ปารีส--31 ส.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์ — เอเชียเน็ท / อินโฟเควสท์
- Composite primary endpoint: ความเสี่ยงของการเสียชีวิต การเกิดภาวะหัวใจขาดเลือด ความล้มเหลวในการผ่าตัด หรือการเกิดเลือดไหลจำนวนมาก (p=0.07) ลดลง 17%
- Main secondary composite efficacy endpoint: อัตราการเสียชีวิต การกลับมาเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดซ้ำ หรือการผ่าตัดเปิดหลอดเลือดหัวใจอุดตันซ้ำ (p=0.01) ลดลง 40%
ผลการศึกษา ATOLL ซึ่งเป็นการศึกษาระดับนานาชาติที่ได้รับการสนับสนุนโดย Assistance Publique - Hopitaux de Paris บ่งชี้ว่า ยา enoxaparin ช่วยลดอัตราการเสียชีวิต การเกิดภาวะหัวใจขาดเลือด ความล้มเหลวในการผ่าตัด หรือการเกิดเลือดไหลจำนวนมาก รวมกันได้ 17% เมื่อเทียบกับการใช้ยา heparin (p=0.07) ในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (STEMI) ที่ได้รับการรักษาหลอดเลือดหัวใจตีบตันผ่านสายสวน (PCI) ขณะที่ Main secondary composite efficacy endpoint แสดงให้เห็นว่าการรักษาด้วยยา enoxaparin ช่วยลดอัตราการเสียชีวิต การกลับมาเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดซ้ำ หรือการผ่าตัดเปิดหลอดเลือดหัวใจอุดตันฉุกเฉิน ลงได้อย่างมากถึง 40% ทั้งนี้ ผลการศึกษา ATOLL ได้รับการนำเสนอในการประชุมสายด่วน (hotline session) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการประชุมประจำปีของสมาคมโรคหัวใจแห่งยุโรป (European Cardiology Congress: ESC 2010) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน
สามารถดูข่าวประชาสัมพันธ์ในรูปแบบมัลติมีเดียได้ที่ http://multivu.prnewswire.com/mnr/prne/aphp/44204/
ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันอาจทำให้ผู้ป่วย 1 ใน 3 เสียชีวิตภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังแสดงอาการขาดเลือด ดังนั้นการได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก โดยอัตราการเสียชีวิตจากภาวะหัวใจขาดเลือดยังคงอยู่ในระดับสูงสุดที่ 10% ภายใน 30 วัน
“ผลการศึกษาเกี่ยวกับการขาดเลือดและการเสียชีวิตบ่งชี้ว่ายา enoxaparin ดีกว่ายา UFH ส่งผลให้ยา enoxaparin กลายเป็นทางเลือกใหม่สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาหลอดเลือดหัวใจตีบตันผ่านสายสวน” ศจ.จีล มงตาเลสโกต์ (Prof.Gilles Montalescot) หัวหน้าแผนกโรคหัวใจจากโรงพยาบาล Pitie-Salpetriere ในปารีส และเป็นผู้นำการศึกษา ATOLL กล่าว “การทดลองให้ยาต้านการเกิดลิ่มเลือดเหมือนเดิมตั้งแต่ห้องฉุกเฉินหรือรถพยาบาลไปจนถึงห้องทดลองใส่สายสวนหัวใจและแผนกโรคหัวใจ พบว่ายา enoxaparin มีความปลอดภัยและช่วยให้การรักษาง่ายดายยิ่งขึ้น”
การศึกษาระดับนานาชาติ ATOLL ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดย Assistance Publique - Hopitaux de Paris มีผู้ป่วยเข้าร่วมการทดลอง 910 คน โดยทั้งหมดมีภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันซึ่งเป็นโรคหัวใจวายประเภทหนึ่งที่มีอันตรายมากที่สุด ผู้ป่วยได้รับยา enoxaparin (Clexane/Lovenox(R)) ปริมาณ 0.5 mg/kg ฉีดเข้าทางเส้นเลือดโดยไม่มีการปรับระดับยาต้านการเกิดลิ่มเลือด หรือรับยา UFH (unfractionated heparin) ก่อนรับการรักษาหลอดเลือดหัวใจตีบตันผ่านสายสวน หรือเรียกอีกอย่างว่าการทำบอลลูนหรือการทำสเตนท์ (stenting)
สำหรับภาวะเสี่ยงของการเกิดเลือดไหลจำนวนมาก ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายด้านความปลอดภัยหลักของการทดลอง พบว่าไม่มีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มทดลองทั้งสองกลุ่ม (4.9% และ 4.5% ตามลำดับในกลุ่มที่ได้รับยา UFH และยา enoxaparin) ขณะเดียวกันความเสี่ยงของการเกิดเลือดไหลเล็กน้อยก็ไม่แตกต่างกันในทั้งสองกลุ่ม (8.9% ในกลุ่มที่ได้รับยา UFH และ 7% ในกลุ่ม enoxaparin)
เกี่ยวกับ การศึกษา ATOLL
การศึกษา ATOLL (การรักษาอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันด้วยการทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจเบื้องต้น และการฉีดยา enoxaparin หรือ UFH เข้าเส้นเลือดเพื่อลดภาวะการเกิดเลือดไหลและหัวใจขาดเลือด พร้อมติดตามผลการรักษาในระยะสั้นและระยะยาว) เป็นการศึกษาแบบสุ่มและเปรียบเทียบประสิทธิภาพของยา unfractionated heparin (UFH) และยา Clexane/Lovenox(R)(enoxaparin) แบบตัวต่อตัว พร้อมกับการทำบอลลูนในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (STEMI) การศึกษา ATOLL มีผู้เข้าร่วมการทดลอง 910 คนจาก 31 พื้นที่ในหลายประเทศซึ่งรวมถึงออสเตรีย ฝรั่งเศส เยอรมนี และสหรัฐอเมริกา โดยผู้ป่วยที่แสดงอาการของโรคภายใน 24 ชั่วโมงจะถูกสุ่มรักษาด้วย UFH IV bolus (ACT-adjusted), 50-70IU พร้อมด้วย GP IIb/IIIa หรือ 70-100IU โดยไม่มี GP IIb/IIIa หรือรักษาด้วย Clexane/Lovenox(R)(enoxaparine) 0.50 mg/kg IV bolus ทั้งนี้ การศึกษา ATOLL ได้รับการสนับสนุนจาก AP-HP (Assistance Publique-Hopitaux de Paris) นอกจากนั้นยังได้รับเงินทุนจาก AP-HP และ ซาโนฟี่-อเวนตีส (sanofi-aventis)
เกี่ยวกับ ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (STEMI)
ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน เป็นโรคหัวใจวายประเภทหนึ่งที่มีความรุนแรงที่สุดและมีอันตรายถึงชีวิต โดยเกิดจากการที่เส้นเลือดหัวใจเกิดการอุดตันอย่างสิ้นเชิงอย่างทันทีทันใด ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจเสียหายอย่างถาวรเนื่องจากมีเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอ (หรือเรียกว่ากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด) โดยปกติแล้วภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันจะสังเกตได้จากระดับ ST segment ที่เพิ่มขึ้นในการตรวจหัวใจ ECG ซึ่งบ่งชี้ว่ามีกล้ามเนื้อหัวใจจำนวนมากได้รับความเสียหาย
เกี่ยวกับ การรักษาหลอดเลือดหัวใจตีบตันผ่านสายสวน (PCI)
การรักษาหลอดเลือดหัวใจตีบตันผ่านสายสวน หรือที่เรียกกันว่าการทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจ เป็นการเคลียร์หลอดเลือดโดยใช้บอลลูนขนาดเล็ก ด้วยการสอดสายสวนผ่านเข้าไปในเส้นเลือดจนถึงหลอดเลือดหัวใจที่อุดตัน จากนั้นบอลลูนลูกเล็กๆ ที่อยู่ตรงปลายสายสวนจะพองตัวเพื่อขยายหลอดเลือดให้กว้างขึ้น ทำให้เลือดไหลเวียนสู่หัวใจตามเดิม และบ่อยครั้งจะมีการใส่ตาข่ายโลหะขนาดเล็กที่เรียกว่า stent คาไว้ในเส้นเลือดเพื่อป้องกันไม่ให้เส้นเลือดตีบอีก
แหล่งข่าว: Assistance Publique - Hopitaux de Paris
--เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท ( www.asianetnews.net ) --