"แตร์พาวเวอร์" ส่งโซลูชันพลังงานแสงอาทิตย์ที่ยั่งยืน ช่วยจัดหาน้ำให้กับสัตว์ป่าและปศุสัตว์ในรัฐแอริโซนา

ข่าวทั่วไป Wednesday September 6, 2023 08:13 —ข่าวประชาสัมพันธ์พีอาร์นิวส์ไวร์

แตร์พาวเวอร์จัดหาแผงโซลาร์เซลล์ที่ยั่งยืน เพื่อช่วยจัดหาน้ำในพื้นที่ทะเลทราย

แตร์พาวเวอร์ (TerrePower) ซึ่งเป็นแผนกหนึ่งของบริษัทบีบีบี อินดัสทรีส์ (BBB Industries) กำลังช่วยจัดหาโซลูชันพลังงานแสงอาทิตย์ที่ยั่งยืนในรัฐแอริโซนา เพื่อสัตว์ป่าและปศุสัตว์ที่หากินบนพื้นที่แห้งแล้งในทะเลทราย ที่มักจะกระเสือกกระสนในการหาแหล่งน้ำธรรมชาติ

เพื่อตอบสนองกับความท้าทายนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์ป่า นักอนุรักษ์ และเจ้าของฟาร์ม ได้มีการพยายามร่วมกัน เพื่อให้มั่นใจได้ว่ามีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และการเข้าถึงแหล่งน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่สภาพอากาศร้อนอบอ้าวและแห้งแล้ง

ทั่วทั้งรัฐแอริโซนา พลังงานแสงอาทิตย์ถูกนำมาใช้เป็นโซลูชันที่ยั่งยืนเพื่อช่วยชีวิตสัตว์ต่าง ๆ เช่น กวางเอลก์ กวาง หมี หมาป่าโคโยตี และบ็อบแคต โดยมีการสร้างแหล่งน้ำหลายพันแห่งทั่วรัฐบนที่ดินของเอกชนและรัฐบาลกลางเพื่อช่วยเหลือสัตว์เหล่านี้ อย่างไรก็ตาม การเพิ่มประสิทธิภาพสิ่งเหล่านี้เพื่อตอบสนองความต้องการน้ำของสัตว์นั้นนับเป็นเรื่องที่ท้าทาย

องค์กรอนุรักษ์ที่ไม่แสวงผลกำไรอย่างสมาคมกวางแห่งรัฐแอริโซนา (Arizona Deer Association) หรือ เอดีเอ (ADA) กำลังทำงานร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่และหน่วยงานภาครัฐ เพื่อใช้ประโยชน์จากพลังงานแสงอาทิตย์ในการรักษาแหล่งน้ำทั้งเพื่อสัตว์ป่าและปศุสัตว์ เช่น วัว โดยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เอดีเอได้วิจัยโครงการที่มีศักยภาพในการสกัดน้ำจากแหล่งอื่น ๆ อย่างกว้างขวาง บ่อน้ำบางแห่งพึ่งพาเครื่องปั่นไฟฟ้าพลังงานน้ำมันดีเซล ในขณะที่แหล่งอื่น ๆ ไม่สามารถใช้การได้ เนื่องจากขาดแคลนแหล่งพลังงาน

คุณจิม ลอว์เรนซ์ (Jim Lawrence) ผู้อำนวยการโครงการของเอดีเอ ตระหนักถึงความจำเป็นในการหาพลังงานทางเลือกอื่นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและไม่ต้องบำรุงรักษามากนัก แทนที่การใช้พลังงานฟอสซิล จึงได้สำรวจโซลูชันที่เป็นนวัตกรรม สิ่งนี้นำเขาไปสู่ออนทิลิตี (Ontility) ซึ่งเป็นแบรนด์โซลูชันวงจรพลังงานแสงอาทิตย์และระบบกักเก็บพลังงานแบบครบวงจรภายใต้แตร์พาวเวอร์ ซึ่งเป็นแผนกหนึ่งของบริษัทบีบีบี อินดัสทรีส์ โดยแผงโซลาร์เซลล์ของออนทิลิตีที่ผลิตอย่างยั่งยืน มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการอนุรักษ์น้ำของเอดีเอได้อย่างสมบูรณ์แบบ

โดยทั่วไปแล้ว แผงเซลล์แสงอาทิตย์จะมีอายุการใช้งาน 25-30 ปี โดยการนำแผงเซลล์แสงอาทิตย์กลับมาใช้ซ้ำช่วยพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียนได้อีก และลดการปล่อยคาร์บอนได้มากถึง 35% เมื่อเทียบกับการผลิตใหม่

"เป็นเวลาหลายปีแล้วที่เราใช้แผงที่ผลิตอย่างยั่งยืน ในการเปลี่ยนบ่อน้ำที่ถูกทิ้งร้าง หรือบ่อน้ำที่ใช้เครื่องปั่นไฟแบบใช้น้ำมันดีเซล ไปใช้พลังงานแสงอาทิตย์แทน ซึ่งบ่อน้ำไฮพอยท์ (High Point Well) ที่โอฮาโก แรนช์ (O'Haco Ranch) คือหนึ่งในนั้น" คุณลอว์เรนซ์ กล่าวอธิบาย "ก่อนหน้าที่จะเปลี่ยนมาใช้พลังงานแสงอาทิตย์นั้น บ่อน้ำนี้ใช้เครื่องปั่นไฟแบบใช้น้ำมันดีเซล ซึ่งครั้งแรกที่ผมไปเยี่ยมเยียนที่นั่น พบว่าไม่มีหญ้าขึ้นสักใบในรัศมี 50 หลารอบบ่อน้ำเลย เนื่องจากมีน้ำมันดีเซลปนเปื้อน"

ปัจจุบัน บ่อน้ำแห่งนี้จ่ายน้ำเป็นระยะทางกว่า 30 ไมล์ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อปศุสัตว์และสัตว์ป่า

คุณลอว์เรนซ์ได้รับแผงโซลาร์เซลล์ชุดแรกในปี 2564  ซึ่งจนถึงปัจจุบัน มียอดคำสั่งซื้อแผงรวมทั้งสิ้น 810 แผง โดยคำสั่งซื้อล่าสุดที่ 120 แผงในเดือนสิงหาคมเป็นการตอกย้ำความมุ่งมั่นของเขา แผงโซลาร์เซลล์เหล่านี้มาจากโรงงานของแตร์พาวเวอร์ในเมืองสปาร์ตา รัฐเทนเนสซี ซึ่งดำเนินการผลิตเต็มกำลังเมื่อต้นปีนี้

"เราได้ใช้ประสบการณ์มากกว่า 30 ปีในการนำของเก่ามาผลิตใหม่ (remanufacturing) กับแผงโซลาร์เซลล์ของเรา" คุณจอห์น โบเยอร์ (John Boyer) ประธานของแตร์พาวเวอร์ กล่าว "โรงงานในเมืองสปาร์ตาอุทิศตนให้กับการผลิตแผงโซลาร์เซลล์ที่ยั่งยืน โดยเราผลิตแผงโซลาร์เซลล์อย่างยั่งยืนได้มากกว่า 100,000 แผง และจะขยายกำลังการผลิตขึ้นอย่างรวดเร็วเพื่อให้ผลิตได้มากขึ้น"

สมาคมกวางแห่งรัฐแอริโซนานำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ ไม่เพียงแค่เพื่อฟื้นฟูที่อยู่อาศัยเท่านั้น แต่ยังร่วมมือกับผู้เลี้ยงโคเพื่อลดต้นทุนและการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลลงได้อีกด้วย

"พลังงานแสงอาทิตย์คือสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่าย" คุณลอว์เรนซ์ กล่าว "เจ้าของฟาร์มปศุสัตว์เปลี่ยนมาใช้พลังงานแสงอาทิตย์ได้ โดยไม่ต้องพึ่งพาพลังงานอื่นเพิ่มเติม ค่าบำรุงรักษานั้นถูกมาก พวกเขาไม่จำเป็นต้องเจอกับบิลค่าเชื้อเพลิง 16,000-18,000 ดอลลาร์ทุกปี"

การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการจ่ายน้ำไปยังพื้นที่ห่างไกลอาจเป็นข้อได้เปรียบ เนื่องจากมีการบำรุงรักษาน้อยและคุ้มค่า ซึ่งสมาคมกวางแห่งรัฐแอริโซนาซื้อแผงโซลาร์เซลล์เหล่านี้ด้วยเงินทุนจากการระดมทุน ทุนสนับสนุน และการบริจาค

"เมื่อคุณพัฒนาไซต์ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ คุณจะคาดหวังว่าคุณไม่ต้องกลับไปตรวจสอบไซต์นั้นอีกพักใหญ่ เนื่องจากตำแหน่งที่ติดตั้งหลายแหล่งนั้นอยู่ไกลมาก" คุณลอว์เรนซ์ กล่าว "หลังจากที่เราได้เห็นว่าแผงเหล่านี้ถูกซ่อมแซมและจัดส่งอย่างไร เราจึงตัดสินใจซื้อ แผงเหล่านี้ดูใหม่มาก เราพอใจอย่างยิ่งกับสภาพของแผง นอกจากนี้ ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา อัตราความสำเร็จของโมดูลที่ได้รับการผลิตอย่างยั่งยืนนี้อยู่ที่ 100% ดังนั้นเราจึงพอใจอย่างยิ่ง"

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแตร์พาวเวอร์ได้ที่ https://www.bbbind.com/terrepower

เกี่ยวกับแตร์พาวเวอร์ แตร์พาวเวอร์ (TerrePower) เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมและผู้ริเริ่มการผลิตชิ้นส่วนที่ยั่งยืน เพื่อขับเคลื่อนพลังงานสะอาดและอนาคตการเดินทาง ตั้งแต่การอัปไซเคิล ยกระดับอายุการใช้งานและประสิทธิภาพของแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนอื่น ๆ ไปจนถึงการปรับปรุงใหม่และรีไซเคิลระบบพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน พันธกิจของแตร์พาวเวอร์คือการมอบชีวิตใหม่ให้กับชิ้นส่วนและวัสดุที่สำคัญเพื่อลดต้นทุน ลดของเสีย นำทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ และปกป้องสิ่งแวดล้อม ส่วนออนทิลิตี (Ontility) ก่อตั้งขึ้นในปี 2552 เป็นแบรนด์โซลูชันวงจรพลังงานแสงอาทิตย์และระบบจัดเก็บพลังงานที่ครบวงจรของแตร์พาวเวอร์ โดยแตร์พาวเวอร์เป็นแผนกหนึ่งของบีบีบี อินดัสทรีส์

เกี่ยวกับบีบีบี อินดัสทรีส์ 
บริษัท บีบีบี อินดัสทรีส์ จำกัด (BBB Industries, LLC) เป็นผู้ผลิตอย่างยั่งยืนชั้นนำที่ให้บริการในตลาดยานยนต์, อุตสาหกรรม และพลังงานหมุนเวียน บีบีบีมีสถานะและการดำเนินงานอย่างกว้างขวางทั่วอเมริกาเหนือและได้เข้าสู่ตลาดยุโรปในปี 2563 ปัจจุบันบีบีบีผลิตและจัดหาชุดชิ้นส่วนซ่อมแซมที่จำเป็นในกว่า 90 ประเทศอย่างยั่งยืน แตร์พาวเวอร์ (TerrePower) เป็นแผนกหนึ่งของบีบีบีที่ให้บริการในตลาดรถยนต์ไฟฟ้า, ตัวเก็บพลังงาน และพลังงานแสงอาทิตย์ ทั่วอเมริกาเหนือและยุโรป ทั้งนี้ บีบีบี อินดัสทรีส์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2530 โดยเป็นบริษัทเอกชนที่มีศูนย์องค์กรตั้งอยู่ในเขตมหานครของเมืองโมบิล รัฐแอละแบมา และเมืองดัลลัส รัฐเท็กซัส ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.bbbind.com

โลโก้ - https://mma.prnewswire.com/media/2199032/BBB_Industries_TerrePower_Logo.jpg

รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/2199033/ADA_TerrePower_AZ_Solar.jpg


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ