โรม--20 ต.ค.--พีอาร์นิวสไวร์-เอเชียเน็ท/อินโฟเควสท์
ปาทริซ แมคเคนนีย์ ซีอีโอของมูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติ (IOF) เรียกร้องให้รัฐบาลและประชาชนทั่วโลกร่วมมือกันต่อสู้กับโรคกระดูกพรุนเนื่องในวันโรคกระดูกพรุนโลก (20 ต.ค.) ที่กรุงโรม อิตาลี โดยกล่าวว่า "โรคกระดูกพรุนเป็นโรคที่พบได้บ่อย แต่ด้วยความร้ายแรงของโรคดังกล่าวทำให้เราไม่ควรนิ่งนอนใจ ดังนั้นจึงควรกำหนดมาตรการป้องกัน รวมถึงสังเกตสัญญาณความเสี่ยงแต่เนิ่นๆ ตลอดจนหาวิธีการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมเพื่อลดภาระที่เกิดจากการเป็นโรคกระดูกพรุน"
โรคกระดูกพรุน ซึ่งเป็นภาวะของกระดูกที่มีความอ่อนแอและเปราะหักง่ายนั้นกำลังสร้างความวิตกกังวลให้กับทุกประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในประเทศที่ประชากรอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก
ทั้งนี้ โรคกระดูกพรุนมักพบได้บ่อยในกลุ่มผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป โดยพบได้ในผู้หญิงทุกๆ 1 ใน 3 คนและผู้ชายทุกๆ 1 ใน 5 คน ซึ่งในยุโรปทวีปเดียวพบว่า มีผู้เป็นโรคกระดูกพรุนเพิ่มขึ้นทุกๆ 8 วินาที โดยโรคนี้สามารถส่งผลกระทบที่เลวร้ายตามมาและอาจสร้างความเจ็บปวด รวมถึงทำให้ร่างกายทรุดโทรมลงซึ่งจะบั่นทอนคุณภาพชีวิต และส่งผลต่อการพึ่งพาตัวเองในระยะยาว หรืออาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต ซึ่งหนึ่งใน 5 ของผู้ป่วยที่เป็นโรคกระดูกขาตรงสะโพกหักนั้นเสียชีวิตภายใน 12 เดือน
แม้โรคกระดูกพรุนจะส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง แต่น่าเศร้าที่ปัญหาของโรคดังกล่าวซึ่งส่งผลในเชิงเศรษฐกิจสังคมนั้นยังถูกประเมินค่าต่ำกว่าความเป็นจริง และมีรัฐบาลเพียงไม่กี่แห่งที่ตระหนักถึงความเสียหายอันใหญ่หลวงที่มีต่อผู้ป่วย ครอบครัว ระบบรักษาสุขภาพแ ละการรักษาในกลุ่มผู้สูงอายุ
เนื่องในวันโรคกระดูกพรุนโลกวันนี้ ทางมูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติและผู้ป่วยทั่วโลกรวมถึงหน่วยงานทางการแพทย์เกือบ 200 แห่งได้เรียกร้องให้รัฐบาลและทั่วโลกให้ความสำคัญในการหามาตรการป้องกันโรคกระดูกพรุน
เกี่ยวกับ IOF
มูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติ (IOF) เป็นองค์กรนอกภาครัฐที่ไม่แสวงหาผลกำไรที่อุทิศตนให้กับการต่อสู้กับโรคกระดูกพรุนที่ถือเป็นภัยเงียบของสุขภาพ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ IOF สามารถเข้าชมได้ที่ http://www.iofbonehealth.org
หากต้องการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ กรุณาติดต่อที่อีเมล: info@iofbonehealth.org
ติดต่อ:
ลอร่า มิสเทลี
โทร: +41-22-994-01-00
แหล่งข่าว: มูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติ (IOF)