CGAP ชี้ธนาคารบนมือถือมีโอกาสเติบโตในตลาดกำลังพัฒนาท่ามกลางวิกฤตการณ์ทางการเงิน

ข่าวต่างประเทศ Friday February 13, 2009 11:17 —Asianet Press Release

วอชิงตัน--13 ก.พ.--พีอาร์นิวส์ไวร์- เอเชียเน็ท/ อินโฟเควสท์ CGAP หน่วยงานระดับโลกด้านระบบการเงินรายย่อยหรือไมโครไฟแนนซ์ กำลังเปิดเผยผลการวิจัยและข้อมูลใหม่ๆ เพื่อกระตุ้นให้ผู้ให้บริการด้านการสื่อสาร สถาบันการเงิน และรัฐบาลเล็งเห็นถึงโอกาสทางธุรกิจในการขยายการบริการทางการเงินให้เข้าถึงคนยากจนในตลาดกำลังพัฒนา ขณะที่การกระจายทางเลือกที่ปลอดภัยในการเข้าถึงเงินสดกำลังมีความจำเป็นมากยิ่งขึ้นในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน "วิกฤตการณ์ทางการเงินไม่ได้หมายถึงการสิ้นสุดของนวัตกรรม เราควรพึงระลึกว่านวัตกรรมที่ยิ่งใหญ่หลายสิ่งในศตวรรษที่ผ่านมา อาทิ เครื่องคิดเลขแบบพกพา โทรทัศน์ เวิลด์ไวด์เว็บ ล้วนถูกสร้างขึ้นในช่วงทุกข์เข็ญทางเศรษฐกิจ" เอลิซาเบธ ลิทเทิลฟิลด์ ซีอีโอของ CGAP กล่าว ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของนวัตกรรมธนาคารบนมือถือ (m-banking) จนถึงปัจจุบันคือ M-PESA ในเคนยา ซึ่งมีค่าบริการโอนเงินถูกกว่าประเภทอื่นๆ ถึง 45% ผลการสำรวจโดยหน่วยงานอิสระพบว่า 83% ของผู้ใช้กล่าวว่า ชีวิตของพวกเขาจะได้รับ "ผลกระทบเชิงลบอย่างมาก" หากไม่มี M-PESA แม้ตัวเลขเหล่านี้จะช่วยสร้างแรงผลักดัน แต่ CGAP กลับพบว่าธนาคารบนมือถือยังไม่ได้แสดงศักยภาพที่มีอยู่ทั้งหมด โดยลูกค้าธนาคารบนมือถือไม่ถึงหนึ่งในสิบนั้น เป็นคนจน ใหม่ต่อการธนาคาร และทำธุรกรรมต่างๆ มากกว่าการชำระเงินและการโอนเงิน “ธนาคารบนมือถือสามารถพัฒนาไปได้มากกว่าธุรกรรมทางบัญชีทั่วไปเพื่อให้บริการบนแพลทฟอร์มที่ยืดหยุ่นซึ่งจะตอบสนองความต้องการของคนยากจนได้ ขณะเดียวกันก็เป็นแหล่งรายได้ใหม่เพื่อการเติบโตของผู้ให้บริการ" ลิทเทิลฟิลด์กล่าว "ชิ้นส่วนต่างๆ กำลังจะถูกพัฒนาออกมาเพื่อช่วยให้ธนาคารบนมือถือเปลี่ยนวิถีทางเข้าถึงบริการด้านการธนาคารของผู้คนในตลาดเกิดใหม่" ทั้งนี้ ผู้ให้บริการมีโอกาสที่เป็นไปได้อื่นๆ ในการตอบสนองความต้องการของคนจน ควบคู่ไปกับการขยายธุรกิจใหม่ CGAP คาดว่าคนจนจำนวน 150 ล้านคนทั่วโลกได้รับเงินช่วยเหลือทางสังคมเป็นประจำจากรัฐบาลของพวกเขา อย่างไรก็ตามกลับมีผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ของตนเองผ่านบัญชีธนาคารซึ่งพวกเขาสามารถออม ชำระเงิน และสะสมสินทรัพย์ได้ ในสัดส่วนไม่ถึง 25% "ลองนึกดูว่าหากการจ่ายเงินดังกล่าวสามารถทำได้โดยผ่านบัตรแถบแม่เหล็กซึ่งเชื่อมโยงกับบัญชีธนาคาร หรือผ่านโทรศัพท์มือถือ นี่อาจหมายถึงผู้รับผลประโยชน์จะสามารถเข้าถึงบริการที่มีคุณค่าอย่างเต็มรูปแบบทันที เช่น การออม" ลิทเทิลฟิลด์กล่าว ที่งาน GSM World Congress ในเมืองบาร์เซโลนา CGAP จะจัดแสดงโครงการเทคโนโลยีซึ่งเป็นการค้นพบล่าสุดเกี่ยวกับความเข้าใจในตัวลูกค้าและแม่แบบทางธุรกิจซึ่งทำให้การธนาคารบนมือถือมีประโยชน์สำหรับคนยากจน สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่ http://technology.cgap.org ธนาคารนอกสาขา เรียงลำดับตามตัวเลข - ในฟิลิปปินส์ ต้นทุนของแต่ละธุรกรรมผ่านสาขาคิดเป็น US$2.50 แต่ธนาคารบนมือถือต้นทุนจะเหลือเพียง 0.50 ดอลลาร์สหรัฐ และค่าธรรมเนียมสำหรับการใช้ธนาคารบนมือถือบางรายการยังลดลงอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์อื่นๆ ตัวอย่างเช่น ยาสีฟันมีส่วนต่างกำไรประมาณ 10-12% ขณะที่การทำธุรกรรมทางการเงินบนมือถือมีส่วนต่างเพียง 1% - ในปากีสถาน ต้นทุนในการตั้งและดำเนินการตัวแทนน้อยกว่า ต้นทุนของธนาคารสาขาถึง 76 เท่า - บราซิลอาจจะเป็นตลาดที่มีการพัฒนามากที่สุด โดยสถาบันการเงินมากกว่า 70 แห่งในปัจจุบัน บริหารตัวแทนประมาณ 105,000 รายในเทศบาลเกือบ 6,000 แห่ง โครงการเทคโนโลยีของ CGAP ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิบิลและเมลินดา เกตส์ CGAP เป็นศูนย์วิจัยและกำหนดนโยบายอิสระที่อุทิศตนเพื่อช่วยขยายขอบเขตการเข้าถึงในด้านการเงินไปสู่คนจนทั่วโลก CGAP ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานเพื่อการพัฒนาและมูลนิธิเอกชนกว่า 30 แห่งซึ่งมีพันธกิจเดียวกันคือเพื่อบรรเทาความยากจน CGAP ตั้งอยู่ที่ธนาคารโลก และให้บริการด้านข่าวสารการตลาด ส่งเสริมมาตรฐาน พัฒนาโซลูชันที่สร้างสรรค์ และให้บริการด้านคำปรึกษาแก่รัฐบาล ผู้ให้บริการทางการเงินรายย่อย ผู้บริจาค และนักลงทุน กรุณาศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่เว็บไซต์ http://www.cgap.org แหล่งข่าว CGAP ติดต่อ: CGAP อูน่า กัลลาเกอร์ พูลิซซี, +1-202-473-8869 หรือ จิม โรเซนเบิร์ก, +1-202-473-1084 --เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท ( www.asianetnews.net ) --

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ