แอตแลนตา, จอร์เจีย--29 มี.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์ — เอเชียเน็ท / อินโฟเควสท์
ผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ (atherogenic dyslipidemia) เนื่องจากระดับไตรกลีเซอไรด์ (TG) ในเลือดสูง (204 mg/dL หรือ 2.3 mmol/L หรือสูงกว่า) และมีไฮเดนซิตี้ไลโปโปรตีนคอเลสเตอรอล (HDL-C) ในระดับต่ำ (34 mg/dL หรือ 0.88 mmol/L หรือต่ำกว่า) สามารถลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ (cardiovascular) ได้อีก 31% ด้วยการเพิ่มยา fenofibrate นอกเหนือจากการใช้ยา simvastatin ทั้งนี้ มีผู้ป่วยเพียง 20 คนจากทั้งหมดที่ต้องใช้เวลารักษานานถึง 5 ปีจึงจะไม่เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ
ท่านสามารถชมข่าวประชาสัมพันธ์ในรูปแบบสื่อมัลติมีเดียได้ที่ http://multivu.prnewswire.com/mnr/r3i/42622/
ผลวิจัยจากโครงการควบคุมความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือ ACCORD (Action to Control Cardiovascular Risk in Diabetes) ซึ่งได้รับการเผยแพร่ออนไลน์ผ่านทางวารสาร New England Journal of Medicine(1) พบว่า กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติจะมีโอกาสเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ (การเสียชีวิตจากโรคหัวใจ ภาวะหัวใจวาย และโรคหลอดเลือดสมอง) มากกว่ากลุ่มที่ไม่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติถึง 70% และในความเป็นจริงแล้วผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติมีความเสี่ยงพอๆ กับผู้ที่เคยเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ (17.3% และ 18.1% ตามลำดับ)
ศจ.ฌอง-ชาร์ลส์ ฟรูชาร์ต ประธานโครงการ Residual Risk Reduction Initiative (R3i) ซึ่งเป็นมูลนิธิเชิงวิชาการของภาคเอกชนในสวิตเซอร์แลนด์ กล่าวว่า “ตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา โครงการ R3i ได้ให้ความสำคัญกับสมมติฐานที่ว่า ความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยที่ได้รับยา statin มีความสัมพันธ์กับภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ(2,3) และผลการวิจัยจากโครงการ ACCORD ก็เป็นเครื่องยืนยันสมมติฐานดังกล่าวและยืนยันว่าการเพิ่มยา fenofibrate นอกเหนือจากการใช้ยา statin จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจได้ ซึ่งผลลัพธ์ดังกล่าวก็สอดคล้องกับคำแนะนำของสมาคมโรคเบาหวานแห่งอเมริกา(4) และ National Cholesterol Education Program Adult Treatment Panel III(5)”
ประสิทธิภาพของยา fenofibrate จะเห็นได้เฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยมาก่อนว่าเป็นโรคเบาหวานที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ ไม่ใช่ผู้ป่วยทุกคนที่ร่วมการวิจัย “แม้ผู้ป่วยที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติจะมีเพียง 17% ของผู้ป่วยทั้งหมดในโครงการ ACCORD แต่ผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวกลับมีปัญหากว่ากลุ่มอื่นมาก ตอนนี้เราจึงผนวกหัวข้อดังกล่าวไว้ในการศึกษา REsiduAl risk Lipids and Standard Therapies (REALIST) ซึ่งได้รับทุนจากโครงการ R3i และกำลังมีการศึกษาที่โรงเรียนแพทย์ฮาร์วาร์ด รวมถึงศูนย์วิชาการชั้นนำอีกกว่า 20 แห่งทั่วโลก” ศจ.แฟรงค์ แซคส์ จากโรงเรียนแพทย์ฮาร์วาร์ด ในบอสตัน สหรัฐอเมริกา และรองประธานโครงการ R3i กล่าว
นอกจากนั้นผลการศึกษาจากโครงการ ACCORD ยังเผยว่ายา fenofibrate สามารถลดการเกิดภาวะไมโครและแมคโครอัลบูมินูเรีย (micro- and macro-albuminuria) หรือการเกิดโปรตีนอัลบูมินในปัสสาวะ ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ถึงโรคไตที่เกิดจากเบาหวาน ซึ่งผลลัพธ์ดังกล่าวสอดคล้องกับผลจากการศึกษาทางคลินิกก่อนหน้านี้(6,7) “ภาวะแทรกซ้อนทางไตอันเกิดจากโรคเบาหวานเป็นปัญหาใหญ่มาก ดังนั้นการได้รู้ว่ายา fenofibrate สามารถช่วยผู้ป่วยได้จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก” ศจ.มิเชล เฮอร์แมนส์ จากมหาวิทยาลัย Cliniques Universitaires Saint-Luc ในบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม และเลขาธิการโครงการ R3i กล่าว
นอกจากนั้นผลการศึกษายังยืนยันว่าการเพิ่มยา fenofibrate นอกเหนือจากการใช้ยา simvastatin ไม่ได้ส่งผลให้ความเสี่ยงในการเกิดภาวะผิดปกติของเซลล์กล้ามเนื้อ ภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน หรือภาวะตับอ่อนอักเสบมีมากเกินไป และในความเป็นจริงแล้วผู้ป่วยที่ได้รับยา fenofibrate มีอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจและการเสียชีวิตด้วยสาเหตุอื่นน้อยกว่าผู้ป่วยที่ได้รับยา simvastatin เพียงอย่างเดียว
โครงการ R3i เป็นผู้นำการวิจัยใหม่เกี่ยวกับภาวะไขมันในเลือดผิดปกติในผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภทที่ 2
ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติเป็นอาการที่พบได้ทั่วไปและมีการแพร่หลายเพิ่มขึ้นมากหลังเกิดการแพร่กระจายไปทั่วโลกของโรคเบาหวาน โรคอ้วน และโรคอ้วนลงพุง (metabolic syndrome)(8) ดังนั้นผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงกว่าครึ่งในสหรัฐอเมริกาที่รับการรักษาด้วยยา statin อาจต้องรับยาอื่นเพิ่มเพื่อลดระดับไตรกลีเซอไรด์ และ/หรือเพิ่มระดับ HDL-C(9)
โครงการ R3i กำลังพยายามรับมือกับปัญหาอันใหญ่หลวงนี้ “เมื่อพิจารณาจากอัตราการแพร่ระบาดอย่างรุนแรงของโรคเบาหวานประเภทที่ 2 โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา การจัดการกับภาวะไขมันในเลือดผิดปกติจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ในฐานะที่เป็นมูลนิธิด้านการวิจัยอิสระเพียงแห่งเดียวที่ให้ความสำคัฐกับปัญหานี้ R3i จึงเร่งพัฒนาแนวทางยุทธศาสตร์ในการลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ ปัจจุบันเรากำลังทำการศึกษา REALIST ซึ่งเป็นการศึกษาด้านระบาดวิทยาทั่วโลกเป็นครั้งแรก เพื่อแสดงให้เห็นถึงความแพร่หลายของภาวะไขมันในเลือดผิดปกติรวมถึงผลที่ทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ และผลการศึกษาจากโครงการ ACCORD ทำให้เราตัดสินใจว่าจะทำการวิเคราะห์ผู้ป่วยกลุ่มย่อยที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ (ไตรกลีเซอไรด์สูง และ/หรือระดับ HDL-C ต่ำ) ซึ่งมาจากผู้ป่วยกลุ่มใหญ่ในการวิจัยยา fibrate” ศจ.ฟรูชาร์ต กล่าว
หมายเหตุถึงบรรณาธิการ
เกี่ยวกับโครงการ ACCORD
โครงการ ACCORD เป็นการศึกษาแนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภท 2 ที่จัดทำขึ้นในสหรัฐอเมริกาและแคนาดาโดยได้รับการสนับสนุนจากสถาบันหัวใจ ปอด และเลือดแห่งชาติ (NHLBI) ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งในสังกัดของสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (NIH) ในสหรัฐอเมริกา โดยการศึกษาครั้งนี้จัดทำขึ้นเพื่อทดสอบว่า การใช้ยาลดไขมันในกลุ่ม fenofibrate ร่วมกับยา simvastatin เพื่อกระตุ้นระดับไตรกลีเซอไรด์และระดับไขมัน HDL-C ที่อยู่ในระดับต่ำรวมถึงไขมัน LDL-C นั้นจะมีประสิทธิภาพในการลดอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานประเภท 2 ที่มีความเสี่ยงสูง 5,518 รายได้ดีกว่าการรักษาด้วยยา statin เพียงอย่างเดียวหรือไม่ ทั้งนี้ คณะวิจัยได้เลือกทำการศึกษายา Fenofibrate หลังผลการทดลองกลุ่มย่อยที่จัดทำขึ้นก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นถึงสรรพคุณเพิ่มเติมในการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภท 2 หรือในกลุ่มผู้ป่วยโรคอ้วนที่มีปัญหาการเผาพลาญอาหาร (10-14) นอกจากนี้ โครงการนี้ยังเป็นโครงการแรกที่ทำการศึกษาเรื่องการใช้ยา 2 กลุ่มในการรักษาผู้ป่วยเบาหวานประเภท 2
อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยโรคเบาหวานยังมีจำนวนมากกว่าที่ผู้ป่วยในปัจจุบันที่ได้รับคำแนะนำให้ใช้ยา fenofibrate ซึ่งกว่า 80% ของผู้ป่วยยังไม่ได้รับการรักษาที่ดีพอเพื่อกระตุ้นระดับ TG และ HDL-C ในร่างกาย
โครงการ ACCORD จัดทำขึ้นโดยมีเป้าหมายที่จะขยายขอบข่ายการใช้ยา fenofibrate เพื่อรักษาผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจที่ยังไม่ได้รับการรักษาตามขั้นตอนต่างๆ อย่างไรก็ตาม การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นแล้วว่า การรักษาผู้ป่วยด้วยการใช้ยา fenofibrate ร่วมกับยา simvastatin นั้นสามารถลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจในกลุ่มผู้ป่วยที่มีระดับคอเลสเตอรอลและภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ (Dyslipidemia) ได้อย่างมีนัยสำคัญ ดังจะเห็นได้ว่าการใช้ยาทั้งสองกลุ่มเป็นเวลา 4.7 ปี สามารถลดอัตราความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจลงได้เหลือ 12.4% เมื่อเทียบกับความเสี่ยงที่ระดับ 17.3% ในกลุ่มผู้ใช้ยา simvastatin เพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ ผลการศึกษาดังกล่าวยังเอื้อต่อแนวทางการรักษาผู้ป่วยในปัจจุบัน
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ R3i สามารถเข้าชมได้ที่เว็บไซต์: http://www.r3i.org
เอกสารอ้างอิง
1. The ACCORD Study Group. Effects of combination lipid
therapy in type 2 diabetes mellitus. N Eng JMed 2010.
DOI:10.1056/NEJMoa1001282.
2. Fruchart JC, Sacks FM, Hermans MP et al. The Residual Risk
Reduction Initiative: a call to action to reduce residual vascular risk in
dyslipidaemic patients. Diab Vasc Dis Res 2008;5:319-35.
3. Fruchart JC, Sacks FM, Hermans MP et al. The Residual Risk
Reduction Initiative: a call to action to reduce residual vascular risk in
dyslipidemic patients. Am J Cardiol 2008;102(10 Suppl):1K-34K.
4. American Diabetes Association. Standards of medical care in
diabetes-2008. Diabetes Care 2008; 31(suppl 1): S12-S54. [Updated 2009:
Executive Summary: Standards of Medical Care in Diabetes-2009. Diabetes Care
2009;32 (suppl 1):S6-S12.]
5. National Cholesterol Education Program (NCEP) Expert Panel
on Detection, Evaluation, and Treatment of High Blood Cholesterol in Adults
(Adult Treatment Panel III). Third Report of the National Cholesterol
Education Program (NCEP) Expert Panel on Detection, Evaluation, and Treatment
of High Blood Cholesterol in Adults (Adult Treatment Panel III). Final
report. Circulation 2002;106:3143-421.
6. Keech A, Simes RJ, Barter P et al. The FIELD study
investigators. Effect of long-term fenofibrate therapy on cardiovascular
events in 9795 people with type 2 diabetes mellitus (the FIELD study):
randomised controlled trial. Lancet 2005;366:1849-61.
7. Ansquer JC, Foucher C, Rattier S et al. Fenofibrate reduces
progression to microalbuminuria over 3 years in a placebo-controlled study in
type 2 diabetes: results from the Diabetes Atherosclerosis Intervention Study
(DIAS). Am J Kidney Dis 2005;45: 485-93.
8. International Diabetes Federation. E-Atlas available at
http://www.diabetesatlas.org/. [Accessed 12 March 2010].
9. Nichols GA, Ambegaonkar BM, Sazonov V et al. Frequency of
obtaining National Cholesterol Education Program Adult Treatment Panel III
goals for all major serum lipoproteins after initiation of lipid altering
therapy. Am J Cardiol 2009;104:1689-94.
10. Scott R, O'Brien R, Fulcher G et al. The effects of
fenofibrate treatment on cardiovascular disease risk in 9795 people with type
2 diabetes and various components of the metabolic syndrome: the FIELD study.
Diabetes Care 2009;32:493-8.
11. Manninen V, Tenkanen L, Koskinen P et al. Joint effects of
serum triglyceride and LDL cholesterol and HDL cholesterol concentrations on
coronary heart disease risk in the Helsinki Heart Study. Implications for
treatment. Circulation 1992;85:37-45.
12. Rubins HB, Robins SJ, Collins D et al. Diabetes, plasma
insulin, and cardiovascular disease. Subgroup analysis from the Department of
Veterans Affairs High-density Lipoprotein Intervention Trial (VA-HIT). Arch
Intern Med 2002;162:2597-2604.
13. Tenkanen L, Mantarri M, Manninen V. Some coronary risk
factors related to the insulin resistance syndrome and treatment with
gemfibrozil: experience from the Helsinki Heart Study. Circulation 1995; 92:
1779-85.
14. Tenenbaum A, Motro M, Fisman EZ, Tanne D, Boyko V, Behar
S. Bezafibrate for the secondary prevention of myocardial infarction in
patients with metabolic syndrome. Arch Intern Med 2005; 165: 1154-60.
แหล่งข่าว: โครงการ Residual Risk Reduction Initiative (R3i)
-- เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท ( www.asianetnews.net ) --