เหล่าผู้ผลิตโมดูลพลังงานแสงอาทิตย์ชั้นนำ ซึ่งรวมถึงทรินา โซลาร์ (Trina Solar) ได้นำเสนอผลิตภัณฑ์กลุ่ม 210R ของตนเอง ในการประชุมสมาคมอุตสาหกรรมเซลล์แสงอาทิตย์แห่งประเทศจีน (China Photovoltaic Industry Association) ช่วงกลางเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา
ก่อนหน้านี้ บริษัททั้ง 9 แห่งได้เห็นพ้องต้องกันในการกำหนดมาตรฐานขนาดของโมดูลซิลิคอนเวเฟอร์สี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยอ้างอิงจากโมดูล 210R ของทรินา โซลาร์ ซึ่งผลักดันอุตสาหกรรมให้ก้าวหน้าสู่การนำเทคโนโลยีโมดูล 210 มม. และโมดูลอื่น ๆ ของบริษัทไปใช้ในระดับสากล
ผลิตภัณฑ์ของทรินา โซลาร์ ในกลุ่ม "ขนาดทองคำ" (golden size) นั้นประกอบด้วยโมดูลขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ ครอบคลุมกำลังไฟฟ้าตั้งแต่ 400W-500W-600W+ ทั้งนี้ โดยการปรับขนาดโมดูลได้เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและมูลค่าในการใช้งานรูปแบบต่าง ๆ ได้มากมาย รวมถึง โรงไฟฟ้าขนาดใหญ่และการใช้งานในเชิงพาณิชย์ อุตสาหกรรม และที่อยู่อาศัย
การใช้งานในระดับสาธารณูปโภค: โมดูลขนาดใหญ่ 210 มม. ครั้งแรกที่กำหนดขนาดมาตรฐานไว้ที่ 2384/2172 x 1303 มม. ในปี 2564 โดยที่โมดูลขนาด 600W+ มอบคุณค่าในระดับสูงสุด
ในแง่ของโมดูลขนาดใหญ่ ทรินา โซลาร์ ได้รุกตลาดด้วยโมดูลเวอร์เท็กซ์ (Vertex) ขนาด 670 วัตต์ และเวอร์เท็กซ์ เอ็น (Vertex N) ขนาด 700 วัตต์ ซึ่งออกแบบมาจากแพลตฟอร์มเทคโนโลยีโมดูลขนาด 210 มม. ช่วยให้อุตสาหกรรมก้าวเข้าสู่ยุคพลังงานแสงอาทิตย์ 6.0 และโอบรับโมดูลขนาด 700W+
โมดูลขนาด 2172 x 1303 มม. ที่มีเซลล์แสงอาทิตย์ 60 เซลล์ และโมดูลขนาด 2384 x 1303 มม. ที่มีเซลล์แสงอาทิตย์ 66 เซลล์ ซึ่งต่อยอดมาจากเวเฟอร์ขนาด 210 มม. เป็นโมดูลแรกที่ถูกกำหนดให้เป็นมาตรฐานเมื่อปี 2564 ซึ่งเหล่าผู้ผลิตโมดูลชั้นนำต่างเห็นพ้องต้องกันในด้านของขนาดและรูยึด และด้วยการนำทางอุตสาหกรรมของทรินา โซลาร์ จึงทำให้เกิดมาตรฐานกลุ่มอย่าง T/CPIA0003-2022 ขึ้นมา
ชนิดของเซลล์ | ชนิดของโมดูล | จำนวนเซลล์ | ความยาวของโมดูล (มม.) | ความกว้างของโมดูล (มม.) | ระยะห่างระหว่างรูยึดตามแนวยาว (มม.) |
ครึ่งเซลล์ | กระจกชั้นเดียว มีกรอบ/กระจกคู่ มีกรอบ | 110 | 2384?2 | 1096?2 | 400/1400?1 |
120 | 2172?2 | 1303?2 | 400/1400?1 | ||
132 | 2384?2 | 1303?2 | 400/1400?1 | ||
หาจุดร่วมกันในเรื่องขนาดมาตรฐานของเวเฟอร์ 210 มม. ได้ในปี 2564 |
โมดูลขนาด 600W+ ได้กลายเป็นโมดูลมาตรฐานในโครงการพลังงานต่าง ๆ โดยรายงานของสื่อระบุว่า เกือบ 90% ของโมดูลขนาด 600W+ ที่จัดแสดงในการประชุมและนิทรรศการว่าด้วยการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานอัจฉริยะนานาชาติ (SNEC) ที่เมืองเซี่ยงไฮ้ในปีนี้ ใช้โมดูล 210, 182 และเซลล์แสงอาทิตย์สี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยโมดูล 210 มีสัดส่วนคิดเป็น 60% ในจำนวนดังกล่าว
ทรินา โซลาร์ เดินหน้าปลดล็อกคุณค่าเพิ่มเติมให้กับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง และก้าวไปสู่ยุค 700W+ อย่างมั่นคง ทั้งนี้ โมดูลเวอร์เท็กซ์ เอ็น 700W+ ซึ่งขึ้นชื่อด้านประสิทธิภาพการประหยัดต้นทุน (LCOE) สำหรับโรงไฟฟ้าแบบติดตั้งภาคพื้นดิน คาดว่าจะเข้าสู่ขั้นตอนการผลิตจำนวนมากในปีหน้า
การใช้งานเชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรม: โมดูลขนาดกลาง 210R กลายเป็นมาตรฐานโมดูลขนาด 2384x1134 มม.
เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ทรินา โซลาร์ ก้าวนำอุตสาหกรรมด้วยการเปิดตัวโมดูล 210R ซึ่งโมดูลชุดนี้ได้กลายเป็นโมดูลขนาดทองคำชุดแรกในกลุ่มโมดูลขนาดกลาง 2384 x 1134 มม. โดยไม่เพียงแค่เพิ่มประสิทธิภาพอย่างมหาศาลเท่านั้น แต่ยังมีการออกแบบที่เพิ่มการใช้พื้นที่ในคอนเทนเนอร์ขนส่งให้เกิดประโยชน์สูงสุด โมดูลขนาดดังกล่าวช่วยให้ใช้พื้นที่คอนเทนเนอร์ได้ถึง 98.5% ซึ่งสูงที่สุดที่เคยมีมา
โมดูลเวอร์เท็กซ์ เอ็น ขนาด 605 วัตต์ ซึ่งพัฒนาขึ้นด้วยเทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์ ชนิดเอ็นไทป์ ไอ-ท็อปคอน (n-type i-TOPCon) ขั้นสูง ได้ออกวางจำหน่ายแล้วในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งขนาดของโมดูลชุดนี้คือ 2384x1134 มม. โดยมีกำลังไฟสูงกว่าผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ในตลาดอยู่ 30 วัตต์ การออกแบบที่เหนือกว่านี้ช่วยให้ใช้ประโยชน์จากความยาวของแทรกเกอร์ได้อย่างสมบูรณ์แบบ และเมื่อเทียบกับโมดูลเอ็นไทป์แบบดั้งเดิมที่มีเซลล์แสงอาทิตย์ 72 เซลล์แล้ว ความจุในการติดตั้งในแทรกเกอร์ 1 แถวก็เพิ่มขึ้น 13% นอกจากนี้ เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์โมดูลขนาดกลางรุ่นก่อนหน้านี้ โมดูลเวอร์เท็กซ์ เอ็นไทป์ ขนาด 605 วัตต์ ช่วยลดต้นทุนอุปกรณ์ประกอบ (BOS) ได้ 1.8%~4.5% ทำให้นำไปใช้กับแทรกเกอร์ได้อย่างลงตัว โดยในไตรมาสแรกของปีนี้ ปริมาณการจัดส่งโมดูลขนาด 2384x1134 มม. (รวมถึงขนาด 2384x1096 มม.) เพิ่มขึ้นแตะหลัก 30 กิกะวัตต์แล้ว ขณะที่การจัดส่งสะสมคาดว่าจะแตะระดับ 50 กิกะวัตต์ภายในสิ้นปีนี้
ปัจจุบันแนวคิดเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดเวเฟอร์แบบสี่เหลี่ยมผืนผ้าได้รับการยอมรับเต็มรูปแบบในตลาด ส่งผลให้ผู้ผลิตชั้นนำในอุตสาหกรรมบรรลุฉันทามติเมื่อต้นเดือนกรกฎาคมเกี่ยวกับขนาดมาตรฐานของโมดูลขนาดกลาง
การใช้งานในที่อยู่อาศัย: โมดูลขนาดเล็ก 2 ตร.ม. (1762x1134 มม.) สมรรถนะสูง ดีไซน์โฉบเฉี่ยว
โมดูลเวอร์เท็กซ์ เอส (Vertex S) ได้รับการพัฒนาขึ้นจากการวิจัยอย่างเข้มข้นและการออกแบบอย่างมีเป้าหมายเฉพาะเจาะจง โมดูลเหล่านี้มีจุดเด่นอยู่ที่ความเล็กและพลังงานที่ผลิตได้ เหมาะสมกับความต้องการของผู้บริโภคสำหรับโครงการแบบกระจายศูนย์ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม
โมดูลเวอร์เท็กซ์ เอส เจนใหม่ที่พัฒนาขึ้นด้วยเทคโนโลยีแผ่นเวเฟอร์สี่เหลี่ยม 210R มีกำลังไฟฟ้าเป็น 450 วัตต์แล้ว ด้วยขนาด 1762x1134 มม. และกินพื้นที่เพียง 1.998 ตร.ม. โดยมีกำลังไฟเพิ่มขึ้น 10~15วัตต์ สู่ 450 วัตต์ ช่วยให้บรรลุกำลังไฟสูงสุดได้ภายใน 2 ตร.ม. ด้วยประสิทธิภาพ 22.5% และน้ำหนักเพียง 21 กก. นอกจากนี้ โมดูลเวอร์เท็กซ์ เอส+ ไม่เพียงแต่เป็นไปตามข้อบังคับด้านความปลอดภัยในอาคารที่เข้มงวดมากของเยอรมนีในเรื่องขีดจำกัดขนาดสูงสุดเท่านั้น แต่ยังมีคุณสมบัติตามข้อกำหนดด้านน้ำหนักที่ "น้อยกว่า 50 ปอนด์ (ประมาณ 23 กก.) เมื่อคนเดียวถือด้วย"
ที่งาน SNEC ในเมืองเซี่ยงไฮ้ และงานอินเตอร์โซลาร์ ยุโรป (Intersolar Europe) ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศเยอรมนีเมื่อเร็ว ๆ นี้ เหล่าผู้ผลิตชั้นนำได้อวดโฉมโมดูลที่มีขนาดเท่ากับโมดูลเวอร์เท็กซ์ เอส ดังนั้น ขนาด 1762x1134 มม. จึงกลายเป็นขนาดทองคำสำหรับโมดูลขนาดเล็กไปแล้ว
แบรนด์ | เทคโนโลยีเซลล์ | ขนาดโมดูล (ยาวxกว้าง มม.) | กำลังไฟฟ้าของโมดูล (วัตต์) |
ทรินา โซลาร์ | ท็อปคอน | 1762x1134 | 450 |
จิงโกะโซลาร์ | ท็อปคอน | 1762x1134 | 445 |
จิงโกะโซลาร์ | ท็อปคอน | 1762x1134 | 450 |
เจเอ โซลาร์ | ท็อปคอน | 1762x1134 | 455 |
เจเอ โซลาร์ | ท็อปคอน | 1762x1134 | 445 |
เจเอ โซลาร์ | พีอีอาร์ซี | 1762x1134 | 440 |
ผลิตภัณฑ์หลายชิ้นจากเหล่าผู้ผลิตชั้นนำมีวางจำหน่ายในขนาด 1762x1134 มม. |
การลดต้นทุนการผลิตและต้นทุนการผลิตไฟฟ้าต่อหน่วยปรับเฉลี่ยด้วยโมดูลกำลังสูงขนาด 210 มม. ได้กลายเป็นเทรนด์ในอุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์ โดยเริ่มด้วยการกำหนดมาตรฐานขนาดโมดูล 210 มม. ทรินา โซลาร์ ได้วางรากฐานที่มั่นคงในการกำหนดมาตรฐานขนาดโมดูล โดยมุ่งคิดค้นนวัตกรรมด้านการวิจัยและพัฒนา ความโปร่งใสในเทคโนโลยี และสร้างอีโคซิสเต็มร่วมกับผู้ผลิตชั้นนำรายอื่น ๆ
ตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา โมดูล 210 มม. ขนาดทองคำสำหรับโมดูลขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ ได้กลายเป็นตัวเลือกของทั้งอุตสาหกรรม
การกำหนดขนาดมาตรฐานคาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งห่วงโซ่อุตสาหกรรม โดยในแง่หนึ่ง ความต้องการของลูกค้าปลายน้ำในเรื่องการนำเซลล์แสงอาทิตย์ไปใช้ในรูปแบบต่าง ๆ จะได้รับการตอบสนองอย่างเต็มที่ และเพิ่มมูลค่าของลูกค้าให้สูงสุด ขณะที่ในอีกแง่หนึ่ง การกำหนดขนาดมาตรฐานก็ช่วยมอบแนวทางในการเพิ่มมูลค่าสูงสุดให้กับห่วงโซ่อุตสาหกรรมทั้งในช่วงต้นและช่วงกลาง และลดต้นทุนของทั้งห่วงโซ่อุตสาหกรรมได้
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/2167247/image_805511_50906674.jpg