวเว่ยได้นำเสนอแนวคิดของ "ยุค 5.5G" โดยอิงตามโซลูชันแบบองค์รวมที่ผนวกรวมเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาอย่างครอบคลุม เช่น 5.5G, F5.5G และเน็ต 5.5G โซลูชันนี้จะปกป้องการลงทุนก่อนหน้านี้ของผู้ให้บริการใน 5G พร้อมกับยกระดับประสิทธิภาพเครือข่ายได้ถึง 10 เท่า ยุค 5.5G ที่ว่านี้จะประกอบด้วยความเร็วดาวน์ลิงก์สูงสุด 10 กิกะบิต และความเร็วอัปลิงก์สูงสุดระดับกิกะบิต เพื่อตอบสนองความต้องการด้านบริการที่หลากหลายมากขึ้น นอกจากนี้ ยังจะปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์ของอุตสาหกรรมด้วยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น IoT แบบพาสซีฟเพื่อปลดล็อกตลาดที่มีการเชื่อมต่อ IoT ราว 1 แสนล้านครั้ง
คุณหยางอธิบายว่า "ยุค 5.5G มีกรอบระยะเวลาการกำหนดมาตรฐานที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน โดยพร้อมแล้วสำหรับการตรวจสอบเชิงพาณิชย์และเชิงเทคโนโลยี ในปี 2567 หัวเว่ยจะเปิดตัวอุปกรณ์เครือข่าย 5.5G เชิงพาณิชย์ครบชุดเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการใช้งาน 5.5G เชิงพาณิชย์ เราตั้งตารอที่จะได้ร่วมงานกับผู้เล่นในอุตสาหกรรมทั้งหมดเพื่อเริ่มต้นการเดินทางครั้งใหม่สู่ยุค 5.5G"
ในฐานะผู้สนับสนุนโซลูชัน 5.5G แบบครบวงจร หัวเว่ยได้ทำงานร่วมกับผู้เล่นมากมายครอบคลุมทั่วอุตสาหกรรมในด้านการวิจัยและพัฒนาและการตรวจสอบเทคโนโลยี 5.5G และมีความคืบหน้าที่สำคัญในกระบวนการตรวจสอบนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับสายอากาศแบบอาร์เรย์ขนาดใหญ่พิเศษ (ELAA) ซึ่งรับรองดาวน์ลิงก์ 10 กิกะบิต ทั้งยังทำให้เข้าถึงสเปกตรัมที่ยืดหยุ่นรองรับการใช้งานอัปลิงก์ระดับกิกะบิต และ IoT แบบพาสซีฟซึ่งทำให้เกิดการเชื่อมต่อมากกว่า 1 แสนล้านครั้ง ส่วน 50G PON เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีหลักที่รองรับความเร็วระดับ 10 กิกะบิตสำหรับเครือข่ายอัลตราบรอดแบนด์ F5.5G และคาดว่าจะใช้งานอย่างกว้างขวางภายในบ้าน แคมปัส และการผลิตในอนาคต หัวเว่ยทำงานร่วมกับผู้ให้บริการกว่า 30 รายทั่วโลกด้านการตรวจสอบเทคโนโลยีและนำร่องการใช้งานสำหรับเทคโนโลยีเหล่านี้
นอกจากการพัฒนาเทคโนโลยีหลักสำหรับเครือข่ายการเข้าถึงแบบไร้สายและออปติก 5.5G แล้ว คุณหยางยังประกาศว่า บริษัทฯ กำลังดำเนินการใช้เทคโนโลยีเอไอแบบเนทีฟกับเครือข่ายหลัก 5.5G เพื่อยกระดับขีดความสามารถและความพร้อมใช้งานของเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยให้สามารถส่งมอบขีดความสามารถของ AI ไปยังส่วนปลายสุดของเครือข่าย เพื่อที่จะได้รองรับอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น ยุคเน็ต 5.5G รับรองการเข้าถึง 10 กิกะบิต การขนส่งอัลตราบรอดแบนด์ และเวลาแฝงระดับไมโครวินาทีผ่านเครือข่าย AI ซึ่งทำให้เป็นรากฐานเครือข่ายแห่งอนาคตสำหรับการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัลเชิงอุตสาหกรรม ด้วยการเข้าถึงเครือข่ายคุณภาพสูง
อุตสาหกรรมนี้ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการพัฒนาวิสัยทัศน์สำหรับ 6G และเพิ่งเริ่มต้นการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีหลักเท่านั้น นี่จึงเป็นเหตุผลที่หลายคนหันมาใช้ 5.5G สำหรับการพัฒนาในอนาคต การยกระดับความสามารถเครือข่ายได้ถึง 10 เท่าในยุค 5.5G จะทำให้หลายอุตสาหกรรมปลดปล่อยประสิทธิภาพของเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างเต็มที่
งานโมบายล์ เวิลด์ คองเกรส เซี่ยงไฮ้ ประจำปี 2566 จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 28-30 มิถุนายน ณ เมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน โดยหัวเว่ยจะร่วมจัดแสดงผลิตภัณฑ์และโซลูชันที่บูธ E10 และ E50 ณ ฮอลล์ N1 ของศูนย์จัดแสดงสินค้านานาชาติเซี่ยงไฮ้ (SNIEC) หัวเว่ยจะร่วมมือกับผู้ให้บริการระดับโลก ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม และผู้นำทางความคิดในการอภิปรายหัวข้อต่าง ๆ เช่น การเร่งการเติบโตของเทคโนโลยี 5G การก้าวสู่ยุค 5.5G และการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลอัจฉริยะ ทั้งนี้ เทคโนโลยี 5.5G ได้มอบโอกาสในการสร้างมูลค่าทางธุรกิจใหม่ ๆ เช่น การเชื่อมโยงผู้คนเข้าด้วยกัน อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) และยานพาหนะที่สื่อสารกันได้ผ่านอินเทอร์เน็ต (IoV) สนับสนุนอุตสาหกรรมจำนวนมากในขณะที่กำลังก้าวไปสู่โลกอัจฉริยะ เรียนรู้ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: https://carrier.huawei.com/en/events/mwcs2023
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/2144322/Chaobin_Yang_Board_Member_President_ICT_Products___Solutions_Huawei.jpg