รู้จักสวิตเซอร์แลนด์ 1 ในประเทศสมาชิกสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป

ข่าวต่างประเทศ Thursday April 7, 2011 15:45 —กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

ในอดีตเมื่อ ๑๐,๐๐๐ ปีก่อนคริสตกาล ในดินแดนประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พวกกลุ่มนักล่าสัตว์และกลุ่มคนเร่ร่อนได้ย้ายถิ่นฐานเข้ามาอยู่อาศัยในเขตทางตอนเหนือของเทือกเขาแอลป์ (Alp) ซึ่งในปัจจุบันก็คือพื้นที่บริเวณ Graubunden ใจกลางประเทศสวิตเซอร์แลนด์เป็นครั้งแรก ต่อมาก็ได้มีการขยายอาณาเขตออกไปเรื่อยๆ ตามพื้นที่บริเวณลุ่มทะเลสาบต่างๆ จนกระทั่งเมื่อประมาณ ๔๐๐ ปีก่อนคริสตกาลชนเผ่าเซลท์ (Celt คือกลุ่มชนชาติที่พูดภาษาเซลติก) ได้เริ่มย้ายถิ่นฐานจากทางเยอรมันตอนใต้ เข้าไปสู่พื้นที่ลุ่มทะเลสาบในตอนกลางของประเทศสวิตเซอร์แลนด์เพิ่มมากขึ้น โดยทางด้านตะวันออกของสวิตเซอร์แลนด์เป็นที่อยู่อาศัยของพวก Raetia ส่วนทางด้านตะวันตกถูกครอบครองโดยชาว Helvetii นอกจากนั้นก็ยังมีชนเผ่าอื่นๆ ที่กระจัดกระจายไปตามส่วนต่างๆ ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์อีกเป็นจานวนมาก คือ ชนเผ่า Lepontier ทางแคว้น Tessin ชนเผ่า Seduner ในเขต Wallis และทะเลสาบเจนีวา

ต่อมาเมื่อเข้าสู่ยุครุ่งเรืองของอาณาจักรโรมันในประมาณ ๕๘ ปีก่อนคริสตกาล ชนเผ่าโรมันภายใต้การนาของจูเลียส ซีซาร์ (Julius Caesar) ได้เข้าโจมตีและยึดดินแดนของชนเผ่า Helvetii และดินแดนส่วนอื่นๆ เข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรโรมัน ช่วงนี้เองที่ได้เริ่มที่การก่อสร้างถนนหนทางและระบบผังเมืองขึ้นในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ขึ้นเป็นครั้งแรก เช่น ในบริเวณเมือง Basel, Chur, Geneve, Zurich ในปัจจุบัน โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เมือง Avenches

ในช่วงปลายของยุคสมัยโรมัน ประมาณปีคริสตศตวรรษที่ ๔ ถึง ๖ ศาสนาคริสต์ได้เผยแผ่เข้ามาในเขตประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทาให้ได้มีการตั้งตาแหน่ง Bishop ขึ้นตามเมืองต่างๆ และเชื่อกันว่าอาณาจักรโรมันก็ล่มสลายลงในช่วงนี้

หลังจากที่อาณาจักรโรมันเริ่มเสื่อมลง พวกชาวเยอรมันเผ่าต่างๆ ก็อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน โดยชนเผ่า Burgundian เข้ามายึดครองบริเวณทางแถบ Jura ทางตอนเหนือของเทือกเขาแอลป์ บริเวณแม่น้า Rh?ne และทะเลสาบเจนีวา ส่วนพวก Alamannic ได้ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณลุ่มแม่น้าไรน์ (Rhein) ส่วนการเผยแผ่ศาสนาก็ยังคงมีอยู่เรื่อยๆ โดยพระนักสอนศาสนาเข้ามามีบทบาทสาคัญในเขตเมืองต่างๆ รวมทั้งยังมีการสร้างวัดขึ้นเป็นครั้งแรกที่เมือง St. Gallen และ Zurich เมื่อเริ่มเข้าสู่ยุคโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Holy Roman Empire ซึ่งอาณาจักรนี้เป็นอาณาจักรของจักรรรดิชาร์ลมาญแห่งเยอรมันหรือเรียกว่าเป็นอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์แห่งชนชาติเยอรมัน ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับอาณาจักรโรมันในสมัยยุคก่อนประวัติศาสตร์แต่อย่างใด) ก็ได้มีการนาระบบกฎหมายต่างๆ เข้ามาใช้ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยมีการร่างสนธิสัญญา Verdun ขึ้นในปี ค.ศ. ๘๓๔ โดยพื้นที่บริเวณตะวันตกของสวิตเซอร์แลนด์ (Burgundain) ตกอยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์ Lothair ที่ ๑ และทางด้านตะวันออก (Alamannic) อยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์ Louis the German ในศตวรรษที่ ๑๐ เมื่อระบบการปกครองแบบใช้กฎหมายเสื่อมลง พวกชนเผ่าแมกยาร์ (Magyar) ก็เข้ามาทาลายเมืองใหญ่ต่างๆ ของเผ่า Burgundian และ Alamannic แต่ต่อมาเมื่อกษัตริย์ Otto ที่ ๑ ทาสงครามชนะพวกชนเผ่าแมกยาร์ในปี ค.ศ. ๙๕๕ ก็มีการรวมพื้นที่บริเวณของ ๒ ชนเผ่าเข้าด้วยกันเป็นส่วนหนึ่งของ Holy Roman Empire (อาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์) อีกครั้ง และยังได้มีการรวบรวมแคว้นต่างๆเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

อาณาจักรนี้ถูกปกครองโดยราชวงศ์ฮับสบวร์ก (Habsburg dynasty) ไปจนกระทั่งกษัตริย์ Rudolph ที่ ๑ แห่งราชวงศ์ฮับสบวร์กสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ค.ศ. ๑๒๙๑

ช่วงที่ถือได้ว่าเป็นช่วงของการก่อตั้งประเทศสวิตเซอร์แลด์หรือประเทศสมาพันธรัฐสวิตเซอร์แลนด์อย่างเป็นทางการเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ค.ศ. ๑๒๙๑ เมื่อสามมณฑลในเขตเทือกเขาแอลป์ คือ Uri, Schwyz และ Unterwalden ได้รวมตัวกันขึ้นเป็นอดีตสมาพันธรัฐสวิส (Old Swiss Conferderation หรือที่เรียกเป็นภาษาเยอรมันว่า Alte Eidgenossenschaft) ซึ่งการรวมกลุ่มนี้ไม่ได้เพื่อต้องการแยกออกเป็นประเทศ แต่เพียงเพื่อต้องการจะต่อต้านอานาจของราชวงศ์ฮับส์บวร์ก ซึ่งการรวมกลุ่มครั้งนี้ไม่ได้รับการยอมรับจากราชวงศ์ฮับส์บวร์ก และมีการทาสงครามกันเรื่อยมา ในปี ค.ศ. ๑๓๑๕ กลุ่มของชาวบ้านที่เป็นทหารของสวิสในสมัยนั้นก็ทาสงครามชนะทหารของราชวงศ์ฮับส์บวร์กในสงคราม Morgaten หลังจากนั้นเมือง Z?rich, Lucerne, Glarus, Zug และ Bern ก็ได้เข้าร่วมในอดีตสมาพันธรัฐสวิส และได้มีการเรียกชื่อกลุ่มการรวมตัวของมณฑล ๘ มณฑลนี้ว่า Schwyz ภายหลังจากการรวมตัวนี้แล้ว ก็ยังคงมีการรวมตัวของมณฑลต่างๆ อยู่เรื่อยๆ จนเมื่อสิ้นสุดปี ค.ศ. ๑๕๑๓ ก็มีมณฑลเข้าร่วมรวมทั้งหมด ๑๓ มณฑล

ภายหลังจากที่มีการรวมตัวกันในปี ค.ศ. ๑๕๑๓ แล้ว ก็ยังคงมีการทาสงครามกันภายในพื้นที่ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในปัจุจบันอยู่เรื่อยๆ โดยส่วนใหญ่จะเป็นสงครามทางศาสนา แต่สงครามที่ยาวนานที่สุด คือ สงคราม ๓๐ ปี (Thirty Years War ค.ศ. ๑๖๑๘-๑๖๔๘) ซึ่งในช่วงแรกของสงครามนี้เป็นสงครามระหว่างศาสนาคริสต์นิกายคาธอลิกกับโปรแตสแตนท์ แต่ต่อมาสงครามได้ขยายวงกว้างไปเป็นสงครามการขยายอานาจภายในทวีปยุโรป สงคราม ๓๐ ปีสิ้นสุดลงเมื่อมีการประกาศสันติภาพ Peace of Westphalia และสืบเนื่องมาจาก Peace of Westphalia นี้เอง ประเทศสมาพันธรัฐสวิตเซอร์แลนด์ประกาศแยกตัวออกจากอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์อย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. ๑๖๔๘

ในยุคที่ราชวงศ์ของฝรั่งเศสเริ่มเข้ามามีบทบาทในประวัติศาสตร์ยุโรป กองทัพของนโปเลียน (Napolean Bonaparte) ก็เข้าครอบครองสวิตเซอร์แลนด์และสถาปนาเป็น Helvetic Republic ในปี ค.ศ. ๑๗๙๘ ทาให้ดินแดนของสวิตเซอร์แลนด์ถูกรวมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของประเทศฝรั่งเศส ต่อมาในปี ค.ศ. ๑๘๐๓ ภายใต้การปกครองของนโปเลียนได้มีการรวบรวมมณฑลต่างๆ ในสมาพันธรัฐสวิสอีกครั้งนอกจากนั้นยังได้สถาปนาเขต ๖ เขตขึ้นเป็นมณฑลใหม่ ในปี ค.ศ. ๑๘๑๕ ได้มีการสถาปนาสมาพันธรัฐสวิสขึ้นมาใหม่ในที่ประชุมคองเกรสแห่งเวียนนา (Congress of Vienna) โดยมีการเพิ่มจานวนมณฑลเข้าไปอีก ๓ มณฑล ในที่ประชุมคองเกรสนี้ได้มีการลงนามให้ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศที่เป็นกลางทางการเมือง คือเป็นการประกาศว่าประเทศสวิตเซอร์แลนด์จะเป็นเส้นแบ่งเขตแดนไม่ให้มีการทาสงครามกันระหว่างฝรั่งเศส เยอรมัน และออสเตรีย และได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญในปี ค.ศ. ๑๘๔๘ (Fereral Constitution) ซึ่งในรัฐธรรมนูญระบุให้เมือง Bern เป็นเมืองหลวงของสมาพันธรัฐ โดยมีภาษาที่ใช้เป็นภาษาทางการ ๓ ภาษา คือ ภาษาเยอรมัน ภาษาฝรั่งเศส และภาษาอิตาเลียน

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๑ และครั้งที่ ๒ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ได้วางตัวเป็นกลางทางด้านการทหาร บทบาทสาคัญเพียงอย่างเดียวของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในสงครามโลกครั้งที่ ๑ ก็คือการส่งสภากาชาดเข้ามาช่วยเหลือ เมื่อสงครามโลกผ่านพ้นไป กลิ่นอายแห่งสงครามกลับทาให้เศรษฐกิจของสวิตเซอร์แลนด์ตกต่าลง และเริ่มฟื้นฟูขึ้นใหม่ในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๗๓ (ค.ศ. ๑๙๓๐) ยุคนี้ยังเป็นยุคแห่งการถือกาเนิดของศิลปินชื่อดังอีกด้วย

ถึงแม้ว่าประเทศสวิตเซอร์แลนด์จะวางตัวเป็นกลางในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ แต่สวิตเซอร์แลนด์กลับมีบทบาทสาคัญในทางด้านเศรษฐกิจ คือธนาคารของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ได้กลายเป็นสถานที่เพื่อใช้แลกเปลี่ยนเงินผิดกฎหมายของพวกนาซีเยอรมัน

ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ ๒ สิ้นสุดลงในปี พ.ศ. ๒๔๘๘ (ค.ศ. ๑๙๔๕) ได้มีการก่อตั้งองค์การสหประชาชาติที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยหลายประเทศได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาติ แต่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งเป็นเจ้าบ้านไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในสมัยแรก ทั้งนี้องค์การสากลแห่งแรกที่สวิสเข้าร่วมเป็นสมาชิกภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ คือองค์การ UNESCO ซึ่งเข้าร่วมในปี พ.ศ. ๒๔๙๑ (ค.ศ. ๑๙๔๘) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๕ (ค.ศ. ๒๐๐๒) และเข้าร่วมเป็นสมาชิกสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป หรือ EFTA (European Free Trade Association) เมื่อวันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๓ (ค.ศ. ๑๙๖๐) มีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดเสรีทางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก ซึ่งปัจจุบันประกอบไปด้วยประเทศสมาชิก ๔ ประเทศ ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ ลิกเตนสไตน์ นอร์เวย์ และไอซ์แลนด์

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เลขที่ 44/100 ถ.นนทบุรี1 ต. บางกระสอ อ. เมือง จ. นนทบุรี 11000

โทรศัพท์ (66) 2507-7444 แฟกซ์ (66) 2547-5630


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ