ลอนดอน--21 ก.ย.--พีอาร์นิวส์ไวร์ — เอเชียเน็ท / อินโฟเควสท์
รายงานสำคัญเรื่องผลกระทบของโรคสมองเสื่อมที่มีต่อเศรษฐกิจโลกระบุว่า โรคอัลไซเมอร์และโรคสมองเสื่อมอื่นๆ ส่งผลกระทบอย่างมากต่อเศรษฐกิจโลก และคาดว่าปัญหาดังกล่าวจะทวีความรุนแรงขึ้นในช่วงไม่กี่ปีข้างหน้า ทั้งนี้ รายงานอัลไซเมอร์โลก 2553 ซึ่งเผยแพร่ในวันอัลไซเมอร์โลกโดยสมาพันธ์อัลไซเมอร์สากล (Alzheimer's Disease International: ADI) นำเสนอภาพรวมที่ทันยุคสมัยและครอบคลุมที่สุดเกี่ยวกับผลกระทบของโรคดังกล่าวที่มีต่อสังคมและเศรษฐกิจทั่วโลก โดยรายงานดังกล่าวร่วมกันเขียนโดย ศจ.แอนเดอร์ส วิโม (Prof Anders Wimo) จากสถาบัน Karolinska Institutet ในกรุงสตอกโฮล์ม และ ศจ.มาร์ติน พรินซ์ (Prof Martin Prince) จากสถาบันจิตวิทยา คิงส์ คอลเลจ ลอนดอน (King's College London)
สามารถชมข่าวประชาสัมพันธ์ในรูปแบบมัลติมีเดียได้ที่: ( http://multivu.prnewswire.com/mnr/prne/adi/44222/ )
“รายงานฉบับนี้กระตุ้นให้สังคมตระหนักว่าโรคอัลไซเมอร์และโรคสมองเสื่อมอื่นๆ เป็นวิกฤตการณ์ทางสังคมและสุขภาพที่สำคัญที่สุดในศตวรรษที่ 21” ดร.เดซี่ อาคอสต้า (Dr Daisy Acosta) ประธาน ADI กล่าว “รัฐบาลของนานาประเทศทั่วโลกไม่ได้เตรียมรับมือกับผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดขึ้นจากโรคนี้เลย”
รายงานดังกล่าวเปิดเผยว่า:
ทั่วโลกจะเสียค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับโรคสมองเสื่อมเกิน 1% ของจีดีพีโลกในปีนี้ ที่ระดับ 6.04 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ
- หากเปรียบโรคสมองเสื่อมเป็นประเทศก็จะเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 18 ของโลก หากเปรียบเป็นบริษัทก็จะเป็นบริษัทที่มีรายได้ต่อปีมากที่สุดในโลกแซงหน้า วอล-มาร์ท (Wal-Mart) และ เอ็กซอน โมบิล (Exxon Mobil)
- จำนวนผู้ป่วยเป็นโรคสมองเสื่อมจะเพิ่มขึ้น 2 เท่าภายในปี 2573 และเพิ่มขึ้นเกิน 3 เท่าในปี 2593
- ค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้เป็นโรคสมองเสื่อมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเร็วกว่าเดิม โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา เนื่องจากมีระบบสวัสดิการสังคมที่เป็นทางการมากขึ้น และรายได้ที่เพิ่มขึ้นทำให้มีต้นทุนค่าเสียโอกาส (opportunity cost) มากขึ้น
- รายงานหลายฉบับจากประเทศต่างๆ อาทิ สหราชอาณาจักร บ่งชี้ว่าโรคสมองเสื่อมเป็นหนึ่งในโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงสุด แต่การลงทุนและวิจัยโรคดังกล่าวยังน้อยกว่าโรคอื่นๆ มาก
“ระดับของวิกฤตของโรคทำให้ตระหนักว่าประชาคมโลกต้องร่วมมือกันดำเนินการในเรื่องนี้” มาร์ก เวิร์ธมานน์ (Marc Wortmann) กรรมการบริหารของ ADI กล่าว “ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่าเราสามารถควบคุมและป้องกันโรคที่มีความร้ายแรงได้ด้วยความตระหนักรู้ของประชาคมโลกและความตั้งใจของนักการเมืองในการลงทุนด้านการวิจัยและดูแลรักษาโรค รัฐบาลต้องยกระดับความสำคัญของโรคสมองเสื่อมและพัฒนาแผนระดับชาติในการจัดการกับโรค”
“รายงานฉบับใหม่นี้ทำให้เราเห็นภาพอย่างชัดเจนและครอบคลุมที่สุดว่าโรคสมองเสื่อมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมโลกอย่างไร” ศจ.แอนเดอร์ส วิโม ผู้ร่วมเขียนรายงาน กล่าว
ติดต่อ:
หลุยส์ แพรทท์ (Louise Pratt)
คิงส์ คอลเลจ ลอนดอน
โทร: +44-20-78485378
อีเมล: louise.a.pratt@kcl.ac.uk
ซาราห์ สมิธ (Sarah Smith)
เอดีไอ ลอนดอน
โทร: +44-20-79810880
อีเมล: s.smith@alz.co.uk
ไนล์ส แฟรนท์ซ (Niles Frantz)
สมาคมโรคอัลไซเมอร์สหรัฐอเมริกา
โทร: +1 312-335-5777
อีเมล: niles.frantz@alz.org
แหล่งข่าว: สมาพันธ์อัลไซเมอร์สากล
--เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท ( www.asianetnews.net ) --