ผลสำรวจของ SITA ชี้สายการบินในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกสนใจรูปแบบการให้บริการแบบบริการตนเองมากขึ้น

ข่าวต่างประเทศ Tuesday October 31, 2006 12:57 —Asianet Press Release

สิงคโปร์--31 ต.ค.--ซินหัว-พีอาร์นิวส์ไวร์-เอเชียเน็ท/อินโฟเควสท์
การสำรวจแนวโน้มเทคโนโลยีสารสนเทศในกลุ่มอุตสาหกรรมสายการบินประจำปีครั้งที่ 8 ของ SITA ซึ่งจัดทำขึ้นโดยร่วมมือกับนิตยสารบิสิเนส แอร์ไลน์ บ่งชี้ว่า สายการบินในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก กำลังให้ความสนใจเรื่องการขนส่งทางอากาศประเภทบริการตนเอง ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงไปสู่รูปแบบที่ให้ความสำคัญกับผู้โดยสารในฐานะศูนย์กลาง เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสาร
ผลการสำรวจแสดงให้เห็นว่า สายการบินต่างๆในภูมิภาคแห่งนี้มีการใช้เทคโนโลยีบริการตนเองเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และผู้โดยสารที่นำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้ก็ขยายตัวอย่างรวดเร็วเช่นกัน ผลสำรวจแนวโน้มไอทีในกลุ่มอุตสาหกรรมสายการบินระบุว่า ผู้ตอบรับการสำรวจมองว่า การจำหน่ายตั๋วแบบ e-ticket ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้ขยายตัวขึ้นจากระดับ 22% ในปี 2548 สู่ระดับ 50% ในปีนี้ ทั้งนี้ คาดว่าตัวเลขดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นเป็น 76% ภายในปี 2550 และเพิ่มขึ้น 94% (เมื่อเทียบกับตัวเลขทั่วโลกที่ 90%) ภายในปี 2551 โดยมีสายการบินในภูมิภาคเพียง 4% เท่านั้นที่ออกตั๋วที่ไม่ใช้ระบบ e-ticket เมื่อเทียบกับระดับ 9% ในปีที่แล้ว
นอกจากนี้ จำนวนบอร์ดดิ้งพาสแบบที่ใช้บาร์โค้ดปรับตัวขึ้นในสัดส่วน 60% ของสายการบินที่คาดว่าจะมีการออกบอร์ดดิ้งพาสแบบใช้บาร์โค้ดภายในปลายปีนี้ และคาดว่าตัวเลขดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นเป็น 88% (เมื่อเทียบกับทั่วโลกที่ 79%) ภายในปลายปี 2550 ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกต่อการเช็คอินด้วยตนเองของผู้โดยสาร ไม่ว่าจะเป็นระบบออนไลน์หรือผ่านตู้ KIOSK
ส่วนการเช็คอินผ่านทางเว็บไซต์นั้น มีสายการบินนำมาให้บริการแล้ว 50% และคาดว่าตัวเลขดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นเป็น 77% ภายในปลายปี 2550สูงกว่าตัวเลขการใช้งานทั่วโลกที่ 72%
ภายในช่วงปลายปี 2550 ตัวเลขผู้โดยสารที่ใช้ตู้ KIOSK เช็คอิน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่ 22% เป็น 29% นอกจากนี้ การสำรวจยังพบว่า เพียง 28% ที่มีการใช้งานตู้ KIOSK แบบบริการตนเองตามปกตินั้น ผู้โดยสารที่ใช้บริการสายการบินหลายสายก็สามารถใช้บริการได้ด้วย แต่คาดว่าตัวเลขดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นเป็น 41% ภายในปลายปี 2550 นี้
ฟรานเชสโก ไวโอแลนเต ซีอีโอของ SITA กล่าวว่า "การที่อุตสาหกรรมสายการบินหันมาใช้รูปแบบผู้โดยสารบริการตนเองอย่างรวดเร็วได้รับการพิสูจน์ให้เห็นแล้วอย่างชัดเจนจากข้อมูลที่ว่าสายการบินได้ทุ่มเงินลงทุนด้านเทคโนโลยีเป็นลำดับต้นๆ โดย 805 ของสายการบินที่ตอบรับการสำรวจมองว่าโครงการหลายแห่งคืนทุนแล้วและโครงการที่ประหยัดต้นทุน อาทิ การสำรองที่นั่งผ่านระบบออนไลน์ บอร์ดดิ้งพาสแบบใช้บาร์โค้ด และการเช็คอินด้วยตนเองนั้น ถือเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญในลำดับสูงสุด เพิ่มขึ้นจากระดับ 50% ของปีที่แล้ว"
ผลการสำรวจในปีนี้บ่งชี้ว่า การเดินทางทางอากาศจะกลายเป็นอุตสาหกรรมที่ให้ประสิทธิภาพแบบ IP (Internet Protocol) อย่างเต็มรูปแบบเป็นครั้งแรก เป็นการนำอำนาจของระบบเวิร์ลด์ไวด์เว็บมาใช้ในบริการของสายการบินและผู้โดยสาร
ผลการสำรวจซึ่งเผยแพร่ในวันนี้เปิดเผยว่า จำนวน 82% ของสถานที่ตั้งของสายการบินทั่วโลกในขณะนี้มี IP ที่เชื่อมโยงกัน และอัตราการเชื่อมโยงกันเพิ่มขึ้น 89% ภายในปี 2550 และ 93% ภายในปลายปี 2551 ในทิศทางเดียวกันจำนวน 78% ของระบบสายการบินในขณะนี้สามารถใช้ IP ได้และจะเพิ่มขึ้นเป็น 83% ภายในปลายปี 2550 และ 87% ภายในปลายปี 2551
พอล โคบี้ ประธานของ SITA กล่าวว่า "ผลการสำรวจแนวโน้มด้านไอทีของกลุ่มอุตสาหกรรมสายการบินในปีนี้ได้ให้หลักฐานที่ชัดเจนที่สุดว่าสายการบินจะเป็นอุตสาหกรรมที่เชื่อมต่อเว็บไซท์ได้อย่างเต็มรูปแบบเป็นอุตสาหกรรมแรกของโลก IP เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารที่เป็นพื้นฐานซึ่งสามารถเสนอแอพพลิเคชั่นส์ใหม่ๆได้มากมายเช่น ระบบการจองออนไลน์ ดังนั้น IP จึงนำการเปลี่ยนแปลงอย่างยิ่งมาสู่รูปแบบการเดินทางทางอากาศนับตั้งแต่ SITA ได้พัฒนาเครื่องมือการจองผ่านทางอินเตอร์เน็ทเป็นครั้งแรกเมื่อเกือบ 10 ปีก่อน นอกจากนี้ยังเป็นการผลักดันรูปแบบธุรกิจบริการตนเอง ที่ให้ทั้งความสะดวกสบายสำหรับผู้โดยสารและช่วยให้สายการบินปรับราคาค่าโดยสารลงได้"
ผลการสำรวจยังได้ตรวจพบเป็นครั้งแรกว่า พนักงานด้านไอทีโดยเฉลี่ยในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกสูงที่สุดทั่วโลกคิดเป็น 2.2% เมื่อเทียบกับ 1.8% ของพนักงานสายการบินทั่วโลก ในแง่ของเปอร์เซ็นต์รายจ่ายด้านไอที ภูมิภาคมีอัตราค่าใช้จ่ายต่ำที่สุดแห่งหนึ่งที่ 2.1%
ทั้งนี้ 58% ของสายการบินที่ตอบแบบสอบถามในภูมิภาคมีการจ้างงานด้านไอทีสูงขึ้นกว่า 5 ปีก่อนและ 54% คาดว่าจะเพิ่มการจ้างงานด้านไอทีภายใน 3 ปีข้างหน้า
วิวัฒนาการการจองตั๋วเครื่องบินแบบออนไลน์ซึ่งช่วยให้สายการบินสามารถประหยัดค่าการดำเนินงานได้เป็นจำนวนมหาศาลยังคงก้าวหน้าต่อไปในภูมิภาค โดย 19% ของตั๋วโดยสารซึ่งขายผ่านทางออนไลน์(เมื่อเทียบกับ 10% ในปี 2548) ทำให้มีพื้นที่ในการปรับปรุงเนื่องจากสายการบินสามารถกำจัดค่าคอมมิชชั่นในการจำหน่ายตั๋วได้
ทั้งนี้ มีเพียง 8% ของสายการบินที่ไม่ได้ขายตั๋วผ่านทางช่องทางเว็บไซต์ และมีศูนย์ขายตั๋วทางโทรศัพท์คิดเป็น 14% เมื่อเทียบกับ 12% ในปี 2548 การจำหน่ายตั๋วทางออนไลน์ที่สูงขึ้นเป็นปัจจัยบ่งชี้ความกดดันของตัวแทนท่องเที่ยวแบบดั้งเดิมในอนาคต
ประเด็นหลักที่ได้รับความสนใจจากสายการบินภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกเกี่ยวกับการขายผ่านทางออนไลน์คือ ความซับซ้อนของราคาตั๋วของสายการบินคิดเป็น 40% และความต้องการที่จะไม่ทำให้ช่องทางการขายเดิมผิดหวังคิดเป็น 16%
นอกจากนี้ วิโอลันเต้ได้แสดงถึงความหวังในแง่บวกมากขึ้นต่อสายการบินทั่วโลกที่จะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้จากการใช้ระบบอี-คอมเมิร์ซระหว่างธุรกิจ "แนวโน้มดังกล่าวในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาแสดงว่าการคาดการณ์การประหยัดค่าใช้จ่ายจากการลงทุนระหว่างธุรกิจได้ลดลง แต่สายการบินสามารถประหยัดตามที่คาดหมายได้ 13% เมื่อเทียบกับกระบวนการเดิม เพิ่มขึ้นจาก 10% ของผลการสำรวจคราวที่แล้ว"
ผลสำรวจยังให้ข้อมูลยืนยันเรื่องความต้องการระบบสื่อสารของผู้โดยสารในระหว่างที่อยู่บนเครื่องบินในภูมิภาคในอนาคต ทั้งนี้สายการบินต่างๆซึ่งใช้โซลูชั่นการสื่อสารแบบเคลื่อนที่บนเครื่องบินจาก OnAir ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของSITA ได้แก่ สิงคโปร์แอร์ไลน์, เอเชียน่าแอร์ไลน์, อีวา แอร์, มาเลเซีย แอร์ไลน์, แควนตัส แอร์เวย์, บีเอ็มไอ และ Ryanair โดยสัดส่วนของสายการบินในภูมิภาค ซึ่งคาดการณ์ว่า จะให้บริการช่องทางการสื่อสารบนเที่ยวบินในปลายปี 2551 ได้แก่ การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต 66% อีเมล์ 62% เอสเอ็มเอส 50% และโทรศัพท์เคลื่อนที่ 46%
ผลสำรวจแนวโน้มการใช้เทคโนโลยีสื่อสารและสารสนเทศของสายการบินในปี 2549 ได้นำเสนอการถ่ายภาพอย่างรวดเร็วที่มีรายละเอียดของจุดยืนด้านอุตสาหกรรมการบินในการตอบรับเทคโนโลยีใหม่ๆ การให้ข้อมูลแนวโน้มการลงทุน และการชี้ให้เห็นถึงสถานการณ์และความท้าทายในอนาคต โดยสามารถดูรายละเอียดผ่านทางเว็บไซต์ http://www.flightglobal.com
เกี่ยวกับ SITA
SITA เป็นผู้ให้บริการชั้นนำระดับโลกด้านโซลูชั่นธุรกิจสื่อสารและสารสนเทศ รวมทั้งจัดหาการบริการการสื่อสารแก่อุตสาหกรรมการขนส่งทางอากาศ โดย SITA ได้จัดการแก้ปัญหาการสื่อสารที่ซับซ้อนให้แก่บริษัทที่ทำธุรกิจขนส่งทางอากาศ รัฐบาล และลูกค้าGDS ในเครือข่ายการสื่อสารที่ขยายตัวมากที่สุดในโลก พร้อมทั้งแก้ปัญหาอย่างครบวงจรด้วยการให้คำปรึกษาด้านการออกแบบ การใช้งานที่เหมาะสม และการรวมการบริการด้านสื่อสาร โดยแอพพลิเคชั่นที่ครอบคลุมของเครื่องมือและบริการของบริษัทสายการบินและท่าอากาศยานประกอบด้วย ศูนย์ดำเนินงานท่าอากาศยาน การบริการจัดเก็บกระเป๋า การใช้งานโดยทั่วไป และการบริการตามเคาน์เตอร์ การปฎิบัติการด้านการบิน และการสื่อสารระหว่างภาคอากาศและพื้นดิน ตลอดจนบริการจัดจำหน่ายและค่าธรรมเนียมของสายการบินแบบเอ็นด์-ทู-เอ็นด์
ทั้งนี้ SITA มีบริษัทในเครือที่สำคัญ 2 แห่ง คือ OnAir ซึ่งเป็นผู้นำในการนำบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนเครื่องบินเข้าสู่ตลาด และ CHAMP Cargosystems บริษัทไอทีของโลกที่ให้บริการด้านไอทีด้านการขนส่งสินค้าทางอากาศแต่เพียงผู้เดียว นอกจากนี้ SITA ยังควบคุมการให้บริการของบริษัทร่วมทุนให้แก่บริษัทขนส่งทางอากาศ โดยมี Aviareto เป็นผู้จัดการด้านสินทรัพย์เครื่องบิน และ CertiPath รับหน้าที่จัดการด้านอิเล็กทรอนิกส์ที่มีความปลอดภัย และบริษัทเหล่านี้ยังสนับสนุนโดเมนอินเทอร์เน็ตในระดับสูงสุด ซึ่งมีไว้สำหรับอุตสาหกรรมการบินเท่านั้น คือ โดเมน .aero
SITA ให้บริการในประเทศต่างๆกว่า 220 แห่ง โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดย SITA ได้รายงานผลประกอบการทั้งหมดในปี 2548 อยู่ที่ 1.554 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (1.295 พันล้านยูโร)
ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถเข้าชมได้ที่ http://www.sita.aero .
ติดต่อ:
SITA
ซูซานน่า ลีอง
ที่ปรึกษาด้านการตลาดส่วนภูมิภาค
โทรศัพท์: +65-6548-2872
มือถือ: +65-9366-9931
อีเมล์: Susanna.Leong@sita.aero
ที่มา: SITA
--เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท ( www.asianetnews.net )--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ