ผลการศึกษาชี้ผู้ป่วยโรคหอบหืดมักจะรักษาอาการป่วยของตนเองมากกว่าที่จะหาทางป้องกันโรค

ข่าวต่างประเทศ Monday July 3, 2006 11:54 —Asianet Press Release

ลุนด์--3 ก.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์-เอเชียเน็ท/อินโฟเควสท์
ผลการศึกษาในวงกว้างบ่งชี้ว่า ผู้ป่วยอาจพลาดโอกาสที่จะหลีกเลี่ยงการจู่โจมจากโรคหอบหืด
ข้อมูลใหม่เกี่ยวกับทัศนคติและพฤติกรรมของผู้ป่วยโรคหอบหืดที่ตีพิมพ์ลงในวารสารบีเอ็มซี พัลโมนารี เมดิซีนเมื่อเร็วๆนี้ สะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นของกลยุทธ์ใหม่ๆในการจัดการโรคหอบหืด
ผลการศึกษา International Asthma Patient Insight Research (INSPIRE) เป็นผลการศึกษาในวงกว้างครั้งแรก (n = ผู้ป่วย 3,415 คน) ในผู้ป่วยโรคหอบหืดที่ทำการบำบัดรักษาอย่างสม่ำเสมอ ผลการศึกษาบ่งชี้ถึงข้อมูลที่มีคุณค่าเกี่ยวกับความเข้าใจทัศนคติของผู้ป่วยโรคหอบหืด ไปจนถึงการจัดการโรคหอบหืด ผลกระทบของภาวะโรคหอบหืดที่มีต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน และวิธีที่ผู้ป่วยตอบสนองต่ออาการป่วยที่ย่ำแย่ลงอย่างฉับพลัน
บางทีการเข้าใจอย่างถ่องแท้ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจที่สุดสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพที่บำบัดรักษาคนไข้โรคหอบหืดนั้น อาจเป็นหน้าต่างบานหนึ่งของ โอกาสที่หลุดหายไปในด้านการจัดการโรคหอบหืดในปัจจุบันก็เป็นได้ ผลการศึกษา INSPIRE บ่งชี้ว่าผู้ป่วยตระหนักถึงสัญญาณบ่งชี้ที่ธรรมดาที่สุดของอาการป่วยที่ย่ำแย่ลง อาทิ หายใจได้ในช่วงสั้นๆ/หายใจไม่ออก ว่า เป็น "ระยะเตือน" แต่ไม่สามารถป้องกันอาการไม่ให้กำเริบหนักได้
จากการสังเกตอาการเบื้องต้นที่มีตั้งแต่ย่ำแย่ลงไปจนถึงย่ำแย่มากที่สุดนั้น ผู้ป่วยในผลการศึกษา INSPIRE ถูกระบุว่า มีอาการย่ำแย่ลงเป็นเวลา 5.1 วัน แต่แทนที่จะปรับเปลี่ยนการใช้วิธีบำบัดเชิงป้องกัน ผู้ป่วยได้เพิ่มการบำบัดรักษาแบบมีผู้ให้ความช่วยเหลือในการบำบัดอาการ แทนที่จะเลือกการป้องกันการอักเสบซึ่งจะเป็นเหตุให้อาการย่ำแย่ลงในระยะแรก
"ผลการศึกษา INSPIRE บ่งชี้ถึงหลักฐานที่ชัดเจนเป็นครั้งแรกว่า "ระยะเตือน" ก่อนที่จะเกิดอาการโรคหอบหืดกับคนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคหอบหืด ซึ่งทำให้เราเข้าใจโรคนี้ได้อย่างทะลุปรุโปร่ง นอกจากนี้ยังมีการทำความเข้าใจถึงสัญญาณเตือนโรคอื่นๆ อาทิ โรคเบาหวาน ซึ่งสัญญาณเตือนถือเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันไม่ให้สถานการณ์เลวร้ายลง ด้วยการทำความเข้าใจว่าผู้ป่วยโรคหอบหืดสามารถระบุถึงสัญญาณบ่งชี้อาการที่กำเริบขึ้นล่วงหน้า เราจึงมั่นใจว่าผู้ป่วยจะสามารถฉวยโอกาสและปรับวิธีการรักษาทางการแพทย์ได้อย่างเหมาะสมเมื่อสัญญาณเบื้องต้นบ่งชี้ว่าอาการเริ่มแย่ลง" ศาสตราจารย์มาร์ติน อาร์ พาร์ทริดจ์ แห่งภาควิชาการแพทย์ วิทยาลัยอิมพีเรียล คอลเลจ ลอนดอน และสมาชิกคณะกรรมการ INPIRE Steering
คนไข้โดยส่วนใหญ่ (71%) ยอมรับว่า พวกเขาพยายามที่จะจัดการกับอาการหอบหืดด้วยตนเองมากกว่าที่จะไปพบแพทย์เมื่อคนไข้มีอาการจากหอบหืดมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาเน้นว่ามีผู้ป่วยจำนวนมากที่มีอาการหอบหืดไม่สามารถควบคุมอาการได้ดีนัก แม้ว่าได้รับการรักษาเป็นประจำ มีคนไข้เพียง 28 % ที่สามารถควบคุมอาการหอบหืดได้ดี และคนไข้มากถึง (84%) ประสบกับช่วงเวลาที่ย่ำแย่ภายในปีที่แล้ว (หมายถึง 11/ปี) โดยเฉลี่ย 27% ของผู้ที่มีอาการย่ำแย่เมื่อปีที่แล้วมีอาการสาหัส
"การค้นพบจากผลการศึกษา INSPIRE ได้ช่วยให้เหตุผลที่หนักแน่นและโอกาสในการพัฒนาหนทางที่คนไข้จะจัดการกับอาการหอบหืดของตัวเอง ความกลัว ความวิตกกังวล ทัศนคติ และความปรารถนาในการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการโรคของตัวเองที่อยู่อย่างสม่ำเสมอทั่วโลก และควรใช้ความรู้เพื่อสร้างเวทีการศึกษาสำหรับคนไข้ในการจัดการตัวเองในอนาคต การศึกษาดังกล่าวแสดงว่าคนไข้โดยส่วนใหญ่ต้องการรักษาที่สามารถบรรเทาอาการหอบหืดได้ทันที และต้องการให้วิธีการรักษาหอบหืดสามารถปรับให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงอาการหอบหืดของตนเองได้ ประสิทธิภาพของการรักษาใดๆขึ้นอยู่กับการผสมผสานประสิทธิภาพของการรักษาและการยินยอมของคนไข้หรือการยึดถือตามคำแนะนำของแพทย์ ความก้าวหน้าที่มีศักยภาพของยุทธศาสตร์การรักษาในอนาคตสามารถนำมาใช้แทนการรักษาที่มีประสิทธิภาพในขณะนี้ ซึ่งเป็นวิธีการที่ใช้ได้ดีที่สุดในคนไข้จำนวนมากทุกวันนี้ รวมทั้งรับประกันว่าคนไข้จะได้รับการแนะนำให้เพิ่มการป้องกันแต่เนิ่นๆ" มาร์ติน อาร์ พาร์ทริดจ์ สรุป
INSPIRE ได้จัดทำโครงการศึกษาขึ้นใน 8 ประเทศชาติยุโรป ได้แก่ อังกฤษ เบลเยียม สวีเดน เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี อิตาลี ฝรั่งเศส และสเปน โดยมีการสัมภาษณ์ผู้ป่วยมากกว่า 2,400 รายที่มีอาการป่วยด้วยโรคหอบหืดระดับปานกลางไปจนถึงรุนแรง การสัมภาษณ์ที่คล้ายคลึงกันได้มีการจัดทำขึ้นในภายหลังที่ประเทศแคนาดา สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย ทำให้จำนวนผู้ป่วยรวมในการศึกษา INSPIRE มากกว่า 3,400 ราย
อ้างอิง
1) BMC Pulmonary Medicine: < http://www.biomedcentral.com/bmcpulmmed/ > M Partridge: BMC Pulmonary Medicine 2006;6:13
2) 2) INSPIRE abstract citations (ERS 2005, European data only) M Partridge, ERS 2005: European Respiratory Journal 2005;26(49):Abs1710 T van der Molen, ERS 2005: European Respiratory Journal 2005;26(49):Abs166
การศึกษา INSPIRE ได้รับเงินอุดหนุนจาก AstraZeneca
แอสตร้าซีนีก้า เป็นบริษัทผู้ผลิตยาซิมไบคอร์ท(อาร์) (Symbicort(R)) ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างยาพ่นบูดีโซไนด์แบบคอร์ติคอสสตีรอยด์ และยาฟอร์โมเตรอล ซึ่งเป็นกลุ่มเบต้าอโกนิสต์ ที่ให้ผลเร็วและคงผลการรักษาอย่างยาวนาน ซึ่งนำไปสู่การรักษาโรคหอบหืด และ COPD
แอสตร้าซีนีก้า เป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้านการดูแลสุขภาพรายใหญ่ระดับนานาชาติ ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย การพัฒนา การผลิต และการทำตลาดด้านใบสั่งเวชภัณฑ์ รวมทั้งการให้บริการด้านสุขภาพ บริษัทเป็นหนึ่งในผู้นำด้านการดูแลสุขภาพระดับโลกด้วยยอดขายมากกว่า 2.395 หมื่นล้านดอลลาร์ อีกทั้งยังเป็นผู้นำในด้านการขายผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร หลอดเลือดหัวใจ ระบบประสาท ทางเดินหายใจ เนื้องอก และการติดเชื้อ ทั้งนี้ แอสตร้าซีนีก้ามีชื่อจดทะเบียนอยู่ในตลาดหุ้นดาวโจนส์ และตลาดหุ้น FTSE4Good
ที่มา: แอสตร้าซีนีก้า
ติดต่อ: ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการศึกษา INSPIRE หรือต้องการสัมภาษณ์สมาชิกคณะกรรมาธิการ INSPIRE กรุณาติดต่อ
เซซิเลีย สเวนสัน
ผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์ระดับโลก
แอสตร้าซีนีก้า
โทร: +46-46-33-77-72
แมท ทรอน ซอเรนเซ็น
ที่ปรึกษาอาวุโส
โคห์น แอนด์ โวล์ฟ
โทร: +45-41-38-43-00
--เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท ( www.asianetnews.net )--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ