บาร์เซโลน่า--1 ก.ย.--พีอาร์นิวส์ไวร์ — เอเชียเน็ท / อินโฟเควสท์
ผลวิจัยในโครงการ BEAUTIFUL เปิดเผยว่า ผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอกจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบจะมีโอกาสเกิดภาวะหัวใจวายน้อยลงถึง 42% เมื่อใช้ยา Procoralan(R) (ivabradine)* ตามที่มีการนำเสนอข้อมูลในวันนี้ที่การประชุมสมาคมโรคหัวใจแห่งยุโรป และพบว่ายา Procoralan จะมีประสิทธิภาพมากในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอัตราการเต้นของหัวใจ (เท่ากับหรือมากกว่า) 70 ครั้งต่อนาที โดยช่วยลดอัตราการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยอาการหัวใจวายลงได้เกือบ 3 ใน 4 และลดอัตราการเข้าผ่าตัดเพื่อให้เลือดมาเลี้ยงหัวใจลงได้มากกว่าครึ่ง
ผลวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่ายา Procoralan สามารถช่วยลดการเกิดหัวใจวายในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้ “เรารู้อยู่แล้วว่ายา Procoralan สามารถบรรเทาอาการเจ็บหน้าอกได้ แต่การทดสอบล่าสุดทำให้เราเชื่อว่ายาตัวนี้อาจป้องกันอุบัติการณ์ของโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ด้วย” ศจ.เทนเดร่า จากมหาวิทยาลัยแพทย์ซิเลเซีย เมืองคาโตวิซ ประเทศโปแลนด์ กล่าว
ผลวิจัยอันน่าประทับใจครั้งนี้เกิดจากการวิเคราะห์ผู้ป่วยในโครงการ BEAUTIFUL ที่มีอาการเจ็บหน้าอกไม่รุนแรงนัก ซึ่งอาการเจ็บหน้าอกเป็นอาการหนึ่งของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่พบมากที่สุด และสามารถส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้อย่างมหาศาล นอกจากนั้นยังส่งผลเสียต่อการคาดเดาอาการของโรคในอนาคตด้วย การวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่ายา Procoralan สามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจขาดเลือด และโรคหัวใจล้มเหลวในผู้ป่วยที่มีอาการหลอดเลือดหัวใจตีบรวมกันได้ถึง 24% ขณะเดียวกันอัตราการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจากโรคหัวใจขาดเลือดทั้งแบบอันตรายถึงชีวิตและไม่อันตรายถึงชีวิตก็ลดลงถึง 42% และสำหรับผู้ป่วยที่มีอัตราการเต้นของหัวใจ (เท่ากับหรือมากกว่า) 70 ครั้งต่อนาที ยาดังกล่าวจะช่วยลดอัตราการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดได้มากถึง 73% นอกจากนั้นอัตราการเข้าผ่าตัดเพื่อให้เลือดมาเลี้ยงหัวใจก็ลดลงราว 30% ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบทั่วไป และลดลงถึง 59% ในผู้ป่วยที่มีอัตราการเต้นของหัวใจ (เท่ากับหรือมากกว่า) 70 ครั้งต่อนาที
โครงการ BEAUTIFUL มีผู้ป่วยเข้าร่วม 1,507 คน และครึ่งหนึ่งของทั้งหมดมีอัตราการเต้นของหัวใจเกิน 70 ครั้งต่อนาที ผู้ป่วยเกือบทั้งหมดได้รับการรักษาด้วยวิธีการต่างๆ ซึ่งมีจุดประสงค์หลักในการป้องกันมิให้เกิดอาการหัวใจวาย โดยผู้ป่วย 9 ใน 10 คนได้รับการรักษาด้วยยากลุ่ม beta blocker ซึ่งจะออกฤทธิ์โดยลดการเต้นของหัวใจให้ช้าลงและลดการบีบตัวของหัวใจให้อ่อนลง
ผลวิจัยก่อนหน้านี้ของโครงการ BEAUTIFUL ซึ่งได้จากการศึกษาผู้ป่วย 10,917 คนที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหัวใจห้องล่างซ้ายทำงานผิดปกติ ได้แสดงให้เห็นแล้วว่ายา Procoralan ช่วยลดอัตราการเกิดหัวใจวายทั้งแบบอันตรายถึงชีวิตและไม่อันตรายถึงชีวิตลงได้ถึง 36% (p=0.001) และลดอัตราการเข้าผ่าตัดเพื่อให้เลือดมาเลี้ยงหัวใจลงได้ราว 30% (P=0.016) ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจที่มีอัตราการเต้นของหัวใจเกิน 70 ครั้งต่อนาที(1)
กว่าครึ่งของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจจะมีอาการเจ็บหน้าอก และนั่นจะส่งผลกระทบต่อการคาดเดาอาการของโรคในอนาคต อย่างไรก็ตาม ตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา ยา Procoralan เป็นหนึ่งในความก้าวหน้าครั้งสำคัญที่ช่วยให้การรักษาอาการเจ็บหน้าอกมีเสถียรภาพมากขึ้น โดยในการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบและหัวใจขาดเลือด ยา Procoralan สามารถใช้ได้ทั้งแบบเดี่ยว(2) หรือใช้ร่วมกับยากลุ่ม beta blocker โดยสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับยากลุ่ม beta blocker อยู่แล้ว ยา Procoralan จะช่วยยืดเวลาการออกฤทธิ์ของยาได้นานกว่าเดิม(3) “ผลวิจัยล่าสุดแสดงให้เห็นประสิทธิภาพอีกขั้นหนึ่งของยา Procoralan ในการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอกจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ” ศจ.คิม ฟ็อกซ์ ประธานร่วมของคณะกรรมธิการบริหารโครงการ BEAUTIFUL กล่าว
ทั้งนี้ การวิจัยครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนด้านเงินทุนจาก เซอร์เวียร์ (Servier) บริษัทเภสัชกรรมชั้นนำของฝรั่งเศส
*ยา ivabradine มีวางจำหน่ายในชื่อ Procoralan(r), Coralan(r), Coraxan(r), หรือ Corlentor(r) ซึ่งเรียกแตกต่างกันในแต่ละประเทศ
หมายเหตุถึงบรรณาธิการ
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรืออีกชื่อหนึ่งคือโรคหัวใจขาดเลือด เป็นโรคหัวใจชนิดที่พบได้มากที่สุด และเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตของผู้คนทั่วโลก และคาดว่าจะเป็นเช่นนี้ต่อไปในอีก 20 ปีข้างหน้า(4) ปัจจุบันในแต่ละปีจะมีผู้ชาย 3.8 ล้านคน และผู้หญิง 3.4 ล้านคนที่เสียชีวิตจากโรคนี้(5) และในปี พ.ศ.2563 คาดว่าโรคนี้จะทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 11.1 ล้านคนทั่วโลก(4)
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบอาจไม่สามารถตรวจพบได้เป็นโรคมานานหลายปีแล้วก็ตาม และอาจแสดงอาการอย่างเฉียบพลันในรูปแบบของการเกิดหัวใจวายอย่างรุนแรง แม้โรคหลอดเลือดหัวใจตีบจะเป็นโรคเงียบสำหรับคนทั่วไป แต่สำหรับผู้ป่วยจำนวนมากมันเป็นอาการของโรค โดยจะก่อให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกหลังออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมต่างๆ ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลว และจะส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย หากไม่มีการปรับเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตและการพัฒนายารักษาโรค โรคหลอดเลือดหัวใจตีบก็จะยังคงเป็นปัญหาสุขภาพระดับโลกต่อไป ดังนั้นจึงต้องมีการคิดค้นตัวยาใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
อ้างอิง
(1) Fox K, Ford I, Steg PG et al. Ivabradine for patients with stable
coronary artery disease and left ventricular dysfunction (Beautiful): a
randomized, double-blind, placebo-controlled trial. Lancet 2008, 372,
807-816.
(2) Tardif J-C, Ford I, Tendera M, et al. Efficacy of ivabradine, a new
selective If inhibitor, compared with atenolol in patients with chronic
stable angina. Eur Heart J. 2005 ; 26 : 2529-36.
(3) Tardif JC, Ponikowski P, Kahan T; ASSOCIATE study investigators.
Efficacy of the If current inhibitor ivabradine in patients with chronic
stable angina receiving beta blocker therapy: a 4 month, randomized,
placebo-controlled trial. Eur Heart J. 2009;30:540-548.
(4) Mathers CD, Loncar D. Projections of global mortality and
burden of disease from 2002 to 2030. PLoS Med. 2006 Nov;3:e442.
(5) WHO. The global burden of disease: 2004 update. Available at:
http://www.who.int/healthinfo/global_burden_disease/2004_report_update/en/index.html.
แหล่งข่าว: เซอร์เวียร์
-- เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท ( www.asianetnews.net ) --