ไทยลดภาษีนาเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น หรือ Japan-Thailand Economic Partnership Agreement : JTEPA มากกว่า 140 รายการ ให้เหลือร้อยละศูนย์ ตั้งแต่ปี 2555 และปี 2557 หวังขยายปริมาณการค้าการลงทุน และสนับสนุนให้ไทยเป็นศูนย์กลางของฐานการผลิตรถยนต์ในภูมิภาค
นางศรีรัตน์ รัษฐปานะ อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งกากับดูแลการดาเนินการตามพันธกรณีของฝ่ายไทยและญี่ปุ่น รวมทั้งดาเนินการเจรจาต่อเนื่องภายใต้ความตกลง JTEPA ชี้แจงว่า ความตกลง JTEPA มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2550 ปัจจุบันมีรายการสินค้าของญี่ปุ่นและไทยที่อัตราภาษีนาเข้าลดลงเป็นศูนย์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 81.11 และ 72.33 ของรายการสินค้าที่ค้าขายกันทั้งหมด ตามลาดับ
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2555 กระทรวงการคลังได้ออกประกาศยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากรสาหรับชิ้นส่วนรถยนต์นาเข้าจากญี่ปุ่น เพื่อนามาประกอบเป็นรถยนต์หรืออุปกรณ์รถยนต์ ภายใต้ความตกลง JTEPA เพิ่มเติม โดยมีสินค้าชิ้นส่วนรถยนต์มากกว่า 140 รายการ ที่ได้รับการลดภาษีนาเข้าจากอัตราเดิมร้อยละ 10-20 ให้เหลือศูนย์ตั้งแต่ปี 2555 และปี 2557แล้วแต่ชนิดสินค้า เช่น เพลาและข้อเหวี่ยง เกียร์และเครื่องเกียร์ สตาร์ตเตอร์ เครื่องกาเนิดไฟฟ้า อุปกรณ์ควบคุมและส่วนประกอบ เข็มขัดนิรภัย เบรก กระปุกเกียร์ เพลาขับ ล้อ โช้กอัพ หม้อน้า คลัตช์ ท่อไอเสีย พวงมาลัย ถุงลมนิรภัย ถังเชื้อเพลิง เครื่องยนต์เบนซิลหรือดีเซล และส่วนประกอบของเครื่องยนต์ เป็นต้น ทั้งนี้ การลดอัตราภาษีนาเข้าให้เหลือร้อยละศูนย์สาหรับสินค้ากลุ่มแรกจะมีผลย้อนหลังไปตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2555
ภายใต้พันธกรณีความตกลง JTEPA สินค้าชิ้นส่วนรถยนต์ดังกล่าวจัดเป็นสินค้าอ่อนไหวของไทย ซึ่งจะต้องทยอยยกเลิกภาษีหลังจากที่สมาชิกดั้งเดิมของอาเซียน 6 ประเทศ ได้ลดภาษีสินค้าทุกรายการ (ยกเว้นสินค้าอ่อนไหว/อ่อนไหวสูง) ภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ลงเป็นร้อยละศูนย์แล้วตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553
นางศรีรัตน์ กล่าวว่า การลดภาษีนาเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ภายใต้ JTEPA ดังกล่าว จะช่วยให้ผู้ประกอบการในประเทศไทยสามารถประหยัดต้นทุนการผลิต เนื่องจากสามารถนาเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ที่มีคุณภาพสูงจากประเทศผู้นาด้านรถยนต์อย่างญี่ปุ่นได้ในราคาที่ถูกลง ซึ่งจะช่วยให้ไทยสามารถพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นไปสู่เป้าหมายการเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ที่สาคัญในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งจะพัฒนาเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558
ในช่วง 3 ปี ที่ผ่านมา ญี่ปุ่นเป็นแหล่งที่ไทยนาเข้าสินค้ากลุ่มดังกล่าวมากที่สุด โดยมีมูลค่านาเข้าเฉลี่ยต่อปีมากกว่า 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และนาเข้าเพิ่มขึ้นทุกปี ในปี 2554 ไทยนาเข้าจากญี่ปุ่นสูงถึง 5,868 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 63 ของการนาเข้าจากทั่วโลก ซึ่งเป็นผลจากการที่ญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนของไทยเป็นเวลานาน เป็นผู้ผลิตยานยนต์รายใหญ่ของไทย สร้างการจ้างงานและประโยชน์ให้แก่ไทยอย่างมาก โดยการลงทุนสะสมของญี่ปุ่นในไทยระหว่างปี 2548-2554 มีมูลค่าสูงกว่า 36,000ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 24 ของการลงทุนของญี่ปุ่นทั้งหมดในภูมิภาคเอเชียในอุตสาหกรรมเดียวกันส่งผลให้ไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ที่สาคัญในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เพื่อที่จะใช้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีนาเข้ากลุ่มสินค้าดังกล่าวได้อย่างเต็มที่ ผู้ประกอบการที่ต้องการนาเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ดังกล่าวจากญี่ปุ่น จะต้องแสดงหนังสือรับรองการใช้สิทธิตาม JTEPA ที่ออกโดยสานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมหนังสือรับรองถิ่นกาเนิดสินค้าที่ออกโดยหอการค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นควบคู่กันด้วย
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เลขที่ 44/100 ถ.นนทบุรี1 ต. บางกระสอ อ. เมือง จ. นนทบุรี 11000 โทรศัพท์ (66) 2507-7444 แฟกซ์ (66) 2547-5630