ครึ่งทางสู่ AEC ปี 2015

ข่าวทั่วไป Monday May 28, 2012 14:35 —กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจของอาเซียน (SEOM) ครั้งที่ 2/43 ระหว่างวันที่ 14-18 พฤษภาคม 2555 ณ ประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งในช่วงแรกเป็นการประชุมระหว่างสมาชิกอาเซียน และช่วงหลังเป็นการประชุมกับประเทศภาคีของอาเซียนรวม 8 ประเทศ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ รัสเซีย และแคนาดา

นางศรีรัตน์ รัษฐปานะ อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงผลการประชุมในช่วงแรกว่าอาเซียนได้พิจารณาเรื่องสาคัญ คือรายงานการประเมินผลการดาเนินการระยะครึ่งทางสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint Mid-Term Review) จัดทาโดยสถาบันวิจัยเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออก (ERIA) รายงานฉบับนี้ใกล้จะเสร็จสมบูรณ์ และมีรายงานผลการศึกษาและสารวจความเห็นของภาคเอกชนต่อมาตรการต่างๆ รวมทั้งเสนอแนะแนวทางสาหรับการปรับปรุง การดาเนินการไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC ในช่วงเวลาที่เหลืออีกราว 3 ปี ก่อนที่ AEC จะบรรลุผลเป็นรูปธรรม

จากการศึกษาดังกล่าว พบว่าการดาเนินการไปสู่ AEC คืบหน้ามากในด้านการลดภาษีศุลกากร โดยประเทศสมาชิกอาเซียนเดิมมีอัตราภาษีเฉลี่ยร้อยละ 0.5 ส่วน CLMV มีอัตราภาษีเฉลี่ยร้อยละ 2.6 ในขณะที่การดาเนินการบางเรื่อง เช่น การเปิดเสรีและอานวยความสะดวก ต่อการค้าบริการ และการลงทุน ซึ่งแม้จะคืบหน้า แต่ระดับของความคืบหน้ายังมีความแตกต่างกันบ้างระหว่างประเทศสมาชิก สาหรับในส่วนผลลัพธ์ของมาตรการต่างๆของประเทศสมาชิก การศึกษาของ ERIA พบว่า ไทยได้รับประโยชน์จากการเปิดเสรีด้านการค้าบริการมากเป็นอันดับ 2 ในอาเซียน รองจากเวียดนาม และกัมพูชาเป็นอันดับ 3

ทั้งนี้ ในภาพรวมพบว่าในกลุ่มประเทศสมาชิกเดิมของอาเซียน ไทยได้ประโยชน์ในด้านการขยายตัวของ GDP มากเป็นอันดับ 3 รองจากอินโดนีเซีย และสิงคโปร์ นอกจากนี้ ยังพบว่า อาเซียนจะได้ประโยชน์มากขึ้น หากมีการเปิดเสรีกับประเทศคู่เจรจาทั้งในกรอบ อาเซียน+3 (13 ประเทศ) และ อาเซียน +6 (16 ประเทศ) แต่การเปิดเสรีในกรอบอาเซียน+6 จะได้ประโยชน์มากกว่า และไม่ว่าอาเซียนจะเปิดเสรีกับประเทศนอกภูมิภาคในรูปแบบใด ไทยก็จะได้รับประโยชน์มากเป็นอันดับ 3 ในอาเซียน รองจากเวียดนามและกัมพูชา

ส่วนมาตรการที่ภาคเอกชนให้ความสาคัญ ได้แก่ มาตรการด้านการอานวยความสะดวกทางการค้า เช่น กฎว่าด้วยแหล่งกาเนิดของสินค้า กระบวนการด้านศุลกากร การปรับประสานมาตรฐานสินค้า การส่งเสริมและอานวยความสะดวกต่อการลงทุน การขนส่งและการสร้างความเชื่อมโยง (connectivity) ภายในภูมิภาค ซึ่งอาเซียนควรจะปรับเปลี่ยนกฎหมาย และกฎระเบียบ (Regulatory Reform) อย่างเหมาะสมด้วย เพื่อจะได้รับประโยชน์จาก AEC อย่างเต็มที่ โดยคณะทางานระดับสูงว่าด้วยการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียน (High Level Task Force on ASEAN Economic Integration: HLTF-EI) ก็มีกาหนดจะเข้าร่วมการสัมมนาและหารือเรื่อง Regulatory Reform ในเดือนกรกฎาคม ศกนี้ และในระหว่างนี้ไทยโดยกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศได้เสนอเอกสารแนวคิด เกี่ยวกับแนวทางสาหรับ Regulatory Reform ในอาเซียนให้ประเทศสมาชิกพิจารณาด้วยแล้ว

นางศรีรัตน์ ให้ความเห็นว่าข้อเสนอแนะจากการศึกษา สอดคล้องกับบทบาทและสิ่งที่กรมเจรจาการค้า ระหว่างประเทศ ในฐานะ National AEC Coordinating Agency ของไทย ได้ดาเนินการและผลักดันมาตลอด รวมทั้งเรื่องการสร้างความตระหนักรู้เพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์และสร้างเสริมความรู้ ความเข้าใจของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งประชาชนทั่วไป นักธุรกิจและ SME

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เลขที่ 44/100 ถ.นนทบุรี1 ต. บางกระสอ อ. เมือง จ. นนทบุรี 11000

โทรศัพท์ (66) 2507-7444 แฟกซ์ (66) 2547-5630


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ