เขตการค้าเสรี BIMSTEC (Framework Agreement on the BIMSTEC Free Trade Area)
ความเป็นมา/การดำเนินการ
ความเป็นมา
- ในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจ/การค้า BIMSTEC ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 6-7 มีนาคม 2003 ณ ประเทศศรีลังกา ที่ประชุมได้เห็นชอบให้จัดตั้งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเพื่อร่างกรอบความตกลง เขตการค้าเสรี BIMSTEC ซึ่งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญจัดทำกรอบความตกลงเสร็จในเดือนธันวาคม 2003 ซึ่งได้รับความเห็นชอบและลงนามโดยรัฐมนตรีเศรษฐกิจ/การค้า BIMSTEC รวม 6 ประเทศ ยกเว้นบังกลาเทศ ในช่วงการประชุมผู้นำ BIMSTEC ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 7-9 กุมภาพันธ์ 2004 ณ จังหวัดภูเก็ต ประเทศไทย และบังกลาเทศได้ร่วมลงนามในกรอบ ความตกลงฯ ในเดือนมิถุนายน 2004
กรอบการเจรจา
- ครอบคลุมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจในทุกด้าน การเจรจาแบ่งเป็น 3 ส่วน
?? การเปิดเสรีด้านการค้าสินค้า 2 แนวทาง
- Fast Track
ประเทศ ลดภาษีให้ประเทศกำลังพัฒนา ลดภาษีให้ประเทศพัฒนาน้อย
อินเดีย ศรีลังกา ไทย 1 กค. 2006-30 มิย. 2009 1 กค.2006-30 มิย. 2007
บังคลาเทศ ภูฐาน 1 กค. 2006-30 มิย. 2011 1 กค.2006-30 มิย. 2009
พม่า เนปาล
- Normal Track
ประเทศ ลดภาษีให้ประเทศกำลังพัฒนา ลดภาษีให้ประเทศพัฒนาน้อย
อินเดีย ศรีลังกา ไทย 1 กค.2007-30 มิย. 2012 1 กค.2007-30 มิย. 2010
บังคลาเทศ ภูฐาน 1 กค.2007-30 มิย. 2017 1 กค.2007-30 มิย. 2015
พม่า เนปาล
พร้อมกันนี้ ให้มีสินค้าที่จะไม่นำมาลดภาษีได้ (Negative List) โดยต้องจำกัดจำนวนสินค้าให้น้อยที่สุด
?? การค้าบริการและการลงทุน ให้เริ่มเจรจาในปี 2005 และเสร็จสิ้นภายในปี 2007 โดยการใช้แนวทาง positive list approach และให้การปฏิบัติเป็นพิเศษและความยืดหยุ่นแก่สมาชิกที่ด้อยพัฒนา
?? ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ในสาขาความร่วมมือต่างๆ ของ BIMSTEC ให้มีความก้าวหน้ามากขึ้น รวมทั้ง พิธีการศุลกากร การทดสอบและรับรองมาตรฐานและการเดินทางของนักธุรกิจ เป็นต้น
กลไกการดำเนินการ
- จัดตั้งคณะเจรจา (Trade Negotiating Committee: TNC) เพื่อเจรจารายละเอียด
สถานะล่าสุด
- การประชุม BIMSTEC TNC ได้ประชุมมาแล้ว 15 ครั้ง โดยครั้งล่าสุดได้จัดประชุมคณะกรรมการเจรจาการค้า BIMSTEC TNC ครั้งที่ 15 ระหว่างวันที่ 24-26 กันยายน 2007 ณ กรุงธากา ประเทศบังกลาเทศ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. การเปิดตลาดการค้าสินค้า
- ที่ประชุมได้มีการหารือในเบื้องต้น ที่จะใช้กฏทั่วไป (General Rule) ในการพิจารณาแหล่งกำเนิดสินค้าโดยใช้เกณฑ์ CTSH+Local content 35% สำหรับประเทศกำลังพัฒนาและใช้เกณฑ์ CTSH+Local content 30% สำหรับประเทศพัฒนาน้อยที่สุด (LDCs) และ
กำหนดขอบเขตจำนวนสินค้าที่จะไม่ลดภาษี (Negative List: NL) ที่ร้อยละ 15 ของพิกัดศุลกากร 6 หลักโดยไม่ต้องมีหลักการต่างตอบแทน
- การลดภาษีสินค้าปกติ (Normal Track) ได้ตกลงแบ่งการลด/ยกเลิกภาษีสินค้า Normal Track ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มที่จะลดภาษีเหลือ 0 (Normal Track Elimination: NTE) 2) กลุ่มที่จะลดภาษีเหลือร้อยละ 1-5 (Normal Track Reduction:
NTR) ซึ่งหากที่ประชุมสามารถตกลงให้คงรายการสินค้า NL ที่ร้อยละ 15 ขอบเขตรายการสินค้า NTE จะอยู่ที่ร้อยละ 40-70 และรายการสินค้า NTR ร้อยละ 5-35 ของพิกัดศุลกากร
2. กฎเฉพาะรายสินค้า (Product Specific Rules: PSRs)
- ที่ประชุมตกลงให้แต่ละประเทศสมาชิกจัดทำรายการสินค้าส่งออกสำคัญ จำนวน 25 รายการ ที่ต้องการใช้ PSRs และเวียนให้ประเทศสมาชิกพิจารณาเพื่อหาข้อสรุปในการประชุมครั้งต่อไป
3. มาตรการปกป้อง (Safeguard)
- ที่ประชุมยังไม่สามารถหาข้อสรุปตามข้อเสนอของบังกลาเทศ ที่ต้องการกำหนดข้อยกเว้นในการใช้มาตรการปกป้อง ซึ่งฝ่ายไทยเห็นว่าไม่ควรมีข้อยกเว้นเนื่องจากจะไม่เอื้อต่อการเยียวยาอุตสาหกรรมภายในประเทศที่ได้รับความเสียหาย
4. ข้อกำหนดสินค้าผ่านแดน (Goods in Transit)
- ที่ประชุมยังไม่สามารถหาข้อสรุปการจัดทำมาตรา Goods in Transit ที่เนปาลเสนอที่กำหนดให้สามารถขนส่งสินค้าผ่านแดนได้อย่างเสรีในระหว่างกลุ่มสมาชิกBIMSTEC ซึ่งฝ่ายไทยเห็นว่าควรกำหนดให้เป็นไปตามกฏหมายและระเบียบข้อบังคับภายในประเทศด้วย
- การประชุม BIMSTEC TNC ครั้งที่ 16 กำหนดจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 12-16 พฤศจิกายน 2007 ที่ประเทศอินเดีย
ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.thaifta.com (BIMSTEC)
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เลขที่ 44/100 ถ.นนทบุรี1 ต. บางกระสอ อ. เมือง จ. นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ (66) 2507-7444 แฟกซ์ (66) 2547-5630
-พห-