1 ใน 3 ของแพทย์ประจำครอบครัวเชื่อว่าโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) จะเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆในปี 2563

ข่าวต่างประเทศ Monday May 22, 2006 12:52 —Asianet Press Release

ซานดิเอโก--22 พ.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์-เอเชียเน็ท/อินโฟเควสท์
การจัดการเรื่องอาการที่หนักขึ้นเป็น "สิ่งสำคัญ" ที่จะลดการเสียชีวิตจากโรค COPD
สำหรับผู้สื่อข่าวด้านสุขภาพระหว่างประเทศที่อยู่ในบัญชีรายชื่อเท่านั้น
ผลการสำรวจจากรายงาน 'Time to Live' ซึ่งมีการเปิดเผยในวันนี้ที่สภาสากลแห่งชุมชนโรคทรวงอกของอเมริกา แสดงให้เห็นว่า กว่า 2 ใน 3 ของแพทย์ที่ให้การรักษาเบื้องต้น (66%) เกรงว่าโรค โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) จะนำไปสู่สาเหตุของการเสียชีวิตในปี 2563 แม้ว่าแพทย์เกือบทั้งหมด (98% ) เชื่อว่าอาการของโรคเหล่านี้สามารถบำบัดรักษาอย่างได้ผลก็ตาม
COPD เป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตทั่วโลก โดยข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่าปัจจุบันนี้ โรค COPD เป็นสาเหตุอันดับ 4 ของการเสียชีวิต รองจากโรคมะเร็ง โรคหัวใจขาดเลือด และโรคเส้นเลือดในสมอง โรคทั้งหมดนี้ มีเพียงโรค COPD เท่านั้นที่แสดงให้เห็นว่าอัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น โดย WHO ประมาณการว่าโรค COPD จะกลายเป็นเป็นสาเหตุอันดับ 3 ของการเสียชีวิตในปี 2563 อย่างไรก็ตาม ผลการสำรวจในปัจจุบันบ่งชี้ว่า WHO อาจประมาณการว่าโรค COPD แพร่กระจายมากขึ้นในระดับที่ต่ำเกินไป ทั้งนี้จากการเปิดเผยของคณะแพทย์ชาวยุโรปในระดับบริหารเกี่ยวกับโรค COPD
องค์ประกอบในการสำรวจของรายงาน 'Time to Live' ประกอบไปด้วยบทสนทนาทางโทรศัพท์ตามโครงสร้างของแพทย์ที่ให้การรักษาเบื้องต้นในประเทศยุโรป 5 ประเทศ (เยอรมนี ฝรั่งเศส อังกฤษ อิตาลี และสเปน) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลที่ลดลงถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับพยาธิสภาพของผู้ป่วยโรค COPD โดยสถิติที่ได้มีการศึกษาก่อนหน้านี้บ่งชี้ว่า ผู้ป่วยโรค COPD 22-43% ได้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เนื่องจากอาการที่ทรุดหนักขึ้นจะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตภายใน 1 ปี (3,4,5,6)
ผู้ปฏิบัติการทั่วไปที่ถูกตั้งคำถามประมาณ 90% เชื่อว่า การป้องกันไม่ให้อาการทรุดหนักขึ้นนั้น ควรได้รับการพิจารณาให้เป็นทางเลือกที่ชัดเจนในการบำบัดรักษาโรค COPD ให้กับผู้ป่วย ขณะเดียวกันผู้ปฏิบัติการในสัดส่วนที่เท่ากันเชื่อว่าการทำให้สถิติอาการทรุดหนักลดลงนั้นเป็นสิ่งสำคัญในการฟื้นฟูคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของผู้ป่วย ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดในการลดความเสี่ยงของการเป็นโรค COPD ที่มีอัตราสูงกว่าที่ WHO ได้ประมาณการไว้ในช่วงเวลากว่า 14 ปีข้างหน้า
68% เชื่อว่า ยาพ่นที่สกัดจากต่อมหมวกไต (ICS) ควรได้รับการพิจารณาให้เป็นแนวทางการบำบัดรักษาในระยะต้นๆ ครึ่งหนึ่งของผู้ที่ถูกตั้งคำถามแนะนำว่าผู้ป่วยควรได้รับการแนะนำด้านการรักษาด้วยการใช้ยา ICS หรือรักษาแบบรวม อาทิ ยา ICS และยา LABA (long-acting beta 2 agonist) เพื่อลดขนาดของความเป็นไปได้และผลกระทบที่ทำให้อาการทรุดหนักขึ้น
"ผลดังกล่าวเป็นหลักฐานเพิ่มเติมในอนาคตเกี่ยวกับผลกระทบที่สำคัญในการป้องกันและจัดการอาการที่ทรุดหนักลงจากโรค COPD และผลต่อเนื่องที่มีต่อคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของคนไข้" ด็อกเตอร์ จอห์น ฮ็อกเนย์ ผู้แต่งหนังสือ "Time to Live" ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติในสก๊อตแลนด์และกรรมการของกลุ่มสายการบินฝึกฝนอังกฤษ อธิบายว่า "การสำรวจเน้นในด้านความต้องการการรักษาที่มีประสิทธิภาพเช่น การรวมไอซีเอสและแอลเอบีเอ ซึ่งได้รับการพิสูจน์ว่าลดอาการป่วยที่ทรุดหนักลงของคนไข้ได้ ปัจจัยสำคัญในการลดความเสี่ยงในการเข้ารักษาในโรงพยาบาล และความต่อเนื่องที่เกี่ยวกับ COPD"
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายงาน "Time to Live" หรือต้องการสัมภาษณ์สมาชิกทีมศึกษา "Time to Live" กรุณาอย่าลังเลที่จะติดต่อ
การสำรวจ Time to Live ได้รับการสนับสนุนทุนการศึกษาโดยไม่จำกัดจาก แอสตร้าซีนีก้า แอสตร้าซีนีก้า เป็นผู้ผลิต ซิมบิคอร์ท (Symbicort) ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างยาพ่นบูดีโซไนด์ซึ่งทำจากสเตียรอยด์ต่อมหมวกไต และยา กลุ่มฟอร์โมเตรอล และกลุ่มเบต้าอโกนิสต์ ที่มีผลเร็วและระยะยาว ซึ่งนำไปสู่การรักษา COPD และโรคหอบหืด
อ้างอิง
1. Primary Care Physicians' Perception and Practice in Management of COPD Patients (results from the Time to Live report),
scheduled for presentation at ATS, May 21, 2006
2. < http://www.who.int/respiratory/copd/en >
3. Eriksen N, et al. Ugeskr Laeger 2003;165:3499-3502
4. Groenewegen KH, et al. Chest 2003;124:459-467
5. Almagro P, et al. Chest 2002;121:1441-1448
6. Connors AF, et al. Am J Respir Crit Care Med 1996;154:959-967
ที่มา: แอสตร้าซีนีก้า จำกัด มหาชน
ติดต่อ: อาเนทท์ ออร์ไฮม์
แอสตร้าซีนีก้า
โทร.+46-46-33-80-87 หรือ
โทรศัพท์เคลื่อนที่ +46-709-13-19-52 หรือ
จิม แบ๊กซเตอร์
คอห์น&วูลฟ์
โทร.+44-207-331-5371 หรือ
โทรศัพท์เคลื่อนที่ +44-790-060-5652
--เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท ( www.asianetnews.net )--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ