รูปแบบคาดการณ์ทางคณิตศาสตร์บ่งชี้ยา Cervarix ของ GSK สามารถลดการเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกได้ถึง 80%

ข่าวต่างประเทศ Monday October 30, 2006 14:53 —Asianet Press Release

ลอนดอน และ ไรเซนซาร์ท--30 ต.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์-เอเชียเน็ท/อินโฟเคสท์
การคาดการณ์ด้วยรูปแบบทางคณิตศาสตร์บ่งชี้ว่า การให้วัคซีน Cervarix (TM ) สำหรับรักษาโรคมะเร็งปากมดลูกของบริษัท GSK แก่เด็กหญิงอายุระหว่าง 11-13 ปี สามารถลดการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกได้ถึง 80% เมื่อพิจารณาจากข้อมูลทางการแพทย์ที่มีอยู่ (1) รูปแบบการคาดการณ์ได้ถูกสร้างขึ้นเป็น 2 ระยะ โดยระยะแรกนั้น การฉีดวัคซีนรักษาโรคมะเร็งปากมดลูกของ GSK ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสามารถป้องกันเชื้อ HPV ชนิด 16 และ 18(2) ซึ่งเป็นเชื้อ 2 อันดับต้นที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคมะเร็งสูงสุดนั้น สามารถลดการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกได้ 74% ในฝรั่งเศส ทั้งนี้ เนื่องมาจากการวิเคราะห์บนพื้นฐานเป็นรายกรณีของการคาดการณ์ด้วยรูปแบบนี้
ในการวิเคราะห์ระยะต่อไปนั้น รูปแบบการคำนวนได้บ่งชี้ถึงหลักฐานที่รวบรวมได้ว่า วัคซีนของ GSK สามารถใช้ป้องกันบาดแผลก่อนเกิดเชื้อมะเร็งได้ดีกว่าที่คาดว่าจะได้รับจากวัคซีน HPV ชนิด 16 และ 18.2 เมื่อการป้องกันเพิ่มเติมดังกล่าวถูกรวมเข้ากับรูปแบบในข้างต้น คาดว่าจะทำให้โอกาสในการเกิดโรคลดลงได้ 6% ซึ่งจะทำให้สัดส่วนในการลดการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกโดยรวมอยู่ที่ 80% การค้นพบซึ่งได้ถูกนำเสนอในวันนี้ที่ประชุมสมาคมเศรษฐศาสตร์เวชภัณฑ์นานาชาติและผลการวิจัยสภายุโรปประจำปี ครั้งที่ 9 (ISPOR) ที่กรุงโฮเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก
ข้อมูลระยะต่อไปที่ได้มีการนำเสนอในที่ประชุม ISPOR ไม่เพียงแต่ย้ำถึงภาระด้านสุขภาพอันหนักหน่วงเกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกสำหรับผู้หญ
ิงทุกคนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงคงต้นทุนจำนวนมากในสังคม โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาจากต้นทุนขององค์กรและการทำสกรีนนิ่งเพื่อต่อต้านมะเร็งปากมดลู
ก ความจริงแล้ว ข้อมูลที่ได้นำเสนอในที่ประชุม ISPOR บ่งชี้ว่า การให้วัคซีนจะช่วยลดการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกที่เป็นอันตรายถึงตายได้ จำนวนของกรณีโรคมะเร็งปากมดลูก กรณีโรคมะเร็งก่อนการวินิจฉัยทางการแพทย์ และต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับกรณีเหล่านี้
“ศักยภาพในการลดมะเร็งปากมดลูกและอัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็น 80% จากผลของรูปแบบดังกล่าว” ศาสตราจารย์ลีเวน อันเนมันส์ อดีตประธาน ISPOR กล่าว “วัคซีนที่สามารถป้องกัน HPV ซึ่งเป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกได้มากที่สุดนั้น ถือเป็นยุทธศาสตร์ที่เป็นที่ปรารถนาในการลดภาระด้านสุขภาพของมะเร็งปากมดลูก เราสามารถช่วยรักษาชีวิตผู้หญิงได้ และเราคาดหวังที่จะรักษาระบบดูแลสุขภาพของเรา”
รูปแบบทางคณิตศาสตร์ ซึ่ง ISPOR ได้เพิ่มเข้ามาในองค์กรรวบรวมการวิเคราะห์ ซึ่งได้แสดงตัวเลขที่ลดลงของกรณีมะเร็งปากมดลูกที่คล้ายคลึงกันด้วยการใช้วัคซีนรักษาโรคมะเร็งปากมดลูกของ GSK รวมทั้งในสเปน (7) อังกฤษ (8) และสหรัฐ (9)
หมายเหตุถึงบรรณาธิการ
การคาดการณ์การลดมะเร็งปากมดลูกเป็นการคำนวณบนพื้นฐานของประสิทธิภาพของวัคซีนมะเร็งปากมดลูกในกการทดลองทางคลินิค ภายใต้การตรวจสอบที่มีอยู่และบรรยากาศการจัดการโรค ซึ่งคาดว่าวัคซีน 100% ของกลุ่มอายุ
เกี่ยวกับรูปแบบทางคณิตศาสตร์ (1)
นักวิจัยได้ใช้รูปแบบมาร์คอฟเพื่อลอกเลียนแบบผลการป้องกันมะเร็งปากมดลูกในระยะยาวของวัคซีนมะเร็งปากมูดลูกของ GSK เพื่อตรวจสอบผลทางคลินิกของวัคซีนดังกล่าว รูปแบบมาร์คอฟถูกสร้างขึ้นในซอฟท์แวร์ไมโครซอฟท์ (R) เอ็กซ์เซล และทำซ้ำประวัติตามธรรมชาติของการติดเชื้อ HPV
ต่อมะเร็งปากมดลูกในช่วงชีวิตของเด็กผู้หญิงช่วงกลุ่มอายุ 11-13 ปี รูปแบบดังกล่าวได้ลอกเลียนแบบผลของการเพิ่มวัคซีน 100% ในช่วงอายุต่อรายการตรวจสอบปัจจุบันในเงื่อนไขของจำนวนกรณีมะเร็งปากมดลูกและการหลีกเลี่ยงการเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูก ความเป็นไปได้ของการเปลี่ยนแปลงประวัติตามธรรมชาติของการติดเชื้อ HPV ต่อมะเร็งปากมดลูกและรูปแบบการตรวจสอบที่ได้รับจากการทบทวนทางตัวอักษร ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญและสถิติฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการ
เกี่ยวกับวัคซีนมะเร็งปากมดลูกของ GSK
วัคซีนมะเร็งปากมดลูกของ GSK ได้รับการพัฒนาเพื่อป้องกันการติดเชื้อและการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อ จาก HPV ซึ่งเป็นสาเหตุของโรค ที่แพร่หลายที่สุด 2 ชนิด โดยเฉพาะ HPV 16 และ 18 การทดลองทางคลินิกก่อนหน้านี้แสดงในผู้หญิงวัย 15-25 ปี วัคซีนได้แสดงการป้องกันการติดเชื้อ HPV ทั้งชนิด 16 และ 18 โดยมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงก่อนการเกิดมะเร็งและผลแอนตี้บอดี้ที่เยี่ยมยอดเพิ่มขึ้นเป็น 4.5 ปี วัคซีนมะเร็งปากมดลูกของ GSK ถูกแปลงเป็นระบบด้วยตัวช่วย AS04 ที่เหมาะสมซึ่งได้รับเลือกให้รับประกันว่าให้ระดับแอนตี้บอดี้ในระดับสูงและยั่งยืน นอกจากนี้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับ วัคซีนมะเร็งปากมดลูกของ GSK ได้แสดงการป้องกันการติดเชื้อ HPV ที่แพร่หลายมากที่สุดลำดับที่ 3 และ 4 ซึ่งมีชื่อว่าชนิด 45 และ 31 ทั้งนี้ HPV 16 18 45 และ 31 เป็นสาเหตุรวมกันของการเกิดมะเร็งปากมดลูกทั่วโลก
ข้อมูลที่มีความปลอดภัยทั้งหมดจากการทดลองที่ได้รับความควบคุมอย่างสมบูรณ์แบบบ่งชี้ ว่า วัคซีนดังกล่าวมีความปลอดภัยและมีฤทธิ์ต้านยาที่ดีด้วยการรับวัคซีนในปริมาณ 3 ครั้งตามกำหนดได้เป็นอย่างดี
สตรีกว่า 16,000 คนทั่วโลกได้รับวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกจาก GSK ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการทดลองทางการแพทย์ที่สมบูรณ์แบบและไม่หยุดนิ่ง โดยการทดลองกำลังอยู่ในระหว่างการเดินหน้าขยายผลการทดลองทางการแพทย์ในระยะที่สาม
การทบทวนความสัมพันธ์ทางการตลาดกับวัคซีนต้านมะเร็งปากมดลูกจากGSK ได้มีการส่งให้แก่สำนักงานประเมินด้านผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ของยุโรป(EMEA)ในเดือนมี.ค. 2549 ขณะที่การเพิ่มข้อบังคับสากลอื่นๆ ก็ได้มีขึ้นตามมาในประเทศออสเตรเลีย ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียและละตินอเมริกา จากเดือนมี.ค 2549 ด้วยการเสนอให้สำนักงานอาหารและยาสหรัฐ(FDA)พิจารณาภายในเดือนเม.ย. 2550
เกี่ยวกับภาวะ HPV และมะเร็งปากมดลูก
การติดเชื้อ HPV สามารถเกิดขึ้นได้ทุกวัน โดยเฉพาะกับสตรีที่มีเพศสัมพันธ์จะมีภาวะเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรค HPV ซึ่งอาจเป็นเหตุให้เกิดมะเร็งปากมดลูก ขณะที่เชื้อ HPV อีกหลายประเภทที่อาจเป็นเหตุให้เกิดมะเร็งได้ โดย HPV ประเภท16,18,45 และ31 มีผลต่อกลุ่มผู้เป็นมะเร็งปากมดลูก 80% ทั่วโลก
มะเร็งปากมดลูก เป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของโลก ด้วยตัวเลขของผู้ป่วยรายใหม่ในแต่ละปีเกือบ 500,000 รายทั่วโลก โดยมะเร็งชนิดนี้เป็นเชื้อมะเร็งที่เกิดกับสตรีมากที่สุดอันดับสอง และเป็นเหตุให้สตรีทั่วโลกเสียชีวิตจากโรคมะเร็งมากที่สุดเป็นอันดับสาม โดยในแต่ละปีจะมีสตรีราว 270,000 คนเสียชีวิตจากเชื้อดังกล่าว นอกจากนี้ มะเร็งชนิดปากมดลูกยังเป็นเชื้อมะเร็งที่คร่าชีวิตสตรีในโลกที่กำลังพัฒนาอีกด้วย
ข้อมูลอ้างอิง
(1) Demarteau N et al. Long term clinical effect of an HPV-vaccine for
the prevention of cervical cancer in France in relation to age of
vaccination: results from a Markov Model. Poster to be presented at
ISPOR, 28-31 October 2006.
(2) Harper DM, et al. Sustained efficacy up to 4-5 years of a bivalent L1
virus-like particle vaccine against human papillomavirus types 16 and
18: follow-up from a randomised control trial. Lancet 2006;
367:1247-1255.
(3) Rogozza R, Estimating the clinical benefits of HPV- 16/18
vaccination: challenges of modeling predicted cases of cervical cancer
in Poland and Mexico, two countries with differing degrees of cervical
disease and population stability. Poster to be presented at ISPOR,
28-31 October 2006.
(4) Rash B, Comparing Management Patterns And Associated Costs Women With
Abnormal Cervical Cytology In 5 Different Countries. Poster to be
presented at ISPOR, 28-31 October 2006.
(5) Helms LJ, Melnikow J, Determing costs of health care services for
cost-effectiveness analyses: the case of cervical cancer prevention
and treatment. Med Care 1999; 37:652-66.
(6) Insinga RP, Glass AG, Rush BB. The health care costs of cervical
human papillomarvirus-related disease. Am J Obstet Gynecol 2004;
191:114-20.
(7) De San Jose S et al. Adaptation of a Health Economic Model of the
Natural History of HPV Infection and Cervical Cancer for Spain.
Presented at International Papillomavirus Conference, Prague, 3-7
September 2006.
(8) Kohli M et al. Estimating the Long-term Impact of a Prophylactic
Human Papillomavirus (HPV) 16/18 Vaccine on the Burden of Cervical
Disease in the UK. Presented at International Papillomavirus
Conference, Prague, 3-7 September 2006.
(9) Juday TR et al. Clinical Benefits Associated with Vaccination Against
Human Papillomavirus: The Contribution of Cross-Protection. Presented
at Interscience Conference on Antimicrobial Agents and Chemotherapy in
San Francisco (USA) (ICAAC), 27-30 September 2006.
ที่มา: แกล็กโซสมิธไคลน์
ติดต่อ: จีเอสเค ไบโอโลจิคอลส์:
คริส ฮันเตอร์-วาร์ด,
โทร+32-2-656-3075,
สเตลล่า กู,
โทร+32-2-656-3533
--เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท ( www.asianetnews.net )--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ