รีช รีจิสทรี เผย ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีแนวโน้มเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจมากกว่าจากโรคหลอดเลือดสมองโดยตรง

ข่าวต่างประเทศ Thursday May 15, 2008 16:39 —Asianet Press Release

นีซ, ฝรั่งเศส--15 พ.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์ - เอเชียเน็ท / อินโฟเควสท์
รีช รีจิสทรี เปิดเผยว่า 70% ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีแนวโน้มเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจมากกว่าจากโรคหลอดเลือดสมองโดยตรง
รีช รีจิสทรี (REACH Registry) นำเสนอข้อมูลใหม่จากการศึกษาเป็นระยะเวลากว่า 2 ปี ต่อที่ประชุมโรคหลอดเลือดสมองอุดตันแห่งยุโรป (European Stroke Conference 2008) โดยระบุว่าผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) จำนวนมาก (ราว 73%) จะเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจ (Nonstroke cardiovascular events) มากกว่าจากโรคหลอดเลือดสมองโดยตรง โดยอัตราการเสียชีวิตทั้งหมดอยู่ที่ 4.45% และ 3.23% เสียชีวิตจากอาการที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับหลอดเลือดสมอง
ข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยที่เคยมีอาการของโรคหลอดเลือดสมอง และ/หรือ เกิดอาการขาดเลือดไปเลี้ยงสมองชั่วขณะ (TIA) มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอาการดังกล่าวซ้ำอีกครั้ง (รวมทั้งอาจเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจด้วย)
นอกจากนั้นแล้ว 1 ใน 4 ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (CAD), 2 ใน 5 ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ (CVD) และ 3 ใน 5 ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ (PAD) จะมีอาการเส้นเลือดใหญ่ในสมองตีบ (Atherothrombosis) ร่วมด้วย ดั้งนั้น รีช รีจิสทรี จึงให้ความสำคัญกับการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ รวมถึงจัดการความเสี่ยงจากอาการขาดเลือด (Ischemic risk management) ในผู้ป่วย เพื่อลดความรุนแรงของอาการและลดอัตราการเสียชีวิต
ราว 28% ของผู้ป่วยของรีช รีจิสทรี ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบทั่วไป โดยผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบราว 40% จะเป็นโรคหลอดเลือดหลายส่วน (Polyvascular disease) ควบคู่ไปด้วย และในกลุ่มผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบทั่วไป 71% เคยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง, 51% เคยเกิดอาการขาดเลือดไปเลี้ยงสมองชั่วขณะ และ 20% เคยเป็นทั้งสองอย่าง
จากการรวบรวมข้อมูลตลอด 2 ปีพบว่า ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบมีแนวโน้มเกิดโรคหลอดเลือดสมองแบบไม่รุนแรงถึงชีวิต (5.9%) ในขณะที่โอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจขาดเลือด และโรคหลอดเลือดหัวใจอยู่ที่ 11.5% นอกจากนั้นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบยังมีความเสี่ยงที่จะเกิด major adverse cardiac event และต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล (มากกว่า 20%)
“ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดโรคหลอดเลือดสมองและอาการเส้นเลือดใหญ่ในสมองตีบซ้ำอีกครั้ง นอกจากนั้นข้อมูลจากรีช รีจิสทรี ยังแสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจด้วย และผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองยังมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดโรคเส้นเลือดใหญ่ในสมองตีบต่อเนื่อง ส่วนผู้ป่วยที่เกิดอาการขาดเลือดไปเลี้ยงสมองชั่วขณะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเส้นเลือดใหญ่ในสมองตีบในอนาคต ทั้งนี้ การทำตามแนวทางการักษาเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง” ศจ.ดร.โจอาคิม โรเธอร์ จากแผนกประสาทวิทยา โรงพยาบาลมินเดน แห่งโรงเรียนแพทย์มหาวิทยาลัยฮันโนเวอร์ ในเมืองมินเดน ประเทศเยอรมนี กล่าว
โรคหลอดเลือดสมองตีบ เป็นโรคที่เกิดขึ้นจากการผสมผสานกันของโรคที่เกี่ยวข้องกับหลอดเลือดแดงหลักที่คอและหลอดเลือดแดงในกะโหลกศีรษะ และเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วย 20-30% เกิดอาการสมองขาดเลือด ส่วนสาเหตุอื่นๆ เกิดจากการอุดตันของเส้นเลือดแดง (25%), หลอดเลือดเล็กอุดตัน (20%) และเกิดจากสาเหตุอื่นที่ไม่สามารถหาที่มาได้ (1, 2) นอกจากนั้นความดันเลือดสูงยังเป็นอีกปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองด้วย ทั้งนี้ โรคหลอดเลือดสมองตีบเป็นปัญหาสุขภาพที่กำลังลุกลามอย่างรวดเร็วไปทั่วโลก
ข้อมูลจากรีช รีจิสทรี ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกใน Cerebrovascular Diseases (3) เมื่อเดือนที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่ามีปัจจัยเสี่ยงมากมายที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบ และจำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบก็เพิ่มขึ้นอย่างมาก และในบางรายก็แสดงอาการเส้นเลือดใหญ่ในสมองตีบให้เห็นอย่างชัดเจน
“รีช รีจิสทรี ต้องการแสดงให้ทั่วโลกเห็นถึงความรุนแรงของโรคเส้นเลือดใหญ่ในสมองตีบ และในกรณีของโรคหลอดเลือดสมองตีบ แพทย์จำเป็นต้องวิเคราะห์ข้อมูลอย่างละเอียดเพื่อหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสม อาทิ การรักษาด้วยยาต้านเกล็ดเลือดในระยะยาวหรือการควบคุมความดันเลือดไม่ให้สูงเกินไป” ศจ.ดร.กาเบรียล สเตก จากแผนกโรคหัวใจ โรงพยาบาลบิชาต์-คล็อด แบร์นาร์ ในปารีส กล่าวในนามของคณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์ของรีช รีจิสทรี
นอกจากข้อมูลทั้งหมดในข้างต้นแล้ว รีช รีจิสทรี ยังนำเสนอเรื่องความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองหรือผู้ที่เคยเกิดอาการขาดเลือดไปเลี้ยงสมองชั่วขณะ (Risk of coronary events in patients with stroke or TIA: Two-year follow-up data from the Reduction of Atherothrombosis for Continued Health (REACH) Registry: Touze E, Rother J, Alberts MJ, Goto S, Hill MD, Aichner F, Steg PG, Bhatt DL, Mas JL ในนามของทีมวิจัยของรีช รีจิสทรี) แม้อัตราการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดและการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจจะมีเพียง 1% ต่อปี แต่ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ความเสี่ยงดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 -2.5% ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหลายส่วนด้วย
วัตถุประสงค์และขอบข่ายการศึกษาของรีช รีจิสทรี
เป้าหมายโดยรวมของรีช รีจิสทรี คือการยกระดับการประเมินและจัดการกับภาวะเส้นโลหิตในสมองอุดตัน หัวใจวาย และปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่ทำให้การเกิดภาวะไขมันอุดตันในหลอดเลือดแดง โดยมีผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะไขมันอุดตันในหลอดเลือดแดงจากทั่วโลกที่เข้าร่วมในโครงการนี้นั้น ครอบคลุมทุกภูมิภาคและมีจำนวนกว่า 68,000 คนใน 44 ประเทศ ทั่วทั้ง 6 ทวีป ได้แก่ ละตินอเมริกา เอเชีย ตะวันออกกลาง ออสเตรเลีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ และเกี่ยวข้องกับผู้ตรวจสอบทางการแพทย์กว่า 5,000 ราย (4), (5)
รีช รีจิสทรี ครอบคลุมถึงผู้ป่วยที่มีภาวะไขมันอุตันในหลอดเลือดแดง ซึ่งมีการบันทึกข้อมูลด้านสุขภาพและบำบัดรักษาผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดไขมันอุดตันในหลอดเลือดแดง อีกทั้งมีการเฝ้าสังเกตผู้ป่วยเหล่านี้ว่าได้รับเชื้อโรคได้อย่างไร และประเมินความรุนแรงของเชื้อโรคดังกล่าว ทั้งนี้ ผู้ป่วยที่เข้าร่วมในการศึกษาของรีช รีจิสทรีต่างมีปัจจัยเสี่ยงนานับประการที่อาจนำไปสู่การเกิดภาวะไขมันอุดตันในหลอดเลือดแดง เช่น มีคอเลสตรอเรลสูง มีภาวะความดันโลหิตสูง สูบบุหรี่ และเป็นโรคเบาหวาน หรือมีประวัติอาการหัวใจวายมาก่อน ตลอดจนมีภาวะเส้นโลหิตในสมองอุดตัน หรือโรคโลหิตแดงรอบนอกตีบ(PAD) ทั้งนี้ ผู้ที่เข้าร่วมในโครงการของรีช รีจิสทรีเป็นผู้ป่วยอาสาสมัครทั้งสิ้น
นอกจากนี้ รีช ริจิสทรียังใช้ข้อมูลที่ได้จากประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจริงและทำทุกวิถีทางที่จะทำให้ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์หลากหลายสาขา (ด้านหัวใจ ประสาทวิทยา ยาใช้ภายใน ยาที่ใช้รักษาหลอดเลือด และแพทย์ที่ให้การรักษาเบื้องต้นประจำโรงพยาบาล) ซึ่งช่วยสามารถประเมินความรุนแรงของโรคได้ดีขึ้นด้วย
สาเหตุสำคัญของการเกิดภาวะหัวใจวาย เส้นโลหิตในสมองอุดตัน และโรคโลหิตแดงรอบนอกตีบ (PAD)
โรคไขมันอุดตันในหลอดเลือดแดง เกิดขึ้นเมื่อมีการแข็งตัวของเลือด (ก้อนเลือด) ขึ้นบนคราบตะกรันของไขมันที่สะสมอยู่บริเวณผนังของหลอดเลือด ซึ่งคราบตะกรันไขมันประกอบด้วยกรดไขมันและคอเลสตรอเรล รวมถึงแคลเซียมและสารประกอบชนิดอื่นๆ
คราบตะกรันของไขมันและก้อนเลือดที่ก่อตัวสะสมกันมากขึ้น อาจเป็นเหตุให้เกิดการกีดขวางการลำเลียงเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย ทั้งนี้ เมื่อลิ่มเลือดกีดขวางการทำงานของหลอดเลือดหัวใจนั้นอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหัวใจวาย และหากหลอดเลือดในสมองถูกกีดขวาง ผู้ป่วยอาจเกิดภาวะโลหิตในสมองอุดตัน ส่วนหลอดเลือดส่วนอื่นๆในร่างกายที่ถูกกีดขวางก็จะปรากฏอาการเช่นเดียวกัน คือความสามารถในการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงที่ขาจะลดลง ซึ่งทำให้เกิดภาวะโลหิตแดงรอบนอกตีบ(PAD) อันเป็นปัจจัยเสี่ยงที่มีนัยสำคัญต่อการเกิดโรคหัวใจวาย หรือ โรคโลหิตในสมองอุดตัน
ดังนั้นการเกิดภาวะไขมันอุดตันในหลอดเลือดแดงจึงเป็นอาการทั่วไปที่เชื่อมโยงกับการเกิดโรคหัวใจวาย โลหิตในสมองอุดตัน และโลหิตแดงรอบนอกตีบ
หมายเหตุถึงบรรณาธิการ
รีช รีจิสทรี
รีช รีจิสทรี เป็นการศึกษาผู้ป่วยนอกครั้งแรกเพื่อจำแนกอัตราการเกิดโรคที่แท้จริงและรูปแบบของการรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคไขมันอุดตันในหลอดเลือดแดงทั่วโลก โดยการศึกษาครั้งนี้มีผู้ป่วยเข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่า 4 ปี จำนวนกว่า 60,000 คน ใน 44 ประเทศ และมีคณะผู้ตรวจสอบทางการแพทย์ 5,000 คน โดยรีช รีจิสทรี มีเป้าหมายที่จะยกระดับการประเมินและการจัดการผู้ป่วยที่มีประวัติหลอดเลือดหัวใจตีบ (CAD) เส้นโลหิตในสมองอุดตัน (Stroke/TIA),โรคหลอดโลหิตแดงรอบนอกตีบ (PAD)) และผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงสูงของการเกิดโรคดังกล่าว
รีช รีจิสทรีได้รับการสนับสนุนโดยบริษัทซาโนฟี่-อเวนตีส บริษัทบริสตอล-ไมเยอร์ สควิบบ์ และมูลนิธิแวกส์แมน (โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น) ซึ่งร่วมกันออกแบบและจัดทำการศึกษารวมถึงการเก็บรวบรวมข้อมูล
ข้อมูลการศึกษารีช รีจิสทรี ผ่านการรับรองจากสมาพันธ์โรคหัวใจโลก
คณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์ของรีช รีจิสทรี ได้แก่
-- ฟิลิปป์ กาเบรียล สเตก จากโรงพยาบาล Bichat-Claude Bernard ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
-- ดีป๊าก แอล. แบตต์ จากคลีฟแลนด์ คลีนิก ฟาวเดชั่น ในคลีฟแลนด์ สหรัฐอเมริกา
-- อี. แมคนัส โอห์แมน มหาวิทยาลัยดุ๊ก ในเมืองเดอแรม รัฐนอร์ทแคโรไลนา สหรัฐอเมริกา
-- โจอาคิม โรเธอร์ จากโรงพยาบาลมินเดน แห่งฮันโนเวอร์ เมดิคอล สคูล ประเทศเยอรมนี
-- ปีเตอร์ ดับบลิวเอฟ วิลสัน จากมหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์อีมอรีย์ ในแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย สหรัฐอเมริกา
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรีช รีจิสทรี กรุณาเข้าชมที่เว็บไซต์ www.REACHRegistry.org
ข้อมูลอ้างอิง
(1.) Grau AJ, Weimar C, Buggle F et al. Risk factors, outcome, and
treatment in subtypes of ischemic stroke: the German stroke data
bank. Stroke 2001;32:2559-2566.
(2.) Adams HP Jr, Bendixen BH, Kappelle LJ et al. Classification of
subtype of acute ischemic stroke: definitions for use in a
multicenter clinical trial. TOAST. Trial of Org 10172 in Acute Stroke
Treatment. Stroke 1993;24:35-41.
(3.) Rother J, Alberts MJ, Touze et al. Risk factor Profile and Management
of Cerebrovascular Patients in the REACH Registry Cerebrovasc Dis
2008;25:366-374.
(4.) DL. Bhatt, PG. Steg, EM. Ohman, AT. Hirsch, Y. Ikeda, J-L. Mas, S.
Goto, C-S. Liau, A-J. Richard, J. Rother, PWF. Wilson, on behalf of
the REACH Registry Investigators. International prevalence,
recognition, and treatment of cardiovascular risk factors in
outpatients with atherothrombosis. JAMA 2006;295:180-189.
(5.) PG. Steg, DL. Bhatt, PWF. Wilson, R. D'Agostino, EM. Ohman, J.
Rother, C-S. Liau, AT. Hirsch, J-L. Mas, Y. Ikeda, MJ. Pencina, S.
Goto, on behalf of the REACH Registry Investigators. One-year
cardiovascular event rates in outpatients with atherothrombosis. JAMA
2007;297: 1197-1206.
แหล่งข่าว รีช รีจิสทรี
ติดต่อ : หลุยส์ คราโธรน
โทรศัพท์ +44-20-7300-6385,
อีเมล์ louise.crathorne@bm.com,
เว็บไซต์ : http://www.reachregistry.org
--เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท ( www.asianetnews.net ) --

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ