จีนเปิดฉากการประชุมวิทยาศาสตร์ชีวภาพนานาชาติ 2566 มุ่งจุดประกายชีวิตเพื่ออนาคต

ข่าวต่างประเทศ Wednesday November 22, 2023 11:27 —Asianet Press Release

จีนเปิดฉากการประชุมวิทยาศาสตร์ชีวภาพนานาชาติ 2566 มุ่งจุดประกายชีวิตเพื่ออนาคต

การประชุมวิทยาศาสตร์ชีวภาพนานาชาติ ประจำปี 2566 ภายใต้หัวข้อ "จุดประกายชีวิตเพื่ออนาคต" เปิดฉากขึ้นแล้วเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา จัดโดยคณะกรรมการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเทศบาลปักกิ่ง คณะกรรมการบริหารอุทยานวิทยาศาสตร์จงกวนชุน สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเทศบาลปักกิ่ง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเทศบาลกรุงปักกิ่ง และรัฐบาลเขตฉางผิง โดยศูนย์สื่อบูรณาการเขตฉางผิง เปิดเผยว่าการประชุมในปีนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อกำหนดระบบนิเวศนวัตกรรมที่เปิดกว้าง มีความเป็นสากล มุ่งเน้นตลาด และมีพลวัต ส่งเสริมอุทยานวิทยาศาสตร์ชีวภาพจงกวนชุนให้เป็น "หุบเขาแห่งองค์กรวิทยาศาสตร์ชีวภาพ" ชั้นนำของโลก และเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมยาและการดูแลสุขภาพที่มีชื่อเสียงระดับโลก ตลอดจนส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพสูงของอุตสาหกรรมยาและการดูแลสุขภาพในกรุงปักกิ่ง

การประชุมวิทยาศาสตร์ชีวภาพนานาชาติจัดขึ้นทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์

การประชุมในปีนี้ใช้โมเดล "1+4+2+N" เพื่อนำเสนอกิจกรรมทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ พร้อมการสตรีมสดกิจกรรมออฟไลน์แบบเรียลไทม์

ตัวเลข "1" ภายใต้โมเดลนี้สื่อถึงเวทีหลักซึ่งใช้จัดพิธีเปิดการประชุม เหล่านักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญที่มีชื่อเสียงทั้งในและต่างประเทศ ตัวแทนสถาบันการแพทย์ สถาบันการลงทุน สมาคมอุตสาหกรรมและหอการค้า ตลอดจนบริษัทเภสัชกรรมทั้งในและต่างประเทศได้รับเชิญให้เข้าร่วมพูดคุยเกี่ยวกับโอกาสในการพัฒนาและความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ อุตสาหกรรมเภสัชกรรม และการดูแลสุขภาพ

"4" หมายถึงหัวข้อการอภิปราย 4 หัวข้อ ได้แก่ การสัมมนาด้านนวัตกรรมและการพัฒนาอุปกรณ์การแพทย์ การประชุมนานาชาติด้านการพัฒนาและการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์ทางการแพทย์สำหรับอุปกรณ์การแพทย์ การประชุมด้านการวิจัยและพัฒนายา และการพัฒนาอุทยานวิทยาศาสตร์ชีวภาพจงกวนชุน และการประชุมด้านการลงทุนและนวัตกรรมด้านเภสัชกรรมและการดูแลสุขภาพแห่งเขตฉางผิง หัวข้อทั้งหมดครอบคลุมทั้งวงจรของอุตสาหกรรมยาและการดูแลสุขภาพตั้งแต่การวิจัยและพัฒนา นวัตกรรม ไปจนถึงการพัฒนาอุตสาหกรรม โดยมีเป้าหมายเพื่อจัดงานที่รวมผู้คนในแวดวงธุรกิจไว้ด้วยกันสำหรับการแลกเปลี่ยนและระดมความคิด

"2" หมายถึงงานแถลงข่าวและงานจัดแสดง โดยงานแถลงจัดขึ้นในห้องแถลงข่าวของรัฐบาลเทศบาลเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2566 นำเสนอรายละเอียดพื้นฐานของการประชุม การพัฒนาอุตสาหกรรมยาและการดูแลสุขภาพในฉางผิงและปักกิ่ง ตลอดจนวิธีที่เขตและเมืองส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องโดยให้ความสำคัญกับจุดแข็งขององค์กรและทรัพยากรมนุษย์อย่างเต็มที่ การพัฒนาคุณภาพสูงและนวัตกรรมอุปกรณ์ทางการแพทย์ในกรุงปักกิ่ง ขณะที่งานจัดแสดงจะจัดขึ้นในช่วงกิจกรรมกลุ่ม โดยเน้นไปที่ผลิตภัณฑ์การแพทย์ชีวภาพ เอไอ และหุ่นยนต์ทางการแพทย์

"N" หมายถึงกิจกรรมสนับสนุนต่าง ๆ การประชุมในปีนี้รวบรวมไว้ซึ่งกิจกรรมที่จัดขึ้นโดยสมาคมและองค์กรอุตสาหกรรมยาและการดูแลสุขภาพเพื่อขยายฐานธุรกิจและอิทธิพลต่อไป โดยตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา มีการจัดกิจกรรมสนับสนุน 5 กิจกรรม ได้แก่การประชุมโกบรอด ไซแอนซ์ (Gobroad Science Forum), การประชุมนวัตกรรมและการพัฒนาธนาคารชีวภาพทางการแพทย์ 2566 (2023 Clinical Biobank Innovation and Development Forum), การประชุมองค์กรข้อมูลเภสัชกรรมจีนว่าด้วยการวิจัยพัฒนาและนวัตกรรม 2566 (2023 DIA China Drug R&D and Innovation Conference), การประชุม "หุบเขาแห่งวิทยาศาสตร์ชีวภาพ" ว่าด้วยการพัฒนาบุคลากรด้านชีวเภสัชกรรม 2566 (2023 "Life Science Valley" Forum on Biomedical Talent Development), การประชุมบูรณาการและการพัฒนานวัตกรรมด้านการแพทย์ วิศวกรรมศาสตร์ และการเงิน (Integration and Innovation Development Forum of Medicine, Engineering and Finance) รวมถึงการประชุมด้านสมองแห่งกรุงปักกิ่ง 2566 ว่าด้วยการค้นพบด้านสมอง: จากประชานศาสตร์สู่ความชาญฉลาดคล้ายสมอง (Brain Discovery: From Cognitive Science to Brain-like Intelligence -- 2023 Beijing Brain Conference) (ฤดูกาลแลกเปลี่ยนทางวิชาการนานาชาติ) ที่จะจัดขึ้นในเดือนธันวาคม การประชุมเหล่านี้จะช่วยยกระดับระบบนิเวศนวัตกรรมและระดับการพัฒนา และส่งเสริมอุทยานวิทยาศาสตร์ชีวภาพจงกวนชุนให้เป็นอุทยานวิทยาศาสตร์ต้นแบบชั้นนำของโลก

4 ไฮไลต์การแลกเปลี่ยนความร่วมมือเพื่อการพัฒนาร่วมกัน

การประชุมในปีนี้ที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง รองรับการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ระดับชาติที่เกี่ยวข้องและการพัฒนาเมืองหลวงในยุคใหม่ และขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพสูงของอุตสาหกรรมยาและการดูแลสุขภาพของเมือง นอกจากนี้ ยังมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเขตฉางผิงในการก้าวสู่การเป็น "หุบเขาแห่งองค์กรวิทยาศาสตร์ชีวภาพ" ยกระดับระบบนิเวศนวัตกรรมด้านเภสัชกรรมและการดูแลสุขภาพ และสร้างสภาพแวดล้อมทางธุรกิจระดับเฟิร์สคลาส โดยรวมแล้ว การประชุมในปีนี้มีจุดเด่น 4 ประการดังต่อไปนี้

จุดเด่นประการแรกคือการมุ่งเน้นไปที่ขอบเขตแนวหน้าของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเฉพาะเทรนด์การเร่งการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีระดับโลก ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยขับเคลื่อนหลัก 2 ประการ ได้แก่ เทคโนโลยีชีวภาพและเทคโนโลยีดิจิทัล โดยมีการประชุมหลักและการประชุมย่อยในหัวข้อต่าง ๆ ที่อภิปรายประเด็นที่น่าสนใจจากมุมมองที่แตกต่างกัน ผู้ทรงอิทธิพลในอุตสาหกรรมเกือบ 100 ราย เช่น เซีย เสี่ยวเหลียง (Xie Xiaoliang), ซือ เหิงหนิง (Shi Hengning), หวัง ไหล (Wang Lai) และเฉียว เจีย (Qiao Jie) ได้รับเชิญให้ขึ้นกล่าวปาฐกถาพิเศษ การกล่าวสุนทรพจน์ภายใต้หัวข้อต่าง ๆ และดำเนินการเสวนาโต๊ะกลม เพื่อแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกและการคาดการณ์ล่วงหน้าในการส่งเสริมการพัฒนาเภสัชภัณฑ์และอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพภายใต้รูปแบบการพัฒนาใหม่

ประการที่สองคือการส่งเสริมการดำเนินโครงการอุตสาหกรรม ในการประชุมครั้งนี้ เขตฉางผิงได้แนะนำโครงการอุตสาหกรรมที่สำคัญหลายโครงการ โดยส่วนใหญ่เป็นโครงการวิจัยและพัฒนาของบริษัทเภสัชกรรมข้ามชาติ และการจำหน่ายเชิงพาณิชย์สำหรับผลงานวิจัยดั้งเดิม ตลอดจนการลงนามโครงการอุตสาหกรรมสำคัญ 12 โครงการ ซึ่งรวมถึงโครงการการแพทย์แผนจีนของถง เหริน ถัง (Tong Ren Tang), โครงการสปริงเกอร์ เนเจอร์ กรุ๊ป (Springer Nature Group), โครงการศูนย์วิจัยและพัฒนาและสำนักงานใหญ่การผลิตของต้าฉิง เมดิคัล ดีไวซ์ (Daqing Medical Device), โครงการศูนย์การพาณิชย์เทคโนโลยีแนวหน้าแห่งหุบเขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Life Science Valley International Frontier Technology Commercialization Center), โครงการยูบริจีน (uBriGene) และโครงการเอสตัน (Estun) เขตฉางผิงยังได้ลงนามในสัญญาร่วมกับบริษัทชั้นนำ 500 แห่งของจีน สำนักพิมพ์ทางวิชาการที่มีชื่อเสียงระดับโลก และผู้นำในอุตสาหกรรมอื่น ๆ นอกจากนี้ การประชุมในปีนี้ยังมีงานจัดแสดงเทคโนโลยีชีวภาพล้ำสมัย อุปกรณ์การแพทย์ระดับไฮเอนด์ และผลิตภัณฑ์ด้านความงามและสุขภาพ เพื่อส่งเสริมปัจจัยด้านนวัตกรรมที่หลากหลายของกรุงปักกิ่ง แหล่งพัฒนาคุณภาพสูงอย่างเต็มที่ และสภาพแวดล้อมทางธุรกิจชั้นหนึ่ง นอกจากนี้จะมีการเปิดตัวกิจกรรมส่งเสริมการลงทุนแบบกำหนดเป้าหมายเพื่อระบุและตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ขยาย "กลุ่มเพื่อน" ในอุตสาหกรรมยาและการดูแลสุขภาพของปักกิ่ง มอบความช่วยเหลือแก่โครงการที่สำคัญและการค้าในกรุงปักกิ่ง

ประการที่สามคือการสร้างระบบนิเวศนวัตกรรม การประชุมครั้งนี้รวบรวมเจ้าหน้าที่รัฐ หน่วยงานกำกับดูแล ตัวแทนสถาบันการศึกษา ธุรกิจ สถาบันการแพทย์ และสถาบันการลงทุน เพื่อหารือเกี่ยวกับหัวข้อที่มีข้อกังวลร่วมกัน เช่น ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนายาและอุปกรณ์ การแปลงข้อมูลทางการแพทย์ การเพิ่มขีดความสามารถทางการเงิน และวิทยาศาสตร์ด้านกฎระเบียบ เป็นต้น เพื่อส่งเสริมการบูรณาการในเชิงลึกและความร่วมมือด้านนวัตกรรมระหว่างรัฐบาล อุตสาหกรรม สถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย สถาบันทางการแพทย์ และตัวกลางทางการเงิน และสร้างระบบนิเวศนวัตกรรมที่มีพลวัตและเหนียวแน่นมากขึ้น

ประการที่สี่คือการเพิ่มอิทธิพลในระดับโลก การประชุมครั้งนี้ได้เชิญดร. ไมเคิล เลวิตต์ (Dr. Michael Levitt) เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเคมี ตลอดจนนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญชาวยุโรปและอเมริกา รวมถึงแขกจากต่างประเทศเข้าร่วม รวมถึงผู้จัดแสดงผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยบริษัทที่ติดอันดับฟอร์จูน 500 และองค์กรนวัตกรรมจำนวนมากจากปักกิ่งซึ่งมีการดำเนินงานทั่วโลกอย่าง เป่ยจีน (BeiGene), อินโนแคร์ (InnoCare), หวันไท่ ไบโอฟาร์ม (Wantai BioPharm) และพินส์ เมดิคัล (Pins Medical) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนองานอีเวนต์ด้านเภสัชกรรมและการดูแลสุขภาพที่ได้มาตรฐานสากลและมีอิทธิพลระดับโลก

สร้าง "หุบเขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ" ชั้นนำระดับโลกพร้อมธุรกิจที่ยั่งยืน

เภสัชกรรมและการดูแลสุขภาพเป็นภาคส่วนเชิงยุทธศาสตร์เกิดใหม่ที่ทันสมัยที่สุดทั่วโลก และส่งผลโดยตรงต่อชีวิตและสุขภาพของผู้คน นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งใน "กลไกแฝด" ที่ส่งเสริมนวัตกรรมและการพัฒนาของปักกิ่ง เขตฉางผิงให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนายาและการดูแลสุขภาพ ทำให้เป็นภาคส่วนหลัก และมุ่งมั่นที่จะสร้างคลัสเตอร์อุตสาหกรรมยาและการดูแลสุขภาพที่มีมูลค่ากว่า 1 แสนล้านหยวน การพัฒนาด้านเภสัชกรรมและการดูแลสุขภาพของฉางผิงยังได้รับการสนับสนุนอย่างมากจากรัฐบาลเมือง ซึ่งได้ออกแผนปฏิบัติการปักกิ่งเพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมด้านเภสัชกรรมและการดูแลสุขภาพร่วมกัน 2 ฉบับ ผลักดันให้เขตฉางผิงเป็น "หุบเขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ" ชั้นนำของโลก

ด้วยการสนับสนุนอย่างดีจากหน่วยงานเทศบาลและหน่วยงานท้องถิ่น ธุรกิจเภสัชกรรมและการดูแลสุขภาพของเขตฉางผิงซึ่งเป็นสถานที่จัดการประชุมนี้จึงกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ในปี 2565 นั้น ภาคส่วนเภสัชกรรมและการดูแลสุขภาพของฉางผิงมีมูลค่าสูงเกือบ 8 หมื่นล้านหยวน และได้รับการรับรองจากกระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมเฉพาะทางของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และเป็นฐานนวัตกรรมนอกชายฝั่งสำหรับผู้ประกอบการในต่างประเทศที่ได้รับการรับรองโดยสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศจีน

หลังจากที่ได้ทุ่มเทพยายามมาหลายปี ปัจจุบัน เขตฉางผิงมีทรัพยากรมากมายทั่วทั้งซัพพลายเชนเภสัชกรรมและการดูแลสุขภาพ รวมไปถึงปัจจัยทั้งหมดที่จำเป็นสำหรับการผลิต การศึกษา และการวิจัย ภาคส่วนเภสัชกรรมและการดูแลสุขภาพของฉางผิงได้เข้าสู่ช่วงเวลาแห่งการเติบโตอย่างรวดเร็วด้านนวัตกรรมและความสำเร็จ ขณะที่กิจการด้านเภสัชกรรมและการดูแลสุขภาพได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางจากตลาดทุน

ในแง่ของแหล่งบ่มเพาะนวัตกรรมนั้น เขตฉางผิงซึ่งมีอุทยานวิทยาศาสตร์ชีวภาพจงกวนชุนเป็นศูนย์กลาง ได้รวบรวมสถาบันวิจัยและพัฒนาระดับสูงมากกว่า 10 แห่ง เช่นศูนย์วิจัยฉางผิง สถาบันวิทยาศาสตร์ชีวภาพแห่งชาติประจำกรุงปักกิ่ง สถาบันวิจัยสมองแห่งชาติประจำกรุงปักกิ่ง และศูนย์วิทยาศาสตร์โปรตีนแห่งชาติประจำกรุงปักกิ่ง ทั้งหมดดึงดูดนักวิทยาศาสตร์เชิงกลยุทธ์จำนวนมาก เช่น หวัง เสี่ยวตง (Wang Xiaodong), เซีย เสี่ยวเหลียง (Xie Xiaoliang) และเฉา เฟิง (Shao Feng) รวมถึงผู้เชี่ยวชาญระดับสูงอีกกว่า 300 ราย ตลอดจนมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงมากกว่า 40 แห่ง เช่น มหาวิทยาลัยปักกิ่ง มหาวิทยาลัยซิงหัว มหาวิทยาลัยเป่ยหัง มหาวิทยาลัยกิจการโทรคมนาคมปักกิ่ง มหาวิทยาลัยเป่ยหัว และมหาวิทยาลัยเหมืองแร่และเทคโนโลยีจีน ที่ได้เปิดวิทยาเขตและห้องปฏิบัติการในเขตฉางผิง

ในแง่ของการบริการเอาต์ซอร์สที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยพัฒนายาและอุปกรณ์ทางการแพทย์นั้น เขตฉางผิงมีระบบนิเวศบริการที่สมบูรณ์แบบสำหรับอุตสาหกรรมยาและอุปกรณ์การแพทย์ โดยได้สร้างแพลตฟอร์มเทคโนโลยีทั่วไปที่สำคัญจำนวน 34 แพลตฟอร์มสำหรับการค้นคว้ายา สัตว์ทดลอง และการผลิตตามสัญญา (CMO/CDMO) อย่างเป็นระบบเพื่อตอบสนองความต้องการเชิงพาณิชย์ ตลอดจนสร้างระบบบริการที่ครอบคลุมห่วงโซ่อุตสาหกรรมทั้งหมด ตั้งแต่การบ่มเพาะ การวิจัยและพัฒนา ไปจนถึงการทดสอบนำร่องและการค้า อำนวยความสะดวกระหว่างขั้นตอนการวิจัยพัฒนาและการคิดค้นนวัตกรรม ไปสู่การพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมได้อย่างราบรื่น

ในแง่ของบริการตรวจสอบและอนุมัติด้านการบริหาร อุทยานวิทยาศาสตร์ชีวภาพจงกวนชุนได้เปิดตัวสถานีบริการนวัตกรรมด้านเภสัชกรรมและอุปกรณ์การแพทย์แห่งแรกของปักกิ่งในเดือนเมษายน 2566 เพื่อให้บริการแก่องค์กรต่าง ๆ ด้วยบริการที่ตรงเป้าหมายแบบเห็นหน้ากัน ครอบคลุมกระบวนการอนุมัติด้านการบริหาร นอกจากนี้ยังให้บริการห้องไปรษณีย์ฉางเชิงสาธารณะ ซึ่งเป็นห้องกิจกรรมสำหรับผู้มีความสามารถระดับนานาชาติ ศูนย์บริการชาวต่างชาติ และแพลตฟอร์มลงทะเบียนคลัสเตอร์การค้าเสรี อุทยานวิทยาศาสตร์ชีวภาพจงกวนชุนมุ่งมั่นที่จะมอบบริการด้านการบริหารทั้งหมดที่บริษัทต่าง ๆ ต้องการ

เมื่อพิจารณาจากจำนวนบริษัทยาและอุปกรณ์การแพทย์ที่มีอยู่ ฉางผิงมีบริษัทเภสัชกรรมและการดูแลสุขภาพมากกว่า 900 แห่ง ซึ่งรวมถึงองค์กรเทคโนโลยีขั้นสูงที่ได้รับการรับรองจากรัฐ 269 แห่ง วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีความเชี่ยวชาญและเชี่ยวชาญ 133 แห่ง ยูนิคอร์นและวิสาหกิจที่มีศักยภาพระดับยูนิคอร์น 19 แห่ง และวิสาหกิจจดทะเบียน 18 แห่ง (รวมถึงธุรกิจที่จดทะเบียนในสหรัฐอเมริกาและฮ่องกง) นอกจากนี้ ยังมีองค์กรที่มีศักยภาพสูงในระยะเริ่มต้นที่ก่อตั้งโดยสถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์ปรากฏให้เห็นอย่างต่อเนื่อง เขตฉางผิงที่ใช้ประโยชน์จากข้อได้เปรียบอันเป็นเอกลักษณ์จากกลุ่มธุรกิจระดับไฮเอนด์ ได้บ่มเพาะองค์กรรวม 80 แห่งที่ก่อตั้งโดยนักวิทยาศาสตร์ชื่อดัง ซึ่งรวมถึง ไพโรเทค เทอราพิวติก (Pyrotech Therapeutic) ที่ก่อตั้งโดยนักวิชาการอย่างเฉา เฟิง (Shao Feng), หัวฮุ่ย เฮลธ์ (Huahui Health) โดย ศ. หลี่ เหวินฮุ่ย (Li Wenhui), เป่ยเซลล์ เทอราพิวติกส์ (BeiCell Therapeutics) โดย ศ. เติ้ง หงคุ่ย (Deng Hongkui) และเจี้ยนต้า จิ่วโจว (Jianda Jiuzhou) โดย ศ. หลัว มินมิน (Liu Minmin)

เขตฉางผิงอาศัยโอกาสที่สร้างขึ้นจากการขับเคลื่อนกรุงปักกิ่งในการพัฒนาแบบ "สองโซน" (เขตสาธิตแห่งชาติเพื่อการบูรณาการภาคบริการ และเขตการค้าเสรีนำร่องของจีนประจำกรุงปักกิ่ง) เมื่อพิจารณาถึงลักษณะการพัฒนาของอุตสาหกรรมยาและการดูแลสุขภาพแล้ว เขตฉางผิงได้นำเสนอนโยบายการพัฒนาด้านเภสัชกรรมและการดูแลสุขภาพเป็นครั้งแรกของเมือง ซึ่งได้แก่มาตรการชั่วคราวสำหรับคลัสเตอร์ฉางผิงเพื่อสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมเภสัชกรรมและการดูแลสุขภาพ ในพื้นที่นวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของเขตการค้าเสรีนำร่องของจีนประจำกรุงปักกิ่ง นำไปสู่รายได้กว่า 83.73 ล้านหยวนในปีที่ผ่านมา เมื่อยึดตามนโยบายปี 2564 แล้ว เขตฉางผิงได้เปิดตัวเวอร์ชัน 2.0 เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมยาและการดูแลสุขภาพ เขตฉางผิงที่ยกระดับใหม่นี้สะท้อนถึงแนวโน้มการพัฒนาอุตสาหกรรมและข้อได้เปรียบเฉพาะตัวของเขต โดยมุ่งเน้นไปที่ตัวขับเคลื่อนหลัก 2 ประการ ได้แก่ เทคโนโลยีชีวภาพและเทคโนโลยีดิจิทัล และสนับสนุนการขับเคลื่อนการนำนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ การเปิดตัวและการดำเนินโครงการที่ทันสมัย การเสริมสร้างและยกระดับองค์กรนวัตกรรม การเพิ่มประสิทธิภาพและการยกระดับระบบนิเวศอุตสาหกรรม

ในอนาคตนั้น เขตฉางผิงจะยังคงเป็นแนวหน้าด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีในสาขาเภสัชกรรมและการดูแลสุขภาพ และจะยกระดับระบบนิเวศนวัตกรรมและระดับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เขตฉางผิงจะใช้ประโยชน์จากการประชุมในครั้งนี้โดยมุ่งเน้นไปที่การสร้างคลัสเตอร์อุตสาหกรรมยาและการดูแลสุขภาพที่มีมูลค่าอย่างน้อย 1 แสนล้านหยวน เดินหน้าขยายความครอบคลุมของอุตสาหกรรมแห่ง "หุบเขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ" ยกระดับนโยบายอุตสาหกรรม ระบบนิเวศนวัตกรรม และสิ่งอำนวยความสะดวกด้านบริการ มุ่งมั่นที่จะสร้างต้นแบบแห่งปักกิ่งด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมยาและการดูแลสุขภาพที่มีอิทธิพลระดับโลก นอกจากนี้ เขตฉางผิงจะสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน บริษัท และพนักงานด้วยสภาพแวดล้อม บริการ และนโยบายที่ดีที่สุด เพื่อให้พวกเขาลงทุน ทำงาน และใช้ชีวิตในเขตนี้ได้อย่างมั่นใจและสะดวกสบายและสร้างอนาคตที่มีร่วมกัน เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการประชุมครั้งนี้จะดึงดูดผู้ประกอบการจำนวนมากขึ้นให้หันมาเริ่มต้นธุรกิจในเขตฉางผิง ไล่ตามความฝัน และสร้างสิ่งที่ทุกฝ่ายได้ประโยชน์

ที่มา: ศูนย์สื่อบูรณาการเขตฉางผิง

ลิงก์ภาพประกอบข่าว:

ลิงก์: https://iop.asianetnews.net/view-attachment?attach-id=443364

คำบรรยายภาพ: การประชุมนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ประจำปี 2566 จัดขึ้นที่เขตฉางผิง กรุงปักกิ่ง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ