ผลวิเคราะห์ล่าสุดชี้การใช้ยาลดความดันโลหิตช่วยยืดชีวิตผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงได้

ข่าวต่างประเทศ Monday August 30, 2010 17:12 —Asianet Press Release

สตอกโฮล์ม--30 ส.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์ — เอเชียเน็ท / อินโฟเควสท์ ผลการวิเคราะห์ล่าสุดที่ได้จากข้อมูลผู้ป่วยกว่า 200,000 คนที่เข้าร่วมการทดสอบทางคลินิกครั้งล่าสุดพบว่า การใช้ยาลดความดันโลหิตร่วมกับยาต้าน renin-angiotensin system (RAS) มีประสิทธิภาพโดดเด่นอย่างเห็นได้ชัดในการรักษาชีวิตของผู้ป่วย[1] โดยบทวิเคราะห์ใหม่ที่ได้รับการนำเสนอในวันนี้ ที่การประชุมสมาคมโรคหัวใจแห่งยุโรป (European Society of Cardiology: ESC) บ่งชี้ว่า ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้าน RAS ร่วมกับยา perindopril มีช่วงชีวิตยืนยาวขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ “จุดมุ่งหมายของการควบคุมความดันโลหิตไม่ใช่แค่การลดความดันโลหิตและลดการเกิดอาการเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดหัวใจเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการลดโอกาสการเสียชีวิตด้วย” ศจ.มิเชล แบร์ทรานด์ (Michel Bertrand) ผู้ร่วมทำการศึกษาครั้งนี้ กล่าว[1] “ยาต้าน RAS แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการลดอาการเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดหัวใจอย่างโรคหลอดเลือดอุดตันหรือโรคหัวใจขาดเลือด (ยับยั้งเอนไซม์ ACE) อย่างไรก็ตาม ผลลัพธ์ที่มีต่ออัตราการเสียชีวิตยังไม่ค่อยเป็นที่ทราบกันนัก” ผลวิเคราะห์ดังกล่าวได้จากการทดสอบอัตราการเจ็บป่วย-เสียชีวิตระดับนานาชาติ 21 การทดสอบ* ซึ่งจัดทำขึ้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา โดยมีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในการทดสอบจำนวนมาก (มีสัดส่วนเกิน 2 ใน 3 ของประชากรที่สุ่มทดสอบในแต่ละการทดสอบ ยกเว้นการทดสอบภาวะหัวใจล้มเหลว) ซึ่งผลออกมาปรากฏว่ามีเพียง 3 วิธีการรักษาจาก 3 การทดสอบ (ASCOT-BPLA, ADVANCE และ HYVET) ที่แสดงให้เห็นถึงอัตราการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และในแต่ละการทดสอบจาก 3 การทดสอบนี้บ่งชี้ว่าการใช้ยา perindopril เพียงอย่างเดียวหรือใช้ร่วมกับยาอื่นมีประสิทธิภาพในการรักษาเป็นอย่างดี ส่งผลให้ยา perindopril เป็นยาลดความดันโลหิตที่มีหลักฐานยืนยันมากที่สุดว่าสามารถลดอัตราการเสียชีวิตได้ ส่วนอีก 18 การทดสอบที่เหลือไม่ได้แสดงให้เห็นว่าอัตราการเสียชีวิตลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ไม่ว่าจะรักษาด้วยวิธีการใดก็ตาม ผลลัพธ์รวมกันของการทดสอบ ASCOT, ADVANCE และ HYVET บ่งชี้ว่าอัตราการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุ (p< 0.001) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญถึง 13% ขณะที่ผลลัพธ์รวมกันของอีก 18 การทดสอบที่เหลือที่ไม่มีการใช้ยา perindopril บ่งชี้ว่าไม่มีผลต่ออัตราการเสียชีวิต (HR : 0.99, p=0.472) แม้จะมีผู้ป่วยในการทดสอบรวมกันกว่า 160,000 คนก็ตาม “เนื่องจากผลลัพธ์ที่แตกต่างกันของอัตราการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุไม่ได้เกิดจากระดับความเสี่ยงของผู้ป่วย อายุ ความดันโลหิต หรือช่วงเวลาการทดสอบ เราจึงตั้งสมมติฐานว่าสาเหตุเกิดจากผลของยาที่ใช้ในการรักษาในการทดสอบเหล่านี้” ศจ.มิเชล แบร์ทรานด์ กล่าว “และยา perindopril เป็นยาตัวเดียวที่ใช้ในการทดสอบทั้ง 3 การทดสอบ โดยยากลุ่ม diuretic indapamide ถูกใช้ในการทดสอบ ADVANCE และ HYVET ส่วนยากลุ่ม amlodipine ถูกใช้ในการทดสอบ ASCOT” “ผลลัพธ์ของยาลดความดันโลหิตแต่ละชนิดที่มีต่อการลดลงของอัตราการเสียชีวิตเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องนำมาใช้พิจารณาในการรักษาผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง” หมายเหตุ: *การทดสอบทางคลินิก 21 การทดสอบประกอบด้วย IDNT, RENAAL, ALLHAT, LIFE, INVEST, ANBP-2, SCOPE, VALUE, JMIC-B, ASCOT-BPLA, MOSES, JIKEI, ADVANCE, HYVET, ONTARGET, TRANSCEND, PROFESS, ACCOMPLISH, KYOTO, NAVIGATOR Perindopril เป็นยาที่ได้รับการรับรองทั่วโลกสำหรับใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และโรคหัวใจล้มเหลว ภายใต้ชื่อทางการค้า COVERSYL(c), COVEREX(c), ACERTIL(c), PRESTARIUM(c), PREXANIL(c), PREXUM(c), COVERENE(c), COVERSUM(c), PROCAPTAN(c) และ ACEON(c) การทดสอบ ADVANCE (Action in Diabetes and Vascular disease: PreterAx and DiamicroN MR Controlled Evaluation) ได้รับการออกแบบ ปฏิบัติการ ตรวจสอบ วิเคราะห์ และรายงานโดยกลุ่มวิจัยทางการแพทย์ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมาธิการด้านการวิจัยทางการแพทย์และสุขภาพแห่งชาติ (National Health and Medical Research Council) ของรัฐบาลออสเตรเลีย หลังผ่านการพิจารณากลั่นกรองอย่างเต็มรูปแบบแล้ว ส่วนแรกของการทดสอบ ADVANCE เป็นการตรวจสอบผลลัพธ์ของการลดความดันโลหิตอย่างเข้มงวดด้วยการใช้ยา perindopril ร่วมกับยา indapamide (Preterax(R) [g1]) ซึ่งผลลัพธ์ที่ออกมาบ่งชี้ว่าการได้รับยา perindopril ร่วมกับยา indapamide เป็นประจำช่วยเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตและลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและโรคไต[2] การทดสอบ ASCOT-BPLA (Anglo-Scandinavian Cardiac Outcomes Trial-Blood Pressure-Lowering Arm) เป็นการทดสอบขนาดใหญ่ระดับนานาชาติซึ่งจัดทำขึ้นโดยสมาคมโรคความดันโลหิตสูงแห่งอังกฤษ (British Hypertension Society) โดยมีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงกว่า 19,000 คนเข้าร่วม การทดสอบนี้เป็นการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวิธีการรักษาที่แตกต่างกัน 2 วิธี ในการลดอาการเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งผลลัพธ์บ่งชี้ว่าวิธีการรักษาที่ใหม่กว่า (การรักษาด้วยยา amlodipine และ perindopril) มีประสิทธิภาพมากกว่าการรักษาด้วยวิธีเก่า (การใช้ยา atenolol และ bendroflumethiazide) การทดสอบถูกยุติก่อนกำหนดโดยคณะกรรมการควบคุมความปลอดภัยข้อมูล (Data Safety Monitoring Board) เมื่อเดือนธันวาคมปี 2547 [3] การทดสอบ HYVET (HYpertension in the Very Elderly Trial) เป็นการทดสอบระดับนานาชาติที่มีการใช้ยาหลอก (placebo) เป็นตัวควบคุม เพื่อศึกษาประโยชน์ของการให้ยาลดความดันโลหิต (ยา indapamide SR และ perindopril ปริมาณต่ำ) กับผู้ป่วยสูงอายุวันละครั้ง การทดสอบนี้ยุติก่อนกำหนดหลังจากที่นักวิจัยพบว่าอัตราการเสียชีวิตโดยรวมในผู้ป่วยที่ร่วมการทดสอบลดลงอย่างมีนัยสำคัญ [4] HYVET เป็นการทดสอบที่ใหญ่ที่สุดที่ทำการค้นหาผลลัพธ์ของการลดความดันโลหิตในผู้ป่วยอายุ 80 ปีขึ้นไป ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ก็บ่งชี้ว่าการลดความดันโลหิตช่วยลดการเกิดภาวะหลอดเลือดตีบและลดอัตราการเสียชีวิตลงอย่างมีนัยสำคัญ การทดสอบ HYVET เกิดจากการร่วมมือระหว่าง อิมพีเรียล คอลเลจ ลอนดอน (Imperial College London) กับผู้ร่วมงานทั่วโลก และได้รับการสนับสนุนด้านการเงินจากมูลนิธิโรคหัวใจแห่งอังกฤษ (British Heart Foundation) และ เซอร์เวียร์ (Servier) อ้างอิง 1) JJ Mourad, M Bertrand. Impact of antihypertensive treatment on mortality: A late-break analysis of recent clinical trials in hypertension. Abstract ESC 2010. 2) ADVANCE Collaborative Group; Patel A, MacMahon S, Chalmers J, et al. Effects of a fixed combination of perindopril and indapamide on macrovascular and microvascular outcomes in patients with type 2 diabetes mellitus (the ADVANCE trial): a randomised controlled trial. Lancet. 2007;370:829-840. 3) Dahlof B, Sever PS, Poulter NR, et al. Prevention of cardiovascular events with an antihypertensive regimen of amlodipine adding perindopril as required versus atenolol adding bendroflumethiazide as required, in the Anglo-Scandinavian Cardiac Outcomes Trial-Blood Pressure Lowering Arm (ASCOT-BPLA): a multicentre randomised controlled trial. Lancet 2005;366:895-906. 4) Beckett NS, Peters R, Fletcher A, et al. Treatment of hypertension in patients 80 years of age and older. N Engl J Med 2008;358. แหล่งข่าว: เซอร์เวียร์ --เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท ( www.asianetnews.net ) --

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ