อิงเกลไฮม์--28 ส.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์ — เอเชียเน็ท / อินโฟเควสท์
- ผลวิเคราะห์ล่าสุดจากการศึกษาในชื่อ UPLIFT(R) แสดงให้เห็นว่ายา Tiotropium ช่วยพัฒนาการทำงานของปอดได้อย่างมาก นอกจากนั้นยังช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) ที่เพิ่งมีอาการในเบื้องต้น
ผลวิเคราะห์ล่าสุดจากการศึกษาในชื่อ UPLIFT(R) ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในวันนี้ในวารสารการแพทย์แลนเซท (Lancet) แสดงให้เห็นว่ายา Tiotropium (SPIRIVA(R) Handihaler(R) 18 micro g) มีประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังระยะแรกที่ยังมีอาการไม่รุนแรงนัก โดยช่วยพัฒนาการทำงานของปอดได้สูงสุดถึง 4 ปี[1] ทั้งนี้ การทดสอบดังกล่าวได้รับความร่วมมือจากผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังระยะแรก 2,739 คน ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มใหญ่สุดที่เคยได้รับการรักษาด้วยยากลุ่ม anticholinergic ในการทดลองแบบสุ่ม ซึ่งมียา placebo ที่มีผลทางใจแต่ไม่มีฤทธิ์ในการรักษา เป็นตัวควบคุม
ผลวิเคราะห์ล่าสุดจากการศึกษาในชื่อ UPLIFT(R) แสดงให้เห็นว่า ยา Tiotropium อาจช่วยชะลอการกำเริบของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ซึ่งพิจารณาจากอัตราการถดถอยของการทำงานของปอด ในผู้ป่วยที่เข้าร่วมในโครงการเชิงรุกเพื่อรักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังระดับโลกในขั้นที่ 2 (GOLD Stage II) โดยยา Tiotropium ช่วยชะลออัตราการลดลงของปริมาณอากาศหายใจออกเต็มที่ใน 1 วินาทีหลังให้ยาขยายหลอดลม (postbronchodilator FEV1*) ได้นานถึง 4 ปีเมื่อเทียบกับผู้ป่วยในกลุ่มควบคุม** (43 mL ต่อปี เทียบกับ 49 mL ต่อปี; p=0.024) แต่อัตราการลดลงของปริมาณอากาศหายใจออกเต็มที่ใน 1 วินาทีก่อนให้ยาขยายหลอดลม (prebronchodilator FEV1*) อยู่ในระดับที่เท่ากันทั้งสองกลุ่ม
ผู้ป่วยที่ได้รับยา Tiotropium มีอัตราการลดลงของปริมาณอากาศหายใจออกเต็มที่ใน 1 วินาทีทั้งก่อนและหลังการขยายหลอดลมมีการชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องตลอดการทดลองเมื่อเทียบกับผู้ป่วยกลุ่มควบคุม (101-119 mL และ 52-82 mL ตามลำดับ; p