การประชุม ESMO Congress ครั้งที่ 35 ระหว่างวันที่ 8-12 ตุลาคม 2553 ณ กรุงมิลาน อิตาลี (ศูนย์แสดงสินค้า FieraMilanoCity) เปิดม่านด้วยโปรแกรมสำหรับสื่อ

ข่าวต่างประเทศ Monday October 4, 2010 15:18 —Asianet Press Release

ลูกาโน, สวิตเซอร์แลนด์--4 ต.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์เอเชียเน็ท / อินโฟเควสท์ จะมีการเผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์ทุกวันตลอดระยะเวลาจัดการประชุม กรุณาติดต่อ ESMO Press Office ที่อีเมล media@esmo.org หากท่านต้องการรับข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับเต็ม/ฉบับสรุปล่วงหน้า ซึ่งจะเผยแพร่ในวันพุธที่ 6 ตุลาคม 2553 R. Bastian, เยอรมนี เทคนิคการผ่าตัดที่ช่วยบรรเทาความเจ็บปวดจากอาการกระดูกสันหลังแตกในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งระยะลุกลาม (ห้ามเผยแพร่จนกว่าจะถึงวันที่ 9 ตุลาคม เวลา 9.00 น.ตามเวลามิลาน) ผู้ป่วยจำนวนมากที่เป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งระยะลุกลาม จะต้องทุกข์ทรมานกับอาการกระดูกสันหลังแตก ซึ่งเทคนิคการผ่าตัดเป็นวิธีบรรเทาความเจ็บปวดที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพสำหรับผู้ป่วยเหล่านี้ที่บ่อยครั้งต้องเจ็บปวดจากอาการกระดูกสันหลังแตก D. Spigel, เยอรมนี การใช้ยารักษาแบบเจาะจงตัวใหม่ร่วมกับยา erlotinib เป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยบางส่วนซึ่งเป็นโรคมะเร็งปอดขั้นสูง (ห้ามเผยแพร่จนกว่าจะถึงวันที่ 9 ตุลาคม เวลา 11.00 น.ตามเวลามิลาน) ผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดจำนวนหนึ่งมีชีวิตยืนยาวขึ้นและโรคลุกลามช้าลงเมื่อใช้ยาตัวใหม่ซึ่งรักษาแบบเฉพาะเจาะจงไปที่โมเลกุลที่เกี่ยวข้องกับมะเร็ง เพิ่มเติมนอกเหนือจากการใช้ยา erlotinib C. Zhou, จีน ยา erlotinib ช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิตโดยไม่มีการลุกลามของโรค เมื่อใช้เป็นยาตัวแรกในการรักษาโรคมะเร็งปอดขั้นสูง ข้อมูลจากการทดลองขั้นที่ 3 (ห้ามเผยแพร่จนกว่าจะถึงวันที่ 9 ตุลาคม เวลา 11.00 น.ตามเวลามิลาน) สำหรับผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งปอดขั้นสูงซึ่งตัวเนื้องอกมีความผิดปกติของยีน EGFR การใช้ยา erlotinib เป็นทางเลือกแรกในการรักษาซึ่งช่วยให้อัตราการรอดชีวิตโดยไม่มีการลุกลามของโรคเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าเมื่อเทียบกับการใช้ยาเคมีบำบัดทั่วไป Y.T. MA, สหราชอาณาจักร ผลการศึกษาเผยการสูบบุหรี่ทำให้เกิดความผิดปกติของยีนที่เป็นสาเหตุของมะเร็ง (ห้ามเผยแพร่จนกว่าจะถึงวันที่ 9 ตุลาคม เวลา 13.00 น.ตามเวลามิลาน) เป็นครั้งแรกที่นักวิทยาศาสตร์เปิดเผยหลักฐานโดยตรงที่บ่งชี้ว่าการสูบบุหรี่ทำให้เกิดความผิดปกติของยีนที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคมะเร็ง U. Matulonis, สหรัฐอเมริกา ยารักษาโรคมะเร็งรังไข่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรค platinum-resistant disease (โรคที่ดื้อยาหรือทรุดลงภายใน 12 เดือนหลังเสร็จสิ้นการรับยาเคมีบำบัดที่มีส่วนผสมของแพลตินัม) จากการทดลองขั้นที่ 2 (ห้ามเผยแพร่จนกว่าจะถึงวันที่ 9 ตุลาคม เวลา 13.00 น.ตามเวลามิลาน) ผลการทดลองทางคลินิกขั้นที่ 2 บ่งชี้ว่ายาที่ได้รับการพัฒนาเพื่อรักษาโรคมะเร็งรังไข่ มีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคในผู้ป่วยบางส่วน G. Long, ออสเตรเลีย ยารักษาโรคมะเร็งเมลาโนมาทำให้มะเร็งที่ลุกลามไปยังสมองหดตัวลง จากการทดลองขั้นที่ 1 และ 2 (ห้ามเผยแพร่จนกว่าจะถึงวันที่ 10 ตุลาคม เวลา 11.00 น.ตามเวลามิลาน) ยาตัวใหม่ซึ่งได้รับการพัฒนาเพื่อรักษาโรคมะเร็งผิวหนังเมลาโนมามีประสิทธิภาพในการทำให้มะเร็งที่ลุกลามไปยังสมองผู้ป่วยหดตัวลง A. Palumbo, อิตาลี จากการทดลองขั้นที่ 3 พบอัตราการตอบสนองระดับสูงในการรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวด้วยการทำเคมีบำบัด การใช้ยาตัวใหม่ และการใช้สเต็มเซลล์ (ห้ามเผยแพร่จนกว่าจะถึงวันที่ 10 ตุลาคม เวลา 12.30 น.ตามเวลามิลาน) การศึกษาครั้งแรกด้วยการเปรียบเทียบ 2 วิธีที่แตกต่างกันในการรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่เพิ่งได้รับการวินิจฉัย พบว่าทั้ง 2 วิธีมีการตอบสนองเชิงบวก M. Clavarezza, อิตาลี ผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมเกือบทั้งหมดในอิตาลีเป็นคนมีอายุและได้รับการวินิจฉัยแต่เนิ่นๆ (ห้ามเผยแพร่จนกว่าจะถึงวันที่ 10 ตุลาคม เวลา 12.30 น.ตามเวลามิลาน) ผลการศึกษาโรคมะเร็งทรวงอกในสตรีชาวอิตาลีพบว่ากว่า 70% ของผู้ป่วยมีอายุเกิน 50 ปี และผู้ป่วยเกิน 60% ได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่เนิ่นๆ ก่อนที่มะเร็งจะลุกลามไปสู่ต่อมน้ำเหลือง H.A. Azim, เบลเยียม ผลการศึกษาพบว่าสตรีสามารถให้นมบุตรได้อย่างปลอดภัยหลังผ่านการรักษาโรคมะเร็งเต้านม (ห้ามเผยแพร่จนกว่าจะถึงวันที่ 10 ตุลาคม เวลา 12.30 น.ตามเวลามิลาน) สตรีที่รอดชีวิตจากโรคมะเร็งเต้านมไม่ควรปฏิเสธการให้นมบุตรด้วยตัวเอง เนื่องจากไม่มีหลักฐานใดบ่งชี้ว่าการให้นมบุตรเป็นอันตรายสำหรับทั้งแม่และเด็กหลังจากที่แม่เด็กผ่านการรักษาโรคมะเร็งเต้านม K.M. Tveit, นอร์เวย์ ยา Cetuximab ไม่มีประโยชน์เมื่อใช้ร่วมกับยาเคมีบำบัดในการรักษาโรคมะเร็งลำไส้ระยะลุกลาม ข้อมูลจากการทดลองขั้นที่ 3 (ห้ามเผยแพร่จนกว่าจะถึงวันที่ 10 ตุลาคม เวลา 13.30 น.ตามเวลามิลาน) การใช้ยา cetuximab ซึ่งรักษาแบบเจาะจง ร่วมกับยาเคมีบำบัด 3 ตัวในฐานะยาชุดแรกที่ใช้รักษาโรคมะเร็งลำไส้ระยะลุกลาม ไม่ช่วยให้อัตราการตอบสนอง อัตราการรอดชีวิตโดยไม่มีการลุกลามของโรค หรืออัตราการรอดชีวิตโดยรวมเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด A. Gennari, อิตาลี การยืดเวลาการทำเคมีบำบัดเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมระยะลุกลาม (ห้ามเผยแพร่จนกว่าจะถึงวันที่ 10 ตุลาคม เวลา 15.30 น.ตามเวลามิลาน) จากการวิเคราะห์ข้อมูลใหม่พบว่าผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมระยะลุกลามมีชีวิตยืนยาวขึ้นโดยเฉลี่ย หากได้รับการทำเคมีบำบัดต่อไปหลังจากที่มะเร็งอยู่ภายใต้การควบคุมแล้ว J. O'Shaughnessy, สหรัฐอเมริกา ยา Iniparib ช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิตโดยรวมในผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมชนิด triple negative ระยะลุกลาม จากการทดลองขั้นที่ 2 ครั้งสุดท้าย (ห้ามเผยแพร่จนกว่าจะถึงวันที่ 10 ตุลาคม เวลา 15.30 น.ตามเวลามิลาน) ผลจากการทดลองขั้นที่ 2 แบบสุ่มบ่งชี้ว่า สตรีที่เป็นโรคมะเร็งเต้านมระยะลุกลามชนิด triple negative มีชีวิตยืนยาวขึ้นเมื่อได้รับการรักษาด้วยยา iniparib ร่วมกับการทำเคมีบำบัด M. Pavel, เยอรมนี การทดลองขั้นที่ 3 เผยว่ายา everolimus ช่วยชะลอการลุกลามของเนื้องอกในผู้ป่วยโรคมะเร็งเซลล์ประสาทและต่อมไร้ท่อซึ่งรักษาได้ยาก (ห้ามเผยแพร่จนกว่าจะถึงวันที่ 11 ตุลาคม เวลา 10.30 น.ตามเวลามิลาน) ผลการทดลองทางคลินิกขั้นที่ 3 ครั้งใหญ่พบว่ายา everolimu ช่วยชะลอการลุกลามของเนื้องอกในผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งรักษายากซึ่งส่งผลกระทบต่อเซลล์ที่ผลิตฮอร์โมนโดยเฉพาะ B. Koczwara, ออสเตรเลีย จากการศึกษาพบว่าผู้รอดชีวิตจากมะเร็งมีความกังวลเรื่องการสืบพันธุ์แต่ไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร (ห้ามเผยแพร่จนกว่าจะถึงวันที่ 11 ตุลาคม เวลา 12.30 น.ตามเวลามิลาน) ผู้รอดชีวิตจากมะเร็งจำนวนมากเกิดความเปลี่ยนแปลงในระบบสืบพันธุ์ซึ่งทำให้พวกเขารู้สึกไม่ดีและปรารถนาที่จะมีความสัมพันธ์ทางเพศ อย่างไรก็ตาม นักวิจัยระบุว่าแพทย์ไม่ค่อยช่วยแก้ปัญหาเรื่องการสืบพันธุ์และเพศสัมพันธ์ดังกล่าว Y. Loriot, ฝรั่งเศส ปัญหาเรื่องเพศเป็นเรื่องที่ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ใช้ยาแบบเจาะจงตัวใหม่รู้สึกวิตกกังวลเป็นอย่างมาก (ห้ามเผยแพร่จนกว่าจะถึงวันที่ 11 ตุลาคม เวลา 12.30 น.ตามเวลามิลาน) ยาตัวใหม่ซึ่งรักษาแบบเฉพาะเจาะจงไปที่กลไลโมเลกุลซึ่งเกี่ยวข้องกับมะเร็งช่วยพัฒนาประสิทธิภาพการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม นักวิจัยพบว่าการรักษาด้วยวิธีดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อการมีเพศสัมพันธ์ของผู้ป่วย B. You, ฝรั่งเศส การทดสอบยารักษาโรคมะเร็งหลายการทดสอบพบความไม่สอดคล้องกันในเรื่องประสิทธิภาพของยาหลายตัว (ห้ามเผยแพร่จนกว่าจะถึงวันที่ 11 ตุลาคม เวลา 12.30 น.ตามเวลามิลาน) การทดสอบทางคลินิกขั้นที่ 1 และ 2 พบความไม่สอดคล้องกันอย่างมาก โดยนักวิจัยพบความแตกต่างกันอย่างมากของยาหลายตัวในการทดสอบ ซึ่งผู้ออกแบบการทดสอบระบุว่าผู้ป่วยไม่ควรได้รับยาดังกล่าวเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายที่อาจเกิดจากการทำปฏิกิริยาระหว่างยากับยา T. Mok, จีน การทดลองขั้นที่ 2 ครั้งใหม่พบว่ายา PF-299 มีประสิทธิภาพในฐานะยาตัวแรกที่ใช้รักษาโรคมะเร็งปอด (ห้ามเผยแพร่จนกว่าจะถึงวันที่ 11 ตุลาคม เวลา 13.15 น.ตามเวลามิลาน) ยารักษาโรคมะเร็งปอดตัวใหม่มีประสิทธิภาพน่าประทับใจในการป้องกันการลุกลามของโรค เมื่อใช้ในฐานะยาตัวแรกที่ใช้รักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งขั้นสูง A. Necchi, อิตาลี การทดลองระยะที่ 2 ของยา Pazopanib ที่แสดงถึงผลของการกำเริบ / การดื้อยาในผู้ป่วยโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ (ห้ามเผยแพร่จนกว่าจะถึงวันที่ 11 ตุลาคม เวลา 13:30 น.ตามเวลามิลาน) การทดลองยาระยะที่ 2 จัดทำขึ้นขึ้นเพื่อรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นสำหรับการรักษามะเร็งกระเพาะปัสสาวะระยะลุกลาม J. Vermorken, เนเธอร์แลนด์ ยา Pazopanib ไม่มีสรรพคุณในการเพิ่มอัตราการรอดชีวิตผู้ป่วยที่มีการกำเริบของโรคมะเร็งหู คอ จมูก (head and neck cancer): ผลการทดลองระยะที่ 3 ฉบับสมบูรณ์ (ห้ามเผยแพร่จนกว่าจะถึงวันที่ 11 ตุลาคม เวลา13:30 น. ตามเวลามิลาน) ผลการทดลองระยะที่ 3 บ่งชี้ว่า การใช้ยา panitumumab ซึ่งเป็นยาในกลุ่ม monoclonal anti-EGFR antibody ร่วมกับการรักษาด้วยวิธีคีโมบำบัดนั้นไม่มีผลต่อการเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยที่มีการกำเริบของโรคมะเร็งหู คอ จมูก ระยะลุกลาม J. Baselga, สหรัฐอเมริกา การใช้ยา cetuximab ร่วมกับการรักษาด้วยวิธีคีโมบำบัดเพิ่มอัตราการตอบสนองเป็นสองเท่าในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งเต้านม (ห้ามเผยแพร่จนกว่าจะถึงวันที่ 11 ตุลาคม เวลา 15:00 น.ตามเวลามิลาน) นักวิจัยได้ค้นพบเป็นครั้งแรกว่า การตั้งเป้าที่ตัวรับปัจจัยด้านการเติบโตของเซลล์หนังกำพร้าจะเป็นประโยชน์ทางคลินิกอย่างมหาศาลสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมประเภท "triple negative" ที่ยากต่อการรักษา E. Perez, สหรัฐอเมริกา การรักษารูปแบบใหม่แสดงให้เห็นถึงการรักษาขั้นแรกสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะลุกลามชนิด HER2-positive (ห้ามเผยแพร่จนกว่าจะถึงวันที่ 11 ตุลาคม เวลา 15:00 น.ตามเวลามิลาน) การรักษามะเร็งเต้านมรูปแบบใหม่แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าในการรักษามะเร็งเต้านมระยะลุกลามชนิด HER2-positive ในขั้นแรก J. De Bono, สหราชอาณาจักร ยา Abiraterone acetate ช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก: ผลการรักษาระยะที่ 3 (ห้ามเผยแพร่จนกว่าจะถึงวันที่ 11 ตุลาคม เวลา 15:00 น.ตามเวลามิลาน) ผลการทดลองทางคลินิกยืนยันว่า ผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากที่ร่างกายมีปฏิกิริยาต่อต้านการทำหมันและมีอาการดีขึ้นหลังเข้ารับการรักษาด้วยวิธีคีโมบำบัดสามารถมีชีวิตอยู่ได้ยาวนานขึ้น หากรักษาด้วยยา abiraterone acetate เมื่อเทียบกับการรักษาด้วยยาหลอก C.H. Yang, ไต้หวัน ผลการทดลองขั้นสุดท้ายยืนยันถึงอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งปอดที่มีการกลายพันธุ์ของยีน EGFR (ห้ามเผยแพร่จนกว่าจะถึงวันที่ 11 ตุลาคม เวลา 15:00 น.ตามเวลามิลาน) ผลการศึกษาฉบับสมบูรณ์จากการทดลองระยะที่ 3 ยืนยันว่า ผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดชนิดที่ไม่ใช่เซลล์มะเร็งขนาดเล็กระยะรุนแรงที่มีการกลายพันธุ์ของยีน EGFR มีอัตราการรอดชีวิตโดยรวมที่ดีขึ้น เมื่อรักษาด้วยยา gefitinib หรือรักษาด้วยวิธีคีโมบำบัด เมื่อเทียบกับกลุ่มผู้ป่วยที่มีเนื้องอกชนิดที่ไม่กลายพันธุ์ V. Miller, สหรัฐอเมริกา ประโยชน์ของยา Afatinib ในการรักษาผู้ป่วยที่มีเซลล์มะเร็งลุกลาม หลังจากที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาด้วยสารยับยั้ง EGFR (ห้ามเผยแพร่จนกว่าจะถึงวันที่ 11 ตุลาคม เวลา 15:00 น.ตามเวลามิลาน) ผลการทดสอบระยะ Phase-IIb/III บ่งชี้ว่า ผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดที่รักษาด้วยยา erlotinib หรือ gefitinib ที่มีฤทธิ์เป็นสารยับยั้ง EGFR ดูจะมีอาการดีขึ้นในแง่ของการรอดชีวิต และการหดตัวของเนื้องอก เมื่อเข้ารับการรักษาด้วยยา afatinib ตัวใหม่ T. Perren, สหราชอาณาจักร ผลการทดลองเบื้องต้นบ่งชี้ว่ายา bevacizumab ช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งรังไข่ (ห้ามเผยแพร่จนกว่าจะถึงวันที่ 11 ตุลาคม เวลา 15:00 น.ตามเวลามิลาน) ผลการทดลองเบื้องต้นจากการศึกษาระยะที่ 3 บ่งชี้ว่า การใช้ยา bevacizumab รักษามะเร็งรรังไข่ที่ได้รับการวินิจฉัยใหม่ ร่วมกับการรักษาด้วยวิธีคีโมบำบัดช่วยลดความเสี่ยงในการลุกลามของเซลล์มะเร็งในระหว่างปีแรกของการรักษา นโยบายการห้ามเผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์ก่อนกำหนด ห้ามเผยแพร่ข้อมูลทั้งหมดที่มีการนำเสนอในที่ประชุม ESMO Congress ครั้งที่ 35 จนกว่าการประชุมจะเริ่มต้นขึ้นและได้มีการนำเสนอข้อมูลดังกล่าวในระหว่างการประชุม สื่อมวลชนกรุณาเผยแพร่ข้อมูลตามวันเวลาที่กำหนด กำหนดการสำหรับสื่อมวลชน สามารถเข้าชมข้อมูลชิ้นเต็มทั้งหมดได้ที่ http://www.esmo.org/newsroom/events วันศุกร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ.2553 เวลา 12:00-13:00 น. เปิดแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับปัญหาเรื่องโรคมะเร็งทั่วโลก โดยจะมีการนำเสนอประเด็นหลักๆ ในระหว่างการประชุม อาทิ วิวัฒนาการใหม่ล่าสุดของการรักษามะเร็ง ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวที่เข้าร่วมประชุมจะได้รับข้อมูลสถิติและข้อมูลสำคัญในการประชุมซึ่งจะช่วยให้สื่อมวลชนรับทราบถึงข้อมูลที่น่าสนใจในการประชุมด้วยโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพ - Prof David J. Kerr ประธานของ ESMO - Prof Rolf A. Stahel ประธานฝ่ายวิทยาศาสตร์ของ ESMO2010 - Prof Fortunato Ciardiello เจ้าหน้าที่สื่อมวลชน ESMO2010 วันเสาร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ.2553 เวลา 08:15 — 09:00 น. แถลงข่าววันที่ 1 มะเร็งเต้านมระยะรุนแรง เนื้องอกในทรวงอก การรักษาเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด วันเสาร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ.2553 เวลา 12:00 -12:45 น. หัวข้อการแถลงข่าว — การต่อสู้กับมะเร็งที่พบได้ยากในยุโรป ที่ประชุมจะหารือในหัวข้อเรื่อง ความจำเป็นในการเพิ่มการทดลองทางคลินิกสำหรับโรคมะเร็งที่พบได้ยากในยุโรป ปัญหาขาดแคลนข้อมูล การตรวจพบโรคที่ล่าช้า หรือการวินิจฉัยโรคที่ผิดพลาดซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการวิจัย การรักษาและการดูแลผู้ป่วย วันอาทิตย์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ.2553 เวลา 8:15 - 9:00 น. การแถลงข่าววันที่ 2 มะเร็งเต้านมระยะเริ่มต้น และระยะรุนแรง วันอาทิตย์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ.2553 เวลา 12:15 — 13:00 น. หัวข้อการแถลงข่าว — การฟื้นฟูสุขภาพระยะยาวของผู้ป่วยมะเร็ง: สุขภาพร่างกายและอื่นๆ ที่ประชุม (ระดับชาติและในทวีปยุโรป) จะหารือในประเด็นเรื่องสวัสดิภาพและการดูแลรักษาสุขภาพ การจ้างงานภาครัฐและเอกชน การรักษาที่เสมอภาค การสื่อสารและการรับรู้เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ถูกดูถูกได้ประโยชน์มากขึ้น วันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ.2553 เวลา 08:15 — 09:00 น. มะเร็งเต้านมระยะรุนแรง เนื้องอกในทรวงอก มะเร็งด้านนรีเวช เนื้องอกในระบบทางเดินปัสสาวะ วันอังคารที่ 12 ตุลาคม พ.ศ.2553 เวลา 08:15 - 09:00 น. สรุปการประชุม สื่อมวลชนซักถามข้อสงสัย ประธานการประชุมกล่าวแสดงความคิดเห็นปิดท้ายถึงความสำคัญอันดับแรกของการนำเสนอข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์ฉบับล่าสุดในที่ประชุม ข้อมูลทั่วไป - สามารถดูกำหนดการประชุมฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://www.esmo.org/events/milan-2010-congress/program.html - การแถลงข่าวทั้งหมดจะจัดขึ้น ณ Room Asia, Press Center, Mezzanine Bridge และสามารถติดตามการแถลงข่าวทางไกลได้ที่หมายเลขโทรฟรีดังไปนี้: - ออสเตรเลีย: 1-800-00-59-03 - เบลเยี่ยม: 0800-39-244 - แคนาดา: (1)866-416-25-55 - จีนเหนือ: 10-800-712-18-94 - จีนใต้: 10-800-120-18-94 - ฝรั่งเศส: 0800-946-502 - อิตาลี: 800-136-706 - ญี่ปุ่น: 00531-12-12-66 - เนเธอร์แลนด์: 0800-949-45-17 - สเปน: 900-803-963 - สวิตเซอร์แลนด์: 800-24-67-87-00 - สหราชอาณาจักร: 800-3681-054 - สหรัฐอเมริกา: (1)866-291-41-66 - สำหรับหมายเลขโทรศัพท์อื่นๆ จะแจ้งให้ทราบเมื่อต้องการ - สื่อมวลชนที่สนใจกรุณาแจ้งข้อมูลโดยเร็ว หากต้องการใช้บริการโทรศัพท์ทางไกล - สื่อมวลชนที่เข้าร่วมประชุมและรับฟังการประชุมทางไกล สามารถติดต่อ ESMO Press Office ได้ที่ media@esmo.org เพื่อจองคิวสัมภาษณ์ล่วงหน้า ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้องอกวิทยาในแขนงต่างๆ จะมาประจำที่ ESMO Media Ambassador Corner ใน Press Center เพื่อให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนทุกวัน ลงทะเบียนสื่อมวลชน สามารถลงทะเบียนหน้างานได้ที่โต๊ะลงทะเบียนสื่อมวลชน พร้อมแสดงบัตรสื่อมวลชนและเอกสารมอบหมายงาน ติดต่อ Vanessa Pavinato โทรศัพท์มือถือ : +41-79-935-60-73 อีเมล: media@esmo.org Congress Press Office โทร: +39-02-4342-3649 (วันพฤหัสบดีที่ 7 ตุลาคม) แหล่งข่าว: European Society for Medical Oncology (ESMO) --เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท ( www.asianetnews.net ) --

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ