ฮ่องกง--5 มี.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์ — เอเชีย — เอเชียเน็ท / อินโฟเควสท์
ผลสำรวจความเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามเกือบ 3,000 คน เผยให้เห็นถึงความต้องการผู้เชี่ยวชาญที่มีคุณสมบัติเหมาะสมและความท้าทายในการจ้างงาน
(ISC)2(R) องค์กรไม่หวังผลกำไรซึ่งออกใบรับรองให้กับผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยข้อมูลกว่า 71,000 ใบให้กับสมาชิก 66,000 รายในกว่า 135 ประเทศทั่วโลก เผยผลสำรวจผลกระทบทางด้านอาชีพประจำปี 2553 ซึ่งจัดทำขึ้นเป็นครั้งที่สอง และเป็นการติดตามผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจที่มีต่อเงินเดือน แนวโน้มการจ้างงาน ความเสี่ยง และอื่นๆ โดยผลสำรวจพบว่าแม้ทั่วโลกจะเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยข้อมูลประมาณครึ่งหนึ่งกลับได้รับเงินเดือนมากขึ้นในปี 2552 และมีไม่ถึง 5% ของผู้ตอบแบบสอบถามที่ตกงาน ทั้งนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามมีทั้งหมดเกือบ 3,000 คน และ 320 คนจากทั้งหมดเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยข้อมูลที่อาศัอยู่ในเอเชียแปซิฟิก ซึ่งรวมถึงประเทศญี่ปุ่น
ผู้ตอบแบบสอบถามกว่าครึ่งหนึ่งของทั่วโลกหรือประมาณ 52.8% (51.4% ในเอเชียแปซิฟิก) ได้รับเงินเดือนมากขึ้นในปี 2552 และมีไม่ถึง 11% ทั่วโลก (9.8% ในเอเชียแปซิฟิก) ที่ถูกตัดเงินเดือนและ/หรือสวัสดิการต่างๆ ขณะที่มีผู้ตอบแบบสอบถามเพียง 4.8% ทั่วโลก (3.5% ในเอเชียแปซิฟิก) ที่ถูกนายจ้างปลดจากงาน นอกจากนั้นจากจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามกว่า 800 คนซึ่งระบุว่าตนเองเป็นผู้รับผิดชอบด้านการจ้างงาน กว่าครึ่งหนึ่งหรือ 53.3% ทั่วโลก (68.4% ในเอเชียแปซิฟิก) เปิดเผยว่าพวกเขากำลังหาพนักงานประจำและ/หรือพนักงานชั่วคราวเพิ่มในปีนี้ และ 40% ทั่วโลก (53.4% ในเอเชียแปซิฟิก) ของผู้ที่กำลังหาพนักงาน เผยว่าจะจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยข้อมูล 3 คนหรือมากกว่านั้นในปีนี้ ซึ่งผลสำรวจที่ได้บ่งชี้ว่าภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีแนวโน้มการจ้างงานที่สดใสที่สุดในปีนี้เมื่อเทียบกับภูมิภาคอเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ ยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา
กว่า 85% ของผู้จัดการด้านการจ้างงานทั้งในระดับโลกและเอเชียแปซิฟิกกล่าวว่า ความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในการจ้างงานคือการหาผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมทั้งในด้านทักษะและระดับประสบการณ์ โดยผู้จัดการในเอเชียแปซิฟิกกล่าวว่าพวกเขากำลังมองหาผู้ที่มีทักษะเฉพาะ 5 ทักษะซึ่งประกอบด้วย การบริหารความเสี่ยงข้อมูล การบริหารความปลอดภัย การตรวจสอบบัญชี การออกแบบโมเดลความปลอดภัยข้อมูล และการดูแลความปลอดภัยเครือข่ายและโทรคมนาคม
“ผลสำรวจผลกระทบทางด้านอาชีพครั้งล่าสุดแสดงให้เห็นว่าแม้เศรษฐกิจโลกจะอยู่ในภาวะที่มีปัญหา แต่องค์กรต่างๆ ก็ยังให้ความสำคัญกับผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยข้อมูล โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก” ดับเบิลยู ฮอร์ด ทิปตัน ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยระบบข้อมูล-วิศวกรรมระบบความปลอดภัยข้อมูล (CISSP-ISSEP) ผู้รับรองและแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญ (CAP) ผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจสอบระบบข้อมูล (CISA) และผู้อำนวยการฝ่ายบริหารของ (ISC)2 กล่าว “ข้อมูลดังกล่าวยังบ่งชี้ว่าทั้งภาครัฐและเอกชนต่างต้องการความปลอดภัยและความมีเสถียรภาพในโลกออนไลน์มากขึ้นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ส่งผลให้ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยที่มีความรู้และมีคุณสมบัติเหมาะสมได้รับโอกาสทางอาชีพอย่างเต็มที่”
ข้อมูลอื่นๆ ที่ได้จากผลสำรวจผลกระทบทางอาชีพประจำปี 2553 ประกอบด้วย
- ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสอบถาม (51.1% ทั่วโลก, 51.6% ในเอเชียแปซิฟิก) มีงบประมาณด้านความปลอดภัยข้อมูลลดลงบางส่วนหรือลดลงมากในปี 2552 ขณะที่ 36.9% ทั่วโลก (46.8% ในเอเชียแปซิฟิก) คาดว่างบประมาณดังกล่าวจะไม่เปลี่ยนแปลงในปีนี้ เทียบกับผลสำรวจประจำปี 2552 ซึ่งระบุว่ากว่า 72% หรือกว่า 2 ใน 3 ของผู้ตอบแบบสอบถามมีงบประมาณลดลง
- ผู้ตอบแบบสอบถามราว 54% ทั่วโลก (53.9% ในเอเชียแปซิฟิก) คาดว่าจะไม่มีการลดพนักงานหรือปลดพนักงานในปีนี้ ขณะที่ 20% ทั่วโลก (12.3% ในเอเชียแปซิฟิก) คาดว่าจะมีการปลดพนักงานเพิ่มเติมอีก เทียบกับผลสำรวจประจำปี 2552 ที่ผู้ตอบแบบสอบถามมากถึง 40% คาดว่าจะมีการปลดพนักงานเพิ่ม
- ผู้ตอบแบบสอบถาม 28% ในเอเชียแปซิฟิกเชื่อว่าภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยเป็นสาเหตุที่ทำให้ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในองค์กรมีมากขึ้น โดยผู้ตอบแบบสอบถามในเอเชียแปซิฟิกราว 53.5% เห็นว่าการที่พนักงานทำงานพลาดเป็นความเสี่ยงด้านความปลอดภัยที่ธรรมดาที่สุดที่เกิดจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย เทียบกับ 37.7% ทั่วโลก ส่วนการถูกโจมตีจากแฮกเกอร์เป็นความเสี่ยงด้านความปลอดภัยที่ธรรมดาที่สุดเป็นอันดับสองที่ 31.3% ทั่วโลก และ 25.3% ในเอเชียแปซิฟิก
ผลสำรวจผลกระทบทางอาชีพประจำปี 2553 ของ (ISC)2 จัดทำขึ้นในช่วงเดือนธันวาคม 2552 ถึงเดือนมกราคม 2553 โดยมีผู้ตอบแบบสอบถาม 2,980 คนจาก 80 ประเทศ ซึ่งร่วมให้ความเห็นว่าภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยส่งผลกระทบอย่างไรต่ออาชีพในปี 2552 รวมถึงแนวโน้มอาชีพในปี 2553 สำหรับในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนั้น การสำรวจดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากสมาคมความปลอดภัยข้อมูลแห่งออสเตรเลีย คณะกรรมาธิการความปลอดภัยข้อมูลแห่งอินเดีย สมาคมผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยข้อมูลแห่งฮ่องกง สมาคมผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยข้อมูลแห่งสิงคโปร์ และสมาคมความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศแห่งประเทศไทย โดยภาคส่วนที่มีส่วนร่วมในผลสำรวจมากที่สุดคือภาครัฐที่สัดส่วน 30% ทั่วโลก (13.2% ในเอเชียแปซิฟิก) ภาคเทคโนโลยีสารสนเทศ 28.5% ทั่วโลก (41.6% ในเอเชียแปซิฟิก) ภาคบริการระดับผู้เชี่ยวชาญ 18.2% ทั่วโลก (22.1% ในเอเชียแปซิฟิก) ภาคการธนาคาร 11.3% ทั่วโลก (13.2% ในเอเชียแปซิฟิก) และภาคโทรคมนาคม 9.9% ทั่วโลก (14.5% ในเอเชียแปซิฟิก) ทั้งนี้ องค์กรที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีพนักงานเกิน 1,000 คน และ 95% ขององค์กรที่ตอบแบบสอบถามมีใบรับรองผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยระบบข้อมูล (CISSP(R)) ของ (ISC)2
(ISC)2 ทำการสำรวจและวิจัยอย่างสม่ำเสมอเพื่อรวบรวมข้อมูลเบื้องลึกเกี่ยวกับผู้ที่ทำงานด้านความปลอดภัยข้อมูลและสนับสนุนองค์กรสมาชิกในการจัดจ้างพนักงาน ซึ่งรวมถึงการให้บริการโพสต์ประวัติการทำงานและแจ้งข้อมูลเรื่องงานฟรีบนเว็บไซต์ (http://www.isc2.org/careers) นอกจากนั้นนายจ้างยังสามารถประกาศรับสมัครงานและค้นหาประวัติการทำงานได้ฟรีเช่นกัน ซึ่งบริการดังกล่าวช่วยให้นายจ้างสามารถเข้าถึงผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยข้อมูลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมตามที่ต้องการได้โดยตรง
ท่านสามารถดูข้อมูลผลสำรวจผลกระทบทางด้านอาชีพประจำปี 2553 ทั้งหมดได้ที่ http://tinyurl.com/isc2-2010-Career-Impact-Survey
เกี่ยวกับ (ISC)2
(ISC)2 เป็นองค์กรไม่หวังผลกำไรรายใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งทำหน้าที่รับรองผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยข้อมูลระดับโลก ด้วยสมาชิกกว่า 66,000 ราย ในกว่า 135 ประเทศทั่วโลก ทางองค์กรได้ออกใบรับรองผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยระบบข้อมูล (CISSP(R)) และใบรับรองอื่นๆที่เกี่ยวข้อง รวมถึงใบรับรองผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยซอฟท์แวร์ (CSSLP(CM)), ใบรับรองและแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญ (CAP(R)) และใบรับรองผู้ปฏิบัติตามระบบความปลอดภัยข้อมูล (SSCP(R)) สำหรับผู้ที่ทำตามมาตรฐานที่กำหนด ทั้งนี้ ใบรับรองของ (ISC)2 เป็นหนึ่งในใบรับรองด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอันดับแรกๆ ที่ได้มาตรฐาน 17024 ของ ANSI/ISO/IEC ซึ่งเป็นมาตรฐานระดับโลกที่ใช้ในการประเมินและรับรองบุคลากร นอกจากให้การรับรองแล้ว ทางองค์กรยังนำเสนอโปรแกรมให้การศึกษาและบริการต่างๆ บนพื้นฐานของ CBK(R) ซึ่งเป็นการสรุปหัวข้อเรื่องความปลอดภัยข้อมูลต่างๆ ทั้งนี้ ท่านที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่ http://www.isc2.org
(C) 2010, (ISC)2 Inc. (ISC)2, CISSP, ISSAP, ISSMP, ISSEP, and CSSLP, CAP, SSCP and CBK เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของ (ISC)2 Inc.
ท่านสามารถติดตามข้อมูลเกี่ยวกับ (ISC)2 ได้ที่ทวิตเตอร์ ( https://twitter.com/ISC2) และยูทูบ ( http://www.youtube.com/isc2tv )
สื่อกรุณาติดต่อ:
คิตตี้ ชุง
(ISC)2 Asia-Pacific
โทร: +852-3520-4001
อีเมล: kchung@isc2.org
แหล่งข่าว: (ISC)2
-- เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท ( www.asianetnews.net ) --