ผลสรุปการสัมมนาเชิงปฏิบัติการและศึกษาดูงานเรื่อง “การเตรียมพร้อมไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2558”

ข่าวทั่วไป Wednesday August 10, 2011 13:44 —กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

ผลสรุปการสัมมนาเชิงปฏิบัติการและศึกษาดูงานเรื่อง “การเตรียมพร้อมไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2558” ระหว่างวันที่ 25-29 กรกฎาคม 2554 ณ แขวงสะหวันนะเขต และจาปาสัก สปป.ลาว

นางจินตนา ชัยยวรรณาการ รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ นาคณะฯไปจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการและศึกษาดูงานเรื่อง “การเตรียมพร้อมไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2558” ระหว่างวันที่ 25-29 กรกฎาคม 2554 ณ แขวงสะหวันนะเขต และแขวงจาปาสัก สปป.ลาว ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ของไทย กับกรมนโยบายการค้าต่างประเทศ กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าของสปป.ลาว ตามแผนความร่วมมือระหว่างกระทรวงพาณิชย์แห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าแห่ง สปป.ลาว ครั้งที่ 3 ที่ได้ประชุมไปเมื่อวันที่ 24-25 มิถุนายน 2553 ณ นครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว ซึ่งในปีที่ผ่านมาได้มีการสัมมนาเชิงปฏิบัติการในลักษณะทานองเดียวกันนี้แล้ว 2 ครั้ง ณ แขวงบ่อแก้ว และแขวงไชยะบุลี

วัตถุประสงค์ของการสัมมนาครั้งนี้ คือ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจแก่ภาครัฐและภาคเอกชนในแขวงสะหวันนะเขต และจาปาสักของสปป.ลาว ซึ่งรวมทั้งภาคเอกชนไทยที่เข้าไปทาธุรกิจในท้องถิ่นให้มีการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 ที่มีเป้าประสงค์หลักในการทาให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน ซึ่งจะเป็นการสร้างความรู้เกี่ยวกับกฎว่าด้วยแหล่งกาเนิดสินค้า การรับรองแหล่งกาเนิดสินค้าด้วยตนเอง การอานวยความสะดวกทางการค้าและแนวทางการปรับตัวสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ แรงงานมีฝีมือ และการลงทุนอย่างเสรี ซึ่งหากภาครัฐและเอกชนลาว มีความเข้าใจที่ถูกต้องชัดเจนเกี่ยวกับ AEC ก็จะช่วยให้นักธุรกิจไทยที่ทาการค้า การลงทุนในลาวสามารถทาธุรกิจได้อย่างสะดวกราบรื่น

ผู้เข้าร่วมสัมมนาครั้งนี้ ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ภาครัฐและผู้ประกอบการของ สปป.ลาว และผู้ประกอบการไทยในแขวงสะหวันนะเขต รวม 96 คน และ ในแขวงจาปาสัก รวม 95 คน ในการสัมมนาครั้งนี้มีการบรรยาย และการอภิปราย โดยวิทยากรซึ่งเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และมากด้วยประสบการณ์ จากกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า กรมการนาเข้าและส่งออก กรมภาษี และที่ปรึกษา (เศรษฐกิจและพาณิชย์) สปป.ลาว ประจาประเทศไทย และวิทยากรไทยจากกรมการค้าต่างประเทศ สานักงานพาณิชย์จังหวัดมุกดาหาร สานักงานพาณิชย์จังหวัดอุบลราชธานี กรมวิชาการเกษตร และกรมศุลกากร โดยเนื้อหาครอบคลุมด้านต่างๆ ได้แก่ การเตรียมพร้อมของ สปป.ลาว ในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2015 กฎว่าด้วยแหล่งกาเนิดสินค้าและการรับรองแหล่งกาเนิดสินค้าด้วยตนเอง ขั้นตอนการออก Form D ไปประเทศอาเซียนของสปป.ลาว การเตรียมรับนักลงทุนไทยที่จะเข้ามาลงทุนใน สปป.ลาว การอานวยความสะดวกทางการค้าบริเวณด่านชายแดน และวิธีการปฏิบัติในการส่งออกสินค้ามายังประเทศไทย และการนาสินค้าผ่านประเทศไทยไปประเทศที่สาม เป็นต้น

แขวงสะหวันนะเขตมีความพร้อมด้านทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นแหล่งวัตถุดิบของอาเซียนได้แก่ ป่าไม้ แหล่งน้า และแร่ธาตุ เช่น หินอ่อน หินแกรนิต แร่ลิกไนต์ แร่เหล็ก ทองคา ทองแดง ยิปซัม มีบริษัท Minerals and Metals Group or MMG ของจีน เป็นผู้ลงทุนผลิตทองคา และทองแดงส่งออกไปจีน เวียดนาม มาเลเซียและไทยปีละ 6 หมื่นตัน มีโรงงานน้าตาลมิตรลาวของกลุ่มมิตรผลของไทย มีเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ ที่จะกลายเป็นศูนย์กลางการค้า การลงทุน ในอนุภูมิภาคลุ่มน้าโขง และเป็นศูนย์กลางของเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (EWEC) การได้รับสิทธิพิเศษทางการค้า(GSP) จาก 47 ประเทศ และ NTR จากสหรัฐอเมริกา ตลอดจนสิทธิพิเศษทางภาษีตามกฎหมายพิเศษของเขต จะทาให้เขตนี้กลายเป็นศูนย์กลางทางการค้า การลงทุน การเงิน และการธนาคารที่สาคัญยิ่งอีกแห่งหนึ่งของโลก ประชากรในแขวงสะหวันนะเขตร้อยละ 90 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด ฝ้าย ไม้ยูคาลิปตัส ยาสูบ อ้อย ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ละหุ่ง มันสาปะหลัง กระเทียม ซึ่งผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือนและเหลือส่งออกต่างประเทศ

แขวงจาปาสัก เป็นพื้นที่ที่มีความสาคัญทางเศรษฐกิจ ทั้งด้านการเป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงการคมนาคมระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนกับแขวงต่างๆในสปป.ลาว มีภูมิทัศน์ที่เป็นจุดขายด้านการท่องเที่ยว มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ เช่น เกลือ ดินเหนียว ทองแดง แร่บอกไซด์ ตะกั่ว ถ่านหิน และยังมีแหล่งแร่แบไรต์และพาโกไดต์ และอะเมทิส เป็นต้น แขวงจาปาสัก เป็นแขวงที่เพาะปลูกพืชผลทางการเกษตรมาก ได้แก่ กาแฟ กะหล่าปลี ผัก ผลไม้ ฯลฯ มีอุตสาหกรรมที่เข้ามาลงทุน ได้แก่ กาแฟ ผลิตไฟฟ้า แร่อลูมิเนียม (บริษัท อิตาเลียน-ไทย จากัด เข้ามาลงทุน) CP มาลงทุนเลี้ยงไก่ครบวงจร นอกจากนี้มีสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อหลายแห่ง เช่น น้าตกผาส้วม น้าตกคอนพะเพ็ง วัดพู บ้านคอนดอนเดช ฯลฯ

ในวันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ได้เยี่ยมชมโรงงานน้าตาลมิตรลาว ซึ่งโรงงานน้าตาลมิตรผลของไทยขยายสาขาเข้าไปดาเนินการใน สปป.ลาว เมื่อปี ๒๕๔๘ โดยในช่วงแรกได้สัมปทานในการปลูกอ้อย ๖๒๕ ไร่ เป็นเวลา ๒ ปี ปัจจุบัน ได้สร้างโรงงานขนาดใหญ่ มีกาลังการผลิตอ้อยปีละ ๖๐๐,๐๐๐ ตัน/ปี ปัญหาที่ประสบอยู่คือ กฎ ระเบียบต่างๆ ใน สปป.ลาว มีการเปลี่ยนแปลงบ่อย เช่น อัตราภาษีกาไร ฯลฯ การเข้ามาชมโรงงานนี้ทาให้ทั้งไทยและลาวได้รับทราบปัญหาที่แท้จริงจากผู้ประกอบการโดยตรง

ในวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ได้เยี่ยมชมไร่กาแฟ ดาวเรือง ซึ่งเป็นของเวียดนาม ได้ดาเนินการมาแล้วกว่า ๑๐ ปี บนพื้นที่ ๓๐๐ เฮกตาร์ (๑ เฮกตาร์ = ๖.๒๕ ไร่) ผลผลิต ๒๐ ตัน/เฮกตาร์ พันธุ์ที่ปลูกคือ พันธุ์กันติมอร์ ส่งออกไป สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ฯลฯ โดยส่งผ่านช่องเม็กออกไปทางท่าเรือแหลมฉบัง

ประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการจัดสัมมนาฯ

การสัมมนาดังกล่าว จะเป็นโอกาสให้ได้รับทราบปัญหาเชิงปฏิบัติของผู้ประกอบการที่เข้าร่วมสัมมนาฯ เช่นผู้ประกอบการที่อยู่ในลาวยังมีความรู้เรื่อง AEC และพิธีการทางศุลกากรน้อย เนื่องจากใช้ตัวแทนนาเข้า-ส่งออก โดยเฉพาะเรื่อง SPS ซึ่งต้องมีใบรับรองด้านสุขอนามัยพืช จากกรมวิชาการเกษตรแนบเพื่อผ่านพิธีการทางศุลกากรพร้อมใบอนุญาตต่างๆ เข้าประเทศไทย สาหรับเจ้าหน้าที่ของ สปป.ลาว ทั้งจากส่วนกลาง และส่วนท้องถิ่น ตลอดจนเจ้าหน้าที่ตามด่านศุลกากร ทราบและเข้าใจในเรื่องการเตรียมพร้อมในการเข้าสู่ AEC ค่อนข้างดี แต่ยังขาดการประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกอบการทราบ เนื่องจากขาดงบประมาณ การที่กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศเข้าไปจัดสัมมนาฯ ให้ความรู้ในเรื่องดังกล่าว จึงเป็นประโยชน์กับผู้ประกอบการเป็นอย่างยิ่ง และผู้เข้าร่วมสัมมนาได้ให้ความเห็นว่า การจัดสัมมนาอย่างนี้เป็นแนวทางที่ดี ได้รับประโยชน์เป็นอย่างยิ่ง ควรจะจัดอย่างต่อเนื่อง และเจาะกลุ่มตามจังหวัด/แขวงต่างๆ ในสปป.ลาว เพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจให้มากยิ่งขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังไม่มีความรู้ด้านนี้

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เลขที่ 44/100 ถ.นนทบุรี1 ต. บางกระสอ อ. เมือง จ. นนทบุรี 11000 โทรศัพท์ (66) 2507-7444 แฟกซ์ (66) 2547-5630


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ