แมตต์ ดอว์สัน เปิดตัวแคมเปญใหม่เพื่อให้ความรู้เรื่องการรักษาโรคมะเร็ง

ข่าวต่างประเทศ Wednesday March 31, 2010 09:00 —Asianet Press Release

ลอนดอน--31 มี.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์ — เอเชียเน็ท / อินโฟเควสท์ - 3 ใน 4 ของผู้ป่วยโรคมะเร็งไม่เคยรู้จักวิธีรักษาด้วยการฝังแร่ แมตต์ ดอว์สัน อดีตแชมป์รักบี้เวิลด์คัพชาวอังกฤษ เปิดตัวแคมเปญ “Because Life is for Living” ในวันนี้ เพื่อกระตุ้นการรับรู้เกี่ยวกับวิธีการฝังแร่ (brachytherapy) ซึ่งเป็นรูปแบบการใช้รังสีบำบัดในการรักษาโรคมะเร็งที่ให้ผลแม่นยำสูง(1) และมีประสิทธิภาพสูง(2) สามารถรับชมข่าวประชาสัมพันธ์ในรูปแบบมัลติมีเดียได้ที่: http://multiview.prnewswire.com/mnr/nucletron/43245/ สามารถชมภาพของ แมตต์ ดอว์สัน ในงานเปิดตัวแคมเปญใหม่ได้ตั้งแต่เวลา 12.00 น.(BST) ของวันที่ 30 มีนาคม ผลการสำรวจผู้ป่วยโรคมะเร็งครั้งใหม่บ่งชี้ว่า 75% ของผู้ป่วยโรคมะเร็งไม่เคยได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับการฝังแร่ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีอันทันสมัยด้วยการนำแร่ซึ่งเป็นต้นกำเนิดรังสีใส่เข้าไปในก้อนมะเร็งหรือเนื้องอกโดยตรง (2) ซึ่งช่วยหลีกเลี่ยงการทำลายเนื้อเยื่อและอวัยวะที่แข็งแรง และลดผลข้างเคียง (3) สำหรับผู้ป่วยอีก 25% ที่รับรู้เรื่องการรักษาด้วยวิธีฝังแร่นั้น มีเพียง 1 ใน 4 เท่านั้นที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีดังกล่าว ศจ.ปีเตอร์ ฮอสกิน ที่ปรึกษาด้านเนื้องอกทางคลินิคจากโรงพยาบาลเมาท์เวอร์นอน ในมิดเดิลเซกซ์ กล่าวว่า “การรักษาด้วยวิธีฝังแร่แทบจะไม่เป็นที่รับรู้ในหมู่ผู้ป่วยโรคมะเร็ง แม้เทคโนโลยีใหม่นี้ได้เพิ่มทางเลือกในการรักษาที่มีประสิทธิภาพก็ตาม สำหรับการรักษาด้วยวิธีฝังแร่นั้น ผู้ป่วยจำนวนมากไม่ต้องนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล หรือหากจำเป็นต้องพักก็จะใช้เวลาน้อยกว่าวิธีการรักษาอื่นๆ เช่น ผ่าตัด” “หากสมาชิกในครอบครัวต้องทนทุกข์ทรมานกับโรคมะเร็ง เราย่อมต้องการวิธีที่ดีที่สุดในการรักษาโรค ดังนั้นการทำให้ผู้คนเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับทางเลือกในการรักษาจึงเป็นก้าวสำคัญที่จะช่วยให้เรารับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้” แมตต์ ดอว์สัน กล่าว “นั่นเป็นเหตุผลที่ผมสนับสนุนแคมเปญ “Because Life is for Living” ซึ่งกระตุ้นให้ผู้ป่วยและผู้ใกล้ชิดได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาและตัดสินใจเลือกวิธีการรักษาได้อย่างเหมาะสม” แคมเปญ “Because Life is for Living” สนับสนุนให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งและผู้ดูแลเข้าไปดูข้อมูลในเว็บไซต์ www.aboutbrachytherapy.com เนื่องจากข้อมูลที่ได้จากเว็บไซต์และจากแพทย์จะช่วยให้ผู้ป่วยตัดสินใจเลือกวิธีการรักษาได้ เมื่อเทียบกับการรักษาด้วยรังสีบำบัดรูปแบบอื่นอย่างการฉายรังสีจากภายนอก (external beam : EBRT) พบว่าการฝังแร่สามารถให้รังสีตามความเข้มข้นที่กำหนดได้ในระยะเวลาที่สั้นกว่า ยกตัวอย่างเช่น ในการรักษาโรคมะเร็งต่อมลูกหมากด้วย EBRT โดยทั่วไปจะใช้เวลาในการรักษาหนึ่งสัปดาห์หรือนานกว่านั้น แต่ถ้ารักษาด้วยวิธีฝังแร่จะใช้เวลาเพียงแค่หนึ่งหรือสองวันเท่านั้น (4, 5) นอกจากนี้ การให้รังสีที่แม่นยำจะลดความเสียหายที่ไม่จำเป็นต่อเนื้อเยื่อและอวัยวะแข็งแรงที่อยู่โดยรอบ ซึ่งช่วยลดผลข้างเคียงลงได้ ดังเช่นในการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมากด้วยการฝังแร่นั้น พบว่าเกิดผลข้างเคียงอย่าง ภาวะปัสสาวะเล็ดหรือกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ (incontinence) และการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ (erectile dysfunction) น้อยกว่าการรักษาด้วยวิธีอื่นๆมาก (3) ปัจจัยเหล่านี้ช่วยลดความยุ่งยากให้กับผู้ป่วยและช่วยให้ผู้ป่วยกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้เร็วขึ้น ผลการสำรวจผู้ป่วยโรคมะเร็ง ICM บ่งชี้ว่าผู้ชายมีโอกาสได้รับการรักษาด้วยวิธีดังกล่าวมากกว่าผู้หญิง เนื่องจากผู้ชาย 4 ใน 10 คนรับรู้เรื่องการรักษาด้วยวิธีฝังแร่ ขณะที่มีผู้หญิงไม่ถึง 1 ใน 10 คนที่รับรู้เรื่องดังกล่าว ดังนั้นจึงต้องมีการกระตุ้นการรับรู้ในกลุ่มผู้หญิง เนื่องจากการฝังแร่สามารถรักษาโรคมะเร็งในผู้หญิงอย่างมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งระบบสืบพันธุ์ของสตรีได้อย่างมีประสิทธิภาพพอๆกับการใช้รักษาโรคมะเร็งต่อมลูกหมากในผู้ชาย และมีผลข้างเคียงน้อยเหมือนกันด้วย (3) ดร.ราเชล คูเปอร์ ที่ปรึกษาด้านเนื้องอกทางคลินิคจากโรงพยาบาลแห่งมหาวิทยาลัยเซนต์เจมส์ ในลอนดอน เชื่อว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากการที่ผู้ป่วยไม่ทราบว่าการฝังแร่คืออะไร และสามารถรักษาโรคมะเร็งอะไรได้บ้าง “การฝังแร่ส่วนมากใช้ในการรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก” ดร.คูเปอร์ กล่าว “แต่มีการพิสูจน์แล้วว่าวิธีนี้ก็สามารถรักษาโรคมะเร็งอื่นๆ ได้อีกหลายประเภท ทั้งมะเร็งระบบสืบพันธุ์สตรี มะเร็งเต้มนม มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งผิวหนัง และมะเร็งทวารหนัก” ผลการสำรวจ ICM ยืนยันว่าผู้ป่วยโรคมะเร็งมักเข้าไปในเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อหาข้อมูลในการรักษาโรค “ยิ่งผู้ป่วยและครอบครัวได้รับข้อมูลมากเท่าใดก็ยิ่งดีเท่านั้น” แมตต์ ดอว์สัน กล่าว “ข้อมูลเกี่ยวกับทางเลือกการรักษาที่มีประสิทธิภาพอย่างการฝังแร่รังสี จึงควรเป็นข้อมูลที่หาได้ง่ายสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งทุกคน” ทั้งนี้ แคมเปญ “Life is for Living” และเว็บไซต์ http://www.aboutbrachytherapy.com ได้รับการสนับสนุนโดยนิวคลีตรอน (Nucletron) หมายเหตุถึงบรรณาธิการ เกี่ยวกับการรักษาวิธีฝังแร่ การรักษาด้วยวิธีฝังแร่ เป็นวิธีการรักษาด้วยรังสีที่มีความแม่นยำสูง ด้วยการนำแร่ซึ่งเป็นต้นกำเนิดรังสีใส่เข้าไปในหรือวางใกล้กับเซลล์มะเร็งเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็งหรือทำให้เนื้องอกหดตัวลง ซึ่งการรักษาด้วยวิธีนี้มีความแม่นยำ มีประสิทธิภาพสูง และสามารถตอบสนองความต้องการที่ต่างกันของผู้ป่วยแต่ละคนได้ โดยแพทย์สามารถให้รังสีความเข้มสูงไปยังพื้นที่เล็กๆ ทำให้เนื้อเยื่อและอวัยวะที่แข็งแรงไม่ได้รับความเสียหาย นอกจากนั้นยังใช้เวลารักษาสั้นกว่าวิธีอื่นด้วย เกี่ยวกับการวิจัยตลาด ผลสำรวจผู้ป่วยโรคมะเร็ง ICM (ICM Cancer Patient Survey) จัดทำขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2553 โดยได้จากการตอบแบบสอบถามออนไลน์ของผู้ป่วยโรคมะเร็งทั้งในปัจจุบันและอดีตจำนวน 598 รายในสหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และเนเธอร์แลนด์ ซึ่งประกอบด้วยสหราชอาณาจักร 250 ราย สหรัฐอเมริกา 250 ราย และเนเธอร์แลนด์ 98 ราย ทั้งนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นชาย 54% และหญิง 46% และมีอายุระหว่าง 18-65+ ปี เกี่ยวกับนิวคลีตรอน นิวคลีตรอนให้บริการโซลูชั่นรังสีรักษาอันทันสมัยสำหรับรักษาโรคมะเร็งซึ่งตอบสนองความต้องการที่ค่อยๆเปลี่ยนแปลงไปของผู้ป่วย ผู้ดูแลคนป่วย และผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ทั่วโลก นิวคลีตรอนเป็นผู้นำระดับโลกในด้านการฝังแร่ ซึ่งเป็นทางเลือกในการรักษาที่มีความแม่นยำมาก มีประสิทธิภาพสูง และทำให้เกิดผลข้างเคียงน้อยกว่า ด้วยการปรับให้ตรงตามความต้องการของผู้ป่วยแต่ละราย เราทำงานร่วมกับทีมแพทย์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ซอฟท์แวร์ และบริการที่สร้างสรรค์ซึ่งรับประกันผลการรักษาที่ยอดเยี่ยม นิวคลีตรอนมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่วีเนนดาล ประเทศเนเธอร์แลนด์ และมีสำนักงานใน 15 ประเทศ ด้วยจำนวนพนักงานมากกว่า 500 คน ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ของนิวคลีตรอนมีจำหน่ายในกว่า 100 ประเทศทั่วโลก สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโซลูชั่นของเราได้ที่ http://www.nucletron.com/ อ้างอิง: 1 Stewart AJ & Jones B. In Devlin Brachytherapy: Applications and techniques. 2007. 2 Kupelian PA, Potters L, Khuntia D, et al. Int J Radiat Oncol Biol Phys 2004;58(1):25-33. 3 Pisansky TM, Gold DG, Furutani KM, et al. Mayo Clin Proc 2008;83(12):1364-72. 4 Dickler A, Patel RR, Wazer D. Expert Rev Med Devices 2009;6(3):325-33. 5 Viani GA, Manta GB, Stefano EJ, et al. J Exp Clin Cancer Res 2009;28:47. สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมหรือการสัมภาษณ์ แมตต์ ดอว์สัน, ศจ.ฮอสกิน และ ดร.คูเปอร์ กรุณาติดต่อ: เร้ด ดอร์ คอมมิวนิเคชั่นส์ (Red Door Communications) ได้ที่ แดนนี่ สเต็ปโต อีเมล: dstepto@rdcomms.com โทร: +44(0)208-392-8042 หรือ ลิเจีย ซานโตส อีเมล: lsantos@rdcomms.com โทร: +44(0)208-392-6925 หรือติดต่อ นิวคลีตรอน ได้ที่ ดร.โจนาธาน ไบรเออร์ส รองประธานกิจการด้านการแพทย์ อีเมล: jonathan.briers@nl.nucletron.com โทร: +31-318-557-231 -- เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท ( www.asianetnews.net ) --

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ