ผลการศึกษาฉบับใหม่ชี้เครื่อง ECR รุ่น EVOTECH(R) ของ ASP ทำความสะอาดกล้องเอนโดสโคปชนิดอ่อนได้ดีกว่าการทำความสะอาดด้วยมือ

ข่าวต่างประเทศ Wednesday July 21, 2010 08:46 —Asianet Press Release

เออร์ไวน์, แคลิฟอร์เนีย--21 Jul--พีอาร์นิวสไวร์ — เอเชียเน็ท / อินโฟเควสท์ การศึกษาบ่งชี้ว่า เครื่องล้างทำความสะอาดกล้องเอนโดสโคปและเครื่องฆ่าเชื้อ (Endoscope Cleaner and Reprocessor หรือ ECR) รุ่น EVOTECH(R) สามารถชำระล้างสารตกค้างทางชีวภาพและขจัดคราบจุลินทรีย์ได้อย่างสะอาดหมดจนในทุกซอกทุกมุมของลำกล้องและพื้นผิวกล้องกล้องส่องหลอดลม (Bronchoscope) กล้องส่องลำไส้เล็กส่วนต้น (Duodenoscope) กล้องส่องกระเพาะอาหาร (Gastroscope) รวมถึงกล้องส่องลำไส้ใหญ่และทวารหนัก (Colonoscope) แผนกธุรกิจ Advanced Sterilization Products หรือ ASP เปิดเผยข้อมูลที่ได้รับการตีพิมพ์ล่าสุด ซึ่งระบุว่า เครื่อง ECR รุ่น EVOTECH(R) ของ ASP สามารถชำระล้างสิ่งสกปรกได้โดยอัตโนมัติและมีประสิทธิภาพในการขจัดคราบได้ดีกว่าการใช้เครื่อง AER แบบเดิมที่ต้องทำความสะอาดด้วยมือ ทั้งนี้ ข้อมูลซึ่งได้รับการตีพิมพ์ใน Biomed Central ฉบับเดือนกรกฎาคม ระบุถึงการศึกษาด้านการใช้งานทางคลินิคร่วมกับการใช้งานในแบบจำลองที่จัดทำขึ้นภายใต้การนำของศาสตราจารย์มิแชล อัลฟา (Michelle Alfa) FCCM ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ประจำแผนก Microbiology Discipline Diagnostic Services of Manitoba (DSM) ของโรงพยาบาล St. Boniface General Hospital “มีหลักฐานในรูปของเอกสารตีพิมพ์เรื่องการทำความสะอาดกล้องเอนโดสโคปที่เชื่อถือได้หลายฉบับทั้งในสหรัฐอเมริกาและแคนาดาที่เน้นย้ำถึงความสำคัญของการยกระดับกระบวนการทำความสะอาดกล้องเอนโดสโคปชนิดอ่อน” ดร.อัลฟา ซึ่งเป็นผู้นำโครงการศึกษาค้นคว้า กล่าว “ในช่วงที่เครื่อง ECR รุ่น EVOTECH(R) ยังเป็นเทคโนโลยีใหม่ เราได้ทำการศึกษาเพื่อประเมินประสิทธิภาพขั้นสูงด้านการทำความสะอาดของเครื่อง ECR รุ่น EVOTECH(R) ที่ทำงานโดยอัตโนมัติ ซึ่งผลการศึกษาที่ออกมาสามารถยืนยันได้ว่าเครื่อง ECR รุ่น EVOTECH(R) มีประสิทธิภาพในการล้างทำความสะอาดกล้องเอนโดสโคปชนิดอ่อนได้ดีกว่าการทำความสะอาดด้วยมือ การใช้เครื่องทำความสะอาดอัตโนมัติที่มีการพัฒนาขึ้นในปัจจุบันเป็นขั้นตอนสำคัญที่จะช่วยสร้างความมั่นใจว่า กล้องเอนโดสโคปชนิดอ่อนปลอดภัยจากเชื้อโรค ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงที่ส่งผลต่อผู้ป่วย” ในขณะที่สถานพยาบาลหลายแห่งเริ่มหันมาใช้เครื่องฆ่าเชื้อโรคที่มีประสิทธิภาพการทำงานขั้นสูง ข้อมูลจากผลการศึกษาครั้งนี้ยังเป็นหลักฐานที่ช่วยสนับสนุนว่าเครื่อง ECR รุ่น EVOTECH(R) ช่วยลดขั้นตอนการทำความสะอาดด้วยมือ และสามารถฆ่าเชื้อโรคได้เป็นอย่างดี ในสหรัฐอเมริกามีการใช้กล้องเอนโดสโคปสำหรับส่องตรวจกระเพาะอาหารและลำไส้ประมาณ 34 ล้านครั้งในแต่ละปี (1) ขณะที่การศึกษาเรื่องการฆ่าเชื้ออุปกรณ์ดังกล่าวด้วยมือหลายฉบับบ่งชี้ให้เห็นถึงความยุ่งยากในการทำความสะอาดด้วยมือให้ตรงตามมาตรฐานที่ทางผู้ผลิตแนะนำ รวมถึงปัญหาในแง่ของการทำความสะอาดด้วยมือที่ให้ความสะอาดได้ไม่คงที่ (2),(3),(4),(5),(6),(7),(8) ซึ่งจากการศึกษาเมื่อไม่นานมานี้บ่งชี้ว่าราว 60% ของกล้องตรวจอาจไม่ได้มีการทำความสะอาดอย่างถูกวิธี (9) แม้ว่าการใช้กล้องส่องกระเพาะอาหารและลำไส้ชนิดอ่อนจะมีอัตราการติดเชื้อที่ระดับต่ำในภาพรวม แต่กล้องเอนโดสโคปชนิดนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการติดเชื้ออันเนื่องมาจากอุปกรณ์การแพทย์ที่พบได้บ่อยที่สุด (10) เครื่อง ECR รุ่น EVOTECH(R) เป็นเครื่องล้างทำความสะอาดกล้องเชิงพาณิชย์รุ่นแรกที่สามารถขจัดปัญหาการทำความสะอาดด้วยมือเมื่อผู้ใช้เลือกหมวดการชำระล้าง (i) การศึกษาที่ทำขึ้นอย่างเป็นอิสระนี้ไม่เพียงแต่จะช่วยยืนยันข้อมูลที่จัดทำขึ้นในก่อนหน้านี้ที่ระบุว่า เครื่อง ECR รุ่น EVOTECH(R) มีประสิทธิภาพในการชำระล้างโดยอัตโนมัติได้ดีกว่าการล้างด้วยมือและการใช้แปรงทำความสะอาด แต่ยังแสดงให้เห็นว่าเครื่อง ERC รุ่น EVOTECH(R) มีขั้นตอนการทำความสะอาดที่เหนือกว่าการทำความสะอาดด้วยมือแม้ในจุดซ่อนเร้นที่ยากต่อการทำความสะอาดมากที่สุด เช่น สลิงลวดภายในลำกล้อง “การศึกษาที่จัดทำโดยกลุ่มนักวิจัยอิสระยืนยันถึงประสิทธิภาพของเทคโนโลยี ECR รุ่น EVOTECH(R) ที่ทำงานโดยอัตโนมัติทั้งในส่วนของการใช้งานและเป็นเครื่องตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นของ ASP ในการออกแบบโซลูชั่นป้องกันการติดเชื้อที่ทันสมัย” มาร์ค เบลลอทติ รองประธานฝ่ายวิจัยและพัฒนาระดับโลกของ ASP กล่าว “ASP จะยังคงให้ความร่วมมือกับสมาคมอุตสาหกรรมและเป็นผู้นำด้านการแสดงความคิดเห็นสำคัญๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่าสถานพยาบาลทุกแห่งเข้าใจถึงประโยชน์ของข้อมูลใหม่ๆ ที่มีการนำเสนอในครั้งนี้ รวมถึงประโยชน์ของการพัฒนาเทคโนโลยีที่ทำงานโดยอัตโนมัติมากยิ่งขึ้น” (i) ไม่สามารถลดขั้นตอนการทำความสะอาดขั้นต้นที่ข้างเตียงผู้ป่วยได้ เกี่ยวกับการศึกษา วัตถุประสงค์ของการศึกษาคือการประเมินประสิทธิภาพของเครื่อง ECR รุ่น EVOTECH(R) ที่ใช้ทำความสะอาดกล้องส่องลำไส้ใหญ่และทวารหนัก กล้องส่องลำไส้เล็กส่วนต้น กล้องส่องกระเพาะอาหาร และกล้องส่องหลอดลมชนิดอ่อนผ่านการประเมินผลด้วยวิธีการใช้งานทางคลินิค ร่วมกับการประเมินผลการใช้งานแบบจำลอง โดยเกณฑ์มาตรฐานที่ชี้วัดประสิทธิภาพการทำความสะอาดพื้นผิวและทุกซอกทุกมุมมีดังนี้ คราบโปรตีนตกค้างน้อยกว่า 6.4 ไมโครกรัม/ตารางเซนติเมตร คราบฮีโมโกลบินตกค้างน้อยกว่า 1.8 ไมโครกรัม/ตารางเซนติเมตร และคราบแบคทีเรียที่มีชีวิตตกค้างอยู่น้อยกว่า 4 ลอการิทึมสามัญ/ตารางเซนติเมตร เครื่องดังกล่าวมีประสิทธิภาพการทำความสะอาดในทุกขั้นตอน ไม่เพียงแต่เฉพาะขั้นตอนของการใช้กล้องเอนโดสโคปฉุกเฉิน หรือการใช้กล้องไปนานกว่า 1 ชั่วโมงนับตั้งแต่เริ่มการใช้งาน แต่ยังสามารถใช้ได้ร่วมกับการฉีดล้างทำความสะอาดเตียงผู้ป่วยด้วย ทั้งนี้ การพัฒนาเครื่อง ECR รุ่น EVOTECH(R) และเงินทุนทั้งหมดที่ใช้สำหรับการศึกษาได้รับการสนับสนุนจาก Advanced Sterilization Products เกี่ยวกับข้อมูล ผลการศึกษาบ่งชี้ว่า - กระบวนการทำความสะอาดของเครื่อง ECR รุ่น EVOTECH(R) สามารถทำงานโดยอัตโนมัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งช่วยสร้างความมั่นใจถึงความสะอาดหมดจดของกล้องเอนโดสโคปแบบอ่อน - กระบวนการทำความสะอาดของเครื่อง ECR รุ่น EVOTECH(R) สามารถชำระล้างสารตกค้างทางชีวภาพและขจัดคราบจุลินทรีย์จากทุกซอกทุกมุมของลำกล้องและทุกพื้นผิวของกล้องเอนโดสโคปแบบอ่อนได้เป็นอย่างดี - กระบวนการทำความสะอาดของเครื่อง ECR รุ่น EVOTECH(R) ให้ผลตรงตามมาตรฐานด้านความสะอาดของพื้นผิวและช่องภายในท่อตรวจสูงกว่า 99% - ในการศึกษาด้านการใช้งาน มีการประเมินความสะอาดของกล้องที่ใช้กับผู้ป่วย 75 ราย ซึ่งมีค่าความสะอาดของพื้นผิวกล้อง 98.8% และมีค่าความสะอาดของช่องภายในท่อตรวจอยู่ 99.7% ซึ่งค่าที่ได้ตรงตามมาตรฐานหรือสูงเกินกว่ามาตรฐานด้านความสะอาดทั้งในส่วนของคราบโปรตีน ฮีโมโกลบิน และสิ่งตกค้างประเภทจุลินทรีย์ - ในการศึกษาด้านการใช้งานในแบบจำลองพบว่า 100% ของการประเมินกล้องส่องลำไส้ใหญ่และทวารหนัก กล้องส่องลำไส้เล็กส่วนต้น และกล้องส่องหลอดลมรุ่น Olympus ได้มาตรฐานตรงตามกำหนดหรือสูงกว่ามาตรฐานความสะอาดในส่วนของค่าชี้วัดคราบโปรตีน และสิ่งตกค้างประเภทจุลินทรีย์ (การศึกษาชุดนี้ไม่มีการประเมินคราบฮีโมโกลบิน) - เครื่อง ECR รุ่น EVOTECH(R) ที่ใช้ทำความสะอาดพื้นผิวและร่องภายในกล้องเอนโดสโคปมีประสิทธิภาพเหนือกว่าการทำความสะอาดด้วยมือ - การศึกษาด้านการใช้งานบ่งชี้ว่าคราบโปรตีน ฮีโมโกลบิน และสิ่งตกค้างประเภทจุลินทรีย์ในท่อดูดของกล้อง (L1) สะอาดขึ้นมากหลังผ่านการทำความสะอาดด้วยเครื่อง ECR รุ่น EVOTECH(R) (ความสะอาดตรงตามเกณฑ์มาตรฐาน 99.7%) เมื่อเทียบกับการทำความสะอาดด้วยมือ (11) เกี่ยวกับ เครื่องล้างทำความสะอาดกล้องเอนโดสโคปและเครื่องฆ่าเชื้อ (ECR) รุ่น EVOTECH(R) เครื่อง ECR รุ่น EVOTECH(R) เป็นระบบทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคสำหรับกล้องเอนโดสโคป ระดับสูงเชิงพาณิชย์รุ่นแรก ซึ่งเครื่อง ECR ได้รับการพัฒนาโดยบริษัท ASP ซึ่งช่วยฆ่าเชื้อโรคที่ปนเปื้อนในกล้องเอนโดสโคปได้อย่างครบถ้วนโดยอัตโนมัติ และช่วยขจัดปัญหาการทำความสะอาดอุปกรณ์ดังกล่าวด้วยมือซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเบื่อและบางครั้งก็ให้ความสะอาดได้ไม่สม่ำเสมอเมื่อมีการใช้ระบบ AER แบบเดิม ทั้งนี้ เครื่อง ECR รุ่น EVOTECH(R) ช่วยให้แพทย์และผู้ป่วยมั่นใจได้ว่ากล้องที่ใช้งานมีความสะอาดตามหลักอนามัย สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเครื่อง ECR รุ่น EVOTECH(R) จาก ASP ได้ที่ http://www.aspjj.com . * การใช้เครื่อง ECR รุ่น EVOTECH(R) โดยเลือกระบบการทำงานในหมวดล้างทำความสะอาดไม่จำเป็นต้องมีการทำความสะอาดอุปกรณ์การแพทย์ (กล้องเอนโดสโคป) ด้วยมือ ทั้งนี้ เครื่องดังกล่าวไม่สามารถนำไปใช้ในกรณีทำความสะอาดเตียงผู้ป่วย เกี่ยวกับ Advanced Sterilization Products (ASP) แผนก Advanced Sterilization Products (ASP) ของบริษัท Ethicon, Inc. เป็นผู้พัฒนาเทคโนโลยีและอุปกรณ์การฆ่าเชื้อโรคที่ทันสมัย และเทคโนโลยีเพื่อความสะอาดชั้นนำ โดยบริษัทมุ่งมั่นดำเนินธุรกิจสำหรับการดูแลรักษาผู้ป่วย ผู้ให้บริการด้านสุขภาพ รวมถึงการดูแลสภาพแวดล้อมที่มุ่งเน้นด้านความปลอดภัยเป็นหลัก ควบคู่กับผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพและประหยัดต้นทุน การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่ทันสมัยจะช่วยให้ลูกค้าสามารถช่วยเหลือให้ผู้ป่วยควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างได้ผล และเพิ่มความสามารถ ตลอดจนยกระดับด้านความปลอดภัย ทั้งนี้ สำนักงานของบริษัทตั้งอยู่ในเมืองเออร์ไวน์ รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาเข้าชมได้ที่ http://www.aspjj.com (1) American Society for Gastrointestinal Endoscopy Web site: http://www.asge.org/PressroomIndex.aspx?id=6858. Accessed October 9, 2009. (2) Gillespie EE, Kotsanas D, Stuart RL. Microbiological monitoring of endoscopes: 5-year review. J Gastroenterol Hepatol . 2008;23(7 Pt 1):1069-74. (3) Bisset L, Cossart YE, Selby W, et al. A prospective study of the efficacy of routine decontamination for gastrointestinal endoscopes and the risk factors for failure. Am J Infect Control. 2006;34(5):274-80. (4) Moses FM, Lee JS. Current GI endoscope disinfection and QA practices. Dig Dis Sci. 2004;49(11-12):1791-7. (5) Alfa MJ, Howie R. Modeling microbial survival in buildup biofilm for complex medical devices. BMC Iinfect Dis. 2009;9:56. (6) Vickery K, Pajkos A, Cossart Y. Removal of biofilm from endoscopes: evaluation of detergent efficiency. Am J Infect Control .2004;32(3):170-6. (7) Vickery K, Quan-D N, Zou J, Cossart Y. The effect of multiple cycles of contamination, detergent washing and disinfection on the development of biofilm in endoscope tubing. Am J Infect Control . 2009 (in press). (8) Marion K, Freney J, James G, Bergeron E, Renaud FN, Costerton JW. Using an efficient biofilm detaching agent: an essential step for the improvement of endoscope reprocessing protocols. J of Hosp Infect .2006;64(2):136-42. (9) Data on file, Advanced Sterilization Products. (10) Gillespie EE, Kotsanas D, Stuart RL. Microbiological monitoring of endoscopes: 5-year review. J Gastroenterol Hepatol 2008;23(7 Pt 1):1069-74. (11) Alfa MJ, Degagne P, Olson N. Worst-case soiling levels for patient-used flexible endoscopes before and after cleaning. Am J Infect Control . 1999;27(5):392-401. AD-090273-01-US_E แหล่งข่าว: Advanced Sterilization Products ติดต่อ: แคที สวีท เจ้าหน้าที่ของ ASP โทร: +1-949-789-3945 (สหรัฐอเมริกา) อีเมล: ksweet@its.jnj.com --เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท ( www.asianetnews.net ) --

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ