ผู้เชี่ยวชาญระดับแนวหน้าเรียกร้องคำมั่นสัญญาจากอุตสาหกรรมและผู้บริจาคจากนานาประเทศให้เตรียมพร้อมสำหรับการแนะนำการใช้วัคซีนป้องกันแบคทีเรียที่ทำให้เป็นโรคปอดบวม

ข่าวต่างประเทศ Friday May 19, 2006 14:31 —Asianet Press Release

ลอนดอน--19 พ.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์-เอเชียเน็ท/อินโฟเควสท์
ผู้เสียชีวิตหลายล้านคนอาจได้รับป้องกันจากการสร้างภูมิคุ้มกันเป็นประจำ เพื่อยับยั้งสาเหตุของการเป็นโรคปอดบวมและไข้สมองอักเสบในประเทศที่กำลังพัฒนา
บทความของเดอะ แลนเซ็ท (The Lancet) ซึ่งเป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพระดับแนวหน้าของโลกที่เปิดเผยผ่านระบบออนไลน์ ได้เรียกร้องให้กลุ่มผู้ผลิตวัคซีนและกลุ่มผู้บริจาคในระดับสากล หารือกันเรื่องการกำหนดราคาที่เหมาะสมของวัคซีนรวมที่ใช้ป้องกันเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เป็นโรคปอดบวม และเรียกร้องรัฐบาลของประเทศที่กำลังพัฒนาทั่วโลกและพันธมิตรของประเทศเหล่านี้ให้สร้างเครือข่ายตรวจสอบโรคและเริ่มเตรียมความพร้อมสำหรับการแนะนำการใช้วัคซีนป้องกันเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เป็นโรคปอดบวม
ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า การดำเนินการที่เร่งด่วนเพื่อแนะนำให้มีการใช้วัคซีนต่อต้านโรคปอดบวมในเด็กเป็นประจำนั้น เป็นสิ่งจำเป็นเพราะโรคดังกล่าวเป็นภาระที่หนักหน่วง โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ประมาณการว่ามีประชาชนประมาณ 1.6 ล้านคน ซึ่งรวมถึงเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ขวบจำนวนถึง 1 ล้านคน เสียชีวิตทุกๆปีเนื่องจากโรคปอดบวม เยื่อเมนินไจทิสอักเสบ และการติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือด ในประเทศที่มีอัตราการเสียชีวิตในเด็กสูงนั้น โรคปอดบวมเป็นสาเหตุของการติดเชื้อในลำดับต้นๆของการเสียชีวิต และคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 20-25% ของจำนวนเด็กที่เสียชีวิต
การเรียกร้องให้มีการเคลื่อนไหวครั้งนี้มีขึ้นก่อนการประชุมรัฐมนตรีกลุ่มประเทศ G8 เพื่อหารือกันเรื่องการระดมทุนเพื่อจัดหาวัคซีน ดูเหมือนว่าการเรียกร้องครั้งนี้จะเป็นย่างก้าวล่าสุดในการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นในช่วง 5 ปีที่แล้ว ซึ่งเกี่ยวข้องกับการระดมทุนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน รวมถึงการจัดตั้งกองทุน GAVI Alliance (Global Alliance for Vaccines and Immunization) ดร.โอริน เลวีน ผู้นำคณะผู้เขียนบทความและผู้อำนวยการบริหารของ PneumoADIP ซึ่งเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรที่มีวัตถุประสงค์ในการร่นระยะเวลาระหว่างการใช้วัคซีนในประเทศอุตสาหกรรมและการแนะนำวัคซีนในประเทศที่กำลังพัฒนา ได้แสดงความคิดเห็นว่า "เราคาดหวังว่าเมื่อกลไกต่างๆเหล่านี้ถูกนำมาใช้อย่างเหมาะสมแล้ว ประเทศที่กำลังพัฒนาทุกประเทศจะเริ่มพิจารณาว่าเด็กหลายล้านคนจะปลอดภัยได้ด้วยการเพิ่มวัคซีนชนิดนี้เข้าไปในโครงการสร้างภูมิคุ้มกันที่มีอยู่ในปัจจุบัน"
ดร.โธมัส เชเรียน ผู้ประสานงานของ Ad Interrin, EPI, WHO และเป็นผู้เขียนบทความร่วม กล่าวเพิ่มเติมว่า "โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เป็นปอดบวมถือเป็นประเด็นสุขภาพที่สำคัญระดับโลก สิ่งที่เราให้คำมั่นสัญญาคือวัคซีนที่มีคุณค่า 7 ชนิดที่ใช้ต่อต้านแบคทีเรีย 7 สายพันธุ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ได้รับใบอนุญาตแล้ว และกำลังใช้งานในกว่า 60 ประเทศ และสูตรของวัคซีนประกอบไปด้วยจุลินทรีย์ที่เติมเข้าไปเพื่อเป็นกลไกสำคัญที่เหมาะสมกับประเทศที่กำลังพัฒนานั้น กำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนา WHO พิจารณาเห็นว่าวัคซีนป้องกันเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคปอดบวมเป็นความสำคัญในลำดับต้นๆ และตระหนักถึงความเร่งด่วนในการจัดหาวัดซีนเหล่านี้ให้เพียงพอสำหรับเด็กในประเทศที่กำลังพัฒนา"
วัคซีนป้องกันเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เป็นปอดบวมอีกหลายตัวที่กำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนา ซึ่งวัคซีนเหล่านี้ประกอบไปด้วยเชื้อจุลินทรีย์ที่เติมเข้าไป เพื่อเป้าหมายที่จะทำลายแบคทีเรียสายพันธุ์ต่างๆที่ทำให้เกิดโรคปอดบวมซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตและพิการในประเทศที่กำลังพัฒนา อย่างไรก็ตาม วัคซีนเหล่านี้อาจมีไม่พอรองรับความต้องการในหลายๆปี การแนะนำให้มีการใช้วัคซีนที่มีคุณค่า 7 ชนิดในปัจจุบันนี้มีนัยว่า ชีวิตจะได้รับความปลอดภัยในทันที วัคซีนประเภทนี้ซึ่งผลิตโดยบริษัทไวเอ็ท เป็นวัคซีนที่ใช้ได้ผล มีความทนทานที่ดี และสามารถจัดส่งผ่านระบบการสร้างภูมิคุ้มกันที่มีอยู่ในปัจจุบัน ข้อมูลด้านการตรวจสอบจากสหรัฐอเมริกาบ่งชี้ว่า ภูมิคุ้มกันในคนที่ได้รับอิทธิพลจากวัคซีนป้องกันเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เป็นโรคปอดบวมในเด็กจะช่วยป้องกันกรณีการติดเชื้อได้หลายกรณีเหมือนกับการได้รับอิทธิพลจากวัคซีนเพียงอย่างเดียวถึง 2 เท่า ซึ่งป้องกันได้ทั้งในผู้ใหญ่และเด็ก
นางจูเลียน ล็อบ-เลฟท์ เลขาธิการฝ่ายบริหารของ GAVI ALLiance ได้กล่าวถึงบทความของแลนเซ็ทว่า "มีหลักฐานที่โน้มน้าวให้เชื่อถึงประโยชน์ของวัคซีนป้องกันโรคที่สามารถคร่าชีวิตเด็กได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการแทรกแซงด้านสุขภาพจะช่วยให้มีการตื่นตัวในที่ประชุมเป้าหมายหมายเลข 4 ของการพัฒนาแห่งสหัสวรรษของสหประชาชาติ (UN Millennium Development Goal no.4) เพื่อช่วยลดจำนวนเด็กที่เสียชีวิตลง 2 ใน 3 ภายในปี 2558 GAVI จะจับตาดูว่าจะช่วยเหลือประเทศต่างๆให้ดีที่สุดได้อย่างไร ซึ่งโรคที่เกิดจากแบคทีเรียปอดบวมถือเป็นภาระที่หนักหน่วงทางด้านสาธารณสุข"
นางจีน สตีเฟ่น ประธานบริษัทแกล็คโซสมิธไคลน์ ไบโอโลจิคอลส์ ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านวัคซีนของบริษัทแกล็คโซสมิธไคลน์ จำกัด ยังได้แสดงการตอบรับการเรียกร้องในบทความของแลนเซ็ท โดยกล่าวว่า "จีเอสเค ไบโอ ได้ลงทุนในการพัฒนาวัคซีนป้องกันเชื้อแบคทีเรียสายพันธุ์ที่สำคัญที่สุด 10 สายพันธุ์มาเป็นเวลาหลายปี และการเป็นตัวแทนของเรากำลังได้รับการศึกษาในโครงการทางการแพทย์ทั่วโลก เรามีประวัติที่ยาวนานในเรื่องการจัดหาวัคซีนในประเทศที่กำลังพัฒนา และเราให้คำมั่นสัญญาว่าจะทำงานเพื่อผลิตวัคซีนป้องกันเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เป็นโรคปอดบวมให้เพียงพอต่อความต้องการทั่วโลก ในราคาที่แน่นอน เราคาดหวังว่าคู่ค้าของเราในภาครัฐ องค์กรการบริจาค องค์กรการกุศล และองค์กรระหว่างประเทศจะทำข้อตกลงการซื้อที่มั่นคง ซึ่งจะทำให้เราสามารถรักษาชีวิตให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้"
เจมส์ คอนโนลลี่ รองประธานบริหารและผู้จัดการทั่วไปของธุรกิจวัคซีนของไวเอ็ท ฟาร์มาซูติคอลส์ กล่าวว่า เพรฟนาร์ถูกแนะนำและนำไปเปิดตัวในประเทศต่างๆจำนวน 60 ประเทศ และสร้างผลกระทบที่สำคัญกับสุขภาพของเด็กๆที่ใช้วัคซีนตัวนี้ โดยในสหรัฐฯนั้น หลังจากที่ได้มีการใช้เพรฟนาร์เป็นประจำเป็นเวลา 3 ปีแล้ว พบว่าเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เป็นปอดบวมลดลง 94% เนื่องมาจากเชื้อจุลินทรีย์ที่เติมเข้าไปอยู่ในวัคซีน เรากำลังร่วมงานกับองค์กรระหว่างประเทศอย่างแข็งขัน เพื่อช่วยให้เด็กๆในประเทศที่กำลังพัฒนาได้เข้าถึงเพรฟนาร์
ในขณะเดียวกัน นักวิจัยของไวเอ็ทยังคงทำงานอย่างต่อเนื่องในด้านการศึกษาเพรฟนาร์เวอร์ชั่นใหม่ รวมทั้ง เวอร์ชั่นที่จะสามารถแก้ปัญหาการบุกรุกของเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เป็นปอดบวมทั้ง 13 ประเภท ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะเป็นประโยชน์สำหรับเด็กและผู้ใหญ่ทั่วโลก
ภูมิคุ้มกันเฮิร์ดเป็นการสกัดกั้นประชากรไม่ให้แพร่กระจายการติดเชื้อ เนื่องจากภูมิคุ้มกันในปริมาณสูงของประชากร ผลการศึกษาของสหรัฐแนะนำว่า ผลกระทบของภูมิคุ้มกันเฮิร์ดที่มีต่อวัคซีนแบคทีเรียโรคปอดอาจจะรุนแรงเป็นพิเศษ
หนังสืออ้างอิง
1. WHO. Pneumococcal vaccines. Wkly Epidemiol Record 2003; 14: 110-19
2. Williams BG, Gouws E, Boschi-Pinto C et al. Estimates of worldwide distribution of child deaths from acute respiratory infections. Lancet Infect Dis 2002;2:25-32
หมายเหตุบรรณาธิการ
โรคแบคทีเรียปอดบวมเป็นการติดเชื้อซึ่งมีสาเหตุจาก สเตรปโตคอคคัส นิวโมเนีย เมื่อเชื้อแบคทีเรียเหล่านี้เข้าสู่ปอด ซึ่งจะทำให้เกิดแบคทีเรียปอดบวมชนิดที่พบได้ทั่วไป แบคทีเรียสามารถเข้าสู่กระแสเลือด และ/หรือเนื้อเยื่อ รวมทั้งของเหลวรอบสมองและไขกระดูกสันหลัง (เชื้อไข้สมองอักเสบ)
องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า โรคปอดบวมที่เกิดจากแบคทีเรียและไข้สมองอักเสบเป็นสาเหตุให้เด็กกว่า 800,000 ถึง 1 ล้านคนเสียชีวิตทุกปี และมากกว่า 90% ของเด็กที่เสียชีวิตอยู่ในประเทศกำลังพัฒนา
WHO เป็นหน่วยงานด้านสุขภาพที่มีความเชี่ยวชาญขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2491 วัตถุประสงค์ของ WHO ตามหลักการขององค์กร คือการบรรลุถึงระดับสูงสุดที่เป็นไปได้ของการมีสุขภาพแข็งแรงสำหรับทุกคน สุขภาพที่แข็งแรงในนิยามของ WHO คือ สภาพร่างกายและจิตใจที่สมบูรณ์ มีความสุขในสังคม และไม่ป่วยด้วยโรคหรือความไม่แข็งแรง
เป้าหมายของแผนการแนะนำและพัฒนาการสะสมวัคซีนแบคทีเรียปอดบวม (PneumoADIP) คือการลดระยะเวลาระหว่างการใช้วัคซีนใหม่ในประเทศอุตสาหกรรม และในประเทศกำลังพัฒนา ด้วยการลดความต้องการที่ไม่แน่นอน และประสบความสำเร็จในการจัดหาวัคซีนที่เพียงพอและยั่งยืน ความก้าวหน้าใหม่ๆด้วยการให้เงินทุนโดยสหพันธ์โลกสำหรับวัคซีนและภูมิคุ้มกัน (GAVI) ผ่านทางหุ้นส่วนกองทุนวัคซีน PneumoADIP ตั้งอยู่ที่วิทยาลัยสาธารณสุข บลูมเบิร์ก จอห์นส ฮอปกิ้นส์ พันธกิจของ PneumoADIP คือการปรับปรุงอัตราการรอดชีวิตของเด็กและการมีสุขภาพดี โดยการสะสมและเข้าถึงวัคซีนรักษาแบคทีเรียปอดบวมสำหรับเด็กๆทั่วโลก สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ www.preventpneumo.org
สหพันธ์ GAVI (สหพันธ์โลกสำหรับวัคซีนและภูมิคุ้มกัน) ก่อตั้งขึ้นในปี 2543 เพื่อเพิ่มอัตราภูมิคุ้มกันและลดความไม่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงวัคซีนทั่วโลก รัฐบาลในประเทศอุตสาหกรรมและประเทศกำลังพัฒนา UNICEF WHO ธนาคารโลก องค์กรเอ็นจีโอ มูลนิธิ ผู้ผลิตวัคซีน สถาบันวิจัยและสาธารณสุข ทำงานร่วมกันในฐานะพันธมิตรในสหพันธ์ เพื่อบรรลุเป้าหมายการสร้างภูมิคุ้มกันทั่วไป ด้วยความตระหนักที่ว่ามีเพียงความพยายามที่เป็นเอกเทศและแข็งแกร่งเท่านั้น จึงจะสามารถยกระดับความช่วยเหลือการสนับสนุนการสร้างภูมิคุ้มกันทั่วโลกให้สูงขึ้น เงินทุนผ่านช่องทางการเงินของ GAVI และกองทุน GAVI (ซึ่งเดิมเรียกว่ากองทุนวัคซีน) ได้ถูกนำมาใช้เพื่อช่วยเสริมสร้างสุขภาพที่แข็งแรงขึ้นและการให้บริการสร้างภูมิคุ้มกัน การเข้าถึงวัคซีนที่เลือกไว้และเทคโนโลยีวัคซีนใหม่ๆ นอกจากนี้ เงินสนับสนุนจากมูลนิธิบิลและเมลินดา เกตส์ กองทุนวัคซีน ได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาล 10 ประเทศได้แก่ แคนาดา เดนมาร์ก ฝรั่งเศส ไอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ สวีเดน อังกฤษ และสหรัฐ เช่นเดียวกันสหภาพยุโรป และหน่วยงานเอกชน
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาเยี่ยมชมเว็บไซต์ www.preventpneumo.org
ที่มา: PneumoADIP ของ GAVI
ติดต่อ: ฮานส์ วิสท์ ผู้อำนวยการฝ่ายการสื่อสาร PneumoADIP ของ GAVI
โทรศัพท์เคลื่อนที่ +1-410-736-8243
อีเมล์: hkvist@jhsph.edu
เว็บไซต์ http://www.preventpneumo.org
--เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท ( www.asianetnews.net )--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ