- ภาคส่วนพลังงานติดอันดับด้วยบทบาทที่โดดเด่น ซาอุดี อารามโค ( Saudi Aramco) ได้อันดับที่ 2 ในด้านรายได้ แต่เป็นผู้นำในด้านกำไร โดยมีกำไรต่อปีสูงที่สุดเท่าที่เคยมีมาในกลุ่มบริษัทที่เคยติดอันดับในฟอร์จูนโกลบอล 500 (Fortune Global 500)
- การจัดอันดับในปี 2566 ประกอบไปด้วยบริษัทจีน 142 บริษัท บริษัทสหรัฐอเมริกา 136 บริษัท บริษัทญี่ปุ่น 41 บริษัท และบริษัทเยอรมนี 30 บริษัท โดยที่จำนวนบริษัทจากญี่ปุ่นและฝรั่งเศสลดลงต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์
- แอมะซอน ( Amazon), แอปเปิล (Apple), ยูไนเต็ดเฮลธ์ (UnitedHealth), ซีวีเอส (CVS) เป็นหนึ่งในบริษัทสหรัฐอเมริกาอันดับต้น ๆ ในฟอร์จูนโกลบอล 500 (Fortune Global 500) ซึ่งสหรัฐอเมริกามีจำนวนบริษัทที่ติดอันดับสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2553 และมีจำนวนบริษัทมากที่สุดในฐานะประเทศเดี่ยวในปี 2566
- จำนวนประธานกรรมการบริหารหญิงเพิ่มขึ้นเป็น 29 คนในปี 2566 จาก 24 คนในปี 2565
- บริษัทรายใหม่และบริษัทที่กลับมาติดอันดับประกอบไปด้วย วอร์เนอร์บราเธอส์ดิสคัฟเวอรี ( Warner Bros. Discovery), เซลส์ฟอร์ซ (Salesforce), อูเบอร์ (Uber), ลุฟท์ฮันซา (Lufthansa), เอชดี ฮุนได (HD Hyundai), ไดม์เลอร์ ทรัก (Daimler Truck), คอนเทมโพรารี แอมเพอเร็กซ์ เทคโนโลยี (Contemporary Amperex Technology) และเหมยต๋วน (Meituan) จากจีน และบริษัทด้านพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติรายใหม่ เช่น แคนาเดียน เนเชอรัล รีซอร์ส (Canadian Natural Resources)
ในวันนี้ ฟอร์จูน (Fortune)ได้ประกาศว่าบริษัทผู้ค้าปลีกวอลมาร์ต (Walmart) ติดอันดับสูงสุดของฟอร์จูนโกลบอล 500 (Fortune Global 500(TM)) ในปี 2566 โดยได้รับการจัดให้เป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลกตามรายได้ในปีงบประมาณ 2565 โดยในการจัดอันดับบริษัทระดับโลก (ปัจจุบัน) ของฟอร์จูน (Fortune) ที่มีความน่าเชื่อถือนี้ บริษัทผู้ค้าปลีกจากรัฐอาร์คันซอรายนี้ครองอันดับ 1 เป็นปีที่ 10 ติดต่อกัน
และนับเป็นครั้งที่ 18 นับตั้งแต่ปี 2538 โดยวอลมาร์ต (Walmart) เป็นหนึ่งในบริษัทจากสหรัฐอเมริกาในการจัดอันดับของฟอร์จูนโกลบอล 500 (Fortune Global 500) ซึ่งในปีนี้มีจำนวนบริษัทที่เข้าร่วมการจัดอันดับมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2553 กว่า 136 บริษัท และยังเป็นจำนวนที่สูงที่สุดในฐานะประเทศเดี่ยวด้วย
ความเข้มแข็งของภาคส่วนพลังงานเป็นที่รับรู้กันอย่างชัดเจนแล้วจากการที่ซาอุดี อารามโค (Saudi Aramco) เกือบจะแซงหน้าโกลิอาท (Goliath) โดยซาอุดี อารามโค (Saudi Aramco) (อันดับที่ 2) ได้รับประโยชน์จากราคาพลังงานที่ทะยานสูงขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการรุกรานยูเครนของรัสเซีย รวมทั้งยังผลักดันให้ เอ็กซ์ซอน โมบิล (Exxon Mobil) (อันดับที่ 7) และเชลล์ (Shell) (อันดับที่ 9) กลับมาติด 10 อันดับสูงสุดตามรายได้ ในแง่ของกำไร ซาอุดี อารามโค (Saudi Aramco) มีกำไร 1.59 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นจำนวนที่สูงที่สุดเท่าที่เคยมีมาในกลุ่มบริษัทที่เคยติดอันดับในฟอร์จูนโกลบอล 500 (Fortune Global 500)
ในขณะเดียวกัน บริษัทด้านเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ก็พิสูจน์ให้เห็นว่าตนยังคงเป็นภาคส่วนที่เข้มแข็งและทำกำไรได้ เมื่อรวมกันแล้ว ทั้งแอปเปิล (Apple), อัลฟาเบต (Alphabet) และไมโครซอฟท์ (Microsoft) มีรายได้สุทธิทั้งหมด 2.33 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยที่แอปเปิล (Apple) (อันดับที่ 8) มีกำไรเกือบ 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมากที่สุดเท่าที่เคยมีมาจากบริษัทสหรัฐอเมริกาเพียงบริษัทเดียว
อนึ่ง ฟอร์จูนโกลบอล 500 (Fortune Global 500) ในปีนี้มีบริษัทรายใหม่ 39 บริษัท ซึ่งประกอบไปด้วย 23 บริษัทที่ติดอันดับเป็นครั้งแรก เช่น วอร์เนอร์บราเธอส์ดิสคัฟเวอรี (Warner Bros. Discovery) (อันดับที่ 449) และบริษัทรายใหม่จากจีนที่ติดอันดับเป็นครั้งแรกอย่างคอนเทมโพรารี แอมเพอเร็กซ์ เทคโนโลยี (Contemporary Amperex Technology) (อันดับที่ 292) และเหมยต๋วน (อันดับที่ 467) นอกจากนี้ยังมี 16 บริษัทที่กลับมาติดอันดับอีกครั้งหลังจากที่เว้นช่วงไปอย่างน้อยหนึ่งปี เช่น โคลอมเบียส์ อีโคเพทรอล (Colombia's Ecopetrol) (อันดับที่ 397) และแอร์ ลิควิด (Air Liquide) ของฝรั่งเศส (อันดับที่ 488)
เมื่อดูตามภูมิศาสตร์แล้ว บริษัทจากจีนติดอันดับฟอร์จูนโกลบอล 500 (Fortune Global 500) ประจำปีนี้ทั้งหมด 142 บริษัท ซึ่งในจำนวนนี้นับรวมบริษัทจากประเทศจีนและดินแดนข้างเคียง อันประกอบไปด้วยจีนแผ่นดินใหญ่ ฮ่องกง และไต้หวัน อย่างไรก็ตาม ในปี 2565 บริษัทสหรัฐอเมริกา 136 บริษัทสร้างรายได้จำนวน 13 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมากกว่าประเทศจีนและดินแดนข้างเคียงที่สร้างรายได้จำนวน 11.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยที่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ กฎระเบียบที่เข้มงวดยิ่งขึ้น และผลกระทบตกค้างจากข้อจำกัดเกี่ยวกับโควิดในจีนแผ่นดินใหญ่ส่งผลเสียต่อรายได้ของบริษัทที่ติดต่อกับผู้บริโภคโดยตรง เช่น อาลีบาบา (Alibaba) (อันดับที่ 68), เทนเซ็นต์ (Tencent) (อันดับที่ 147) และเจดีดอทคอม (JD.com) (อันดับที่ 52)
10 อันดับสูงสุดของฟอร์จูนโกลบอล 500 ( Fortune Global 500) ประจำปี 2566
สำหรับเยอรมัน มี 2 บริษัทใหม่เพิ่มเข้ามาในปีนี้ รวมเป็น 30 บริษัทด้วยกันซึ่งถือว่าเป็นจำนวนที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2561 บริษัทจากเยอรมันมีอัตราการเติบโตทางรายได้ระดับ 2 หลัก ซึ่งคือ 18.9% และมีรายได้รวมกันกว่า 2.5 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ นับว่ามีรายได้รวมกันมากที่สุดเป็นอันดับ 4 ตามหลังญี่ปุ่นที่มีรายได้รวมกันอยู่ที่ 2.8 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ บีเอ็มดับเบิลยู (BMW) (อันดับที่ 57) เป็นผู้ผลิตยานยนต์ที่ทำกำไรได้มากที่สุดในโลกตามการจัดอันดับในครั้งนี้ โฟล์คสวาเกน (Volkswagen) (อันดับที่ 15) เป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและใหญ่ที่สุดในกลุ่มผู้ผลิตยานยนต์
ฝรั่งเศสเสียบริษัทหนึ่งไปในปีที่แล้ว จึงทำให้ในปีนี้มีจำนวนบริษัทน้อยที่สุดในประวัติการณ์ในการจัดอันดับ โดยมีเพียง 24 บริษัทในปีนี้ ในช่วงปลายทศวรรษ 1990 ฝรั่งเศสมีจำนวนบริษัท 42 บริษัทซึ่งมากเป็นอันดับที่ 3 โดยรายได้รวมของฝรั่งเศสอยู่ที่ 1.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ตกเป็นอันดับที่ 5 จากประเทศทั้งหมด ตามหลังเยอรมัน ฝรั่งเศลยังเป็นอันดับที่ 5 ของประเทศที่มีการจ้างงานมากที่สุดในโลก โดยได้จ้างงานพนักงานกว่า 3.8 ล้านคนทั่วโลก โดยบริษัทโทเทิล เอ็นเนอร์ยี่ (TotalEnergies) (อันดับที่ 20) เป็นบริษัทรายใหญ่ที่สุดและทำกำไรสูงสุดของประเทศ
142 บริษัทที่ติดอันดับฟอร์จูนโกลบอล 500 (Fortune Global 500) ในปีนี้ตั้งอยู่ในดินแดนผืนใหญ่ของจีน ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 95 บริษัทเมื่อหนึ่งทศวรรษก่อนหน้า จีนแผ่นดินใหญ่ รวมถึงฮ่องกงมีบริษัทที่ติดอันดับรวมกัน 135 บริษัทในปีนี้ และมีอีก 7 แห่งที่อยู่ในไต้หวัน ดินแดนผืนใหญ่ของจีนนี้ มีบริษัทที่ติดอันดับมากกว่าบริษัทของสหรัฐอเมริกาที่มี 136 บริษัทเป็นปีที่ 5 ติดต่อกันโดยบริษัทของจีนและดินแดนข้างเคียงสร้างรายได้ 11.7 ล้านล้านบาท แต่รายได้จำนวนนี้ก็ยังตามหลังสหรัฐอเมริกาอยู่
ธนาคารใหญ่ของจีนสี่แห่งทั้ง ไอซีบีซี (ICBC) (อันดับที่ 28), ไชน่า คอนสตรัคชั่น แบงค์ (China Construction Bank) (อันดับที่ 29), อะกริคัลเจอร์ แบงก์ ออฟ ไชน่า (Agricultural Bank of China) (อันดับที่ 32), และแบงก์ ออฟ ไชน่า (Bank of China) (อันดับที่ 49) สร้างกำไร 1.741 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2565 ธนาคารแต่ละแห่งมีสินทรัพย์อย่างน้อย 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในงบดุลของตนเอง อนึ่ง มีบริษัทรัฐวิสาหกิจ 118 บริษัทที่ติดอันดับฟอร์จูนโกลบอล 500 (Fortune Global 500) ซึ่งมากกว่าสองในสามของบริษัทที่อยู่ในจีน
ซาอุดี อารามโค (Saudi Aramco) (อันดับที่ 2) เป็นตัวแทนเพียงหนึ่งเดียวจากซาอุดีอาระเบียในการจัดอันดับ แต่ก็นับว่าเป็นบริษัทที่โดดเด่น กล่าวคือ บริษัทนี้มีกำไร 1.59 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ และเป็นบริษัทที่ทำกำไรได้มากที่สุดของฟอร์จูนโกลบอล 500 (Fortune Global 500) โดยซาอุดี อารามโค (Saudi Aramco) สร้างรายได้ 6 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเติบโตขึ้น 51% ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ซาอุดี อารามโค (Saudi Aramco) มีกำไร 5.13 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ อนึ่ง ซาอุดีอาระเบียเป็นหนึ่งใน 12 ประเทศ/ดินแดนที่มีตัวแทนเพียงบริษัทเดียวในอันดับฟอร์จูนโกลบอล 500 (Fortune Global 500) เช่นเดียวกับออสเตรีย โคลอมเบีย โปแลนด์ และไทย
บริษัทในฟอร์จูนโกลบอล 500 (Fortune Global 500) สร้างรายได้รวมกันทั้งหมด 41 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจำนวนนี้เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 8% และยังเป็นจำนวนที่มากกว่าหนึ่งในสามของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของทั้งโลก กำไรสะสมลดลง 7% จากปีที่แล้วที่ 2.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ บริษัทในอันดับประจำปี 2566 จ้างพนักงานกว่า 70.1 ล้านคนทั่วโลก และตั้งอยู่ในเมือง 232 เมืองและ 33 ประเทศ/ดินแดนและภูมิภาคทั่วโลก จำนวนประธานกรรมการบริหารหญิงของบริษัทในฟอร์จูนโกลบอล 500 (Fortune Global 500) เพิ่มขึ้นเป็น 29 คนในปีนี้ จาก 24 คนในปีที่ผ่านมา
รายการฟอร์จูนโกลบอล 500 (Fortune Global 500) ฉบับสมบูรณ์มีอยู่ในนิตยสารฟอร์จูน (FORTUNE) เดือนสิงหาคม/กันยายน และสามารถเข้าชมทางออนไลน์ได้แล้ววันนี้ และสามารถซื้อชุดข้อมูลฉบับสมบูรณ์ได้ ที่นี่
แอลีซัน ชอนเทลล์ บรรณาธิการใหญ่ของฟอร์จูน (FORTUNE) เขียนลงในนิตยสารฉบับดังกล่าวว่าประเด็นหลักของอันดับประจำปีนี้ คือ "แม้กระทั่งบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลกก็อาจถูกสั่นคลอนและลงจากตำแหน่งได้"
วอลมาร์ต (Walmart) บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลกในด้านรายได้มาเป็นเวลา 10 ปี "จำเป็นต้องระวังตัว" นางชอนเทลล์เขียน เพราะ "ผลกระทบจากสงครามยูเครนที่มีต่อราคาน้ำมันและก๊าซ อีกทั้งความสามารถของซาอุดีอาระเบียในการขุดเจาะน้ำมันได้ในราคาถูกจากแหล่งจุดเจาะสำรองปริมาณมหาศาลของตน ทำให้ซาอุดี อารามโค (Saudi Aramco) มีผลการปฏิบัติงานในปีนี้ที่โดดเด่น" แต่นางชอนเทลล์ระบุว่ารัฐบาลซาอุดีอาระเบียที่ควบคุมซาอุดี อารามโค (Saudi Aramco) นำผลกำไรที่ได้ไปใช้ในการลงทุนกับการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมและอุตสาหกรรมอื่น ๆ อีกมากมาย
นางชอนเทลล์ยังระบุอีกว่า นิตยสารฉบับฟอร์จูนโกลบอล 500 (Fortune Global 500) นี้ยังกล่าวถึงการที่อัลฟาเบต (อันดับที่ 17) "กำลังเผชิญกับภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกของนักประดิษฐ์เพราะปัญญาประดิษฐ์แบบสร้างเนื้อหา (A.I.) ดังที่อธิบายไว้ในฟอร์จูน (FORTUNE) ฉบับล่าสุดโดยเจเรมี ข่าน นอกจากนี้ กูเกิล (Google) ของอัลฟาเบต (Alphabet) ได้ลงทุนทั้งเงินและความรู้ความเชี่ยวชาญไปกับปัญญาประดิษฐ์ (A.I.) เป็นจำนวนมหาศาล แต่เทคโนโลยีปฏิวัติโลกนี้ก็กำลังคุกคามธุรกิจการค้นหาซึ่งเป็นฟันเฟืองสำคัญในการทำกำไรของกูเกิล (Google) มายาวนานตั้งแต่ทศวรรษ 2000 และผู้คุกคามอันดับที่ 1 คือ ไมโครซอฟท์ (Microsoft) (อันดับที่ 30) ด้วยความร่วมมือกับโอเพนเอไอ (OpenAI) ผู้สร้างแชทจีพีที (ChatGPT)" นางชอนเทลล์เขียน
"ใครก็ตามที่สร้างเทคโนโลยีอันล้ำหน้าที่สุดในปัญญาประดิษฐ์แบบสร้างเนื้อหา (A.I.) ไม่ว่าจะเป็นกูเกิล (Google), ไมโครซอฟท์ (Microsoft) หรือเมตา (Meta) (อันดับที่ 81) หรือเป็นบริษัทเกิดใหม่ที่ยังไม่เป็นที่รู้จัก ก็อาจเปลี่ยนแปลงวิธีการที่โลกค้นหาข้อมูลได้" นางชอนเทลล์เขียน
สก็อต เดอคาร์โล บรรณาธิการอันดับของฟอร์จูน (FORTUNE) กล่าวว่า "บริษัทที่อยู่ในรายชื่อบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลกประจำปีของเราแสดงให้เห็นถึงความเข้มแข็งในปี 2565 โดยมีรายได้สูงเป็นประวัติการณ์ และในบางกรณีก็เป็นผลกำไรสูงเป็นประวัติการณ์ แต่ฟอร์จูนโกลบอล 500 (Fortune Global 500) ซึ่งเป็นสุดยอดตารางคะแนนสำหรับความสำเร็จของธุรกิจ ก็ไม่ได้เป็นอะไรไปมากกว่าสถิติ ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์คุกคามบริษัทที่เป็นผู้นำและยกระดับผู้ชนะหน้าใหม่"
บริษัททั้งหมดนี้ได้รับการจัดอันดับตามรายได้รวมของปีงบประมาณของบริษัท ซึ่งสิ้นสุดก่อนหรือภายในวันที่ 31 มีนาคม 2566 บริษัททั้งหมดที่อยู่ในอันดับต้องเผยแพร่ข้อมูลทางการเงินและรายงานตัวเลขบางส่วนหรือทั้งหมดต่อหน่วยงานรัฐบาล ตัวเลขล่าสุดในรายการเป็นไปตามที่รายงานโดยบริษัทต่าง ๆ โดยการเปรียบเทียบใด ๆ ที่ปรากฏในที่นี้เป็นการเปรียบเทียบกับตัวเลขของปีก่อนหน้าตามที่เดิมรายงานไว้ ฟอร์จูน (FORTUNE) ไม่แก้ไขตัวเลขของปีก่อนหน้าสำหรับการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ในด้านการบัญชี
เกี่ยวกับฟอร์จูน ( FORTUNE)
ฟอร์จูน (FORTUNE) ยึดมั่นในผลงานด้านทักษะการเขียนที่ได้รับรางวัลและการรายงานที่น่าเชื่อถือสำหรับผู้บริหารที่ต้องการทำให้พัฒนาธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น ฟอร์จูน (FORTUNE) เป็นนิตยสารอิสระที่ให้มุมมองระดับโลกและความคล่องตัวทางดิจิทัล และบอกเล่าเรื่องราวของนักประดิษฐ์ ผู้สร้าง และผู้ยอมรับความเสี่ยงรุ่นใหม่ ฟอร์จูน (FORTUNE) มีทั้งฉบับออนไลน์และฉบับพิมพ์ โดยวัดผลการปฏิบัติงานขององค์กรผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่เคร่งครัด และให้บริษัทรับผิดชอบต่อข้อมูลของตนเอง ฟอร์จูน (FORTUNE) สร้างชุมชนขึ้นมาจากการรวบรวมผู้นำทางความคิดที่แท้จริงและ
ผู้ท้าทายแนวคิดแบบเดิม คนเหล่านี้คือผู้ที่จะชี้ทางให้กับอุตสาหกรรม การพาณิชย์ และสังคมด้วยรายชื่อ กิจกรรม และการประชุมที่ทรงพลังและมีเกียรติ ดังเช่น ฟอร์จูนโกลบอล 500 (Fortune Global 500) หรือโครงการริเริ่มประธานกรรมการบริหาร และผู้หญิงที่ทรงพลังที่สุด สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาไปที่ fortune.com
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/2167942/WALMART_TOPS_THE_FORTUNE_GLOBAL_500_LIST_10th_CONSECUTIVE_YEAR.jpg
คำบรรยายภาพ - วอลมาร์ต (WALMART) ติดหนึ่งในรายชื่อของฟอร์จูนโกลบอล 500 (Fortune Global 500) เป็นปีที่ 10 ติดต่อกัน