สถาบันผู้สูงอายุแห่งชาติและสมาคมโรคอัลไซเมอร์ร่วมระดมความคิดเพื่อปรับปรุงเกณฑ์การวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์

ข่าวต่างประเทศ Wednesday July 14, 2010 08:56 —Asianet Press Release

ฮอนโนลูลู--14 ก.ค.--พีอาร์นิวสไวร์ — เอเชียเน็ท / อินโฟเควสท์ - สรุปข้อมูล / ตอบคำถาม: การประชุม AAICAD 2010 วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ.2553 เวลา 11:45 — 12:45 น. ณ ศูนย์ประชุม Hawai'i Convention Center ห้อง 321A เลขที่ 1801 ถนนคาลาคาวา ฮอนโนลูลู - วันนี้ นักวิทยาศาสตร์จากการประชุมนานาชาติว่าด้วยโรคอัลไซเมอร์ของสมาคมโรคอัลไซเมอร์ 2010 (AAICAD 2010) นำเสนอเอกสารฉบับร่างเกี่ยวกับการปรับปรุงเกณฑ์การวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์เป็นครั้งแรกในรอบ 25 ปี จากคณะทำงาน 3 กลุ่ม ที่จัดตั้งโดยสถาบันผู้สูงอายุแห่งชาติ (NIA) และสมาคมโรคอัลไซเมอร์ เกณฑ์การวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ในปัจจุบันถูกกำหนดขึ้นในปีพ.ศ. 2527 โดยคณะทำงานของสถาบันด้านโรคทางประสาทและโรคหลอดเลือดสมองแห่งชาติ (National Institute of Neurological Disorders and Stroke หรือ NINDS) / สมาคมโรคอัลไซเมอร์และโรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติที่เกี่ยวข้อง (Alzheimer's Disease and Related Disorders Association หรือ ADRDA) ซึ่งเกณฑ์การวินิจฉัยเหล่านี้มีประโยชน์และเป็นที่ยอมรับแทบจะในระดับสากล กล่าวคือ มีการนำไปใช้เพื่อาวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงมานานกว่า 25 ปี อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า เกณฑ์การวินิจฉัยดังกล่าวได้เริ่มขยายขอบเขตมากขึ้นนับจากนั้นเป็นต้นมา “การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ครั้งสำคัญเกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาลทางองค์ความรู้และความเข้าใจของพวกเราที่มีต่อโรคนี้” ศาสตราจารย์เครตัน เอช. เฟลป์ส ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการประจำศูนย์โรคอัลไซเมอร์ ของแผนกประสาทวิทยาจากสถาบันผู้สูงอายุแห่งชาติในสังกัดสถาบันสุขภาพแห่งชาติ กล่าว “สถาบันผู้สูงอายุแห่งชาติและสมาคมโรคอัลไซเมอร์ลงความเห็นร่วมกันหลังจากที่ได้มีการปรึกษากับนักวิทยาศาสตร์และเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ด้านโรคอัลไซเมอร์ว่า เกณฑ์การวินิจฉัยโรคอาจจำเป็นต้องมีการปรับปรุงให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ดังนั้น พวกเราจึงตัดสินใจที่จะร่วมกันจัดตั้งทีมงานค้นคว้าข้อมูลและจัดทำเอกสารเสนอแนะแนวทางดังกล่าวร่วมกัน” ทั้งนี้ ในการประชุม AAICAD 2010 คณะทำงาน 3 กลุ่ม ซึ่งแต่ละกลุ่มมีผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมจากอัลไซเมอร์ โรคสมองเสื่อมอย่างอ่อน (MCI) จากอัลไซเมอร์ และผู้ป่วยอัลไซเมอร์ที่อยู่ในระหว่างการทดลองช่วงพรีคลินิกได้นำเสนอรายงานฉบับร่างในการประชุมวิสามัญเพื่อระดมความคิดเห็นเบื้องต้นของสมาคมโรคอัลไซเมอร์ “ข้อเสนอที่มีขึ้นนี้จะเปลี่ยนมาตรฐานการวินิจฉัยโรคที่ใช้กันมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2527 ซึ่งจะสะท้อนถึงขั้นตอนการทำงานในด้านต่างๆได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงตัวบ่งชี้ทางชีวภาพของโรคอัลไซเมอร์” ศาสตราจารย์ ดร.วิลเลียม ธีส์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิทยาศาสตร์และการแพทย์ประจำสมาคมโรคอัลไซเมอร์ กล่าว “ขณะเดียวกันบทบาทของตัวบ่งชี้ทางชีวภาพมีความแตกต่างกันไปใน 3 ขั้นตอน ซึ่งส่วนใหญ่ยังคงเป็นที่เข้าใจกันว่ามีความเกี่ยวโยงกับความน่าเชื่อถือและความแม่นยำในการวินิจฉัยโรค ซึ่งจากจุดนี้จะทำให้เราได้เกณฑ์การวินิจฉัยโรคใหม่ๆ ที่สามารถตรวจสอบได้อย่างถี่ถ้วน” สถาบันผู้สูงอายุแห่งชาติและสมาคมโรคอัลไซเมอร์จะนำเสนอข้อมูลต่างๆ เพิ่มเติมผ่านทางเว็บไซต์ทันที หลังจากที่ได้มีการนำเสนอรายงานในที่ประชุม AAICAD บนเว็บไซต์ http://www.alz.org/research/diagnostic_criteria ซึ่งหลังจากนั้นทางหน่วยงานจะนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้งานร่วมกัน และขั้นตอนต่อไปคือการเผยแพร่ข้อมูลในวารสารวิชาการ ก่อนที่จะมีการประกาศใช้เกณฑ์มาตรฐานดังกล่าวผ่านการให้ความร่วมมือของกลุ่มที่ทำโครงการทดลองทางคลินิคเป็นลำดับต่อไป “เกณฑ์การวินิจฉัยผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมจากอัลไซเมอร์ที่เสนอมาต้องมีความยืดหยุ่นมากพอที่ผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพทั่วไปจะสามารถนำไปใช้ได้จริง โดยไม่จำเป็นต้องผ่านการตรวจสอบระบบการทำงานทางประสาท การสแกนภาพของระบบประสาท รวมถึงขั้นตอน CSF ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านการค้นคว้าวิจัยที่มีส่วนร่วมในโครงการศึกษาและทดลองทางคลินิคก็สามารถใช้เกณฑ์การวินิจฉัยนี้ได้ด้วยเช่นกัน หลังจากที่มีการประกาศใช้เกณฑ์มาตรฐานใหม่อย่างเป็นทางการ ” ศาสตราจารย์กาย แมคคาห์น จากมหาวิทยาลัย Johns Hopkins University School of Medicine ซึ่งเป็นประธานคณะทำงาน กล่าว ความสำคัญของการพัฒนาเกณฑ์การวินิจฉัยโรคในระยะเริ่มต้น โรคอัลไซเมอร์สามารถเกิดขึ้นกับผู้ป่วยได้เป็นเวลาหลายปี หรืออาจหลายสิบปีก่อนที่ผู้ป่วยจะเริ่มแสดงอาการ อย่างไรก็ตาม มีหลายวิธีที่จะช่วยให้ผู้ป่วยทราบถึงอาการของโรคนี้ได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ก่อนที่อาการของโรคจะปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน ดร.เฟลป์สกล่าวว่า การตรวจพบโรคอัลไซเมอร์ตั้งแต่ช่วงแรกๆ ในผู้ที่มีความเสี่ยงสูงว่าจะเป็นโรคอัลไซเมอร์ และผู้ที่เริ่มปรากฏอาการของโรคนั้น จะช่วยลดความยุ่งยากในการจำแนกกลุ่มผู้ป่วยที่เข้าร่วมในโครงการศึกษาวิจัยด้านการลดความเสี่ยงของโรคและการป้องกันโรคได้อย่างถูกต้อง “สถาบันผู้สูงอายุแห่งชาติและสมาคมโรคอัลไซเมอร์หวังว่า โครงการปรับปรุงและทบทวนเกณฑ์การวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและนวัตกรรมใหม่ล่าสุดจะช่วยผลักดันให้การวินิฉัยโรคดังกล่าวสามารถป้องกันและรักษาผู้ป่วยได้ตั้งแต่ช่วงแรกๆ” ดร.ธีส์ กล่าว ความคืบหน้าสำคัญในการวิจัยโรคอัลไซเมอร์นับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2527 ความคืบหน้าสำคัญที่สุดในการวิจัยโรคอัลไซเมอร์ที่มีการเผยแพร่นับตั้งแต่ปีพ.ศ.2527 NINDS/ADRDA ประกอบด้วย - การเปลี่ยนแปลงในสมองที่มีส่วนกระตุ้นให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ และการบกพร่องด้านการรับรู้ รวมถึงกระบวนการเกิดโรคสมองเสื่อมเกิดจากการสั่งสมมานายหลายปี ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงกระบวนการเกิดโรคด้านพยาธิวิทยาที่ต้องอาศัยเวลา ขณะเดียวกัน เราได้ทราบว่ามีผู้ป่วยบางรายที่มีการเปลี่ยนแปลงทางสมองร่วมกับโรคอัลไซเมอร์ แต่ไม่แสดงอาการของโรคสมองเสื่อม - การทดสอบยีนในช่วงที่อาการของโรคอัลไซเมอร์เริ่มปรากฏบ่งชี้ว่า อาการเบื้องต้นซึ่งนำไปสู่อาการทางคลินิคและการเปลี่ยนแปลงทางสมองด้านพยาธิวิทยาเริ่มมาจากความผิดปกติของ beta amyloid - ยีน APOE ที่มีอัลลีล e4 คือยีนที่เป็นพาหะสำคัญของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งยีนดังกล่าวสามารถพบได้ในผู้ป่วยที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป - ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพของโรคอัลไซเมอร์ได้รับการพัฒนาและมีการนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ดังนี้ - ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพของโปรตีน beta amyloid ซึ่งรวมถึง amyloid PET สามารถนำไปใช้ตรวจหาภาพและระดับโปรตีน beta amyloid ในน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลัง (cerebrospinal fluid หรือ CSF) - ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพของประสาทรับรู้ความเจ็บปวด ซึ่งรวมถึงระดับของน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลังและ phospho-tau - ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพด้านความผิดปกติของระบบการรับรู้ ซึ่งรวมถึงประสิทธิภาพการดูดซึม FDG บนเครื่องสแกน PET ที่ลดน้อยลง - ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพด้านความเสื่อมของระบบประสาท ซึ่งรวมถึงอาการสมองฝ่อที่พบจากการสแกนโครงสร้างสมองด้วยเครื่อง MRI นอกจากนี้ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เราเริ่มเข้าใจถึงความแตกต่างและความคาบเกี่ยวกันของโรคอัลไซเมอร์ กับโรคสมองเสื่อมที่ไม่ทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์มากขึ้น โดยในปีพ.ศ.2527 เรามีความรู้ด้านโรคสมองเสื่อมที่ไม่ก่อให้เกิดโรคอัลไซเมอร์อยู่เพียงขั้นพื้นฐาน ขณะที่เกณฑ์การวินิจฉัยโรคในปัจจุบันยังไม่สามารถแยกแยะได้อย่างชัดเจนระหว่างผู้ป่วยอัลไซเมอร์ และแนวทางการรักษาแบบอื่นๆ อย่างไรก็ตาม เราเริ่มเข้าใจถึงอาการเบื้องต้นของโรคอัลไซเมอร์และโรคที่เกี่ยวกับอาการขาดเลือดไปเลี้ยงสมองมากขึ้น นอกจากนี้ เรายังได้เรียนรู้ถึงผลจากโรคสมองเสื่อมที่มาจากโรค Lewy Body และโรค Pick's disease รวมถึงโรคสมองเสื่อมในส่วนของสมองส่วนบนและส่วนข้างได้มากขึ้นอีกด้วย รายงานกลุ่มจากคณะทำงาน 3 กลุ่มได้นำเสนอความเห็นใหม่ๆ เกี่ยวกับเกณฑ์การวิจัยและการระบุอาการเบื้องต้นของโรคอัลไซเมอร์ที่ดีขึ้น สถาบันผู้สูงอายุแห่งชาติ และสมาคมโรคอัลไซเมอร์ได้จัดตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินการวิจัยโรคอัลไซเมอร์ใน 3 ระยะ ซึ่งสามารถศึกษาพบในปัจจุบัน ได้แก่ โรคอัลไซเมอร์ระดับพรี-คลีนิค โรคสมองเสื่อมอย่างอ่อนซึ่งมีสาเหตุมาจากโรคอัลไซเมอร์ และโรคสมองเสื่อมจากอัลไซเมอร์ - โรคอัลไซเมอร์ระดับพรี-คลีนิค -- คณะทำงานได้ร่างรายงานการวิจัยที่ระบุถึงวาระสำคัญในการกำหนดแนวทางการประเมินที่อาจช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรค ขณะที่ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพและเครื่องมือประเมินผลทางคลินิคประเภทอื่นๆ สามารถประเมินความสามารถด้านการรับรู้ที่ลดลงตั้งแต่ช่วงแรกๆ ซึ่งได้มีการตรวจสอบเพื่อนำไปใช้เสริมสร้างการทำงานของระบบสมองในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ที่ไม่แสดงอาการชัดเจน รวมถึงนำไปใช้ระบุกลุ่มผู้ป่วยที่อาจเป็นโรคดังกล่าวได้ในภายหลัง - โรคสมองเสื่อมอย่างอ่อน เป็นกลุ่มที่มีการรักษาตามเกณฑ์ของโรค MCI ซึ่งจะช่วยให้มีการกำหนดการเปลี่ยนแปลงด้านกระบวนการรับรู้ก่อนที่จะเกิดโรคสมองเสื่อมและสามารถแยกแยะระหว่างผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมเล็กน้อยกับผู้กับผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ได้ดีขึ้น โดยขณะนี้โรคดังกล่าวกำลังอยู่ในระหว่างการวิจัยเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงด้านกระบวนการรับรู้ และลักษณะของโรคที่เกี่ยวโยงกับตัวชี้วัดทางชีวภาพ ซึ่งวิธีการเหล่านี้สามารถบ่งชี้ถึงแนวโน้มการเกิดโรคสมองเสื่อมจากอัลไซเมอร์ได้ดีที่สุด - โรคสมองเสื่อมจากอัลไซเมอร์ เป็นกลุ่มที่มีการปรับเกณฑ์การวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ในปัจจุบันเพื่อกำหนดถึงตัวบ่งชี้ทางชีวภาพและการประเมินด้านอื่นๆ ที่อาจนำมาช่วยเหลือด้านการวินิจฉัยโรค เกี่ยวกับ AAICAD การประชุมนานาชาติว่าด้วยโรคอัลไซเมอร์ของสมาคมโรคอัลไซเมอร์ (AAICAD) เป็นการประชุมโรคอัลไซเมอร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก โดยนักวิจัยจากทั่วโลกจะมารวมตัวกันเพื่อรายงานและพูดคุยเรื่องการวิจัยและข้อมูลใหม่ๆ เกี่ยวกับสาเหตุ การวินิจฉัย การรักษา และการป้องกันโรคอัลไซเมอร์รวมถึงอาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ในฐานะส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยของสมาคมโรคอัลไซเมอร์ AAICAD ทำหน้าที่เปรียบเสมือนตัวเร่งให้เกิดการสร้างความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับโรคสมองเสื่อม รวมถึงให้การสนับสนุนชุมชนนักวิจัยที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เกี่ยวกับ สมาคมโรคอัลไซเมอร์ สมาคมโรคอัลไซเมอร์เป็นองค์กรอาสาสมัครด้านสุขภาพชั้นนำของโลกซึ่งสนับสนุนการดูแลรักษาและวิจัยโรคอัลไซเมอร์ จุดมุ่งหมายหลักของเราคือการกำจัดโรคอัลไซเมอร์ด้วยการวิจัยที่ทันสมัย รวมถึงการดูแลและสนับสนุนทุกคนที่ได้รับผลกระทบจากโรค และลดความเสี่ยงของการเกิดโรคสมองเสื่อมผ่านการส่งเสริมสุขภาพสมอง เรามุ่งหวังที่จะเห็นโลกที่ปราศจากโรคอัลไซเมอร์ ท่านสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.alz.org หรือโทรศัพท์มาที่หมายเลข 800-272-3900 แหล่งข่าว: สมาคมโรคอัลไซเมอร์ ติดต่อ: สายด่วนสำหรับสื่อของสมาคมโรคอัลไซเมอร์ โทร +1-312-335-4078 อีเมล: media@alz.org ห้องข่าวของการประชุม AAICAD 2010 วันที่ 10 -15 กรกฎาคม โทร +1-808-792-6523 สายด่วนสำหรับสื่อของสถาบันผู้สูงอายุแห่งชาติ โทร +1-301-496-1752 อีเมล peggy.vaughn@nih.gov อีเมล cahanv@nia.nih.gov --เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท ( www.asianetnews.net ) --

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ