อย่าผลัดวันประกันพรุ่ง พาบุตรหลานไปรับการฉีดวัคซีนตั้งแต่บัดนี้

ข่าวต่างประเทศ Wednesday October 14, 2009 08:27 —Asianet Press Release

ซิดนีย์--14 ต.ค.--มีเดียเน็ท อินเตอร์เนชั่นแนล — เอเชียเน็ท / อินโฟเควสท์ สมาพันธ์องค์การโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Confederation of Meningitis Organisations: CoMO) ออกโรงเรียกร้องให้พ่อแม่ผู้ปกครองทั่วเอเชียนำบุตรหลานไปรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส (pneumococcal disease) เพื่อลดโอกาสที่เด็กจะเจ็บป่วยอย่างรุนแรงและป้องกันมิให้เด็กเสียชีวิต ข้อเรียกร้องดังกล่าวมีขึ้นหนึ่งวันก่อนการประชุมกุมารเวชศาสตร์แห่งเอเชียแปซิฟิกครั้งที่ 13 (13th Asian Pacific Congress of Pediatrics) จะเปิดฉากขึ้นที่ประเทศจีน ณ ศูนย์การประชุมนานาชาติเซี่ยงไฮ้ (Shanghai International Convention Center) โดยการประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาสุขภาพที่ส่งผลกระทบต่อเด็กๆ ทั่วเอเชีย โรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีทั่วโลก ที่สามารถให้วัคซีนป้องกันได้[1] มีการคาดการณ์ว่าโรคนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กร่วม 1 ล้านคนเสียชีวิตในแต่ละปี และครึ่งหนึ่งของ 10 ประเทศที่พบผู้ป่วยมากที่สุดเป็นประเทศในเอเชีย[2],[3] เฉพาะในประเทศไทย โรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสทำให้เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีราว 30 จาก 100,000 คนต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล[4] นอกจากนั้นโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสยังสามารถทำให้เด็กเกิดอาการปอดบวมและเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ซึ่งเป็นสองอาการที่รุนแรงที่สุดที่ผู้ป่วยเด็กต้องเผชิญ [5],[6] การรับวัคซีนป้องกันเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยป้องกันเด็กๆ จากโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส ซึ่งเป็นอาการป่วยหลายอย่างที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเตร็บโตคอคคัส นิวโมเนีย (bacterium steptococcus pnemonia) หรือที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่านิวโมคอคคัส[7] ทั้งนี้ จนถึงปัจจุบันวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสมีใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลกมากว่า 9 ปีแล้ว “เราขอเรียกร้องให้พ่อแม่ผู้ปกครองทุกคนนำบุตรหลานไปรับการฉีดวัคซีน เนื่องจากเด็กทารกและเด็กเล็กเป็นพาหะนำโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสที่มีอันตรายถึงชีวิต” บรูซ แลงกูแลนท์ ประธาน CoMO กล่าว “การให้เด็กได้รับวัคซีนจะช่วยลดการแพร่ระบาดของเชื้อไปสู่เด็กคนอื่นๆ ได้” โรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสสามารถแพร่กระจายได้ด้วยการใกล้ชิดกับผู้ที่เป็นพาหะนำโรค ซึ่งโดยปกติเชื้อโรคมักอยู่ในจมูกและลำคอ และจะแพร่ไปสู่เด็กคนอื่นผ่านน้ำลายหรือน้ำมูกอย่างตอนจาม ไอ เล่นของเล่นด้วยกัน หรือหอมกัน[7] องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) แนะนำว่าควรมีการบรรจุวัคซีนป้องกันการติดเชื้อนิวโมคอคคัส 7 ชนิด (PCV7) เข้าไปในโครงการให้วัคซีนเด็กทั่วประเทศตั้งแต่ปี 2550 ปัจจุบันวัคซีน PCV7 ถูกบรรจุในโครงการให้วัคซีนเด็กทั่วประเทศในฮ่องกง แต่อีกหลายประเทศในเอเชียยังไม่มี แต่ผู้ปกครองสามารถนำเด็กไปรับวัคซีนกับแพทย์ได้ด้วยตัวเอง พ่อแม่ผู้ปกครองที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสควรปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง สำหรับท่านที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมหรือต้องการนัดสัมภาษณ์คุณบรูซ แลงกูแลนท์ ประธาน CoMO กรุณาติดต่อที่ แอนเดรีย เบรดี้ อีเมล: andreabrady01@gmail.com โทร: +64 212 545 324 เกี่ยวกับ สมาพันธ์องค์การโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ สมาพันธ์องค์การโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2547 เพื่อเป็นกระบอกเสียงให้กับกลุ่มองค์กรและผู้ป่วยจากทั่วโลกที่ต้องการให้ผู้คนตระหนักถึงความสำคัญของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบและโรคโลหิตเป็นพิษ และเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโรคดังกล่าว ปัจจุบันสมาพันธ์องค์การโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบประกอบด้วยองค์กรด้านสุขภาพเด็กและโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ 26 องค์กร และผู้ให้การสนับสนุน 7 รายจากทั่วโลก และกำลังพยายามสร้างความแข็งแกร่งให้กับเครือข่ายครอบครัวและผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสมาพันธ์องค์การโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้ที่ www.comoonline.org อ้างอิง: [1] Centers for Disease Control and Prevention. Vaccine preventable deaths and the global immunization vision and strategy, 2006—2015. MMWR. 2006;55(18)511-515.(Document provided by Wyeth) [2] The Medical News, Wyeth's Prevenar vaccine for pneumococcal disease registered in Russia, March 2009. Accessed 12 August 2009 http://www.news-medical.net/news/2009/03/02/46330.aspx [3] Rudanl, Boschi-Pinto C, Biloglav Z, Mullholland K & Campbell H. Epidemiology and etiology of childhood pneumonia. Bulletin of the World Health Organization 2008; 86:408-416. Available at http://who.int/bulletin/volumes/86/5/07-048769.pdf Accessed August 13 2009 [4] INIST Diffusion S.A. Clinical infectious diseases, Incidence of Pneumococcal Bacteremia Requiring Hospitalization in Rural Thailand 2009, vol. 48, SUP2 (167 p.) (36 ref.), [Note(s): S65-S74]. Accessed 24 August 2009 http://cat.inist.fr/?aModele=afficheN&cpsidt=21242742 [5] World Pneumonia Day, Tackling Pneumococcal Disease - the world’s biggest killer of children, 31st July 2009. Accessed 12 August 2009 http://www.worldpneumoniaday.org/wordpress/wp-content/uploads/2009/07/science-of-parliament.pdf [6] World Pneumonia Day, Learn More About Childhood Pneumonia, Short video about global efforts to prevent Pneumococcal Disease, 2009. Accessed 12 August 2009 http://www.rockhopper.tv/programmes/32/ [7] Better Health Channel, Pneumococcal disease fact sheet, 2002. Accessed 11 August 2009 http://www.betterhealth.vic.gov.au/bhcv2/bhcarticles.nsf/pages/Pneumococcal_disease แหล่งข่าว: สมาพันธ์องค์การโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ -- เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท ( www.asianetnews.net ) --

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ