สถานการณ์ผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวในปากีสถานยังน่าวิตกขณะฤดูหนาวใกล้เข้ามา

ข่าวต่างประเทศ Thursday February 2, 2006 12:53 —Asianet Press Release

ซิดนีย์--2 ก.พ.--พีอาร์นิวส์ไวร์-เอเชียเน็ท/อินโฟเควสท์
นายโอเวส อัสลาม อาลี เลขาธิการมูลนิธิปากีสถานเพรส กล่าวว่า ขณะที่ฤดูหนาวกำลังคืบคลานเข้ามา ความกังวลที่มีต่อเหยื่อผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวที่พยายามจะพลิกฟื้นชีวิตของตนเองก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย
นายอาลีได้กล่าวในที่ประชุมสำนักข่าวในเอเชียแปซิฟิคที่เมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ว่า ประชาชนเป็นจำนวนมากที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกลจะไม่สามารถรอดชีวิตได้ถ้าปราศจากความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องจากองค์กรทั่วโลก
"โลกนี้ไม่มีเต๊นท์มากพอที่จะช่วยประชาชนไร้ที่อยู่หลายล้านคน เราจัดส่งเต๊นท์ไปแล้วประมาณ 500,000 หลัง แต่เต๊นท์ทั้งหมดไม่สามารถกันน้ำได้ สถานการณ์ดูน่าวิตกเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากฝนและหิมะกำลังจะมา"
ขณะที่พูดถึงสถานการณ์ที่ยากลำบากของประชาชนหลายพันคนนั้น นายอาลียังอ้างถึงแถลงการณ์ของสภากาชาดซึ่งระบุว่า การสื่อสารที่เหมาะสมถือเป็นปัจจัยที่สำคัญมากพอๆกับอาหาร เสื้อผ้า และที่อยู่อาศัยชั่วคราว
"พื้นที่บางแห่งไม่มีแม้แต่โทรศัพท์มือถือ ซึ่งเป็นรูปแบบการสื่อสารที่ต้องห้าม"
นายอาลีกล่าวว่า เหตุการณ์แผ่นดินไหวยังสะท้อนให้เห็นว่า ปากีสถานมีการบริการที่ย่ำแย่ โดยเฉพาะในช่วงเวลาวิกฤติ ซึ่งนโยบายของรัฐบาลที่ใช้กันมายาวนานระบุไม่ให้มีการเปิดสื่อทางอิเล็คโทรนิคและการบริการสื่อสารโทรคมนาคมอย่างเต็มรูปแบบ
ไม่มีการเข้าไปรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ในบางกรณีที่ต้องมีการเปิดเผยขอบข่ายของโศกนาฏกรรมก็ต้องใช้เวลาหลายวัน ผู้สื่อข่าวจำนวนมากในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบซึ่งต้องสูญเสียทรัพย์สินส่วนบุคคล สิ้นเนื้อประดาตัว และชอกช้ำทางจิตใจนั้น ยังคงไม่มีสาธารณูปโภคพื้นฐาน อาทิ เครื่องโทรสารและโทรศัพท์
แต่นายอาลีกล่าวว่า "ยังคงมีโอกาสที่ดีอยู่" ท่ามกลางความเศร้าโศกและการถูกทำลายล้างนี้ ยังมีโอกาสที่จะสร้างความโปร่งใสในการสื่อสารและเริ่มกระบวนการติดตั้งอุปกรณ์ รวมทั้งการฝึกฝนผู้สื่อข่าวในทุกรูปแบบของสื่อ
หากไม่มีการตรวจสอบอย่างเหมาะสม ก็จะส่งผลให้เกิดข้อกังขาในเม็ดเงินช่วยเหลือมูลค่า 6 พันล้านดอลลาร์ นอกจากนี้ พื้นที่ที่อ่อนไหวต่อการเกิดแผ่นดินไหวก็จะถูกครอบงำด้วยนโยบายแบบลัทธิทหารมากขึ้น และพื้นที่ห่างไกลก็จะยังคงถูกโดดเดี่ยวและยังคงพึ่งพากระแสข่าวลือ
"องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (นาโต้) กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ และกองทัพปากีสถาน กำลังทำงานอย่างเคียงบ่าเคียงไหล่ในด้านการบรรเทาทุกข์อย่างต่อเนื่อง ร่วมกับสภากาชาดและประเทศต่างๆ อาทิ นอร์เวย์ ออสเตรเลีย อิหร่าน ตุรกี อิตาลี และอังกฤษ แม้แต่ในเขตแดนของกลุ่มอัล-กออิดะห์ ใครจะคิดบ้างว่ามันจะเป็นไปได้" นายอาลีกล่าว
"พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวอยู่ในภูมิภาคที่อ่อนไหวและเกิดการเปลี่ยนแปลทางการเมืองมากที่สุดในโลก และพื้นที่ประสบภัยยังรวมถึง แคว้นแคชเมียร์ที่อยู่ในการปกครองของปากีสถานและอินเดีย ตอลดจนพื้นที่ชายแดนอัฟกานิสถานและปากีสถาน"
"แผ่นดินไหวครั้งนี้สร้างความท้าทายให้แก่องค์กรระหว่างประเทศและรัฐบาลต่างๆในภูมิภาคดังกล่าว ที่จะพัฒนานโยบายและโครงการต่างๆ ซึ่งจะลดความจำเป็นในการหันไปพึ่งพาด้านการทหาร โดยการฟื้นฟูและการสร้างกิจกรรมใหม่ๆ ควรจะมีการวางแผนและดำเนินการในทันทีด้วยความโปร่งใสและด้วยการมีส่วนร่วมของผู้คนในท้องถิ่น
"ประชาชนจำเป็นจะต้องได้รับทราบการพัฒนาต่างๆ ผ่านสื่อในท้องที่นั้นๆ เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจที่ผิดพลาดของสาธารณชนอันจะทำให้เกิดอุปสรรคต่างๆ ในการบรรเทาทุกข์และการสร้างกิจกรรมใหม่ๆ ขึ้นได้"
"สื่อในภูมิภาคที่ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพยังช่วยให้องค์กรระหว่างประเทศมีโอกาสสร้างความไว้วางใจกับชุมชนที่อยู่แวดล้อมด้วย"
ทั้งนี้ นายอาลีเสริมว่า "ความรู้สึกอ่อนไหวของประชาชนท้องถิ่น ซึ่งส่งเสียงผ่านการรายงานจากผู้สื่อข่าวในพื้นที่นั้น สามารถเป็นสัญญาณเตือนล่วงหน้าถึงปัญหาที่รอยู่ ซึ่งสามารถจัดการได้อย่างเหมาะสม"
กลุ่มสำนักข่าวเอเชียเน็ท คอนซอร์เทียม (www.asianetnews.net) เห็นชอบร่วมกันที่จะให้การสนับสนุนสำนักข่าวท้องถิ่นผ่านทางมูลนิธิปากีสถานเพรส
ที่มา: เอเชียเน็ท คอนซอร์เทียม, ซี/- ออสเตรเลียน แอซโซซิเอเต็ด เพรส, 3 ไรเดอร์ บูเลอวาร์ด,โรด,นิวเซาธ์ เวลส์, 2138
ติดต่อ: ไมเคิล วอร์เนอร์
ผู้จัดการทั่วไปเอเชียเน็ท
61-2-9322-8667
อีเมล์: asianet@app.com.au
โอเวส อัสลาม อาลี
เลขาธิการทั่วไปมูลนิธิปากีสถานเพรส
92-21-263-3215
อีเมล์: ppf@pakistanpressfoundation.org
--เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท (www.asianetnews.net)--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ