ศาสตราจารย์เสวี่ย ฉีคุน จากมหาวิทยาลัยชิงหวา และศาสตราจารย์แอชวิน วิชวานาท จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้รับรางวัลเชิดชูผลงานความก้าวหน้าทางนวัตกรรมในการวิจัยเรื่องวัสดุศาสตร์ในระดับควอนตัมทอพอโลยี
ศาสตราจารย์เสวี่ย ฉีคุน (Xue Qikun) นักวิชาการของสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน (Chinese Academy of Sciences) ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยชิงหวา (Tsinghua University) และอธิการบดีมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาคใต้ (Southern University of Science and Technology) ได้รับรางวัลโอลิเวอร์ อี บักลีย์ สาขาฟิสิกส์ของสสารควบแน่น (Oliver E. Buckley Condensed Matter Physics Prize) ประจำปี 2567 ถือเป็นนักฟิสิกส์สัญชาติจีนคนแรกที่คว้ารางวัลนี้ ร่วมกับศาสตราจารย์แอชวิน วิชวานาท (Ashvin Vishwanath) จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University) ทั้งสองได้รับการยอมรับจากผลงาน "การศึกษาทางทฤษฎีและการทดลองที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนเกี่ยวกับคุณสมบัติทางอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมของวัสดุ ที่สะท้อนถึงลักษณะทอพอโลยีของโครงสร้างของแถบนำ"
ศาสตราจารย์เสวี่ย กล่าวว่า "ความสำเร็จนี้เป็นผลจากการที่จีนเติบโตอย่างมั่นคงในด้านความแข็งแกร่งทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงการสั่งสมการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานมายาวนานนับตั้งแต่การปฏิรูปและการเปิดประเทศของจีนซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อสี่ทศวรรษที่แล้ว เกียรติยศนี้เป็นของนักวิจัยทุกคนในทีม รวมถึงนักวิทยาศาสตร์ชาวจีนทุกคน"
ตั้งแต่ปี 2552 ศาสตราจารย์เสวี่ยเป็นผู้นำการวิจัยร่วมกับกลุ่มวิจัยจากมหาวิทยาลัยชิงหวา สถาบันฟิสิกส์ของสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน และมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University) เพื่อรับมือกับความท้าทายที่พบจากการทดลองเกี่ยวกับควอนตัมปรากฏการณ์ฮอลล์ที่ผิดปกติ (QAH) หลังจากที่ก้าวข้ามอุปสรรคและความล้มเหลวมากมาย เมื่อสิ้นปี 2555 พวกเขาก็บรรลุเป้าหมายทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญด้วยการเป็นคนแรกในโลกที่ทดลองสังเกตผลของปรากฏการณ์ QAH ในฉนวนทอพอโลยีแบบแม่เหล็ก
การค้นพบใหม่ของศาสตราจารย์เสวี่ยได้พัฒนาสาขาฟิสิกส์ให้ก้าวหน้าไปอย่างมาก และช่วยบุกเบิกเส้นทางใหม่สำหรับการวิจัยเรื่องสสารควบแน่นทั่วโลก ทั้งนี้ ผลในทางปฏิบัติก็น่าจะเป็นเช่นนั้นเหมือนกัน เนื่องจากปรากฏการณ์ QAH และสถานะขอบที่ไม่มีการกระจายความร้อนนั้นมีศักยภาพในการปฏิวัติอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้พลังงานต่ำในอนาคต
นอกจากเรื่องวัสดุศาสตร์ในระดับควอนตัมทอพอโลยีแล้ว ศาสตราจารย์เสวี่ยยังส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ในสาขาสภาพนำยิ่งยวดและตัวนำไฟฟ้ายิ่งยวดที่อุณหภูมิสูง ซึ่งได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่องจากนักฟิสิกส์รุ่นต่อรุ่นมานานกว่าร้อยปี
ในปี 2555 ศาสตราจารย์เสวี่ย ซึ่งเป็นผู้นำทีมวิจัยจากภาควิชาฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยชิงหวา ค้นพบตัวนำยิ่งยวดที่อุณหภูมิสูงในฟิล์ม FeSe เซลล์เดียวที่ทำจากสารตั้งต้น SrTiO3 การค้นพบนี้ได้รับการตีพิมพ์ในบทความที่เผยแพร่ในปี 2555 ท้าทายความเข้าใจเกี่ยวกับตัวนำไฟฟ้ายิ่งยวดที่อุณหภูมิสูงที่มีอยู่ในขณะนั้น โดยเสนอมุมมองที่แปลกใหม่และเป็นนวัตกรรม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงจิตวิญญาณแห่งการค้นคว้าทดลองของนักวิทยาศาสตร์ชาวจีน
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/2258293/Professor_Qikun_Xue_China_s_scientist_win_award_field_condensed_matter.jpg