กรุงปักกิ่งและเมืองเฉิงตูได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในอันดับที่ 4 และอันดับที่ 8 ในบรรดาเมืองกีฬาระดับโลกในด้านการจัดงานแข่งขันในรายงาน "เมืองกีฬาระดับโลกและอีโคซิสเต็มโอลิมปิก" (Global Sport Cities & The Olympic Ecosystem) ที่เผยแพร่เมื่อเร็ว ๆ นี้โดยควอนตัม คอนซัลแทนซี (Quantum Consultancy) ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยด้านกีฬามืออาชีพระดับนานาชาติ ร่วมกับคณะธุรกิจของมหาวิทยาลัยเดอรัม (Durham University Business School)
รายงานดังกล่าวได้เปิดเผยรายชื่อเมืองชั้นนำ 60 เมือง โดยพิจารณาจากการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาหลายประเภทที่สำคัญและรายการชิงแชมป์โลกทั่วทั้งระบบอีโคซิสเต็มการกีฬา ทำให้เมืองเหล่านี้ได้รับการยกย่องให้เป็นเมืองกีฬาระดับโลกในด้านการจัดงานต่าง ๆ
เฉิงตู ซึ่งเมืองหลวงของมณฑลเสฉวนทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน เป็นหนึ่งในสองเมืองของจีนที่ติด 10 อันดับแรกตามหลังกรุงปักกิ่งที่อยู่ในอันดับที่ 4 เนื่องจากปักกิ่งมีข้อได้เปรียบจากการเป็นเมืองแรกของโลกที่ได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกทั้งฤดูร้อนและฤดูหนาว หรือที่เรียกว่า "Dual Olympic City" ทั้งนี้ รายงานระบุว่า "เมืองเฉิงตูได้ดำเนินกลยุทธ์การจัดงานแข่งขัน ซึ่งรวมถึงเกมการแข่งขันกีฬาหลากหลายประเภทระดับนานาชาติขนาดใหญ่ 2 งานในระยะเวลาห่างกันไม่มาก ได้แก่ การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลก (FISU World University Games) ครั้งที่ 31 ที่เพิ่งเสร็จสิ้นไป และกีฬาเวิลด์เกมส์ (The World Games) ครั้งที่ 31 ในปี 2568"
ทั้งกรุงปักกิ่งและเมืองเฉิงตูได้รับการจัดอันดับตามคะแนนการจัดงานสะสม ซึ่งพิจารณาจากจำนวนงานแข่งขันกีฬาที่เมืองได้เป็นเจ้าภาพ หรือถูกกำหนดให้เป็นเจ้าภาพตั้งแต่ปี 2564 ถึง 2571 ตลอดจนขนาด ระดับชั้น และความโดดเด่นของงานเหล่านี้ก็จะเป็นส่วนหนึ่งในเกณฑ์การให้คะแนนด้วยเช่นกัน
รายงานดังกล่าวได้วิเคราะห์งานแข่งขัน 355 รายการ จาก 95 กีฬา และคุณสมบัติของงานอีก 156 รายการ โดยรวมแล้ว ประเทศเจ้าภาพทั้ง 75 ประเทศ และเมืองเจ้าภาพ 330 เมืองจะเป็นเจ้าภาพจัดงานที่ยิ่งใหญ่เหล่านี้ตั้งแต่ปี 2564 ถึง 2571 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความหลากหลายมากขึ้นทั้งในด้านจำนวนและประเภทของจุดหมายปลายทางที่จัดงานเหล่านี้เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ๆ
การแย่งสิทธิการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาสำคัญระดับนานาชาติในบรรดาเมืองต่าง ๆ กำลังทวีความรุนแรงมากขึ้นในระดับโลก ซึ่งเป็นการบ่งชี้ว่า การได้รับสิทธิพิเศษในการเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติที่สำคัญนั้นกำลังเป็นที่ต้องการและท้าทายมากขึ้นเรื่อย ๆ
จากการวิเคราะห์ที่ครอบคลุมช่วงเวลาระหว่างปี 2564 ถึง 2571 รายงานดังกล่าวเปรียบเทียบและวิเคราะห์เกมการแข่งขันกีฬาที่ครอบคลุมหลัก ๆ และงานแข่งขันกีฬาระดับโลกที่จัดขึ้นโดยเมืองสำคัญ ๆ ทั่วโลกภายใต้อีโคซิสเต็มของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก จากนั้นรายงานคัดเลือกเมืองต่าง ๆ 60 อันดับแรกทั่วโลกที่มีคะแนนสูงในการเป็นเจ้าภาพการแข่งขันระดับนานาชาติ ในจำนวนเมืองเหล่านี้ กรุงปารีสซึ่งจะเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิกในปี 2567 นั้น ครองอันดับหนึ่งในตาราง
(แหล่งข้อมูล: https://quantumconsultancy.substack.com/p/new-report-reveals-top-20-global-95a)
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/2203183/image_5004149_44830616.jpg