ณ วันที่ 13 ธันวาคม กองทุนอีทีเอฟที่เน้นลงทุนในด้านปัญญาประดิษฐ์อย่าง E Fund CSI Artificial Intelligence Thematic ETF ซึ่งใหญ่ที่สุดเมื่อเทียบกับกองทุนอีทีเอฟกลุ่มเดียวกัน ได้บรรลุหมุดหมายสำคัญโดยมีสินทรัพย์ในการดูแลแตะหลัก 617 ล้านดอลลาร์สหรัฐ กองทุนอีทีเอฟที่ว่านี้บริหารโดยบริษัทจัดการกองทุนรายใหญ่ที่สุดที่มีสำนักงานในจีนแผ่นดินใหญ่และฮ่องกงอย่างอี ฟันด์ แมเนจเมนต์ (E Fund Management) "อี ฟันด์" หรือ "บริษัทฯ" กองทุนนี้ติดตามดัชนีปัญญาประดิษฐ์ซีเอสไอ (CSI Artificial Intelligence Index) ซึ่งประกอบด้วยบริษัทชั้นนำ 50 แห่งในห่วงโซ่คุณค่าอุตสาหกรรมปัญญาประดิษฐ์ของจีน
กระแสความนิยมเอไอที่กำลังมีขึ้นนี้ได้เข้ามาสร้างความตื่นเต้นให้กับนักลงทุน โดยกองทุนอีทีเอฟที่เน้นลงทุนในด้านปัญญาประดิษฐ์ของอี ฟันด์ ก็มีเงินทุนไหลเข้ามากถึงสัปดาห์ละ 14 ล้านดอลลาร์สหรัฐในเดือนธันวาคม
เอไอได้เข้ามามีอิทธิพลเพิ่มขึ้นทั่วโลก ส่วนใหญ่ได้รับแรงหนุนจากความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในโมเดลภาษาขนาดใหญ่และโอกาสด้านฮาร์ดแวร์ที่มากขึ้น โดยเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายนนั้น โอเพนเอไอ (OpenAI) ได้เปิดตัวจีพีทีโฟร์ เทอร์โบ (GPT-4 Turbo) โมเดลใหม่ ซึ่งมีความสามารถมากขึ้น รองรับคอนเท็กซ์วินโดว์ได้ 128K และมีความรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์โลกจนถึงเดือนเมษายน 2566 นอกจากนี้ จีพีทีโฟร์ เทอร์โบ มาพร้อมความก้าวหน้าแต่ในราคาที่ถูกลงและจำกัดการเข้าถึงในระดับที่สูงขึ้น เพื่อช่วยให้นักพัฒนานำไปใช้ได้มากขึ้น
ในขณะเดียวกัน แวดวงอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ได้เกิดความก้าวหน้าครั้งใหญ่จากการเปิดตัวพินเอไอ ซึ่งเป็นผู้ช่วยส่วนตัวดิจิทัลที่อยู่ในฮาร์ดแวร์ชิ้นเล็ก ๆ ที่นำไปหนีบกับเสื้อผ้าของผู้สวมใส่ได้ แกดเจ็ตนี้ขับเคลื่อนโดยโมเดลเอไอภาษาขนาดใหญ่จากโอเพนเอไอ และโปรเซสเซอร์ควอลคอมม์ สแนปดรากอน (Qualcomm Snapdragon) ทำให้ใช้แทนที่สมาร์ตโฟนในการส่งข้อความ ถ่ายภาพ และโต้ตอบกับผู้ช่วยเสมือนที่คล้ายกับแชตจีพีที (ChatGPT) ได้
ในประเทศจีนนั้น ความก้าวหน้าของเอไอโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องโมเดลภาษาขนาดใหญ่ที่พัฒนาด้วยตนเองและพลังการประมวลผล กำลังยกระดับมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยยังไม่ได้ใช้ศักยภาพของอุตสาหกรรมในประเทศได้ถึงที่สุด และเมื่อนโยบายจูงใจเริ่มเป็นรูปเป็นร่าง และส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการใช้เอไอพัฒนานวัตกรรม ก็เชื่อว่านักลงทุนจะปลดล็อกโอกาสต่าง ๆ ได้ด้วยกองทุนอีทีเอฟธีมเอไอ เพื่อเข้าถึงบริษัทที่อยู่แถวหน้าของการปฏิวัติปัญญาประดิษฐ์
เกี่ยวกับอี ฟันด์
อี ฟันด์ แมเนจเมนต์ (E Fund Management Co., Ltd.) หรือ "อี ฟันด์" ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 2544 เป็นผู้นำด้านการจัดการกองทุนแบบครบวงจรในประเทศจีน โดยมีทรัพย์สินในการดูแลมากกว่า 3 ล้านล้านหยวน (4.2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ) อี ฟันด์ ให้บริการโซลูชันการลงทุนแก่ลูกค้าทั้งในและนอกประเทศ ช่วยให้ลูกค้าได้รับผลการดำเนินงานด้านการลงทุนที่ยั่งยืนในระยะยาว ลูกค้าของอี ฟันด์ มีทั้งบุคคลและสถาบัน ไม่ว่าจะเป็นธนาคารกลาง กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ กองทุนประกันสังคม กองทุนบำเหน็จบำนาญ บริษัทประกันภัยและประกันภัยต่อ ไปจนถึงบริษัทและธนาคาร อี ฟันด์ มุ่งลงทุนในระยะยาว โดยมุ่งเน้นไปที่ธุรกิจการจัดการการลงทุนตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง และเชื่อมั่นในพลังของการวิจัยเชิงลึกและเวลาในการลงทุน เป็นผู้บุกเบิกและผู้ประกอบการชั้นนำด้านการลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบในประเทศจีน ทั้งยังได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นหนึ่งในผู้จัดการสินทรัพย์ที่น่าเชื่อถือและโดดเด่นที่สุดของจีน
ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศจากธนาคารกลางจีน (PBoC) ณ สิ้นเดือนกันยายน 2566