ผลวิจัยล่าสุดเกี่ยวกับโรคข้อเสื่อมเผยให้เห็นว่า ไบโอแอคทีฟ คอลลาเจน เป๊ปไทด์ ช่วยกระตุ้นให้เกิดการสร้างเนื้อเยื่อกระดูกอ่อนขึ้นใหม่

ข่าวต่างประเทศ Monday September 14, 2009 09:19 —Asianet Press Release

มอนทรีอัล และ คีล--14 ก.ย.--พีอาร์นิวส์ไวร์ — เอเชียเน็ท / อินโฟเควสท์ ผลวิจัยร่วมกันของสถาบันวิจัยคอลลาเจน (Collagen Research Institute: CRI) และมหาวิทยาลัยคีล (Kiel University) เผยให้เห็นถึงปฏิกิริยาพิเศษของไบโอแอคทีฟ คอลลาเจน เป๊ปไทด์ (bioactive collagen peptide) (FORTIGEL(R)) ในการวิจัยเกี่ยวกับเซลล์ โดย CRI ได้นำเสนอข้อมูลดังกล่าวไปเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาที่การประชุมสมาคมวิจัยโรคข้อเสื่อมนานาชาติ (Osteoarthritis Research Society International: OARSI) ซึ่งจัดขึ้นที่มอนทรีอัล นอกจากนั้นผลวิจัยของ CRI ยังช่วยอธิบายผลวิจัยทางคลินิกของวิทยาลัยแพทย์ฮาร์วาร์ด (Harvard Medical School) และศูนย์การแพทย์ทัฟท์ส (Tufts Medical Center) ซึ่งได้รับการนำเสนอในการประชุมดังกล่าวเช่นกัน ทั้งนี้ ด้วยความช่วยเหลือจากเทคนิค MRI ผลวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่ายา FORTIGEL(R) ช่วยกระตุ้นกระบวนการเผาผลาญของเซลล์ในกระดูกอ่อนข้อเข่า และช่วยกระตุ้นให้เกิดการสร้างเนื้อเยื่อกระดูกอ่อนขึ้นใหม่ นักวิจัยจาก CRI ได้ใช้วิธีวิเคราะห์ชีววิทยาโมเลกุลและเคมีโปรตีนโดยตรงกับเซลล์ เพื่อแสดงให้เห็นถึงปฏิกิริยาของยา FORTIGEL(R) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นโดย เจลิตา เอจี (GELITA AG) ที่เกิดจากการผสมผสานพิเศษระหว่างไบโอแอคทีฟ คอลลาเจน เป๊ปไทด์ ความบริสุทธ์สูง “ผลวิจัยของเราแสดงให้เห็นว่ายา FORTIGEL(R) ช่วยกระตุ้นให้เกิดคอลลาเจนชนิด Type II แบบสังเคราะห์ และ แอกกรีแคน (aggrecan) ซึ่งเป็นโปรทิโอไกลแคน (proteoglycan) พิเศษที่มีส่วนสำคัญในการทำงานของกระดูกอ่อน” ดร.สเตฟเฟน โอเอสเซอร์ ผู้อำนวยการสถาบัน CRI กล่าว ทั้งนี้ ผลวิจัยดังกล่าวพิสูจน์ให้เห็นว่าไบโอแอคทีฟ คอลลาเจน เป๊ปไทด์ สามารถกระตุ้นให้เกิดการสร้างสารโครงสร้างภายนอกเซลล์กระดูกอ่อน (extracellular cartilage matrix) ขึ้นมาใหม่ได้ นอกจากนั้นผลการวิจัยเซลล์ของ CRI ยังเป็นหลักฐานสนับสนุนผลวิจัยทางคลินิกของวิทยาลัยแพทย์ฮาร์วาร์ดและศูนย์การแพทย์ทัฟท์ส โดยผลวิจัยของ CRI แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่ายา FORTIGEL(R) ช่วยเพิ่มปริมาณโปรทิโอไกลแคน ซึ่งสอดคล้องกับผลวิจัยของฮาร์วาร์ด/ทัฟท์ส ที่พิสูจน์ให้เห็นว่ายา FORTIGEL(R) สามารถกระตุ้นให้เกิดการสร้างกระดูกอ่อนข้อเข่าขึ้นมาใหม่ได้ หรือพูดได้ว่าผลวิจัยทั้งสองเป็นหลักฐานสนับสนุนซึ่งกันและกันนั่นเอง การวิจัยของฮาร์วาร์ด/ทัฟท์ส เป็นการวิจัยแบบที่ทั้งผู้ทดสอบและผู้ถูกทดสอบไม่ทราบว่าได้รับยาอะไร และมียา placebo (ยาที่มีผลทางจิตใจแต่ไม่มีฤทธิ์ในการรักษา) เป็นตัวควบคุม โดยทำการทดสอบในผู้ป่วย 30 คนที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไขข้อเข่าเสื่อม ซึ่งผลที่ออกมาก็แสดงให้เห็นว่ากลุ่มที่ใช้ยา FORTIGEL(R) มีการสร้างเนื้อเยื่อกระดูกอ่อนขึ้นใหม่เป็นจำนวนมาก ส่วนกลุ่มที่ใช้ยา placebo เนื้อเยื่อกระดูกอ่อนก็จะเสื่อมสลายไปตามปกติ ในการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างในเนื้อเยื่อกระดูกอ่อน นักวิจัยของฮาร์วาร์ด/ทัฟท์ส ได้ใช้เทคนิคการแสดงภาพแบบพิเศษ dGEMRIC ด้วยการฉีดสีย้อมพิเศษเข้าไปในข้อต่อหัวเข่าของผู้ป่วย ทำให้เห็นความหนาแน่นของโปรทิโอไกลแคนในกระดูกอ่อนได้อย่างชัดเจน ซึ่งผลวิจัยก็แสดงให้เห็นว่าปริมาณโปรทิโอไกลแคนเพิ่มขึ้นอย่างมากหลังผู้ป่วยรับยา FORTIGEL(R) และผลวิจัยนี้ก็ช่วยยืนยันสิ่งที่ CRI ค้นพบได้เป็นอย่างดี การรักษาโรคข้อเสื่อม “การกระตุ้นกระบวนการเผาผลาญของเซลล์ในกระดูกอ่อนช่วยเปิดมิติใหม่ของการรักษาและป้องกันโรคไขข้อเสื่อม” ดร.โอเอสเซอร์ กล่าว ทั้งนี้ ยาบรรเทาปวดและยารักษาโรคข้ออักเสบทั่วไปบรรเทาอาการของโรคได้เพียงอย่างเดียว แต่ยา FORTIGEL(R) เป็นการรักษาโรคที่มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง ทั่วโลกมีผู้ป่วยโรคข้อเสื่อมราว 135 ล้านคน และผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าจำนวนผู้ป่วยจะขยายตัวอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในประเทศอุตสาหกรรม นอกจากนั้นโรคนี้ยังมีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูงมาก ดังนั้นการป้องกันโรคจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด สถาบันวิจัยคอลลาเจนซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองคีล ประเทศเยอรมนี ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2546 ในฐานะองค์กรวิจัยอิสระ ทางสถาบันเน้นศึกษาเกี่ยวกับการเสื่อมสลายของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective tissue) และพัฒนาวิธีรักษาแบบครบวงจรและแบบทางเลือกสำหรับโรคไขข้อเสื่อม กระดูกพรุน และการสมานแผล นับตั้งแต่ก่อตั้งมาทางสถาบันก็ได้อุทิศตนให้กับการวิจัยปฏิกิริยาของไบโอแอคทีฟ คอลลาเจน เป๊ปไทด์ ที่มีต่อสารโครงสร้างภายนอกเซลล์ (extracellular matrix) ของกระดูกอ่อนผิวข้อ (articular cartilage) สถาบันวิจัยคอลลาเจน ดร.สเตฟเฟน โอเอสเซอร์ โทรศัพท์: +49-(0)431-56-06-610 โทรสาร: +49-(0)431-56-06-613 อีเมล: steffen.oesser@cri-mail.org แหล่งข่าว: สถาบันวิจัยคอลลาเจน --เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท ( www.asianetnews.net ) --

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ