วอชิงตัน--28 ต.ค.--พีอาร์นิวสไวร์-เอเชียเน็ท / อินโฟเควสท์
- ข้อมูลการทดลองมีการนำเสนอในการประชุมประจำปีร่วมกันระหว่าง ICAAC และ IDSA
- ผลการศึกษาบ่งชี้ว่าวัคซีนที่นำมาทดลองครั้งนี้อาจมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับวัคซีน Prevnar หรือ PCV7 ซึ่งเป็นวัคซีนที่ครอบคลุมเชื้อนิวโมคอคคัส 7 สายพันธุ์ และครอบคลุมเชื้อนิวโมคอคคัสได้อีก 6 สายพันธุ์
- ไวเอทกำลังอยู่ในระหว่างการยื่นขออนุมัติให้มีการใช้วัคซีนดังกล่าวเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านกุมารเวชในสหรัฐช่วงไตรมาสแรกของปีพ.ศ.2552 และขยายการใช้ประโยชน์จากวัคซีนไปทั่วโลกในช่วงเวลาเดียวกัน หรือก่อนหน้านั้น
ข้อมูลจากการทดลองครั้งสำคัญและการศึกษาในระยะที่ 3 จำนวน 3 ฉบับที่นำเสนอในที่ประชุมประจำปีระหว่าง Interscience Conference on Antimicrobial Agents and Chemotherapy (ICAAC) และสมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกา (Infectious Diseases Society of America หรือ IDSA) ในกรุงวอชิงตัน ดีซีในวันนี้ระบุว่า วัคซีน 13-valent pneumococcal conjugate vaccine หรือ PCV13 ของไวเอท (NYSE: WYE) อาจมีประสิทธิภาพการป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส หรือโรคพีดี ในเด็กทารกและเด็กเล็กที่อายุไม่ถึง 2 ขวบได้ครอบคลุมมากขึ้นเมื่อเทียบกับวัคซีน Pneumococcal 7-valent conjugate vaccine หรือ Prevnar(R) ซึ่งเป็นวัคซีนที่ป้องกันเชื้อนิวโมคอคคัส 7 สายพันธุ์ (มีสารประกอบโปรตีน Diphtheria CRM197 Protein)
นอกจากนี้ วัคซีน PCV13 อาจมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับยา Prevnar หรือ PCV7 ในกาารป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสชนิดรุนแรง หรือโรคไอพีดีได้ เนื่องจากวัคซีนดังกล่าวครอบคลุมการป้องกันเชื้อนิวโมคอคคัสได้ 7 สายพันธุ์ และอาจมีประสิทธิภาพครอบคลุมอีกเชื้อดังกล่าวอีก 6 สายพันธุ์
วัคซีนดังกล่าวครอบคลุมส่วนประกอบของเชื้อนิวโมคอคคัสที่พบได้บ่อยที่สุด 13 สายพันธุ์ที่อาจทำให้เกิดโรคพีดี โดยเชื้อนิวโมคอคคัส 7 สายพันธุ์ประกอบด้วย (4, 6B, 9V, 14, 18C, 19F และ 23F) เป็นกลุ่มที่อยู่ในวัคซีน Prevnar ที่เป็นวัคซีนมาตรฐานระดับโลกสำหรับใช้ป้องกันโรคพีดีในทารกและเด็กเล็ก ขณะที่ยังไม่สามารถป้องกันเชื้อนิวโมคอคคัสอีก 6 สายพันธุ์ (1, 3, 5, 6A, 7F และ 19A) ซึ่งอาจกลายพันธุ์ไปเป็นเชื้อโรคชนิดรุนแรง อย่างไรก็ดี วัคซีนทั้งสองกลุ่มนี้ประกอบด้วยสาร CRM197 ซึ่งเป็นโปรตีนที่มีสารประกอบภูมิคุ้มกันซึ่งใช้ในด้านกุมารเวชศาสตร์มานานถึง 20 ปี
“ข้อมูลใหม่เหล่านี้บ่งชี้ว่าวัคซีน PVC13 สามารถสนองตอบความต้องการในการป้องกันเชื้อโรคร้ายแรงได้อย่างครอบคลุม” ดร.เอมิลิโอ เอ. เอมินี รองประธานฝ่ายบริหารประจำแผนกวิจัยและพัฒนาวัคซีนของไวเอท ฟาร์มาซูติคอลส์กล่าว “จากสายพันธุ์ต่างๆของเชื้อนิวโมคอคคัสที่ปรากฏอยู่นั้น เราสามารถประเมินได้ว่าวัคซีน PCV13 มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคไอพีดีในเด็กทารกและเด็กเล็กทั่วโลกได้มากถึง 92% ซึ่งความรุนแรงของโรคดังกล่าวนับเป็นปัญหาสำคัญระดับโลก ทางไวเอทจึงได้พัฒนาวัคซีนตัวนี้ขึ้นมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อโรคให้มีความครอบคลุมมากยิ่งขึ้น”
บริษัทคาดว่าการยื่นขออนุญาตใช้วัคซีนรักษาโรคในเด็กในสหรัฐจะแล้วเสร็จในช่วงไตรมาสแรกของปีพ.ศ.2552 และคาดว่าจะขยายการใช้ประโยชน์จากวัคซีนไปทั่วโลกในช่วงเวลาเดียวกัน หรือก่อนหน้านั้น ทั้งนี้ วัคซีน PCV13 ยังได้มีการนำไปศึกษาในการทดลองทางคลีนิคกับผู้ป่วยในระยะที่ 3 ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการยื่นเอกสารขออนุมัติให้ทางหน่วยงานกำกับดูแลภายในปีพ.ศ.2553
โรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายของเด็กและผู้ใหญ่ และยังเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการเจ็บป่วยและเสียชีวิต ทั้งนี้ เชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัสถูกจัดเป็นกลุ่มเชื้อโรคที่ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วย ซึ่งทั้งหมดมีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียม สเตรปโตคอคคัส นิวโมเนีย (bacterium Streptococcus pneumoniae) ที่มีอานุภาพการติดเชื้ออย่างรุนแรงเช่น bacteremia/sepsis และ meningitis รวมถึงเชื้อนิวโมเนียและโรคหูน้ำหนวก หรือหูชั้นกลางอักเสบ และเมื่อเร็วๆนี้ มีการพบเชื้อนิวโมคอคคัสสายพันธุ์ 19A ที่ทนต่อยาปฏิชีวนะปรากฏในวัคซีนที่นำมาทดลองครั้งนี้ หลังจากที่เชื้อดังกล่าวแพร่ระบาดมากขึ้นเรื่อยๆในหลายภูมิภาค
ข้อมูลการศึกษาในระยะที่สาม
ข้อมูลที่นำเสนอในวันนี้เปิดเผยถึงการศึกษาเชื้อนิวโมคอคคัส 4 สายพันธุ์ในกลุ่ม 13 สายพันธุ์ในระยะที่สามของโครงการทดลองทางคลีนิคโดยมีเป้าหมายที่จะกระตุ้นให้เจ้าหน้าที่กำกับดูแลออกใบอนุญาตการใช้วัคซีน PVC13 ทางการแพทย์
ข้อมูลสำคัญจากยุโรป
การทดลองครั้งสำคัญระยะที่ 3 ((#G-2117) ที่ทำการทดลองในกลุ่มทารก 604 คนในเยอรมนีระหว่างวัคซีน PCV13 เทียบกับวัคซีน Prevnar การประเมินผลด้านภูมิคุ้มกันมีการจัดทำขึ้นในเวลา 1 เดือนหลังจากที่เสร็จสิ้นการทดลองวัคซีนในกลุ่มทารก (โดยใช้วัคซีนเด็กทารกอายุ 2, 3 และ 4 เดือน) ทั้งนี้ เป้าหมายของการทดลองวัคซีน PCV13 ในเชิงพันธุศาสตร์ภูมิคุ้มกันมีดังต่อไปนี้
-- เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพโดยทั่วไประหว่างวัคซีน PCV13 และวัคซีน Prevnar ที่ตอบสนองต่อภูมิคุ้มกันเชื้อนิวโมคอคคัส 7 สายพันธุ์
-- เพื่อประเมินการตอบสนองต่อภูมิคุ้มกันของเชื้อนิวโมคอคคัสอีก 6 สายพันธุ์ ซึ่งรวมเป็น 13 สายพันธุ์
ผลการศึกษากลุ่มการทดลองวัคซีน PCV13 เชิงพันธุศาสตร์ภูมิคุ้มระบุว่า วัคซีน PCV13 ที่มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อภูมิคุ้มกันเชื้อโรคนิวโมคอคคัสทั้ง 13 ชนิดสามารถใช้เทียบเคียงกับวัคซีน Prevnar ได้ นอกจากนั้น วัคซีน PCV13 ยังสามารถกระตุ้นการทำงานทางชีวภาพของแอนติบอดี้ที่ต่อต้านเชื้อโรคนิวโมคอคคัสได้ทั้งหมด 13 สายพันธุ์ ผลการศึกษาครั้งนี้ยังบ่งชี้ให้เห็นถึงความปลอดภัยและความสามารถในการต้านพิษยาของวัคซีน PCV13 และวัคซีน Prevnar ในระดับที่ใกล้เคียงกัน
ผลการศึกษาสรุปถึงการประเมินปฏิกิริยาตอบสนองของภูมิคุ้มกันสารประกอบหลากหลายชนิด (hepatitis B, Haemophilus influenzae type B and diphtheria) ของวัคซีน Infanrix(R) hexa (แกล็กโซสมิธไคลน์) ที่ใช้ในด้านกุมารเวชศาสตร์ซึ่งพบว่า ประสิทธิภาพการออกฤทธิ์ภูมิคุ้มกันของวัคซีนเหล่านี้สามารถนำไปใช้ร่วมกับวัคซีน PCV13 หรือ Prevnar ได้ทั้งสองประเภท
นอกจากนี้ ผลการศึกษาครั้งสำคัญบ่งชี้ว่าวัคซีน PCV13 อาจมีประสิทธิภาพเทียบเท่า Prevnar ในการช่วยป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสที่มีสาเหตุจากสายพันธุ์ของเชื้อโรคที่ใช้วัคซีน Prevnar และวัคซีน PCV13 อาจมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคพีดีที่มีสาเหตุจากแบคทีเรียที่เหลืออีก 6 สายพันธุ์
ข้อมูลเพิ่มเติมการศึกษาระยะที่ 3 ที่นำเสนอในงานการประชุม ICAAC/IDSA
ข้อมูลจากการศึกษาเพิ่มเติมทั้ง 3 ฉบับในระยะที่ 3 ที่ทำขึ้นในทวีปยุโรป (ฝรั่งเศส โปแลนด์ และสหราชอาณาจักร) ที่มีการเสนอที่งานการประชุมร่วมของ ICAAC/IDSA สรุปให้เห็นว่า วัคซีน PCV13 มีประสิทธิภาพในการต้านเชื้อโรค เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และมีประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อนิวโมคอคคัส 13 สายพันธุ์
-- การศึกษาที่จัดทำขึ้นในฝรั่งเศส (n=613, #G-2119) เปิดเผยว่า การทดลองให้วัคซีน PCV13 ในเด็กทารกขนาด 3 โดส สามารถกระตุ้นการทำงานของภูมิคุ้มกันที่มีต่อเชื้อนิวโมคอคคัสทั้ง 13 สายพันธุ์ นอกจากนี้ ภูมิคุ้มกันดังกล่าวยังมีการตอบสนองต่อสารแอนติเจนที่เป็นสารกระตุ้นการสร้างแอนติบอดี้ในวัคซีน Pentavac(TM) (Sanofi-Pasteur) ที่ออกฤทธิ์เทียบเคียงกับวัคซีน PCV13 หรือ Prevnar นอกจากนี้ในแง่ความปลอดภัยและการต้านทานฤทธิ์ยาของวัคซีนทั้งสองกลุ่มนั้นยังอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน
-- การศึกษาในสหราชอาณาจักร (n=278, #G-2118) ระบุว่า การทดลองให้วัคซีน PCV13 ในเด็กทารกขนาด 2 โดสภายในระยะเวลา 2 และ 4 เดือนนั้นออกฤทธิ์ในการสร้างภูมิคุ้มกันสำหรับเชื้อนิวโมคอคคัสทุกสายพันธุ์ และความสามารถต้านทานฤทธิ์ยาสามารถเทียบเคียงกับวัคซีน Prevnar ส่วนการตอบสนองของสารแอนติบอดี้นั้นมีประสิทธิภาพเทียบเคียงกับวัคซีน (Pediacel(R) ของ Sanofi-Pasteur], NeisVac-C(R) [Baxster] และ Menitorix(TM) ของ GlaxoSmithKline
--การศึกษาในโปแลนด์ (n=269, #G-2116) บ่งชี้ว่า วัคซีน PCV13 ออกฤทธิ์ในการสร้างภูมิคุ้มกันและกระตุ้นความต้านทานฤทธิ์ยาได้ในระดับเดียวกับวัคซีนที่มีการพัฒนาเพื่อใช้ในโครงการนำร่อง ซึ่งเป็นกลุ่มวัคซีนที่ใช้มากที่สุดในการทดลองทางคลีนิกระยะที่สาม
ความปลอดภัยและความสามารถในการต้านทานฤทธิ์ยาของวัคซีน PCV13 และวัคซีน Prevnar สามารถนำไปเปรียบเทียบกับการศึกษา 4 ฉบับและรายงานฉบับล่าสุดที่ระบุถึงอาการข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน (อาการตัวแดง อาการตัวบวม เนื้อตัวเหลวนิ่ม) มีไข้ (สูงกว่าหรือเท่ากับ 38 องศาเซลเซียส หรือ 100.4 องศาฟาเรนไฮต์) ไม่สบายตัว ง่วงซึม นอนหลับไม่สนิท เบื่ออาหาร อาเจียน ท้องร่วง และมีผื่นขึ้นตามร่างกาย
“วัคซีน PCV13 ของไวเอทสะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จครั้งสำคัญในด้านวิทยาศาสตร์ และแสดงให้เห็นถึงภารกิจหลักของไวเอทในการเป็นผู้บุกเบิกวิทยาการความก้าวหน้าด้านการรักษาสุขภาพอย่างต่อเนื่อง” ดร.เอมินีกล่าวเสริม “วัคซีนดังกล่าวได้มีการพัฒนาขึ้นต่อยอดจากวัคซีน Prevnar และมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสที่เป็นสาเหตุของการเกิดเชื้อนิวโมคอคคัสที่มีอยู่ทั่วโลกทั้ง 13 สายพันธุ์”
โรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส
องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า โรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสถือเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปีทั่วโลก ทั้งนี้ WHO ได้แนะนำให้มีการใช้วัคซีน Prevnar หรือ PCV7 ในโครงการสร้างภูมิคุ้มกันแก่เด็กๆในแต่ละประเทศทั่วโลก เนื่องจากโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสถือเป็นปัญหาใหญ่หลวง พร้อมทั้งกล่าวว่าหากในอนาคตมีการพัฒนาวัคซีนต้านเชื้อนิวโมคอคคัสชนิดอื่นๆที่สามารถป้องกันโรคได้มากขึ้น นานาประเทศก็ควรประเมินความเป็นไปได้ในการเปลี่ยนไปใช้วัคซีนดังกล่าว
ข้อบ่งใช้
วัคซีน Prevnar ระบุให้ใช้เป็นวัคซีนที่ออกฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกันในเด็กทารกและเด็กเล็กเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรคร้ายแรงที่มีสาเหตุจากเชื้อสเตรปโตคอคคัส นิวโมเนีย (Streptococcus pneumoniae หรือ S. pneumoniae) การติดเชื้อในกระแสเลือด (Bacteremia) และการติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมองทำให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis) ซึ่งเป็นโรคที่ก่อตัวขึ้นจากเชื้อนิวโมคอคคัส 7 สายพันธุ์ ทั้งนี้ เชื้อโรค S. pneumoniae ที่ประกอบด้วย 7 สายพันธุ์ ( 4, 6B, 9V, 14, 18C, 19F, และ 23F) ทำให้เกิดโรคร้ายแรงในเด็กมากที่สุด ดังนั้นจึงควรมีการให้วัคซีนเป็นประจำในเด็กวัย 2, 4, 6 และ 12-15 เดือน
นอกจากนี้ ยังมีข้อบ่งชี้ให้ใช้วัคซีน Prevnar เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในโรคหูน้ำหนวก หรือหูชั้นกลางอักเสบ (การติดเชื้อในช่องหู) ที่มีสาเหตุจากเชื้อโรค 7 สายพันธุ์
วัคซีน Prevnar อาจไม่สามารถป้องกันโรคในผู้ป่วยที่ได้รับวัคซีนที่ประกอบด้วยเชื้อสายพันธุ์รุนแรงจากเชื้อ S. pneumoniae ได้หมดทุกคนเช่นเดียวกับวัคซีนชนิดอื่นๆ และวัคซีนตัวนี้ยังไม่ได้มีการใช้เพื่อป้องกันการติดเชื้อรุนแรง
ข้อมูลด้านความปลอดภัยที่สำคัญเกี่ยวกับวัคซีน Prevnar
ในการทดสอบทางการแพทย์ ส่วนใหญ่มีรายงานเกี่ยวกับการฉีดยาที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาข้างเคียงต่อคนไข้ได้แก่ มีไข้ (สูงกว่าหรือเท่ากับ 38 องศาเซลเซียส หรือ 100.4 องศาฟาเรนไฮต์) ไม่สบายตัว ง่วงซึม หลับไม่สนิท เบื่ออาหาร อาเจียน ท้องร่วง และมีผื่นขึ้นตามร่างกาย
ทั้งนี้ การให้วัคซีนทุกชนิดมีความเสี่ยง ซึ่งรวมถึงวัคซีน Prevnar ด้วยเช่นกัน ความรู้สึกกระตือรือร้นมากเกินเหตุจากการได้รับวัคซีน ซึ่งรวมถึงวัคซีนป้องกันโรคคอตีบเป็นสัญญาณบ่งชี้ที่มีการใช้แตกต่างกัน โดยวัคซีน PREVENAR ไม่สามารถใช้เพื่อป้องกันผู้ป่วยที่ได้รับวัคซีนโรคคอตีบได้ 100%
เกี่ยวกับไวเอท ฟาร์มาซูติคอลส์
ไวเอท ฟามาซูติคอลส์ เป็นหน่วยงานหนึ่งของไวเอท บริษัทเป็นผู้นำด้านผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขอนามัยในสตรี ยารักษาโรคติดเชื้อ โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาทส่วนกลาง อาการอักเสบ การปลูกถ่าย โรคเลือดออกไม่หยุด เนื้องอกวิทยา วัคซีน และผลิตภัณฑ์อาหารเสริม
ไวเอทเป็นหนึ่งในบริษัทผลิตภัณฑ์ที่ขับเคลื่อนด้วยงานวิจัยและเป็นผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพรายใหญ่ที่สุดของโลก โดยไวเอทเป็นผู้นำด้านการค้นคว้า พัฒนา ผลิต และจำหน่ายเวชภัณฑ์ วัคซีน ผลิตภัณฑ์ชีวภาพ และยาที่ไม่ต้องใช้ใบสั่งยาจากแพทย์ ซึ่งช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตสำหรับประชากรทั่วโลก หน่วยงานหลักของบริษัทยังประกอบไปด้วย ไวเอท ฟามาร์ซูติคอล, ไวเอท คอนซูเมอร์ เฮลท์แคร์ (Wyeth Consumer Healthcare) และฟอร์ท ดอดจ์ แอนิมอล เฮลท์ (Fort Dodge Animal Health)
ข้อความในข่าวประชาสัมพันธ์ซึ่งไม่ถือเป็นข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ฉบับนี้ เป็แถลงการณ์เกี่ยวกับอนาคตที่อยู่บนพื้นฐานของการคาดการณ์สถานการณ์ในอนาคตที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงและความไม่แน่นอน ซึ่งรวมถึงผลกระทบที่แตกต่างกันในการนำเสนอข้อความในแถลงการณ์นี้ ความเสี่ยงและความไม่แน่นอนในข่าวชิ้นนี้ ได้แก่ ข้อมูลทางการแพทย์ที่อาจมีการตีความได้แตกต่างกัน, ความคิดเห็นของหน่วยงานกำกับดูแล ผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์ และบุคคลอื่นๆที่อาจมีความคิดเห็นที่ต่างออกไป ทั้งนี้ ข้อความข้างต้นระบุถึงข้อมูลการวิจัยทางคลีนิกที่มีการนำเสนอในที่ประชุมดังกล่าวซึ่งระบุเพียงเชื้อนิวโมคอคคัส 4 สายพันธุ์ในบรรดา 13 สายพันธุ์ของการศึกษาวัคซีน PCV13 ในระยะที่ 3 แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดข้อมูลทั้งหมดหรือข้อมูลอื่นๆที่อาจส่งผลกระทบต่อคว่มคิดเห็นของเจ้าหน้าที่กำกับดูแลและการซื้อขายวัคซีน PCV13 ในเชิงพาณิชย์ ความเสี่ยงและความไม่แน่นอนอื่นๆที่อาจส่งผลต่อข้อมูลที่แท้จริงที่ระบุในแถลงการณ์คุ้มครองคาดการณ์นี้ประกอบด้วยความไม่แน่นอนในเรื่องของเวลา, ความสำเร็จ, ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องในการทดลองวัคซีน, การวิจัย, การพัฒนา, การอนุญาตของเจ้าหน้าที่กำกับดูแลและการอนุมัติการใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ของผลิตภัณฑ์ในบริษัท ซึ่งประกอบด้วยค่าใช้จ่ายของรัฐบาล, ข้อจำกัดสำหรับผู้จ่ายเงินลำดับที่ 3, การแข่งขันในอุตสาหกรรมเวชภัณฑ์ซึ่งรวมถึงชื่อแบรนด์และชื่อทางการค้า, ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้า, ข้อมูลสินค้าที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ, การดำเนินธุรกิจที่เป็นไปตามเงื่อนไข, ความน่าเชื่อถือของผลิตภัณฑ์, ทรัพย์สินทางปัญญาและความเสี่ยงอื่นๆทางกฎหมาย, ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับสิทธิด้านทรัพย์สินทางปัญญาและอื่นๆ, อุปสรรคต่างๆ, และความเคารพเงื่อนไขของหน่วยงานกำกับดูแล, การผลิตสินค้า, ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์เชิงกลยุทธ์, เงื่อนไขทางเศรษฐกิจ ซึ่งรวมถึงดอกเบี้ยและความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา, การเปลี่ยนแปลงโดยทั่วไปยกเว้นหลักการด้านบัญชี,รูปแบบการซื้อขาย, ผลกระทบของการปฏิบัติตามเงื่อนไขของหน่วยงานกำกับดูแล, ความเสี่ยงและความไม่แน่นอนอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจและการจำหน่ายในระดับโลกและความเสี่ยงและความไม่แน่นอนอื่นๆ ซึ่งรวมถึงรายละเอียดจากรายงานเป็นครั้งคราวของบริษัท ที่รวมถึงรายงานในปัจจุบันเกี่ยวกับ Form 8-k, รายงานไตรมาสเกี่ยวกับ Form 10-Q และรายงานประจำปีเกี่ยวกับ Form 10-K โดยเฉพาะที่มีการระบุในหัวข้อ "ITEM 1A, RISK FACTORS." ในรายงานประจำปีจาก Form 10-K ที่สิ้นสุด ณ วันที่31 ธันวาคม พ.ศ.2550 ซึ่งยื่นต่อคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2551 ทั้งนี้ บริษัทไม่มีความจำเป็นที่จะให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแถลงการณ์เกี่ยวกับการคาดการณ์ในอนาคตต่อสาธารณะ ไม่ว่าจะมีข้อมูลใหม่ๆ หรือมีการเปลี่ยนแปลงใดๆเกิดขึ้นในอนาคตก็ตาม
แหล่งข่าว ไวเอท ฟาร์มาซูติคอลส์
ติดต่อ: สำหรับสื่อมวลชน
ลิลี่ กอร์ดอน จากไวเอท ฟาร์มาซูติคอลส์
โทร +1-484-865-6671
หรือ
ดักลาส เพทคัส จากไวเอท
โทร +1-973-660-5218;
สำหรับนักลงทุน
จัสติน วิคตอเรีย จากไวเอท
โทร +1-973-660-5340
--เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท ( www.asianetnews.net ) --