สถาบันมะเร็งโรสเวลล์ ปาร์กเผยผลการศึกษายา lenalidomide ในผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรัง มีการตอบสนองเป็นไปตามคาด

ข่าวต่างประเทศ Wednesday December 6, 2006 12:14 —Asianet Press Release

บัฟฟาโล, นิวยอร์ก--6 ธ.ค.--พีอาร์นิวสไวร์-เอเชียเน็ท/อินโฟเควสท์
การศึกษาระยะที่สองซึ่งดำเนินการโดยนพ.อัชเชอร์ ชานัน-ข่าน ประจำภาควิชาการแพทย์ สถาบันมะเร็งโรสเวลล์ ปาร์ก(RPCI) เผยให้เห็นว่า
ผู้ป่วยที่ได้รับยา lenalidomide สำหรับการรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรัง(CLL)กำเริบ หรือโรคที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยคีโมบำบัดอีกต่อไป
มีการตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาดังกล่าวอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งผลการศึกษาในครั้งนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Clinical Oncology
ฉบับวันที่ 1 ธ.ค.
นพ.ชานัน-ข่าน เปิดเผยว่า "โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรัง นับเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดในประชาชนแถบซีกโลกตะวันตก และยังเป็นอาการที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้" ขณะที่การศึกษาระยะที่สองหลายชิ้นแสดงให้เห็นถึงการตอบสนองด้านการแพทย์ที่ดีขึ้นในการรักษาด้วยคีโมบำบัดเพียงอย่างเดียว หรือการรักษาร่วมกับยา rituximab ซึ่งเป็นแบบ monoclonal antibody แต่อาการที่กำเริบขึ้นมานั้นเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ นอกจากนี้ทางเลือกในการรักษาอาการดังกล่าวก็มีอยู่อย่างจำกัด
ยา Lenalidomide เป็นยาที่ปรับเปลี่ยนภูมิคุ้มกันตัวใหม่ โดยไม่ต้องใช้วิธีรักษาด้วยคีโมบำบัด ยารักษาโรคมะเร็งซึ่งมีสรรพคุณการรักษาคล้ายคลึงกับยา thalidomide แต่ผลการศึกษาในห้องวิจัยพบว่ายาดังกล่าวมีความสามารถในการบำบัดมากกว่าและมีอาการข้างเคียงน้อยกว่ายา thalidomide ทั้งนี้
ได้มีการรายงานความสามารถในการต่อต้านมะเร็งของยาตัวนี้ในโรคมะเร็งหลายชนิด ซึ่งรวมถึงโรคกระดูกพรุนในมะเร็งเม็ดเลือด หรือมัลติเพิล มัยอีโลมา (Multiple myeloma) และ ไมอีโลดิสพลาสติก ซินโดรม (Myelodysplastic syndrome)
ในการศึกษาถึงยา Lenalidomide ระยะที่สองนี้
ถือเป็นครั้งแรกที่มีการรายงานการรักษาผู้ป่วยด้วยโรค CLL ด้วยการใช้ยา lenalidomide โดยผู้ป่วยจำนวน 45 รายที่มีอาการ immunophenotypically
ซึ่งได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น B-CLL ได้รับการรักษาด้วยยา lenalidomide ในปริมาณ 25 มิลลิกรัมต่อวัน โดยผลการรักษาส่วนใหญ่ในผู้ป่วยจำนวน 21 คน (47%) พบว่ามีผู้ป่วยจำนวน 4 คนที่มีการตอบสนองเป็นไปตามเป้า และ 17 คนที่บรรลุการตอบสนองเป็นบางส่วน ทั้งนี้ ผู้ป่วยทั้งหมดมีประวัติการจัดการที่ปลอดภัยและคาดเดาได้ ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยที่สุดได้แก่ อาการเหนื่อย ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ (neutropenia) และมีจำนวนเกร็ดเลือดต่ำทำให้เกิดภาวะเลือดออกง่าย ( thrombocytopenia)
"ข้อมูลเหล่านี้ได้ให้การสนับสนุนในการติดตามผลการใช้ยา lenalidomide ในการศึกษาระยะคลินิกที่มีการดำเนินการที่โรสเวลล์ ปาร์ก
และศูนย์มะเร็งแห่งอื่นๆในประเทศอยู่ในขณะนี้" ดร.ชานาน-ข่านระบุสถาบันมะเร็งโรสเวลล์ ปาร์ก ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2441 เป็นศูนย์วิจัย ศูนย์รักษา และศูนย์การศึกษาโรคมะเร็งแห่งแรกของประเทศ อีกทั้งเป็นสถาบันมะเร็งแห่งชาติเพียงแห่งเดียวที่ได้ชื่อว่าเป็นสำนังานใหญ่ของศูนย์์มะเร็งที่มีความครอบคลุมในรัฐนิวยอร์ก โดย RPCI เป็นสมาชิกของเครือข่ายศูนย์มะเร็งแห่งชาติ (National Comprehensive Cancer Network) ซึ่งเป็นพันธมิตรของศูนย์มะเร็งชั้นนำของประเทศ โรสเวลล์ ปาร์ก มีสาขาและมีโครงการความร่วมมือในนิวยอร์ก เพนซิลวาเนีย และจีน สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาเข้าชมเว็บไซต์ของ RPCI ที่www.roswellpark.org โทรศัพท์ 1-877-ASK-RPCI (1-877-275-7724) หรือที่อีเมล์ askrpci@roswellpark.org
เดโบราห์ แพตติโบล,
โทร. (716) 868-6182
อีเมล์ Deborah.pettibone@roswellpark.org
ที่มา: สถาบันมะเร็งโรสเวลล์ ปาร์ก
ติดต่อ: เดโบราห์ แพตติโบน, +1-716-868-6182,
อีเมล์ Deborah.pettibone@roswellpark.org
เว็บไซต์: http://www.roswellpark.org
--เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท ( www.asianetnews.net )--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ