การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเศรษฐกิจอาเซียน-คู่เจรจา FTA (FTA Partners)

ข่าวทั่วไป Monday May 28, 2012 14:33 —กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

นางศรีรัตน์ รัษฐปานะ อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสเศรษฐกิจอาเซียน — คู่เจรจา FTA (FTA Partners) ในวันที่ 17 พฤษภาคม 2555 ซึ่งอาเซียนได้พบปะหารือกับ 3 ประเทศสาคัญ ได้แก่ จีน เกาหลี และญี่ปุ่น โดยจัดขึ้นในช่วงการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเศรษฐกิจอาเซียน ระหว่างวันที่ 13-19 พฤษภาคม 2555 ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ว่าในภาพรวมที่ประชุมได้รับทราบความคืบหน้าการดาเนินการต่างๆ ภายใต้ความตกลงทั้ง 3 ฉบับ พร้อมทั้งได้หารือและมีมติสาคัญๆ ในด้านการวางแผนงานต่างๆ รวมทั้งการจัดทา Roadmap หรือ Work Plan ระหว่างกัน รวมทั้งได้แลกปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการติดตามสถานะความคืบหน้าในการจัดทากรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคของอาเซียน (ASEAN Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) ด้วย

ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน

ภายใต้ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน ที่ประชุมเห็นชอบที่จะให้มีการลงนามพิธีสารสาคัญ 2 ฉบับ ในช่วงการประชุมผู้นาอาเซียน-จีน (พฤศจิกายน 2555) ได้แก่ 1. พิธีสารแก้ไขกรอบความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน ซึ่งจะเป็นการแก้ไขเพื่อให้คณะกรรมการร่วมกากับการดาเนินงานภายใต้ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน (ASEN-China FTA-Joint Committee) ภายหลังจากที่ได้ปรับเปลี่ยนมาจากคณะเจรจาการค้าเสรีอาเซียน-จีน มีสถานะทางกฎหมายอย่างครบถ้วน ทั้งด้านเจรจาการค้าและการปฏิบัติตามพันธกรณี (Negotiation and Implementation) รวมถึงสามารถตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทางานในสาขาเฉพาะต่างๆได้ และ 2. พิธีสารเพื่อผนวกข้อบทด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS) และข้อบทด้านกฎระเบียบทางเทคนิคทางการค้า (TBT) เข้าเป็นส่วนหนึ่งของความตกลงการค้าสินค้า เพื่อให้ความตกลงดังกล่าวมีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ในด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช และกฎระเบียบทางเทคนิคทางการค้า อย่างเป็นระบบและมีแนวทางการดาเนินการของประเทศสมาชิกที่อยู่บนมาตรฐานเดียวกัน โดยพิธีสารทั้งสองฉบับจะมีผลใช้บังคับในวันที่ 1 มกราคม 6552

นอกจากนั้น นางศรีรัตน์ฯ ยังได้เน้นย้ากับจีนเกี่ยวกับปัญหาความล่าช้าในการอนุมัติเงินทุนเพื่อดาเนินโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนกับจีน โดยได้ผลักดันขอให้จีนพิจารณาจัดสรรเงินทุนทางตรงสาหรับโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจภายใต้ความตกลงการค้าเสรีอาเซียนจีน เพื่อให้โครงการต่างๆภายใต้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สามารถดาเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจีนแจ้งว่าขณะนี้กระทรวงพาณิชย์จีนกาลังพิจารณาอยู่ คาดว่าน่าจะมีข่าวดีก่อนการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจ อาเซียน - จีน ในเดือนสิงหาคม ศกนี้ จึงขอให้หน่วยงานต่างๆ เร่งเสนอโครงการเข้ามาภายใต้กรอบอาเซียน-จีน เพื่อไทยจะได้ใช้ประโยชน์จากเงินทุนดังกล่าวต่อไป

ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-เกาหลี

ที่ประชุมรับทราบการดาเนินการต่างๆ ภายใต้ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-เกาหลี ซึ่งมีความก้าวหน้าไปมากภายหลังจากที่ความตกลงด้านการค้าสินค้า มีผลบังคับใช้ในปี 2553 ทั้งอาเซียนและเกาหลีอยู่ระหว่างเจรจาการเร่งเปิดเสรีเพิ่มมากขึ้นในรายการสินค้าอ่อนไหว เพื่อให้ภาคเอกชนเข้ามาใช้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีภายใต้ความตกลงได้มากขึ้น นอกจากนั้น ยังมีการแก้ไขเกี่ยวกับระเบียบปฏิบัติทางการศุลกากร (OCP) และใบ CO ในรายละเอียด ซึ่งขอให้ภาคเอกชนติดตามจากกรมการค้าต่างประเทศ และกรมศุลกากรอย่างใกล้ชิด เพื่อจะได้ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากความตกลงได้อย่างเต็มที่

สาหรับการค้าบริการ จะมีการจัดทาการศึกษาผลกระทบ (Impact Study) ในข้อผูกพันการเปิดเสรีการค้าบริการชุดที่ 1 (ไทยมีผลผูกพันตั้งแต่ปี 2552) เพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ในการเจรจาข้อผูกพันการเปิดเสรีการค้าบริการชุดที่ 2 ต่อไป

นอกจากนั้น การดาเนินการต่างๆ ภายใต้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ความร่วมมือระหว่างอาเซียนและเกาหลีดาเนินไปอย่างราบรื่น และก้าวหน้ากว่ากรอบอื่นๆ โดยที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเศรษฐกิจอาเซียน-เกาหลี สนับสนุนให้ขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกันไปใน 8 สาขาที่ยังไม่ค่อยมีความคืบหน้านัก ได้แก่ การท่องเที่ยว วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บริการทางการเงิน อุตสาหกรรมการก่อสร้าง พลังงาน ทรัพยากรธรรมชาติ การต่อเรือและการขนส่งทางเรือ และอุตสาหกรรมภาพยนตร์

ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ญี่ปุ่น

ที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น หารือเกี่ยวกับความคืบหน้าการดาเนินการต่างๆ ภายใต้ความตกลง รวมทั้งประเด็นสาคัญเกี่ยวกับความคืบหน้าการเจรจาเปิดเสรีการค้าบริการและการลงทุนที่ยังไม่สามารถสรุปผลการเจรจาได้ เนื่องจากทั้งสองฝ่ายยังมีท่าทีที่แตกต่างกันมากในแนวทางการเปิดเสรีบริการและการลงทุน ซึ่งที่ประชุมได้ขอให้ทั้งสองฝ่ายพิจารณาข้อเสนอของตนอย่างยืดหยุ่น เพื่อสามารถสรุปผลการเจรจาได้ตามเป้าหมายที่ได้วางไว้ (สิงหาคม 2555)

สาหรับแผนงานยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น 10 ปี (ASEAN-Japan 10-Year Strategic Economic Cooperation Roadmap) ซึ่งรัฐมนตรีเศรษฐกิจทั้งสองฝ่ายได้เป็นชอบให้จัดทาขึ้นเมื่อครั้งการประชุมในเดือนสิงหาคม 2554 ที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเศรษฐกิจทั้งสองฝ่ายได้หารือประเด็นสาคัญต่างๆ เกี่ยวกับการจัดทาแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าว เพื่อเป็นกรอบในการดาเนินการทางเศรษฐกิจที่สาคัญระหว่างอาเซียนและญี่ปุ่นในอีก 10 ปีข้างหน้า โดยมีเป้าหมายสาคัญใน 3 สาขา ได้แก่ (1) การบูรณาการตลาดภายในอาเซียนและภูมิภาค (2) การเสริมสร้างความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมเพื่อให้มีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น และ (3) การปรับปรุงคุณภาพชีวิตและความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งในส่วนของไทย ได้เสนอสาขาความร่วมมือและการสร้างศักยภาพระหว่างกันในด้านต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์กับไทย อาทิ สาขาอาหารและเกษตร การท่องเที่ยว พลังงานทดแทน และการเคลื่อนย้ายบุคคล ซึ่งจะต้องเน้นการพัฒนาที่ยังยืนระหว่างกัน ทั้งนี้ ที่ประชุมวางเป้าหมายร่วมกันที่จะสรุปร่างแผนงานยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น ให้แล้วเสร็จภายในเดือนสิงหาคม 2555 เพื่อให้รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น ได้เห็นชอบต่อไป

นอกจากนั้น ที่ประชุมยังได้รับทราบผลความสาเร็จของการเยือนของรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ณ ประเทศญี่ปุ่น (ASEAN Roadshow to Japan) ระหว่างวันที่ 25-28 เมษายน 2555 ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนได้เดินทางเยือนประเทศญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ สาหรับการเยือนในครั้งนี้ เพื่อกระชับความสัมพันธ์ด้านการค้าการลงทุนระหว่างอาเซียนกับญี่ปุ่นให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และสร้างความเชื่อมั่นด้านการลงทุนของญี่ปุ่นในอาเซียนรวมทั้งไทย ภายหลังผ่านพ้นวิกฤติสึนามิที่ญี่ปุ่นและอุทกภัยในไทยเมื่อปี 2554 ที่ผ่านมา โดยนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นผู้แทนของไทยในการเข้าร่วมงานดังกล่าว

มูลค่าการค้าระหว่างอาเซียน-คู่เจรจา FTA (FTA Partners)

สำหรับมูลค่าการค้าระหว่างอาเซียน-คู่เจรจา FTA ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ดังนี้

              2553          2553         2553         2554        2554        2554          %         %
              ส่งออก         นำเข้า       มูลค่ารวม       ส่งออก       นำเข้า      มูลค่ารวม    เปลี่ยนแปลง  การใช้สิทธิ
                                                                                         (มูลค่ารวม)  (2554)
อาเซียน-จีน   154,345.93   138,236.80   292,582.73   169,860.29   192,466.21   362,326.50   +23.37     84.3
ไทย-จีน       21,470.92    24,516.84    45,987.76    27,132.19    30,656.21    57,788.84   +25.66        -
อาเซียน-เกาหลี 44,098.91    53,195.31    97,294.22    53,111.34    71,915.31   125,026.65   +28.50     58.9
ไทย-เกาหลี     3,609.93     8,060.94    11,670.87     4,577.35     9,198.62    12,696.27    +8.80        -
อาเซียน-ญี่ปุ่น  101,038.09   112,908.25   213,946.34   124,802.46   123,176.43   247,978.89   +15.90     3.80
ไทย-ญี่ปุ่น      20,416.55    38,305.87    58,722.42    24,240.17    42,266.86    66,507.03   +13.25    68.64

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เลขที่ 44/100 ถ.นนทบุรี1 ต. บางกระสอ อ. เมือง จ. นนทบุรี 11000

โทรศัพท์ (66) 2507-7444 แฟกซ์ (66) 2547-5630


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ