สตอกโฮล์ม--20 ก.ย.--พีอาร์นิวส์ไวร์ — เอเชียเน็ท / อินโฟเควสท์
บริษัท บริสตอล-ไมเยอร์ สควิบบ์ (Bristol-Myers Squibb Company) (NYSE: BMY) (http://www.bms.com) และบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca) (NYSE: AZN) (http://www.astrazeneca-us.com) ประกาศผลการศึกษาทางคลินิกขั้นที่ 3 แบบสุ่มและปิดสองทาง ซึ่งบ่งชี้ว่าการใช้ยา dapagliflozin ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการทดสอบทางคลินิก ร่วมกับยา glimepiride (sulphonylurea) ช่วยลดระดับ glycosylated hemoglobin (HbA1c) ในผู้ใหญ่ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับการใช้ยา glimepiride เพียงอย่างเดียว นอกจากนั้นผลการศึกษายังบ่งชี้ว่าการใช้ยา dapagliflozin ร่วมกับยา glimepiride ยังช่วยลดน้ำหนักตัว ระดับความทนกลูโคส (OGTT) และระดับกลูโคสในพลาสมาหลังอดอาหาร (FPG) จากมาตรฐาน baseline ในสัปดาห์ที่ 24 เมื่อเทียบกับการใช้ยาหลอกร่วมกับยา glimepiride โดยผู้ป่วยที่ได้รับยา dapagliflozin ร่วมกับยา glimepiride และมีระดับ HbA1c น้อยกว่า 7% มีจำนวนมากกว่าเมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่ได้รับยา glimepiride เพียงอย่างเดียว ซึ่งผลการศึกษาในครั้งนี้ได้รับการนำเสนอที่การประชุมประจำปีครั้งที่ 46 ของสมาคมศึกษาโรคเบาหวานแห่งยุโรป (European Association for the Study of Diabetes: EASD)
ความถี่ของการเกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยามีระดับใกล้เคียงกันในกลุ่มผู้ป่วยทุกกลุ่ม แต่กลุ่มที่ใช้ยา dapagliflozin มีสัญญาณและอาการของการติดเชื้อในทางเดินอวัยวะสืบพันธุ์ แต่ไม่พบการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ มากกว่ากลุ่มอื่น
ยา dapagliflozin เป็นยาต้านตัวขนส่งโซเดียมและกลูโคส (SGLT2) ตัวแรกซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการทดลองขั้นที่ 3 ภายใต้การพัฒนาร่วมกันระหว่างบริสตอล-ไมเยอร์ สควิบบ์ และแอสตร้าเซนเนก้า ในฐานะยารับประทานวันละครั้งสำหรับรักษาผู้ใหญ่ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ทั้งนี้ ยาต้าน SGLT2 ซึ่งทำงานเป็นอิสระจากกลไกการทำงานของอินซูลิน จะช่วยขับกลูโคสและแคลอรีผ่านการปัสสาวะ ซึ่งจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง
“ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มักมีความสามารถในการควบคุมน้ำตาลลดลงเรื่อยๆ ดังนั้นจึงอาจต้องอาศัยยารักษาเพิ่มเติม” ศจ.คริสตอฟ สโตรเจค (Krzysztof Strojek) จากแผนกโรคเบาหวานและโรคไต มหาวิทยาลัย Silesian Medical University ในเมืองซาบร์ซี ประเทศโปแลนด์ ซึ่งเป็นผู้นำการทดสอบ กล่าว “การศึกษาครั้งนี้ทำให้ได้ข้อมูลใหม่เกี่ยวกับการทดลองขั้นที่ 3 ที่แสดงให้เห็นว่าการใช้ยา dapagliflozin ร่วมกับยา glimepiride ช่วยทำให้ควบคุมน้ำตาลได้ดีขึ้น โดยดูได้จากการวัดระดับ HbA1c, FPG และ PPG ในผู้ใหญ่ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2”
เกี่ยวกับการศึกษา
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาขั้นที่ 3 แบบสุ่ม ปิดสองทาง มีกลุ่มเปรียบเทียบ มียาหลอกเป็นตัวควบคุม กินระยะเวลา 24 สัปดาห์ ในศูนย์ทดสอบหลายแห่งทั่วโลก เพื่อประเมินประสิทธิภาพของยา dapagliflozin (2.5 มิลลิกรัม, 5 มิลลิกรัม หรือ 10 มิลลิกรัม/วัน) เมื่อเทียบกับยาหลอก เมื่อใช้ร่วมกับยา glimepiride (4 มิลลิกรัม/วัน) ในการควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ใหญ่ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยดูจากการวัดระดับการเปลี่ยนแปลงของ HbA1c จากมาตรฐาน baseline ในสัปดาห์ที่ 24 ของการทดสอบ และรวมถึงการขยายการทดสอบแบบปิดสองทางอีก 24 สัปดาห์ ผู้เข้าร่วมการทดสอบครั้งนี้ประกอบด้วยผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (อายุ 18 ปีขึ้นไป) จำนวน 597 คน ซึ่งไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ (มีระดับ HbA1c 7.0% ขึ้นไป รวมถึงเท่ากับหรือต่ำว่า 10% ของมาตรฐาน baseline) ซึ่งได้รับยา glimepiride เพียงอย่างเดียวในปริมาณอย่างน้อยครึ่งหนึ่งของปริมาณสูงสุดที่แนะนำ ผู้ป่วยแต่ละคนจะถูกสุ่มให้อยู่ใน 1 ใน 4 กลุ่มทดลอง ได้แก่ กลุ่มที่รับยา dapagliflozin 2.5 มิลลิกรัมร่วมกับยา glimepiride, กลุ่มที่ได้รับยา dapagliflozin 5 มิลลิกรัมร่วมกับยา glimepiride, กลุ่มที่ได้รับยา dapagliflozin 10 มิลลิกรัมร่วมกับยา glimepiride และกลุ่มที่ได้รับยาหลอกร่วมกับยา glimepiride
จุดประสงค์หลักพื้นฐานของการศึกษาครั้งนี้คือ การประเมินการเปลี่ยนแปลงของระดับ HbA1c จากมาตรฐาน baseline ในสัปดาห์ที่ 24 ของการทดสอบ ส่วนจุดประสงค์หลักขั้นที่สองคือการเปลี่ยนแปลงจากมาตรฐาน baseline ของน้ำหนักตัว, ผลการทดสอบความทนกลูโคส (OGTT), สัดส่วนของผู้ป่วยที่มีระดับ HbA1c ต่ำกว่า 7% และการลดระดับกลูโคสในพลาสมาหลังอดอาหาร (FPG) ในสัปดาห์ที่ 24 ของการทดสอบ
ผลการศึกษา
ผู้ป่วยที่ได้รับยา dapagliflozin ร่วมกับยา glimepiride มีระดับ HbA1c ลดลง 0.58%, 0.63% และ 0.82% ในกลุ่มที่ได้รับยา dapagliflozin จำนวน 2.5 มิลลิกรัม, 5 มิลลิกรัม และ 10 มิลลิกรัมตามลำดับ เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอกร่วมกับยา glimepiride ซึ่งลดลงเพียง 0.13% (p-value ต่ำกว่า 0.0001 สำหรับทั้งสามกลุ่ม)
ผู้ป่วยที่ได้รับยา dapagliflozin ร่วมกับยา glimepiride มีน้ำหนักลดลงมากกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ใช้ยาหลอกร่วมกับยา glimepiride โดยผู้ป่วยที่ได้รับยา dapagliflozin จำนวน 2.5 มิลลิกรัม, 5 มิลลิกรัม และ 10 มิลลิกรัม มีน้ำหลักลดลง 1.18 กิโลกรัม, 1.56 กิโลกรัม และ 2.26 กิโลกรัมตามลำดับ ส่วนผู้ป่วยที่ได้รับยาหลอกร่วมกับยา glimepiride มีน้ำหนักลดลงแค่ 0.72 กิโลกรัมในสัปดาห์ที่ 24 ของการทดสอบ (p-value น้อยกว่า 0.01 และน้อยกว่า 0.0001 ในกลุ่มที่ได้รับยา dapagliflozin จำนวน 5 มิลลิกรัม และ 10 มิลลิกรัมตามลำดับ ส่วน p-value ของกลุ่มที่ได้รับยา dapagliflozin จำนวน 2.5 มิลลิกรัมไม่มีความสำคัญทางสถิติ)
ผู้ป่วยที่ได้รับยา dapagliflozin ร่วมกับยา glimepiride มีระดับ OGTT ลดลงจากมาตรฐาน baseline โดยผู้ป่วยที่ได้รับยา dapagliflozin จำนวน 5 มิลลิกรัม และ 10 มิลลิกรัมมี OGTT ลดลง 32.0 มิลลิกรัม/เดซิลิตร และ 34.9 มิลลิกรัม/เดซิลิตรตามลำดับ ส่วนกลุ่มที่ได้รับยาหลอกร่วมกับยา glimepiride ลดลงเพียง 6.0 มิลลิกรัม/เดซิลิตร (p-value ต่ำกว่า 0.01 และต่ำกว่า 0.0001 สำหรับกลุ่มที่ได้รับยา dapagliflozin จำนวน 5 มิลลิกรัม และ 10 มิลลิกรัมตามลำดับ) ส่วนกลุ่มที่ได้รับยา dapagliflozin จำนวน 2.5 มิลลิกรัม มี OGTT ลดลง 37.5 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยที่ได้รับยา dapagliflozin ร่วมกับยา glimepiride และมีระดับ HbA1c ต่ำกว่า 7% มีจำนวนมากกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่รับยาหลอกร่วมกับยา glimepiride ในสัปดาห์ที่ 24 ของการทดสอบ โดยผู้ป่วยที่ได้รับยา dapagliflozin จำนวน 5 มิลลิกรัม และ 10 มิลลิกรัมและมีระดับ HbA1c ต่ำกว่า 7% มีจำนวน 30.3% และ 31.7% ของทั้งหมดตามลำดับ เมื่อเทียบกับ 13.0% ในกลุ่มที่ได้รับยาหลอกร่วมกับยา glimepiride (p-value ต่ำกว่า 0.01 และต่ำกว่า 0.0001 สำหรับกลุ่มที่ได้รับยา dapagliflozin จำนวน 5 มิลลิกรัม และ 10 มิลลิกรัมตามลำดับ) สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับยา dapagliflozin จำนวน 2.5 มิลลิกรัมมีจำนวนผู้ป่วยที่มีระดับ HbA1c ต่ำกว่า 7% อยู่จำนวน 26.8%
ผู้ป่วยที่ได้รับยา dapagliflozin จำนวน 5 มิลลิกรัม และ 10 มิลลิกรัมร่วมกับยา glimepiride มีระดับ FPG ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจากมาตรฐาน baseline ในสัปดาห์ที่ 24 ของการทดสอบ โดยผู้ป่วยที่ได้รับยา dapagliflozin จำนวน 5 มิลลิกรัม และ 10 มิลลิกรัมและมีระดับ FPG ลดลง 21.2 มิลลิกรัม/เดซิลิตร และ 28.5 มิลลิกรัม/เดซิลิตรตามลำดับ เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอกร่วมกับยา glimepiride ที่ลดลงเพียง 2.0 มิลลิกรัม/เดซิลิตร (p-value ต่ำกว่า 0.0001 สำหรับทั้งสองกลุ่ม) ส่วนกลุ่มที่ได้รับยา dapagliflozin จำนวน 2.5 มิลลิกรัมมีระดับ FPG ลดลง 16.8 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
จำนวนผู้ป่วยที่เกิดอาการข้างเคียงไม่พึงประสงค์หลัง 24 สัปดาห์อยู่ที่ 51.9%, 48.3% และ 50.3% สำหรับกลุ่มที่ได้รับยา dapagliflozin จำนวน 2.5 มิลลิกรัม, 5 มิลลิกรัม และ 10 มิลลิกรัม ร่วมกับยา glimepiride ตามลำดับ เทียบกับ 47.3% ในกลุ่มที่ได้รับยาหลอกร่วมกับยา glimepiride โดยเปอร์เซ็นต์ของอาการข้างเคียงไม่พึงประสงค์ที่พบบ่อยในผู้ป่วยทั้ง 4 กลุ่มประกอบด้วย อาการปวดหลัง (1.9%, 2.1%, 4.6% เทียบกับ 2.7%), การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน (3.2%, 4.1%, 4.6% เทียบกับ 2.7%) และหลอดลมอักเสบ (1.3%, 2.1%, 3.3% เทียบกับ 0.7%) โดยผู้ป่วยส่วนมากมีอาการข้างเคียงในระดับอ่อนไปจนถึงปานกลาง สำหรับผู้ป่วยที่หยุดร่วมการทดสอบเพราะเกิดอาการข้างเคียงอยู่ที่ 3.2%, 3.4%, 2.6% สำหรับกลุ่มที่ได้รับยา dapagliflozin จำนวน 2.5 มิลลิกรัม, 5 มิลลิกรัม และ 10 มิลลิกรัม ร่วมกับยา glimepiride เทียบกับ 2.1% ในกลุ่มที่ได้รับยาหลอกร่วมกับยา glimepiride
ภาวะแทรกซ้อนที่บ่งชี้ถึงการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ และการติดเชื้อในอวัยวะสืบพันธุ์ได้รับการวินิจฉัยจากผู้ป่วย 2 กลุ่มที่มีประวัติการรักษาด้วยตัวยาที่แตกต่างกัน โดยสัดส่วนของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาด้วยยา dapagliflozin ขนาด 2.5 มิลลิกรัม, 5 มิลลิกรัม และ 10 มิลลิกรัมอยู่ที่ 3.9%, 6.9% และ 5.3% เมื่อเทียบกับสัดส่วนของผู้ป่วย 6.2% ที่ใช้ยา glimepiride ร่วมกับยาหลอก และมีผู้ป่วยหนึ่งรายที่ขาดการรักษา เพราะมีอาการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ สำหรับสัญญาณบ่งชี้ อาการ และรายงานอื่นๆ ที่บ่งบอกถึงการติดเชื้อในอวัยวะสืบพันธุ์ในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยา dapagliflozin ขนาด 2.5 มิลลิกรัม, 5 มิลลิกรัม และ 10 มิลลิกรัมร่วมกับยา glimepiride นั้นมีสัดส่วนสูงกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่รักษาด้วยยา glimepiride ร่วมกับยาหลอกที่อัตรา 3.9%, 6.2% และ 6.6% กับ 0.7% ตามลำดับ
ภาวะแทรกซ้อนรุนแรงของผู้ป่วยที่ใช้ยา dapagliflozin ขนาด 2.5 มิลลิกรัม, 5 มิลลิกรัม และ 10 มิลลิกรัมร่วมกับยา glimepiride อยู่ที่ระดับ 7.1%, 6.9% และ 6.0% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับสัดส่วนของผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่ 4.8% จากการใช้ยา glimepiride ร่วมกับยาหลอก
สัดส่วนของผู้ป่วยที่เกิดภาวะ hypoglycemic ในสัปดาห์ที่ 24 จากการรักษาด้วยยา dapagliflozin ขนาด 2.5 มิลลิกรัม, 5 มิลลิกรัม และ 10 มิลลิกรัมร่วมกับยา glimepiride อยู่ที่ 7.1%, 6.9% และ 7.9% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับสัดส่วนของผู้ป่วย 4.8% ที่รักษาด้วยยาหลอกร่วมกับยา glimepiride
อาการข้างเคียงของผู้ป่วยขึ้นอยู่กับผลการวัดความดันโลหิต โดยค่าความเปลี่ยนแปลงของความดันตัวบน หรือความดันขณะหัวใจบีบตัวอยู่ที่ -4.7 mmHg, -4.0 mmHg และ -5.0 mmHg ส่วนค่าความเปลี่ยนแปลงของความดันตัวล่าง หรือความดันขณะหัวใจคลายตัวอยู่ที่ -1.1 mmHg, -1.7 mmHg และ -2.8 mmHg ในกลุ่มผู้ป่วยที่รักษาด้วยยา dapagliflozin ขนาด 2.5 มิลลิกรัม, 5 มิลลิกรัม และ 10 มิลลิกรัมตามลำดับ เมื่อเทียบกับค่าความเปลี่ยนแปลงของความดันตัวบนที่ -1.2 mmHg และความดันตัวล่างที่ -1.4 mmHg ของผู้ป่วยที่รักษาด้วยยาหลอกร่วมกับยา glimepiride
เกี่ยวกับโรคเบาหวานชนิดที่ 2
โรคเบาหวานชนิดที่ 2 (diabetes mellitus) เป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากความผิดปกติของ beta cell ในตับอ่อน ซึ่งส่งผลกระทบให้การหลั่งอินซูลินในร่างกายปรับตัวลดลง จนทำให้ระดับกลูโคสในเลือดพุ่งสูง (hyperglycemia) ซึ่งภาวะ hyperglycemia จะสร้างความเสียหายต่อระบบออกฤทธิ์ต้านอินซูลินและส่งผลให้เกิดความผิดปกติใน beta cell มากยิ่งขึ้น
ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 หลายรายมักมีอาการผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น โรคอ้วนและโรคความดันโลหิตสูง ทั้งนี้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม ขณะที่เกือบครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษายังไม่มีวิธีควบคุมระดับกลูโคสในเลือดให้อยู่ในระดับต่ำได้ และมีผู้ป่วยไม่กี่รายที่ต้องควบคุมระดับกลูโคสจากหลายตัวแปร ในอดีต การรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 นั้นมุ่งเน้นไปที่กลไกการผลิตสารอินซูลินเป็นหลัก แต่ปัจจุบัน แนวทางการรักษาได้พัฒนาขึ้นเพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มีทางเลือกอื่นๆ ในการควบคุมระดับกลูโคสในร่างกาย
เกี่ยวกับตัวยับยั้ง SGLT2
ระบบ SGLT ในไตมีบทบาทสำคัญในการควบคุมสมดุลของระดับกลูโคสในร่างกาย ซึ่งโดยปกติไตจะทำหน้าที่กรองน้ำตาลกลูโคส 180 กรัมต่อวัน และกลูโคสทั้งหมดจะถูกดูดซึมกลับสู่ร่างกายอีกครั้ง กระบวนการดูดซึมกลูโคสกลับสู่ร่างกายเกิดขึ้นบริเวณท่อเล็กๆ ที่อยู่ติดกับไตผ่านระบบ SGLT โดยตัวยับยั้ง SGLT2 มีกลไกที่เป็นอิสระในการผลิตอินซูลินที่ช่วยให้ร่างกายขับกากของกลูโคสและพลังงานออกมาในรูปของปัสสาวะ ซึ่งเป็นกลไกการทำงานของร่างกายที่ช่วยลดระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือด
ความร่วมมือระหว่างบริสตอล-ไมเยอร์ สควิบบ์ และ แอสตร้าเซนเนก้า
บริสตอล-ไมเยอร์ สควิบบ์ และ แอสตร้าเซนเนก้า ได้ร่วมมือกันเป็นครั้งแรกในเดือนมกราคม 2550 เพื่อยกระดับความสามารถของบริษัทในการวิจัย พัฒนา และทำการตลาดยาใหม่ที่อยู่ในระหว่างการศึกษาวิจัยเพื่อรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ความร่วมมือของบริสตอล-ไมเยอร์ สควิบบ์ และ แอสตร้าเซนเนก้านั้น อุทิศให้กับการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานทั่วโลกด้วยการช่วยปรับปรุงผลการรักษาผู้ป่วย และสร้างวิสัยทัศน์ใหม่สำหรับการรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2
เกี่ยวกับ บริสตอล-ไมเยอร์ สควิบบ์
บริสตอล-ไมเยอร์ สควิบบ์ เป็นบริษัทชีวเภสัชภัณฑ์ชั้นนำของโลกที่มีภารกิจในการค้นคว้า พัฒนาและผลิตยาใหม่ๆ ที่ช่วยให้ผู้ป่วยเอาชนะโรคร้ายได้ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริสตอล-ไมเยอร์ สควิบบ์สามารถเข้าชมได้ที่ http://www.bms.com หรือติดตามความเคลื่อนไหวของเราได้บนทวิตเตอร์ที่ http://twitter.com/bmsnews
ข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้ประกอบด้วย “แถลงการณ์คาดการณ์ล่วงหน้า” ตามที่มีการจำกัดความใน Private Securities Litigation Reform Act of 1995 ซึ่งรวมถึงข้อความที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ แถลงการณ์คาดการณ์ล่วงหน้าตั้งอยู่บนการคาดการณ์ปัจจุบันและเกี่ยวข้องกับความเสี่ยง และความไม่แน่นอน รวมถึงปัจจัยต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในภายหลัง หรือมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม และอาจทำให้ผลลัพท์ที่แท้จริงแตกต่างไปจากที่คาดการณ์ไว้ในปัจจุบัน ทั้งนี้ แถลงการณ์คาดการณ์ล่วงหน้าไม่สามารถรับประกันผลลัพท์ได้ท่ามกลางความเสี่ยงต่างๆ ที่ไม่สามารถรับประกันได้ว่า ยา dapagliflozin จะได้รับการอนุมัติจากหน่วยงานกำกับดูแล หรือหากได้รับการอนุมัติแล้ว ยาดังกล่าวจะกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์แถลงการณ์คาดการณ์ล่วงหน้าในข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้ควรมีการประเมินร่วมกับความไม่แน่นอนที่อาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจของบริสตอล-ไมเยอร์ สควิบบ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่ระบุถึงข้อควรระวังในรายงานประจำปี Form 10-K ของบริสตอล-ไมเยอร์ สควิบบ์ประจำปีที่สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2552 ในรายงานรายไตรมาส Form 10-Q และรายงานการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน Form 8-K ทั้งนี้ บริสตอล-ไมเยอร์ สควิบบ์ ไม่มีหน้าที่ต้องอัพเดตข้อมูลในแถลงการณ์คาดการณ์ล่วงหน้า แม้ว่าจะมีข้อมูลหรือเหตุการณ์ใหม่เกิดขึ้นหลังการเผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้ก็ตาม
เกี่ยวกับ แอสตร้าเซนเนก้า
แอสตร้าเซนเนก้าเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจในการพัฒนานวัตกรรมด้านเวชภัณฑ์ระดับโลกโดยมุ่งเน้นที่การค้นคว้า พัฒนา และจำหน่ายยาตามใบสั่งแพทย์ แอสตร้าเซนเนก้ามีรายได้ทั่วโลกที่ 3.28 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในปีพ.ศ.2552 ในฐานะที่บริษัทเป็นผู้นำด้านเวชภัณฑ์โรคระบบทางเดินอาหาร โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด โรคระบบประสาท โรคระบบทางเดินหายใจ และโรคติดเชื้อ โรคด้านเนื้องอกวิทยา และโรคติดต่อ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเข้าชมได้ที่ http://www.astrazeneca.com
แหล่งข่าว: แอสตร้าเซนเนก้า และบริสตอล-ไมเยอร์ สควิบบ์
--เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท ( www.asianetnews.net ) --