คำถาม-คำตอบ AEC คืออะไร

ข่าวทั่วไป Thursday June 28, 2012 14:53 —กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

ภาพรวมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 1. AEC คืออะไร... เป้าหมายคืออะไร

-AEC ย่อมาจาก ASEAN Economic Community หรือประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน เป็นเป้าหมายสำหรับการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของสมาคมประชาชาติ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน (Association of Southeast Asia n Nations: ASE AN ) ซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม ทั้งนี้ อาเซียน มีเป้าหมายที่จะให้การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจบรรลุผลภายในปี 2558

-AEC เป็น 1 ใน 3 เสาหลักของประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ซึ่งประกอบด้วยเสาหลักอีก 2 เสา คือ ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community: ASCC) และประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน(ASEAN Political-Security Community: APSC)

-เป้าหมายของ AEC คือ

(1) ส่งเสริมให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวมีการเคลื่อนย้าย สินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือโดยเสรี และการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่เสรีมากขึ้น

(2) ส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียน

(3) ลดช่องว่างการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิก

(4) ส่งเสริมการรวมตัวเข้ากับประชาคมโลกของอาเซียน

2. AEC กับ FTA แตกต่างกันหรือไม่

-ความตกลงเขตการค้าเสรี (Free Trade Area Agreement) หรือที่เรียกกัน ทั่วไปว่า FTA เป็นความตกลงที่ประเทศตั้งแต่ 2 ประเทศขึ้นไปจัดทำขึ้น เพื่อให้เกิดการรวมตัวทางเศรษฐกิจ โดยจะลด และ/หรือยกเลิกอุปสรรคทางการค้าระหว่างกัน การเจรจา FT A ของไทยในระยะเริ่มแรกมุ่งเน้นเรื่องการลดภาษีนำเข้าระหว่างกัน แต่ปัจจุบันความตกลงเขตการค้าเสรีเริ่มมีขอบเขตที่กว้างขวางมากขึ้น คือ ครอบคลุม เรื่องการเปิดเสรีการค้าบริการและการลงทุน รวมทั้งกำหนด/ระเบียบกฎเกณฑ์ที่ ช่วยลดอุปสรรคต่อการค้าบริการและการลงทุน การเจรจา FTA กับ ประเทศพัฒนาแล้วส่วนใหญ่จะรวมประเด็นใหม่ๆ อาทิ แรงงาน สิ่งแวดล้อม ทรัพย์สินทางปัญญา นโยบายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

-ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC คือ เป้าหมายการรวมกลุ่มทาง เศรษฐกิจของอาเซียนในปี 2558 ซึ่งมีองค์ประกอบหลายด้าน ทั้งการเปิดเสรีสินค้า บริการ และการลงทุน ซึ่งการเปิดเสรีที่ว่าจะอยู่ภายใต้ความตกลง 3 ฉบับได้แก่ 1) ความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน 2) กรอบความตกลงว่าด้วยการค้าบริการ ของอาเซียน และ 3) ความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน นอกจากนี้ ยังรวมถึง ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในด้านต่างๆ เพื่อสร้างพื้นฐานและอำนวยความสะดวก ในการดำเนินธุรกิจการค้าและการลงทุนระหว่างกัน เพื่อให้มีการเคลื่อนย้ายและ กระจายสินค้า บริการ การลงทุน ตลอดจนการเดินทางของประชาชนและผู้ประกอบการเป็นไปอย่างสะดวก คล่องตัว โดยมีความร่วมมือทั้งในด้านปัจจัยโครงสร้าง พื้นฐาน โลจิสติกส์ การสร้างความสอดคล้องในด้านมาตรฐานสินค้าและบริการ การปรับประสานนโยบายด้านการแข่งขันเพื่อสร้างความเป็นธรรมระหว่างผู้ประกอบการ ในการดำเนินธุรกิจ และความร่วมมือด้านทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น

-ดังนั้น กล่าวโดยสรุป ความตกลงเปิดเสรีระหว่างอาเซียนด้านเศรษฐกิจ ภายใต้ AEC ก็ถือเป็นความตกลง FTA นั่นเอง

3. ทำไมประเทศไทยจำเป็นต้องร่วมกับประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ จัดตั้ง AEC ด้วย

-อาเซียนถือเป็นกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่มีความใกล้ชิดกับไทยมากที่สุด ประเทศสมาชิกอาเซียนหลายประเทศเป็นเพื่อนบ้านที่มีความเชื่อมโยง ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมกับไทยมาเป็นระยะเวลานาน

-รัฐบาลไทยได้ให้ความสำคัญกับอาเซียนในฐานะมิตรประเทศที่มีความใกล้ชิด กับไทยทั้งในด้านสภาพภูมิศาสตร์ และการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่สำคัญ

-ในช่วงระหว่างปี 2549-2553 อาเซียนเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับหนึ่ง ของไทย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 22.8 ของการส่งออกทั้งหมดของไทย นำหน้าตลาดเดิม อย่างเช่นสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น และยังมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง อาเซียน เป็นการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่ยาวนานและเหนียวแน่นที่สุดของไทย

-ไทยเปิดเสรีทางการค้าให้อาเซียนมากที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศหรือกลุ่มประเทศอื่นที่ไทยมีความตกลงเขตการค้าเสรีด้วย

-เมื่ออาเซียนกลายเป็น AEC ในปี 2558 จะส่งผลให้อาเซียนเป็นตลาด และฐานการผลิตเดียวที่แข็งแกร่ง และมีศักยภาพที่จะดึงดูดการลงทุนจาก ต่างประเทศเข้ามาในภูมิภาครวมทั้งไทยได้มากยิ่งขึ้นเนื่องจาก AEC จะช่วยสร้าง ความมั่นใจให้กับนักลงทุนต่างชาติว่า AEC จะทำให้อาเซียนกลายเป็นภูมิภาคที่มีการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็งไม่มีอุปสรรคทางการค้าและการลงทุนระหว่างกัน

-การเป็น AEC จะช่วยเพิ่มอำนาจ ต่อรองของอาเซียนในเวทีการค้าโลก และ ส่งเสริมบทบาทของไทยในเวทีระหว่าง ประเทศให้โดดเด่นมากขึ้น

4. ลักษณะการรวมกลุ่มของอาเซียน โดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจเพื่อมุ่งไปสู่ AEC แตกต่างจากการรวมกลุ่มของสหภาพยุโรปอย่างไร

(1) เพื่อความเข้าใจที่ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น ควรทราบก่อนว่า ในทางเศรษฐกิจการ รวมกลุ่มระหว่างประเทศต่างๆ สามารถจำแนกออกเป็น 5 ขั้นตอน คือ

1. เขตเศรษฐกิจเสรี (F ree Tr ade Area) มีการยกเลิกกำแพงภาษี ระหว่างกัน ยกเลิกระบบโควต้า และการกำหนดปริมาณสินค้า

2. สหภาพศุลกากร ( Cu st o ms Unio n) มีการขจัดการเลือกปฏิบัติ ระหว่างสมาชิก นั่นคือภายในกลุ่มจะไม่มีการเก็บภาษี เคลื่อนย้ายสินค้าบริการ ภายในกลุ่มอย่างสะดวก ขจัดข้ออุปสรรคต่างๆภายในกลุ่ม แต่ไปตั้งการกีดกันกับ ภายนอกกลุ่มร่วมกัน

3. ตลาดร่วม (Common Markets) เป็นการรวมกลุ่มที่สมาชิกสามารถ เคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิต ที่นอกเหนือจากสินค้า ได้แก่ บริการ แรงงาน และเงินทุน ระหว่างกันได้อย่างเสรี และมีการกำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจร่วมกัน

4. สหภาพเศรษฐกิจ (Economic Union) เป็นการรวมกลุ่มที่ลึกซึ้งกว่า ตลาดร่วม คือ นอกเหนือจากการเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตระหว่างกันได้อย่างเสรีแล้วยังมีการปรับประสานนโยบายการเงินและการคลังร่วมกัน และมีการใช้เงินตราสกุล เดียวกัน

5. การบูรณาการทางเศรษฐกิจ สมบูรณ์ ( To tal E c on om ic I nt e g rat io n) มีการรวมตัวกันอย่างสมบูรณ์ทั้งด้านการเงิน การคลัง มีการจัดตั้งองค์กรที่มีลักษณะเหนือรัฐหรือ Supra-National และมีการตัดสินใจ ทางการเมือง รวมถึงธรรมนูญทางการเมือง ร่วมกัน

(2) ลักษณะของการรวมกลุ่มของอาเซียน และสหภาพยุโรปปรากฏดังต่อไปนี้

(2.1) การรวมกลุ่มของสหภาพยุโรป* ลักษณะของการรวมตัวของสหภาพยุโรปตามสนธิสัญญามาสทริชท์ (Maastricht Treaty) เน้น "เสาหลัก" 3 ประการ (the three pillars of the European Union) คือ

1. เสาหลักที่หนึ่ง การรวมตัวด้านเศรษฐกิจ (Economic Integration)

  • ยุโรปตลาดเดียว (Single Market) ให้มีการเคลื่อนที่ปัจจัย 4 ประการ โดยเสรี (free movement) คือ (1) บุคคล (2) สินค้า (3) การบริการ (4) ทุน
  • การมีนโยบายร่วม (Community or Common Policies) ในด้านการค้าการเกษตร (CAP) พลังงาน สิ่งแวดล้อม ประมง และด้านสังคม เป็นต้น
  • สหภาพเศรษฐกิจและการเงิน (E ur o pe an Monetary U nion : EMU) สหภาพยุโรปได้เข้าสู่ขั้นตอนสุดท้ายของ EMU เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2542 ซึ่งมีเงินสกุลเดียวคือ เงินยูโร (Euro) และมีธนาคารกลางของสหภาพ

2. เสาหลักที่สอง นโยบายร่วมด้านการต่างประเทศ และความมั่นคง (CFSP) และนโยบายด้านความมั่นคงและการป้องกันประเทศ (Common Security and Defense Policy)

3. เสาหลักที่สาม ความร่วมมือด้านกระบวนการยุติธรรมและกิจการภายใน(มหาดไทย) รวมทั้งการตรวจคนเข้าเมือง การปราบปรามอาชญากรรมและยาเสพติด การจัดตั้งกองตำรวจร่วม (Europol) และการดำเนินการร่วมด้านความมั่นคงภายใน ฯลฯ

(2.2) การรวมตัวของอาเซียน

-เป้าหมายในการรวมตัวของอาเซียนคือ การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558

-กฎบัตรอาเซียนกำหนดโครงสร้างของประชาคมอาเซียนให้ประกอบด้วย 3 เสาหลัก คือ

1) ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน มุ่งให้ประเทศในภูมิภาค อยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีระบบแก้ไขความขัดแย้งระหว่างกัน มีเสถียรภาพอย่างรอบด้าน มีกรอบความร่วมมือเพื่อรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคง เพื่อให้ประชาชนมีความ ปลอดภัยและมั่นคง

2) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มุ่งให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และการอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน อันจะทำให้ภูมิภาค มีความเจริญมั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆ ได้ เพื่อความอยู่ดีกินดีของ ประชาชนในประเทศอาเซียน

3) ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน เพื่อให้ประชาชนแต่ละประเทศ อาเซียนอยู่ร่วมกันภายใต้แนวคิดสังคมที่เอื้ออาทร มีสวัสดิการทางสังคมที่ดี และมี ความมั่นคงทางสังคม

(3) จะเห็นได้ว่าความแตกต่างที่สำคัญที่สุดระหว่างการรวมกลุ่มของ A EC กับสหภาพยุโรป คือ สหภาพยุโรป ( EU) มีการบริหารงานแบบ S upra-na tion al co-operation ซึ่งเป็นรูปแบบของความร่วมมือระหว่างประเทศที่ประเทศสมาชิกยอมมอบอำนาจการบริหารงานบางอย่างให้แก่องค์กรกลาง (Supra-national) เพื่อให้ สามารถดำเนินการบรรลุตามเป้าหมายร่วมกัน ในขณะที่อาเซียนมีการบริหารงาน แบบ i nte r-nation al co-operati on คือ เป็นความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก เพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วมกันโดยใช้หลักการฉันทามติ (consensus) และจะไม่ก้าวก่าย กิจการภายในประเทศระหว่างกัน

(4) เมื่อพิจารณาในมิติด้านเศรษฐกิจ เป้าหมายของอาเซียนคือการเป็น AEC ที่มีลักษณะสำคัญคือ "อาเซียนจะรวมตัวกันเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน" คือ มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานมีฝีมือที่เสรี และการเคลื่อนย้าย เงินทุนที่เสรียิ่งขึ้น ในขณะที่ประเทศสมาชิกอาเซียนแต่ละประเทศจะยังคงมีอัตราภาษี ที่เรียกเก็บจากสินค้าที่นำเข้าจากประเทศนอกอาเซียนที่แตกต่างกัน จึงอาจกล่าวได้ว่า อาเซียนยังไม่ได้จัดตั้งสหภาพศุลกากรระหว่างกัน แต่ได้ลดภาษีศุลกากร (Customs Union) และอุปสรรคภายในเพื่อขยายการค้า และการลงทุนระหว่างกัน

5. อาเซียนจะพลิกโฉมไปอย่างไรบ้าง หลังบรรลุเป้าหมายเป็น AEC ในปี 2558

-อาเซียนจะเกิดการรวมกันเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน ที่สินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือ รวมถึงปัจจัยการผลิตต่างๆ สามารถเคลื่อนย้าย ได้อย่างเสรี ภายใต้กรอบกฎเกณฑ์และกติกาที่ตกลงกัน ได้แก่

(1) การค้าภายในอาเซียนไม่มีกำแพงภาษีระหว่างกัน

                    (2) การค้าระหว่างอาเซียนจะคล่องตัวเพราะมีการอำนวยความสะดวก ทางการค้าและลดขั้นตอนพิธีการศุลกากร ผ่านระบบ  ASEAN  Single   Window ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบธุรกิจด้านการค้าและการขนส่งสามารถ    ผ่านขั้นตอนการอนุญาตจากหน่วยงานภาครัฐของประเทศสมาชิกอาเซียนที่เกี่ยวข้องกับการรับรองเอกสารหลักฐานพร้อมกัน ณ    จุดที่ยื่นใบขนสินค้า
                    (3) ผู้ส่งออกสามารถรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเอง (Self Certification) ควบคู่ไปกับการใช้ใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าของอาเซียน (Form  D)    ซึ่งขณะนี้ อยู่ระหว่างการดำเนินโครงการนำร่องในประเทศสมาชิก    อาเซียน 4 ประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย    ซึ่งจะขยายต่อไปยังอาเซียนทุกประเทศภายในปี 2558
                    (4) มีฐานข้อมูลการค้าอาเซียน (ASEAN  Trade  Re pository:  ATR) ซึ่งสามารถสืบค้นอัตราภาษี มาตรการที่มิใช่ภาษี กฎแหล่งกำเนิดสินค้า    และกฎระเบียบทางการค้าต่างๆ ได้บนเว็บไซต์ของสำนักเลขาธิการ    อาเซียนภายในปี 2558
                    (5) นักลงทุนอาเซียนสามารถถือหุ้นในธุรกิจบริการสาขาต่างๆ ได้อย่างน้อย ร้อยละ 70 และลดเลิกข้อจำกัด/อุปสรรคในการให้บริการทุกรูปแบบ    ตามกรอบความตกลงการค้าบริการของอาเซียน (ASEAN Framework     Agreement on Services: AFAS)

-การค้าและการลงทุนมีบรรยากาศเสรีมากขึ้น จากการลด/เลิกข้อจำกัด กฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคทางการค้า การลงทุน โดย

                    (1) เปิดเสรีการลงทุน คุ้มครองการลงทุน ส่งเสริมและอำนวยความสะดวกการลงทุน ครอบคลุมธุรกิจ 5 ภาค ได้แก่ เกษตร ประมง ป่าไม้    เหมืองแร่ และภาคการผลิต รวมถึงบริการที่เกี่ยวเนื่องตามกรอบ    ความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน (ASEAN  Comprehensive     Investment Agreement: ACIA)

(2) ปรับประสานนโยบายการแข่งขัน และทรัพย์สินทางปัญญา

-มีเส้นทางคมนาคมขนส่งสามารถเชื่อมโยงถึงกันหมดในอาเซียน ช่วยลดต้นทุน ทางโลจิสติกส์ในภูมิภาค อันนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียน

-มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิกที่เสมอภาคยิ่งขึ้น ช่วยลดช่องว่างระหว่างกัน ทำให้กำลังซื้อของประเทศเพื่อนบ้านดีขึ้น ขยายโอกาส การส่งออกและการลงทุนของไทย

-มีการเชื่อมโยงกับประเทศภายนอกภูมิภาค โดยเฉพาะประเทศคู่เจรจา ของอาเซียนได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย อาเซียน จะเป็นภูมิภาคเปิด มีการขยายการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจโดยทำ FTA กับประเทศ นอกภูมิภาค เป็นการเพิ่มโอกาสการค้าและการลงทุนมากยิ่งขึ้น

6. การเป็น AEC ประเทศสมาชิกอาเซียนจะได้ประโยชน์อะไร

ข้อมูลจากผลการศึกษาหลายฉบับได้บ่งชี้ถึงประโยชน์ที่ประเทศสมาชิก ได้รับหลังจากที่มีการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ดังนี้

(1) ผลการศึกษาเรื่อง AEC Impact Study โดย USAID, Prof. Michael G. Plummer, Johns Hopkins University, 2552 ระบุว่า การรวมกลุ่มเป็น AEC จะทำให้ รายได้ที่แท้จริงของอาเซียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 หรือคิดเป็นมูลค่า 69,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งมีมูลค่ามากกว่า 6 เท่า เทียบกับผลที่ได้รับจากการบรรลุเป้าหมายของ การดำเนินการเฉพาะการลดภาษีภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน (AS EAN Free Trade Area: AFTA) ที่อาเซียนได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2536 นอกจากนี้ การปฏิรูปกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ ของ ประเทศสมาชิกอาเซียนให้สอดคล้องตาม AE C เช่น กฎหมายและนโยบายการแข่งขัน ซึ่งจะช่วย ดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) และเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติต่อหัว (per capita GDP) ร้อยละ 26-38 คิดเป็นมูลค่า 117-264 พันล้านเหรียญสหรัฐ

(2) การปรับปรุงด้านองค์กรใน AE C เช่น ตลาดเงิน โครงสร้างพื้นฐาน และระบบสาธารณูปโภค จะช่วยผลักดันการขยายตัวของภาคเอกชน และทำให้การทำงานของภาครัฐมีประสิทธิภาพมากขึ้น

(3) การลดช่องว่างการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน จะสร้าง โอกาสในการขยายเครือข่ายการผลิตในภูมิภาค และช่วยให้ประเทศสมาชิกใหม่ อาเซียน (กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม) สามารถรวมตัวกับประเทศสมาชิกที่เหลือได้

(4) การเปิดเสรีแรงงานฝีมือ ( Skilled labour) จะทำให้อาเซียนเป็นที่สนใจ ของนักลงทุนต่างชาติมากขึ้น เนื่องจากช่วยให้การบริหารจัดการแรงงานฝีมือมีความยืดหยุ่นมากขึ้น

(5) ผู้บริโภคจะได้รับความสำคัญมากขึ้น สามารถเข้าถึงสินค้าและบริการ ราคาถูกลงและหลากหลายมากขึ้น และมีการคุ้มครองผู้บริโภคที่กว้างขวางมากขึ้น

(6) การเคลื่อนย้ายเงินทุนที่เสรีมากขึ้น ช่วยให้ต้นทุนทางการเงินของภาค ธุรกิจลดลง และมีระบบการเงินที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

7. ประเทศไทยได้ศึกษาถึงจุดอ่อน-จุดแข็ง สภาพตลาด พฤติกรรมผู้บริโภค ของประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อใช้เป็นแนวทางเข้าสู่ตลาด หรือการกำหนด ยุทธศาสตร์ในการเข้าสู่ตลาดของประเทศสมาชิกอาเซียน ไว้ลึกซึ้งเพียงใด

-หน่วยงานภาครัฐของไทยได้มีการจ้างศึกษาประเด็นต่างๆ ในส่วนที่ เกี่ยวข้องกับหน่วยงานของตน และมีการจัดสัมมนาเพื่อเผยแพร่ผลการศึกษา ซึ่งผู้สนใจสามารถติดต่อแต่ละหน่วยงานในท้ายเล่มของหนังสือได้โดยตรงเพื่อ สอบถามข้อมูลเฉพาะเพิ่มเติม ทั้งนี้ ไทยมีจุดแข็งและจุดอ่อนโดยสรุปดังนี้

-จุดแข็งของไทยในการเข้าสู่ตลาดอาเซียน คือ ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ใน ศูนย์กลางของภูมิภาคที่เอื้ออำนวยต่อการติดต่อค้าขายกับทุกประเทศ ทักษะความ เชี่ยวชาญของแรงงานฝืมือไทย อาทิ ในอุตสาหกรรม การผลิตรถยนต์ งานด้าน ศิลปหัตถกรรม และการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น นอกจากนี้ ไทยยังมีความพร้อมด้าน โครงสร้างพื้นฐานระบบสาธารณูปโภคและการขนส่ง ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ ทั้งนี้ ภาคอุตสาหกรรมและบริการของไทยที่มีศักยภาพในการขยายตลาดอาเซียน สำหรับสินค้าเกษตร เช่น ข้าว มันสำปะหลัง และน้ำตาล สินค้าอุตสาหกรรม เช่น รถยนต์ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้ไฟฟ้าและ อิเล็กทรอนิกส์ และอาหารแปรรูป ส่วนภาคบริการ เช่น การท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวเนื่อง (เช่น โรงแรมภัตตาคารและร้านอาหาร)

-จุดอ่อนของไทย คือ ความพร้อมของผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะ SMEs ซึ่งมีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 90 ของธุรกิจไทย ยังมีอุปสรรคหลายประการในการ เข้าสู่ตลาดอาเซียน เช่น ปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ปัญหาด้านภาษา ปัญหาการขาดข้อมูลเชิงลึกในตลาดอาเซียนแต่ละประเทศ รวมทั้งปัญหาการขาดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีด้านการบริหารจัดการที่ทันสมัยเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพ ในการทำธุรกิจ เป็นต้น ทำให้เสียเปรียบประเทศอาเซียนอื่น เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย

8. ประเทศไทยจะได้ประโยชน์และเสียประโยชน์ อย่างไรในการเข้าร่วม AEC
  • ไทยจะได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วม AEC ดังนี้

(1) ขยายการส่งออกและเพิ่มโอกาสทางการค้า เพราะอาเซียนเป็นกลุ่มมิตรประเทศที่ใกล้ชิดที่สุด และปัจจุบันเป็นคู่ค้าและตลาดส่งออกสำคัญที่สุดของไทย และเมื่ออุปสรรคภาษีและมิใช่ภาษีระหว่างอาเซียนถูกยกเลิกไป จะเปิดโอกาสให้ สินค้าเคลื่อนย้ายเสรี ไทยจึงมีโอกาสที่ขยายการส่งออกไปยังอาเซียนได้มากขึ้น

(2) เปิดโอกาสการค้าบริการ สำหรับสาขาที่ไทยมีความเข้มแข็ง เช่น ท่องเที่ยว โรงแรมและร้านอาหาร สุขภาพ ฯลฯ

(3) สร้างเสริมโอกาสการลงทุน เพราะที่ผ่านมา การลงทุนโดยตรงจาก ต่างประเทศ (FDI) มายังอาเซียนไม่ได้ขยายตัวเท่าที่ควร เนื่องจากความน่าสนใจของแหล่งลงทุนอื่นๆ เช่น จีน อินเดีย แต่เมื่อมี AEC จะทำให้มีการเคลื่อนย้ายเงินทุน ได้เสรียิ่งขึ้น อุปสรรคการลงทุนระหว่างอาเซียนจะลดลงและทำให้อาเซียนซึ่งมี ประชากรกว่า 580 ล้านคน เป็นเขตลงทุนที่น่าสนใจทัดเทียมกับจีนและอินเดีย และดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศได้มากขึ้น นอกจากนี้ ไทยยังจะสามารถเข้าไปลงทุน ในอาเซียนในสาขาที่ไทยมีศักยภาพได้มากยิ่งขึ้น

(4) เพิ่มพูนขีดความสามารถของผู้ประกอบการในประเทศ จากการใช้ ทรัพยากรการผลิตร่วมกัน / เป็นพันธมิตรดำเนินธุรกิจร่วมกับอาเซียนอื่นๆ จะทำให้เกิดความได้เปรียบเชิงแข่งขัน (Comparative Advantage) โดยเลือกใช้จุดแข็งของแต่ละ ประเทศในการผลิต/ส่งออก ทำให้ลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มขีดความสามารถแข่งขัน

(5) เพิ่มอำนาจการต่อรองของไทยในเวทีการค้าโลก เพราะการรวมกลุ่มที่ เข้มแข็งและชัดเจนของอาเซียนจะสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาคมโลกและเพิ่มอำนาจในการเจรจาต่อรองกับกลุ่มการค้าอื่นๆ เช่น สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น ฯลฯ ส่งผลให้อาเซียน สามารถมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในเวทีระหว่างประเทศ เช่น WTO, IMF, World Bank และในเวทีระดับภูมิภาค เช่น APEC, ASEM และไทยจะสามารถผลักดันประเด็นที่จะ เป็นประโยชน์กับไทยเข้าไปในการเจรจาได้

(6) ยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศ เนื่องจากการเข้าร่วม AEC จะช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของสมาชิกอาเซียนจะทำให้เกิดการจ้างงาน และยกระดับ ชีวิตความเป็นอยู่ของพลเมือง

(7) ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงสินค้าและบริการราคาถูกลงและหลากหลาย มากขึ้น และมีการคุ้มครองผู้บริโภคที่กว้างขวางมากขึ้น

-ไทยอาจได้รับผลกระทบจากการเข้าร่วม AEC ดังนี้

(1) ในการก้าวไปสู่การเป็น AEC นั้นประเทศสมาชิกอาเซียนทุกประเทศรวมถึงประเทศไทยมีพันธกรณีที่จะต้องลดและยกเลิกมาตรการหรือกฎระเบียบต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้าสู่ตลาดของสินค้า บริการ และการลงทุน ซึ่งการดำเนินการ ดังกล่าว อาจมีผลกระทบแก่ประเทศบ้าง เช่น การสูญเสียรายได้จากการเก็บภาษีนำเข้าหรือค่าธรรมเนียมอื่นๆ ตลอดจนสร้างความกังวลให้แก่ผู้ประกอบการของประเทศ

(2) อย่างไรก็ดี ผลกระทบดังกล่าวจะไม่มากไปกว่าผลประโยชน์อื่นๆ ที่จะ เกิดขึ้นจาก AEC อาทิ ต้นทุนการผลิตจะต่ำลงจากการที่ภาษีนำเข้าสินค้าทุนลดต่ำลง การเกิดโอกาสที่จะสร้างพันธมิตรทางเศรษฐกิจมีความสามารถในการดึงดูดการ ลงทุนจากต่างชาติได้มากขึ้น มีความได้เปรียบประเทศคู่ค้าอื่นๆ เมื่อส่งสินค้าเข้าไป ขายในตลาดของประเทศสมาชิกอาเซียน เป็นต้น

9. ประเทศไทยบูรณาการการดำเนินการไปสู่ AEC อย่างไร

-ประเทศไทยบูรณาการการดำเนินการไปสู่การเป็น AEC โดยการจัดตั้งหน่วย ประสานงาน AEC ระดับชาติ (AEC National Coordinating Agency)

-ตั้งแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2554 กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้รับ มอบหมายจากคณะรัฐมนตรี ให้ทำหน้าที่เป็น AEC National Coordinating Agency ของไทย เพื่อเป็นหน่วยงานหลักในการประสานงานและติดตามการดำเนินงานของไทย เพื่อไปสู่การเป็น AEC โดยการเชื่อมโยงกลจักรสำคัญ ได้แก่ ภาครัฐและภาคเอกชนให้ มุ่งหน้าไปในทิศทางเดียวกัน รวมทั้งติดตามการดำเนินงานตามแผนงานไปสู่การเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint) ของหน่วยงานในประเทศและสื่อสารกับ ทุกภาคส่วนในประเทศเพื่อเตรียมตัวสู่การเป็น AEC ปัจจุบันกรมเจรจาการค้าระหว่าง ประเทศได้ตั้งสำนักงานยุทธศาสตร์และการบรูณาการสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(สยป.) เพื่อทำหน้าที่ดังกล่าว โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการจัดทำยุทธศาสตร์เศรษฐกิจการค้า ระหว่างประเทศของไทย ปี 2555-2563 (ยุทธศาสตร์ 8 ปี) เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี พิจารณาให้ความเห็นชอบใช้เป็นแผน/กลยุทธ์การดำเนินงานระยะสั้น ระยะกลาง และ ระยะยาวสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

10. อะไรคือตัวชี้วัดความสำเร็จของการไปสู่ AEC ของอาเซียน

อาเซียนได้จัดทำเครื่องมือในการวัดผลความสำเร็จจากการประชุมและการปฏิบัติตามข้อผูกพันใน AEC เรียกว่า AEC Scorecard ซึ่งจะมีการวัดผลของอาเซียนใน ภาพรวม และเป็นรายประเทศ โดยประเมินจากร้อยละของจำนวนมาตรการที่ประเทศ อาเซียนทำได้จากจำนวนมาตรการที่ต้องดำเนินการในแต่ละช่วงเวลา ช่วงละ 2 ปี ปัจจุบันอาเซียนมี AEC Scorecard 2 ชุด ได้แก่ ชุดสำหรับช่วงการวัดผลปี 2551-2552 และชุดสำหรับช่วงการวัดผลปี 2553-2554

11. ระบอบการปกครองประเทศที่ต่างกันของประเทศสมาชิกจะเป็นอุปสรรค ในการรวมกลุ่มเป็น AEC หรือไม่

ความแตกต่างของระบอบการปกครองของประเทศสมาชิก ไม่ถือเป็น อุปสรรคต่อการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจเป็น AEC แต่อาจมีผลกระทบต่อกระบวนการดำเนินงานของแต่ละประเทศสมาชิกในการปฏิบัติตามข้อผูกพัน/พันธกรณีใน Blueprint ส่งผลให้ต้องใช้เวลาในการดำเนินงานที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม อาเซียนได้ให้ความ ยืดหยุ่น (Flexibility) แก่ประเทศสมาชิกในการดำเนินงาน โดยคำนึงถึงความแตกต่าง ของระดับการพัฒนาประเทศ

12.ภายใต้ AEC ประเทศสมาชิกอาเซียนจะไม่เปิดเสรีได้หรือไม่

อาเซียนต้องเปิดเสรีในเรื่องต่างๆ ตามที่ผู้นำได้ให้พันธสัญญา อย่างไรก็ตาม จากระดับการพัฒนาของอาเซียนที่มีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก สมาชิกจึงตกลงให้มีความยืดหยุ่นในระดับที่เหมาะสม โดยความยืดหยุ่นดังกล่าวจะครอบคลุมทั้งด้าน สินค้า บริการ และการลงทุน โดยในด้านสินค้า สมาชิกได้กำหนดให้มีสินค้าอ่อนไหว (sensit ive pr od ucts ) ที่สมาชิกไม่จำเป็นต้องลดภาษีให้เหลือร้อยละ 0 แต่ต้อง ไม่เกินร้อยละ 5 ซึ่งประเทศไทยมีสินค้าอ่อนไหว 4 รายการ ได้แก่ มันฝรั่ง ไม้ตัดดอก กาแฟ และเนื้อมะพร้าวแห้ง นอกจากนี้ สมาชิกยังตกลงให้สินค้าบางรายการให้เป็นสินค้าอ่อนไหวสูง (highly sensitive products) เช่น ข้าว (สำหรับมาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์) และน้ำตาลทราย (สำหรับอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์) แต่ต้องมี การเจรจาชดเชยการไม่ลดภาษีกับประเทศสมาชิกที่มีส่วนได้เสียและตกลงอัตราภาษีสุดท้ายสำหรับสินค้านั้น สำหรับการเปิดเสรีด้านบริการ สมาชิกได้ให้ความยืดหยุ่น ในการคงข้อจำกัดเกี่ยวกับการเปิดตลาดบริการไว้ได้บางส่วน แต่ต้องไม่เกินสัดส่วนที่สมาชิกตกลงกัน ในขณะที่การลงทุน สมาชิกสามารถระบุสาขาหรือกิจกรรมที่ ไม่ประสงค์จะให้สิทธิแก่สมาชิกไว้ในตารางสงวน แต่จะต้องนำตารางข้อสงวนนี้ ขึ้นมาทบทวนเป็นระยะ

13. สินค้าและบริการประเภทใดของไทยที่มีโอกาสจะได้ประโยชน์จากการเปิดเสรี ทางการค้าภายใต้ AEC

-สินค้าอุตสาหกรรม เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผู้ประกอบการ ไทยทุกอาชีพ จะได้ประโยชน์จากตลาดที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ตัวอย่างสินค้าและบริการ ที่ไทยมีศักยภาพ เช่น สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

-สินค้าเกษตร เช่น ข้าว ยางพารา ผักและผลไม้สด รวมไปถึงสินค้าเกษตร แปรรูป เช่น อาหารสำเร็จรูป

-ธุรกิจบริการ เช่น บริการด้านสถาปัตยกรรม การออกแบบ การเขียน ซอฟท์แวร์ บริการด้านท่องเที่ยว และบริการที่เกี่ยวเนื่อง (เช่น โรงแรม ร้านอาหาร ภัตตาคาร) และบริการด้านสุขภาพ (สปา นวดแผนโบราณ)

14. เมื่ออาเซียนเป็น AEC ในปี 2558 แล้ว มีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหา วิกฤตการณ์การเงินและการคลังซ้ำรอยสหภาพยุโรปหรือไม่

-วิกฤตทางเศรษฐกิจที่หลายประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปเป็นปัญหา ที่เกิดจากหนี้สาธารณะอย่างมหาศาล จนส่งผลกระทบรุนแรงต่อระบบการเงินของ ประเทศและประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปอื่นๆ ที่ใช้สกุลเงินร่วมกันคือเงินยูโร

-ในอาเซียนยังไม่พบปัญหาด้านหนี้สาธารณะอย่างมหาศาลเช่นเดียวกับ ประเทศสมาชิกในสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นต้นเหตุของวิกฤตในยุโรปปัจจุบัน และหาก มีปัญหาก็ไม่น่าจะเกิดการแพร่กระจายอย่างรุนแรงเช่นในสหภาพยุโรปเนื่องจาก อาเซียนยังไม่ได้ใช้เงินสกุลเดียวกัน ปัญหาในลักษณะเดียวกัน จึงมีโอกาสไม่มากนัก ที่จะเกิดขึ้นภายในอาเซียน

15. AEC มีข้อผูกพันที่ทำให้ไทยต้องให้ความช่วยเหลือประเทศสมาชิกอื่นๆ ของอาเซียน ในกรณีที่ประเทศเหล่านั้นประสบปัญหาทางเศรษฐกิจขึ้นหรือไม่ (เทียบกับกรณีที่เยอรมันต้องใช้งบประมาณของประเทศไปช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ของกรีซด้วย)

AEC ไม่มีข้อตกลงที่ผูกพันหรือสร้างพันธกรณีให้ประเทศสมาชิกอาเซียน ต้องช่วยรับภาระปัญหาทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ อย่างไรก็ตาม ภายใต้กรอบอาเซียน+3 (จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น) มีความร่วมมือทางการเงิน ที่เรียกว่า "ความคิดริเริ่มเชียงใหม่พหุภาคี" (Chiang Mai Initiative Multilateralisation: CMIM) ซึ่งเป็นความตกลงการแลกเปลี่ยนเงินตราแบบพหุภาคีเพื่อให้ความช่วยเหลือประเทศ สมาชิกที่ประสบปัญหาสภาพคล่องทางการเงินระยะสั้น มีวงเงิน 1.2 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยได้เริ่มดำเนินโครงการ CMIM ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2553

16. ภายใต้ AEC สินค้าของประเทศไทยจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอะไรบ้าง จากประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ

ไทยจะได้รับสิทธิประโยชน์ดังนี้

(1) สิทธิประโยชน์ทางภาษี

  • ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 บรูไนดารุสซาลาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ลดภาษีสินค้าปกติให้ไทยเหลือร้อยละ 0
  • กัมพูชา สปป.ลาว พม่า และเวียดนาม จะลดภาษีสินค้าปกติให้ไทยเหลือร้อยละ 0 ในวันที่ 1 มกราคม 2558

(2) สิทธิประโยชน์ที่ไม่ใช่ภาษี

  • บรูไนฯ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ยกเลิกอุปสรรคทางการค้าที่ มิใช่ภาษีให้แก่สินค้าที่นำเข้าจากไทยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553
  • ฟิลิปปินส์ยกเลิกอุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษีให้แก่สินค้าที่นำเข้าจากไทยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555
  • สำหรับกัมพูชา สปป.ลาว พม่า และเวียดนามจะยกเลิกอุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษีให้แก่สินค้าที่นำเข้าจากไทยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558

17. ประชาชนทั่วไปในประเทศไทยที่ไม่ใช่ผู้ประกอบการหรือนักธุรกิจจะได้รับ ผลกระทบจาก AEC อย่างไร

  • ผลกระทบด้านบวก

(1) มีทางเลือกในการบริโภคสินค้าและบริการที่มีความหลากหลายในราคา ที่มีแนวโน้มลดลง เนื่องจากการลด/ยกเลิกอุปสรรคทางการค้าสินค้าและบริการใน AEC ทำให้สินค้าและบริการจากประเทศอาเซียนอื่นสามารถเข้าสู่ตลาดในไทยได้สะดวกขึ้น

(2) มีโอกาสได้บริโภคสินค้าที่มีมาตรฐานและความปลอดภัยมากขึ้น เนื่องจาก A EC มีการกำหนดกลไกระดับภูมิภาคเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการ คุ้มครองผู้บริโภค นอกจากนี้ ยังมีความร่วมมือด้านมาตรฐานและการรับรองคุณภาพ ของสินค้า เพื่อให้แน่ใจว่าสินค้าที่ผลิตในอาเซียนมีมาตรฐานที่ยอมรับร่วมกัน

ในฐานะผู้ประกอบอาชีพ

(1) เพิ่มโอกาสในการเข้าไปทำงานในประเทศ อาเซียนอื่นมากขึ้น เนื่องจากภายใต้ AEC ประเทศสมาชิก อาเซียนจะมีการอำนวยความสะดวกในการตรวจลงตรา และออกใบอนุญาตทำงานสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพและแรงงานฝีมืออาเซียนที่เกี่ยวข้องกับการค้าข้ามพรมแดนและกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการลงทุน

(2) มีโอกาสได้เรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ รวมทั้งเพิ่มพูนศักยภาพ การทำงานกับบุคลากรของประเทศอาเซียนอื่น จากสภาพแวดล้อมใน AEC ที่มีการ เคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือและการลงทุนระหว่างกันได้อย่างคล่องตัวขึ้น

  • ผลกระทบด้านลบ

ในฐานะผู้บริโภค

(1) หากหน่วยงานภาครัฐไม่มีกลไกในการควบคุมและตรวจสอบสินค้านำเข้าที่ดี มีความเป็นไปได้ที่สินค้าและบริการจากประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น ที่อาจยังไม่ได้ มาตรฐานของไทยก็มีโอกาสเข้าสู่ตลาดของไทยได้ด้วย ประชาชนในฐานะผู้บริโภค จึงจำเป็นต้องเพิ่มความระมัดระวังในการเลือกซื้อสินค้าและบริการ และแจ้งให้ภาครัฐ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคทราบทันทีเมื่อประสบปัญหา

ในฐานะผู้ประกอบอาชีพ

(1) มีความเป็นไปได้ที่จะถูกแย่งงานโดยแรงงานของประเทศอาเซียนอื่นที่มี ความได้เปรียบในการแข่งขันสูงกว่า เช่น ด้านภาษาอังกฤษ และทักษะในการประกอบ วิชาชีพด้านต่างๆ

18.ประเทศไทยได้เริ่มเตรียม "สร้างคน" เช่น นักเรียน นักศึกษา ผู้ประกอบการ ให้พร้อมรับมือ AEC แล้ว หรือยัง

ปัจจุบัน หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนไทยเริ่มมีการตื่นตัวและเห็นถึงความสำคัญของการเป็น AEC โดยมีการเตรียม "สร้างคน" เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับ AEC ดังนี้

การศึกษาขั้นพื้นฐาน

ในการเตรียมความพร้อมของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ได้เตรียมความพร้อมของเยาวชนไทยในการปฏิบัติอาชีพที่ส่งเสริมศักยภาพความเข้มแข็งให้กับท้องถิ่นและประเทศไทย เพื่อเป็นพลเมืองที่เข้มแข็งของอาเซียนและ พลเมืองโลก ด้วยการดำเนินโครงการมัธยมศึกษาเชิงปฏิบัติการโดยการปรับเพิ่ม ลักษณะการเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษาจากที่เน้นวิชาการภาคทฤษฎีในสายสามัญไปสู่การเรียนแบบผสมผสานอย่างเหมาะสมทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติในลักษณะมัธยมศึกษาเชิงปฏิบัติการ โครงการนำร่องสู่ประชาคมอาเซียน (โครงการ Spirit of ASEAN) โรงเรียน ASEAN Focus โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาเซียน และสร้างความตระหนักในการเป็นพลเมืองอาเซียน การกำหนดนโยบาย เพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ภาษาเพื่อนบ้าน และภาษาอื่นๆ เช่น ภาษาจีน เป็นต้น การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษา ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้กำหนดคุณลักษณะเด็กไทยสู่อาเซียน เช่น ตระหนักในความเป็นอาเซียน ยอมรับความแตกต่างการนับถือศาสนา ภูมิใจในความเป็นไทยและอาเซียน ทักษะการเรียนรู้และการพัฒนาตน (ยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรม มีภาวะผู้นำแก้ไขปัญหาสังคม) เป็นต้น

การอาชีวศึกษา

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาได้ดำเนินการในการเตรียมการสร้างความพร้อมในการที่ประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยในปีงบประมาณ 2555 มีแผนการดำเนินงาน ดังนี้

1. เผยแพร่องค์ความรู้เพื่อเตรียมความพร้อมของกำลังคนอาชีวศึกษา เช่น จัดกิจกรรมและสร้างบรรยากาศของความเป็นประชาคมอาเซียนในสถานศึกษา สร้างความรู้ ความเข้าใจให้แก่ ผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา และข้าราชการ การจัดกิจกรรมในสถานศึกษา การจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นต้น

2. พัฒนาสมรรถนะกำลังคนให้มีมาตรฐานเทียบเท่าอาเซียน เช่น การพัฒนา หลักสูตร การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ การพัฒนาศักยภาพของสถานศึกษา การยกระดับความสามารถของครู การพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน เป็นต้น

3. ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรม วิชาชีพของอาเซียน เช่น การเป็นศูนย์กลางความร่วมมือในการจัดอาชีวศึกษาและ ฝึกอบรมในอาเซียน เป็นต้น

4. บริหารจัดการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ และพัฒนาฐานข้อมูลกำลังคน ด้านอาชีวศึกษาในอาเซียน เช่น การแลกเปลี่ยนผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา นักเรียนและนักศึกษา เป็นต้น การส่งเสริมการสร้างกลไกการมีส่วนร่วมในการ บริหารจัดการ เป็นต้น

5. กำหนดคุณลักษณะนักศึกษาที่จบอาชีวศึกษา เช่น สามารถสื่อสารภาษา อังกฤษในระดับดี สามารถใช้ IT ในการสื่อสารและค้นคว้าข้อมูล ผ่านการทดสอบ มาตรฐานฝีมือแรงงาน ผ่านกระบวนการฝึกประสบการณ์เป็นผู้ประกอบการ เป็นต้น

การอุดมศึกษา

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบ นโยบายด้านการศึกษาระดับอุดมศึกษาได้ดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมเพื่อขับเคลื่อน ความร่วมมือด้านการอุดมศึกษาในกรอบอาเซียนทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคีเพื่อให้ส่งเสริมการบูรณาการของอาเซียน ดังนี้

1. โครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่างมาเลเซีย-อินโดนีเซีย-ไทย (โครงการนำร่อง) เป็นการดำเนินงานร่วมกับศูนย์ภูมิภาคของซีมีโอด้านการศึกษา และการพัฒนา (SEAMEO RIHED) และสถาบันอุดมศึกษา

2. การประชุมอย่างไม่เป็นทางการ (Retreat) ระหว่างผู้บริหารระดับสูงของ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและหน่วยงานที่รับผิดชอบการอุดมศึกษาของ ประเทศสมาชิกอาเซียน

3. การจัดทำยุทธศาสตร์อุดมศึกษาไทยในการเตรียมความพร้อมสู่การเป็น ประชาคมอาเซียนในปี 2558

4. การดำเนินงานของศูนย์ภูมิภาคแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่าด้วยการ อุดมศึกษาและการพัฒนา (Southeast Asian Ministers of Education OrganizationRegional Centre for Higher Education and Development: SEAMEO RIHED)

การดำเนินการของเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (AUN)

ปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยของประเทศอาเซียนเป็นสมาชิกจำนวน 26 แห่ง โดยมีเป็นมหาวิทยาลัยของไทย 4 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย บูรพา มหาวิทยาลัยมหิดล และ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

รูปแบบการดำเนินกิจกรรม ได้แก่

  • การแลกเปลี่ยนทางวิชาการ
  • การอบรมและพัฒนาขีดความสามารถ
  • ความร่วมมือด้านงานวิจัย
  • การพัฒนาระบบและกลไกของการอุดมศึกษา (ระบบประกันคุณภาพการศึกษา ระบบการถ่ายโอนหน่วยกิต เป็นต้น)
  • การพัฒนาหลักสูตรและโครงการ (หลักสูตรอาเซียนศึกษา หลักสูตรสิทธิมนุษยชนศึกษา เป็นต้น)
  • การประชุมและเสวนาด้านนโยบาย
  • ศูนย์กลางข้อมูลและความรู้
  • เครือข่ายเฉพาะทาง ฯลฯ

-การศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ได้ดำเนินการในการเตรียมการสร้างความพร้อมในการที่ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่ ประชาคมอาเซียน ดังนี้

1. สร้างความตระหนักให้กับผู้บริหาร ครู นักศึกษา และประชาชนเกี่ยวกับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน

2. การส่งเสริมความรู้ด้านภาษา วัฒนธรรม และทักษะที่จำเป็น

3. จัดบูรณาการความรู้เรื่องอาเซียนในวิชาที่เกี่ยวข้องในหลักสูตรทุกระดับของ กศน.

4. ส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศต่างๆ ในอาเซียน อาทิ ส่งวิทยากรให้

          -การอบรมด้านครูเดินสอน การส่งเสริมการรู้หนังสือแก่ สปป.ลาว    จัดการศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการดำเนินงานศูนย์    การเรียนชุมชนกับประเทศอินโดนีเซีย เป็นต้น*กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศในฐานะ  AEC  National  Coordina ting Agency ของไทย ซึ่งทำหน้าที่ประสานงานและติดตามการดำเนินงานของไทยเพื่อ ไปสู่การเป็น  AEC ได้มีการเตรียมความพร้อมของไทยโดยการจัดกิจกรรมเพื่อสร้าง ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ  A EC ในวงกว้าง ครอบคลุมถึงการสร้างพันธมิตร ในการเผยแพร่ข้อมูล  A EC กับสถาบันการศึกษา และการเผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ ที่เข้าถึงได้ในวงกว้าง เช่น สื่อวิดีทัศน์ วารสาร แผ่นพับ การ์ตูน ฯลฯ โดยเน้นการใช้ เนื้อหา รูปแบบ และภาษาที่เข้าใจง่าย

-สถาบันที่เกี่ยวข้องกับการอบรม หรือพัฒนาศักยภาพบุคลากรระดับสูง เช่น สถาบันพระปกเกล้า วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร มีการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับอาเซียนและ AEC อย่างต่อเนื่อง

-นอกจากนี้ สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาบางแห่ง เช่น มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ก็อยู่ระหว่างยกร่างหลักสูตรเฉพาะเกี่ยวกับอาเซียนเพื่อสร้างความรู้ ให้กับเยาวชนอย่างต่อเนื่อง และเป็นระบบเพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ตลาด แรงงานในอนาคตด้วย

19. อาเซียนจะมีแนวทางการรวมกลุ่มหลังการเป็น AEC ในปี 2558 ไปในทิศทางใด

อาเซียนอยู่ระหว่างพิจารณาอนาคตของความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ ภายหลังจากการรวมกลุ่มเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ( AE C) ในปี 2558 โดยอาเซียนได้มอบหมายให้ Asian Development Bank Institute (ADBI) ศึกษาเรื่อง ASEAN 2030 ซึ่งจะเป็นแนวทางในการวางรากฐานและอนาคตของอาเซียน โดยมี เป้าหมายให้อาเซียนยังคงเป็นศูนย์กลาง (ASEAN Centrality) และเป็นผู้นำในภูมิภาคนี้ ต่อไป ซึ่งจะได้ผลสรุปการศึกษาภายในปี 2555 นี้

การค้าสินค้า

20. พันธกรณีที่ไทยจะต้องดำเนินการภายใต้การเปิดเสรีการค้าสินค้าคืออะไร

-ยกเลิกภาษีสินค้าทุกรายการสำหรับสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ ภายในปี 2553 ยกเว้นสินค้าอ่อนไหว (Sensitive List: SL) ซึ่งไทยมี 4 ประเภทสินค้า ได้แก่ กาแฟ มันฝรั่ง มะพร้าว และไม้ตัดดอก ซึ่งสามารถคงภาษีไว้ได้ไม่เกินร้อยละ 5

-ยกเลิกมาตรการที่ไม่ใช่ภาษี (NTBs) ที่ไม่สอดคล้องกับพันธกรณี ซึ่งในส่วน ของไทย ได้แก่ สินค้าเกษตร 23 รายการ ที่จะต้องยกเลิกโควตา (TRQs ) ทั้งหมด ให้กับประเทศสมาชิกอาเซียน

-ยอมรับกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าที่มีความง่ายมาใช้ในอาเซียน ซึ่งประเด็นปัญหาขณะนี้ คือ อาเซียนยอมใช้ กฎ ROO ที่ง่ายกว่ากับประเทศคู่เจรจา แต่กลับใช้ ROO ที่ยากกว่าในอาเซียน เท่ากับให้สิทธิประเทศอื่นมากกว่าสมาชิก อาเซียนด้วยกัน ควรต้องปรับให้สอดคล้องกัน

-เร่งจัดตั้ง National Single Window เพื่อเชื่อมต่อกับประเทศอาเซียนอื่น เป็นระบบ ASEAN Single Window (ASW ) ต่อไป โดย ASW เป็นการอำนวย ความสะดวกด้านศุลกากรเพื่อให้เอกสารทุกอย่างอยู่ในรูปอิเล็กทรอนิกส์ และมีการเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้มีการยื่นเอกสาร เพียงครั้งเดียว และสามารถตัดสินใจในการตรวจปล่อยได้ในคราวเดียว

21.ในการเจรจาเปิดเสรีด้านการค้า ประเทศไทยใช้หลักเกณฑ์อะไรในการ กำหนดว่ารายการสินค้าใดจะถูกจัดประเภทเป็นสินค้าปกติ สินค้าอ่อนไหว หรือสินค้าอ่อนไหวสูง
  • หลักการทั่วไปที่ใช้ในการจัดประเภทสินค้า มีดังนี้
  • สินค้าปกติ เป็นสินค้าที่ผู้ประกอบการในประเทศมีความสามารถในการ แข่งขันในการผลิตและส่งออกในตลาดระหว่างประเทศ และไม่จำเป็นต้องใช้เวลาในการปรับตัวมากนัก
  • สินค้าอ่อนไหว เป็นสินค้าที่ผู้ประกอบการในประเทศยังมีขีดความสามารถ ในการแข่งขันไม่สูงมากนัก และยังต้องใช้เวลาที่จะปรับตัวเพื่อให้สามารถแข่งขันได้
  • สินค้าอ่อนไหวสูง เป็นสินค้าที่ผู้ประกอบการในประเทศยังไม่สามารถ แข่งขันได้ในตลาดระหว่างประเทศ และต้องการความช่วยเหลือจากภาครัฐในการปรับตัว
22.เมื่อลดภาษีสินค้าหมดแล้ว ผู้ประกอบการของไทยจะสามารถส่งสินค้าออก ไปยังประเทศสมาชิกอาเซียนได้สะดวกขึ้นจริงหรือ

การเปิดเสรีภายใต้กรอบอาเซียนจะช่วยให้ไทยสามารถส่งออกไปยังประเทศ สมาชิกอาเซียนอื่นได้ โดย

  • มีภาระภาษีนำเข้าลดลง (ในกรณีที่สินค้ารายการนั้นเป็นสินค้าอ่อนไหวที่ ภาษีไม่เป็นศูนย์)
  • ด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้า อาเซียนได้ปรับประสานมาตรฐานสินค้าให้สอดคล้องกัน และการจัดทำความตกลงการยอมรับร่วม (MRA) ในผลการ ตรวจสอบและรับรอง เพื่อลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบซ้ำเมื่อมีการส่งออกไปยังประเทศอาเซียนอื่น ปัจจุบันได้กำหนดไว้สำหรับสินค้า 8 กลุ่ม คือ เครื่องสำอาง ยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือและอุปกรณ์ การแพทย์ อาหาร ยา ยาง และยาแผนโบราณ ซึ่งจะทำให้สินค้าที่ผ่านมาตรฐานของไทยสามารถส่งออกไปยังประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นได้ง่ายขึ้น
  • การดำเนินโครงการนำร่องเพื่อจัดตั้ง A S EAN Si ng le Wi ndo w ซึ่งจะ เชื่อมโยงระบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก-นำเข้า โดยมีกรมศุลกากรเป็นหน่วยงานหลัก ซึ่งอยู่ระหว่างการ ดำเนินการ และจะเชื่อมโยงกับระบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศสมาชิก อาเซียนอื่น ทำให้ผู้ทำการค้าสามารถยื่นเอกสารและดำเนินกระบวนการทางการค้า ณ จุดเดียว
  • การจัดตั้ง ASEAN Trade Repository ซึ่งเป็นคลังข้อมูลมาตรการการค้า ของประเทศสมาชิกอาเซียน เช่นกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ มาตรการด้านภาษีและที่มิใช่ภาษี กฎถิ่นกำเนิดสินค้า ฯลฯ โดยจะเผยแพร่คลังข้อมูลดังกล่าวผ่านทางเว็บไซด์ของสำนักเลขาธิการอาเซียน เพื่ออำนวยความสะดวกทาง การค้าระหว่างประเทศ

ดังนั้น ผลจากการดำเนินงานดังกล่าวของอาเซียนจะช่วยให้ผู้ประกอบการไทยสามารถส่งออกไปยังประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นได้ง่ายขึ้น ในขณะที่ผู้ประกอบการของ ประเทศอาเซียนอื่นสามารถส่งเข้ามายังไทยได้ง่ายขึ้นเช่นเดียวกัน

23. ทำไมต้องใช้ Certificate of Origin

Certificate of Origin เป็นหนังสือรับรองถิ่นกำเนิด/สัญชาติของสินค้าว่ามีการ ผลิตที่แท้จริงในประเทศใด เพื่อใช้รับรองการขอใช้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรในการ นำเข้าสินค้าภายใต้ข้อตกลงเขตการค้าเสรีต่างๆ รวมถึงอาเซียน ตามหลักเกณฑ์และ เงื่อนไขของแต่ละความตกลง โดยหน่วยงานภาครัฐของไทยที่มีอำนาจในการออก ใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า คือ กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ส่วนหน่วยงาน ภาครัฐของไทยที่ทำหน้าที่ตรวจสอบใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าเพื่อพิจารณาการให้ สิทธิพิเศษ/การลดภาษีศุลกากรนำเข้าคือ กรมศุลกากร กระทรวงการคลัง

อย่างไรก็ดี ปัจจุบันอาเซียนได้ริเริ่มใช้ ระบบการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเอง (Self-Certification) คือ การอนุญาตให้ผู้ทำการค้า/ผู้ส่งออกที่ได้รับความไว้วางใจ (Tru sted trader / expo rt er) รับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองใน ใบกำกับราคาสินค้า ( In voice ) ซึ่งถือเป็นหนึ่งใน มาตรการด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้า เพื่อส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวทางการค้าในภูมิภาค

24. ถ้าสินค้าไทยไม่สามารถผลิตได้ตาม Rules of Origin (ทั้งในกรอบอาเซียน และอาเซียน-คู่เจรจา) จะเกิดผลอย่างไร

สินค้าที่ไม่สามารถผลิตได้ตามกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า (Rules of Origin) หมายถึง สินค้าที่ไม่ได้มีการผลิต/มีการสร้างมูลค่าเพิ่ม (value added) /มีการแปรสภาพจากวัตถุดิบนำเข้าไปเป็นสินค้าส่งออกอย่างเพียงพอ (Substantial transformation) ในประเทศผู้ส่งออก จะส่งผลให้ผู้นำเข้าสินค้านั้นไม่สามารถได้รับสิทธิพิเศษทางภาษี ศุลกากรจากกรมศุลกากรของประเทศผู้นำเข้า

25. Self Certification คืออะไร/จะนำมาใช้เมื่อใด/มีประโยชน์และข้อจำกัดอย่างไร/มีกลไกการตรวจสอบความถูกต้องหรือไม่/อย่างไร

ระบบ Self- Certification คือ ระบบที่ผู้ทำการค้า/ผู้ส่งออกที่ได้รับอนุญาต (Certi fied Traders /E xporters) สามารถรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองบนบัญชี ราคาสินค้า (Invoice) ตามรูปแบบที่กำหนด โดยไม่ต้องให้หน่วยงานภาครัฐที่มีอำนาจ รับรองตามระบบเดิม เพื่อขอรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีศุลกากรภายใต้เขตการค้า เสรีต่างๆ รวมทั้งอาเซียน โดยต้องเป็นสินค้าที่มีการผลิตเป็นไปตามกฎถิ่นกำเนิด สินค้าภายใต้ความตกลงฯ ขณะเดียวกันผู้ส่งออกที่จะขอรับอนุญาตต้องเป็นผู้มี ความรู้และเข้าใจกฎถิ่นกำเนิดสินค้า ต้องยินยอมให้หน่วยงานที่มีอำนาจเข้าถึงข้อมูลเพื่อติดตามการใช้สิทธิและตรวจสอบความถูกต้องในการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า ต้องเก็บข้อมูลไว้อย่างน้อย 3ปี และต้องรับผิดชอบต่อการทำบัญชีราคาสินค้าที่ใช้ รับรองถิ่นกำเนิดสินค้า

ทั้งนี้ หากหน่วยงานผู้มีอำนาจตรวจสอบพบว่าผู้ส่งออกที่ได้รับอนุญาต ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดก็สามารถพิจารณาเพิกถอนสิทธิการเป็นผู้ส่งออกได้รับ อนุญาตได้ การใช้ระบบ Self-Certification จะส่งผลให้การส่งออกสินค้าที่ต้องการใช้ สิทธิประโยชน์ทางภาษีศุลกากรภายใต้ FTA ต่างๆ สามารถดำเนินการได้รวดเร็วขึ้น ผลิตเสร็จเมื่อใดก็สามารถออก Invoice เพื่อการส่งออกได้เลยโดยไม่ต้องรอเวลาเพื่อไปขอรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าจากภาครัฐ เป็นการลดค่าใช้จ่ายต่างๆที่เกิดขึ้นในขั้นตอน การขอใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า ในส่วนของภาครัฐ ก็จะสามารถลดภาระด้าน งบประมาณและบุคลากรในการออกใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าและการจัดเก็บข้อมูลไว้ตามเงื่อนไขที่กำหนด 26. ทำไมอาเซียนถึงพยายามผลักดันการสะสมถิ่นกำเนิดสินค้า (ROO accumulation) ในขณะที่ถิ่นกำเนิดสินค้าภายใต้ FTA ที่ทำกับประเทศต่างๆ เช่น อาเซียน-จีน อาเซียน-อินเดีย ไม่สามารถสะสมได้ ผู้ผลิตภายในประเทศสมาชิก อาเซียนจะได้ประโยชน์อะไรจากกฎดังกล่าว

วัตถุประสงค์หลักของการผลักดันให้มีการสะสมถิ่นกำเนิดสินค้าในอาเซียน คือ เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้วัตถุดิบ/ทรัพยากรในภูมิภาคร่วมกัน และสร้างห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาค (Regional Supply Chain) เนื่องจากต้นทุนการผลิตสินค้า ทั้งวัตถุดิบ ค่าแรง และสินค้าทุน ที่เกิดขึ้นในประเทศสมาชิกอาเซียนทุกประเทศสามารถนำมารวมในการ คำนวณถิ่นกำเนิดสินค้าอาเซียนซึ่งมีเกณฑ์ทั่วไป คือ เกณฑ์สัดส่วนมูลค่าการผลิตใน ภูมิภาค (Regional Value Content: RVC) อย่างน้อยร้อยละ 40 ของราคาสินค้าที่ส่งมอบ ณ ท่าเรือ (Free on Board : F.O.B.) ดังนั้น การสะสมถิ่นกำเนิดสินค้าจึงเป็นปัจจัย สำคัญที่ช่วยให้มีการสร้างมูลค่าเพิ่มในการผลิตในภูมิภาค ขณะเดียวกัน ยังช่วยให้มีการ ซื้อขายสินค้าระหว่างกันในภูมิภาคมากขึ้น ซึ่งจะสนับสนุนการเป็นตลาดและฐานการผลิต เดียวกัน ตามเป้าหมายของการเป็น AEC

นอกจากนี้ ปัจจุบัน แม้ว่าภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรีต่างๆ ที่อาเซียนทำกับคู่เจรจายังไม่เปิดให้มีการสะสมถิ่นกำเนิดสินค้าข้ามความตกลงฯ ได้ แต่ขณะนี้ อาเซียนอยู่ระหว่างพิจารณาจัดทำเขตการค้าเสรีร่วมกับคู่เจรจาในลักษณะอาเซียน +3 (จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น) หรือ +6 (จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย) เพิ่มเติมจากที่อาเซียนทำกับคู่เจรจาในแต่ละประเทศ ซึ่งหากดำเนินการสำเร็จก็จะทำให้สามารถสะสมถิ่นกำเนิดสินค้าจากอาเซียนและคู่เจรจาต่างๆ ได้โดยไม่มี ข้อจำกัดเรื่องการสะสมถิ่นกำเนิดสินค้าในแต่ละความตกลง โดยการจัดทำเขตการค้า เสรีอาเซียน +3 หรือ +6 นี้ จะเป็นการเปิดโอกาสให้มีการเลือกใช้วัตถุดิบในการผลิตได้กว้างกว่าจากเดิมที่เลือกใช้ได้แต่เพียงประเทศสมาชิกอาเซียนหรือประเทศคู่เจรจา ประเทศใดประเทศหนึ่งในราคาที่แข่งขันกันมากขึ้น ซึ่งผู้ประกอบการไทยจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมในการแข่งขัน และวางแผนหาทางใช้สิทธิประโยชน์จากแหล่ง วัตถุดิบอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

27. มาตรการรองรับการนำเข้าสินค้าเกษตรของไทยภายใต้ความตกลงการค้า สินค้าอาเซียน (ATIGA) มีความสอดคล้องหรือขัดแย้งกับกฏเกณฑ์ของ WTO หรือไม่ อย่างไร และจะสามารถดำเนินมาตรการเหล่านี้ได้ตลอดไปหรือไม่

ในหลักการ มาตรการรองรับการนำเข้าสินค้าเกษตรของไทยภายใต้ความตกลง การค้าสินค้าอาเซียน (ATI GA) มีความสอดคล้องกับกฏเกณฑ์ของ WTO ยกเว้น บางมาตรการ เช่น

-มาตรการกำหนดให้ผู้นำเข้าและการขึ้นทะเบียนผู้นำเข้าต่อปี ซึ่งหากในทาง ปฏิบัติมีผลเป็นการจำกัดการนำเข้าหรือกีดกันการนำเข้า ก็อาจถือว่าขัดกับ ATIGA และ GATT ได้ ซึ่งต้องพิจารณาข้อมูลรายละเอียด เป็นกรณีไป

-มาตรการกำหนดค่าธรรมเนียมพิเศษ หากเก็บภายใต้ WTO สามารถเก็บได้ในอัตราที่กำหนดไว้ หากเก็บสูงกว่าถือว่าขัดพันธกรณีเรื่องการลดภาษีภายใต้ WTO สำหรับ ATIGA ห้ามเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษสำหรับการนำเข้า หากเก็บถือว่าขัด พันธกรณีเรื่องการลดภาษีภายใต้ ATIGA สินค้าที่มีมาตรการนี้ ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กากถั่วเหลือง

28. คำกล่าวที่ว่า "ความสำคัญหรือบทบาทของกรมศุลกากรจะลดลงไปเรื่อยๆ เมื่อมีการลดภาษีศุลกากรเหลืออัตราร้อยละ 0 สำหรับกว่าร้อยละ 90 ของ สินค้าทั้งหมดภายใต้ AEC" จะเป็นจริงในอนาคตมากน้อยเพียงใด

แม้ว่าไทยจะมีการลดภาษีศุลกากรภายใต้ AEC เป็นศูนย์สำหรับสินค้าเกือบ ทั้งหมดไปแล้ว กรมศุลกากรยังคงมีบทบาทสำคัญในการตรวจสอบว่าสินค้าที่เข้ามาโดยใช้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรภายใต้ AEC มีถิ่นกำเนิดสินค้าจากประเทศสมาชิกอาเซียนจริงหรือไม่ (ผ่านเกณฑ์กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า) นอกจากนี้ กรมศุลกากร ยังมีหน้าที่หลักในการตรวจสอบความถูกต้องของราคาสินค้านำเข้าที่สำแดงว่า มีความน่าเชื่อถือเพียงใด ตลอดจนมีหน้าที่ต้องตรวจสอบสินค้าว่าเป็นของต้องห้าม ต้องจำกัดอยู่ภายใต้การควบคุมของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หรือต้องมีการขออนุญาต นำเข้าด้วยหรือไม่

29. การดำเนินการยกเลิก รวมถึงมาตรการห้ามไม่ให้ประเทศสมาชิกอาเซียนใช้ มาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีมีความคืบหน้าเพียงใด

ประเทศสมาชิกอาเซียนมีพันธกรณีที่จะต้องยกเลิกมาตรการกีดกันทางการค้า ที่มิใช่ภาษี หรือ Non Tariff Barriers (NTBs) โดยสมาชิกอาเซียนแต่ละประเทศได้แจ้ง มาตรการมิใช่ภาษีที่พร้อมจะยกเลิกต่อสำนักเลขาธิการอาเซียน ดังนี้ ประเทศสมาชิก อาเซียน 5 ได้แก่ สิงคโปร์ ไทย มาเลเซีย บรูไน และอินโดนีเซีย จะต้องยกเลิก NTBs ภายในปี 2553 และสำหรับฟิลิปปินส์จะต้องยกเลิก NTBs ภายในปี 2555 ในส่วนของ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม จะต้องยกเลิก NTBs ในปี 2558 ซึ่งขณะนี้ประเทศสมาชิกอาเซียนต่างก็ทยอยยกเลิกมาตรการมิใช่ภาษีกันมาตามลำดับ ทั้งนี้ ก็มี ปรากฏว่าสมาชิกอาเซียนยังใช้มาตรการ NTBs กันอยู่บ้าง จึงเป็นประเด็นที่ทุกฝ่าย จะต้องติดตามตรวจสอบการใช้มาตรการมิใช่ภาษีที่จะเป็นอุปสรรคต่อการค้าใน อาเซียนอย่างใกล้ชิด

อย่างไรก็ตาม ด้วยอาเซียนได้ตระหนักถึงความสำคัญของการใช้มาตรการที่ มิใช่ภาษีที่เริ่มมีการนำมาใช้มากขึ้น หลังจากที่ได้ลด/ยกเลิกอุปสรรคด้านภาษี ระหว่างกันไปแล้ว อาเซียนจึงได้ตกลงให้แต่ละประเทศแจ้งมาตรการที่มิใช่ภาษีต่อ ประเทศสมาชิกอื่นล่วงหน้าอย่างน้อย 6 เดือน ก่อนที่กฎระเบียบจะมีผลใช้บังคับ และ ให้มีการกำหนดกลไกที่เข้มแข็งในการจัดการกับมาตรการเหล่านี้ นอกจากนี้ อาเซียน ยังอยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลการใช้ NTBs ในอาเซียน โดยรวบรวมจากการร้องเรียน ของภาคเอกชนตามที่ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งจะนำข้อมูลที่รวบรวมได้มา พิจารณาเหตุผลความจำเป็น และจะพิจารณาจัดทำแผนงานการยกเลิกต่อไป

ไทยคงไม่สามารถดำเนินมาตรการ เหล่านี้ได้ตลอดไป ปัจจุบันถูกประเทศคู่ค้า ทักท้วงให้แก้ไขและดำเนินมาตรการให้ สอดคล้องกับพันธกรณี อย่างไรก็ตาม ไทย ต้องหาวิธีการดูแลผู้ประกอบการภายใน ประเทศด้วย

30. MRAs คืออะไร

การจัดทำความตกลงยอมรับร่วม (Mutual Recognition Arrangements: MRAs) ของอาเซียนเป็นความตกลงระหว่างรัฐบาลของ 2 ประเทศหรือมากกว่า เพื่อให้มีการ ยอมรับร่วมบางส่วน หรือทั้งหมดของผลการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานสินค้า ของแต่ละฝ่าย สำหรับสินค้าที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของภาครัฐ

ทั้งนี้ ประเทศสมาชิกอาเซียนได้ลงนามกรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วย ความตกลงยอมรับร่วม (The ASEAN Framework Agreement on Mutual Recognition Agreem ent ) ในปี 2541 เพื่อกำหนดกรอบการดำเนินงานสำหรับประเทศสมาชิก อาเซียนในการจัดทำ MRAs ในสาขาต่างๆ ปัจจุบัน อาเซียนได้สรุปผลการจัดทำ MRAs ใน 2 สาขา ได้แก่ สาขาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และสาขาเครื่องสำอาง

31.การจัดทำ MRAs มีประโยชน์อย่างไร

การจัดทำ MRAs ในอาเซียน ในสาขาการตรวจสอบและรับรองมาตรฐาน จะช่วยลดความจำเป็นในการทดสอบสินค้าหลายครั้งก่อนที่จะนำมาวางจำหน่าย หรือใช้งานในประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น ดังนั้น MRAs จึงช่วยลดต้นทุนทางธุรกิจในการจัดทำรายงานผลการทดสอบและเพิ่มความแน่นอนในการเข้าสู่ตลาดของสินค้า ขณะเดียวกัน ผู้บริโภคยังสามารถเชื่อมั่นในคุณภาพของสินค้าในตลาดซึ่งได้ผ่านการทดสอบแล้วตามข้อกำหนดของ MRAs

32. จริงหรือไม่ เมื่อเกิดการหมุนเวียนของสินค้าโดยเสรีในภูมิภาค (free flow of goods) จะทำให้มีสินค้าคุณภาพต่ำ ไม่ได้มาตรฐานเข้ามาในประเทศไทย และจะมี มาตรการสร้างความมั่นใจได้หรือไม่ว่า สินค้าที่เข้ามาวางขายในประเทศไทย เป็นสินค้าที่มีคุณภาพมาตรฐาน

หากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องด้านการตรวจสอบมาตรฐานสินค้า ไม่มี มาตรการและกลไกในการกำกับดูแลและควบคุมมาตรฐานของสินค้านำเข้าที่รัดกุม มีความเป็นไปได้ที่สินค้าคุณภาพต่ำ/ไม่ได้มาตรฐานจะเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้น กระทบต่อสวัสดิภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภคในประเทศ

อย่างไรก็ตาม ภายใต้ AEC อาเซียนได้มีความร่วมมือด้านมาตรฐานและการ รับรองคุณภาพสินค้า เช่น การปรับประสาน มาตรฐานและกฎระเบียบด้านเทคนิคให้ สอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศ สำหรับสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า ยา และผลิตภัณฑ์ยาง และการจัดทำความ ตกลงยอมรับร่วม (MRAs) ในการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานสินค้า ในสาขาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และสาขาเครื่องสำอาง และยังอยู่ระหว่างการจัดทำและมีแผนที่จะขยายให้ครอบคลุมสาขาอื่นๆ เช่น อาหาร และยานยนต์ นอกจากนี้ ในอนาคต อาเซียนยังได้ตั้งเป้าหมายที่จะจัดทำเครื่องหมาย อาเซียน (Marking Scheme) เพื่อบ่งชี้ว่าสินค้าดังกล่าวมีความสอดคล้องกับกฎระเบียบ/ข้อกำหนดทางเทคนิคของอาเซียนตามความตกลงที่เกี่ยวข้อง

จะเห็นได้ว่า อาเซียนได้ตระหนักถึงความสำคัญของการหมุนเวียนของสินค้า ที่มีคุณภาพมาตรฐานอย่างเสรีในภูมิภาค และได้ดำเนินมาตรการต่างๆ คืบหน้าไปมาก เพื่อผลประโยชน์ของประชาชนในอาเซียนในฐานะผู้บริโภคขั้นสุดท้าย

33. การเปิดเสรีสินค้าภายใต้ AEC จะมีผลกระทบต่อสินค้าของไทยอย่างไร

การเปิดเสรีสินค้าภายใต้ AEC จะทำให้สินค้าไทยส่งไปขายในตลาดอาเซียน ได้ในต้นทุนที่ต่ำลงเนื่องจากภาษีศุลกากรขาเข้าที่ลดลง ในขณะเดียวกัน จะทำให้มี สินค้าชนิดเดียวกันกับที่ไทยผลิตเข้ามาแข่งขันกับสินค้าไทยในต้นทุนที่ต่ำลง อาจทำให้ สินค้าไทยที่ไม่สามารถแข่งขันได้ต้องเสียส่วนแบ่งตลาดในประเทศ อย่างไรก็ดี การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบจากประเทศอาเซียนจะมีต้นทุนที่ต่ำลงด้วย เป็นการเพิ่มขีดความสามารถให้กับสินค้าไทยทั้งตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศ

34. จะใช้ AEC เพิ่มพูนประโยชน์แก่การค้าชายแดนได้อย่างไร

การเป็น AEC ช่วยเพิ่มพูนประโยชน์แก่การค้าชายแดน เนื่องจากเป้าหมายหนึ่ง ของการเป็น AEC คือ การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกันในภูมิภาคอาเซียน โดยการลด/ยกเลิกอุปสรรคทางการค้าทั้งภาษี และมิใช่ภาษี และมีการอำนวยความ สะดวกทางการค้าในด้านต่างๆ อาทิ การปรับประสานพิธีการศุลกากรและมาตรการ

ด้านสุขอนามัยให้สอดคล้องกัน การจัดทำความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกการขนส่งสินค้า ผ่านแดนและข้ามแดนของอาเซียน และการจัดตั้ง ASEAN Single Window ฯลฯ ขณะเดียวกัน อาเซียน ยังมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ ให้เชื่อมโยงถึงกัน ปัจจัยดังกล่าวจะช่วยสนับสนุนการค้าชายแดนในภูมิภาคให้ขยายตัวเพิ่มขึ้น โดย ประเทศที่มีการการค้าชายแดนกับไทย ได้แก่ มาเลเซีย พม่า สปป.ลาว และกัมพูชา ในปี 2554 การค้าชายแดนไทย มีมูลค่ารวม 899,783.1 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 78.4 ของการค้าระหว่างประเทศของไทยกับประเทศดังกล่าว ขยายตัวเพิ่มขึ้นจาก ปีก่อนร้อยละ 15.6

35. เมื่ออาเซียนเป็น AEC แล้ว บริการและสินค้าด้าน ICT จะมีราคาต่ำลงหรือไม่

ภายใต้แผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint) สาขา ICT เป็น 1 ใน 12 สาขาเร่งรัดการรวมกลุ่มเศรษฐกิจ ซึ่งอาเซียนได้กำหนดแผนงาน (Roadmap) ในการเปิดเสรีการค้าสินค้า บริการ และการลงทุนในสาขานี้ และเป็นไปตามเป้าหมายภายใต้กรอบความตกลง e-ASEAN ซึ่งได้มีการลงนามตั้งแต่ปี 2543 เพื่อให้อาเซียนเป็นภูมิภาคที่มีความแข็งแกร่งด้าน IC T และลดความแตกต่างทาง ดิจิตอลในประเทศสมาชิกอาเซียนและระหว่างประเทศสมาชิก โดยมาตรการสำคัญ ที่ได้ดำเนินการ คือ การลด/ยกเลิกอุปสรรคทางการค้าและการลงทุนในสาขา ICT ซึ่งจะส่งผลให้สินค้าและบริการด้าน ICT ใน AEC มีราคาต่ำลง และสามารถแข่งขันได้ ในตลาดระหว่างประเทศ

36. AEC จะส่งผลต่อการเข้าถึงยารักษาโรคของคนไทยอย่างไร

AEC จะช่วยให้ประชาชนในประเทศไทยสามารถเข้าถึงยารักษาโรคที่ผลิตขึ้นในอาเซียนที่นำเข้ามาขายในประเทศไทยในราคาที่มีแนวโน้มลดลง เพราะยารักษาโรคที่ ผลิตขึ้นในอาเซียนจะไม่ถูกเรียกเก็บภาษีนำเข้า ซึ่งส่งผลให้ต้นทุนในการนำเข้าลดลงด้วย เนื่องจากยารักษาโรคเป็นหนึ่งในสินค้าที่ไทยต้องลดภาษีนำเข้าหากยานั้นส่งมาจาก ประเทศอาเซียน ทำให้ยาดังกล่าวมีราคาถูกลง ผู้ป่วยที่มีรายได้น้อยจะมีโอกาส ในการซื้อยาได้มากขึ้น

การค้าบริการ/การลงทุน

37. การเปิดตลาดการค้าบริการในอาเซียนมีความเป็นมา และมีเป้าหมายอย่างไร

กรอบความตกลงด้านบริการของอาเซียนที่ได้ลงนามเมื่อ พ.ศ. 2538 มีวัตถุประสงค์หลัก คือ (1) การเพิ่มความร่วมมือเพื่อสร้างประสิทธิภาพและความ สามารถในการแข่งขัน (2) การลดข้อจำกัดด้านการค้าบริการระหว่างกัน และ (3) การเปิดเสรีด้านการค้าบริการระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนให้มากกว่าระดับ ที่เปิดภายใต้ GATS โดยให้มีคณะกรรมการประสานงานด้านการค้าบริการ (Coordinating Committee on Services : CCS) เป็นผู้ควบคุมดูแลการดำเนินการตามข้อตกลง AFAS ซึ่งประกอบไปด้วยผู้แทนจากสมาชิกอาเซียนรับผิดชอบงานด้านการเจรจาและปฏิบัติตาม AFAS ผลของการดำเนินการทำให้สมาชิกอาเซียนเปิดเสรีการค้าบริการภายใต้ข้อผูกพันของตนเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ พ.ศ. 2538 ต่อมาอาเซียนมีแผนงานการนำไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Blueprint) ได้กำหนดแผนงานด้านการค้าบริการไว้ในหัวข้อ Free Flow of Services ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการก้าวไปสู่ความเป็น Single Market and Production Base โดยสาระสำคัญคือให้สมาชิกดำเนินการ เปิดเสรีการค้าบริการในระดับสูงขึ้นตามเป้าหมายและกรอบเวลาอย่างชัดเจน โดยยังคงยึดถือ AFAS เป็นกติกาในการยกเลิกมาตรการที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าบริการในอาเซียน

38. อะไรคือสาระสำคัญของแผนงานการเปิดเสรีการค้าบริการตามแผนแม่บท ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint)

ลด/เลิกข้อจำกัดต่อการค้าบริการภายในปี 2553 สำหรับสาขาในกลุ่ม สำหรับ 4 สาขาบริการสำคัญ (Priority Integration Sectors: PIS) ได้แก่ การขนส่งทางอากาศ เทคโนโลยีสารสนเทศ สุขภาพ และการท่องเที่ยว และสำหรับสาขาบริการสำคัญที่ 5 ได้แก่ โลจิสติกส์ ให้ลดเลิกข้อจำกัดให้ได้ภายในปี 2556 ส่วนสาขาบริการอื่นๆ ที่เหลือนอกจากนั้น ให้ลดเลิกข้อจำกัดภายในปี 2558 (ซึ่งเป็นปีเป้าหมายที่จะจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน)

สาระสำคัญของแผนฯ มีดังนี้1) ดำเนินการเจรจาเพื่อเปิดเสรีอย่างต่อเนื่องเป็นรอบๆ รอบละ 2 ปี จนถึง ปี 2558

2) ยกเลิกข้อจำกัดทั้งหมดสำหรับการให้บริการและการใช้บริการข้ามพรมแดน(โดยไม่มีการจัดตั้งกิจการ) ยกเว้นกรณีมีเหตุผลอันสมควร (เช่น เพื่อความปลอดภัยของสาธารณชน) ซึ่งขึ้นอยู่กับเงื่อนไขการตกลงระหว่างประเทศสมาชิกเป็นกรณีๆ ไป

3) สำหรับการจัดตั้งกิจการ ให้อนุญาตสัดส่วนการถือหุ้นของคนสัญชาติอาเซียนให้เพิ่มมากขึ้นตามลำดับ เช่น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ในปี 2551 และร้อยละ 70 ในปี 2553 เฉพาะสำหรับสาขาบริการสำคัญ ส่วนสาขาบริการอื่นๆ ที่เหลือจะต้องให้คนสัญชาติอาเซียนถือหุ้นได้อย่างน้อยร้อยละ 70 ในปี 2558

4) สำหรับสาขาการเงิน ให้ทยอยเปิดเสรีสำหรับสาขาที่ประเทศสมาชิกแต่ละ ประเทศได้ระบุไว้ภายในปี 2558 และทยอยเปิดเสรีในสาขาบริการอื่นที่เหลือภายใน ปี 2563

5) ดำเนินการจัดทำข้อตกลงการยอมรับคุณสมบัติวิชาชีพที่กำลังเจรจาอยู่ให้แล้วเสร็จซึ่งรวมบริการวิศวกรรม สถาปัตยกรรม บัญชี การสำรวจ (Surveying) การแพทย์ ภายในปี 2551 และทันตกรรมภายในปี 2552 รวมทั้งให้กำหนด วิชาชีพอื่นๆ เช่น บุคลากรด้านการท่องเที่ยว เพื่อจัดทำข้อตกลงยอมรับคุณสมบัติให้แล้ว เสร็จภายในปี 2555 และต้องมีการดำเนินการตามข้อตกลงดังกล่าวภายในปี 2558

39. พันธกรณีที่ไทยจะต้องดำเนินการภายใต้การเปิดเสรีการค้าบริการคืออะไร
  • การให้บริการแบบข้ามพรมแดน (Mode 1) และการให้คนในประเทศเดินทาง ไปบริโภคบริการในต่างประเทศ (Mode 2): จะต้องยกเลิกข้อจำกัดทั้งหมด แต่ทั้งนี้ หากมีเหตุผลจำเป็นที่จะต้องคงเงื่อนไขบางประการสำหรับสาขาบริการนั้นๆ ก็อาจ สามารถทำได้
  • การให้นักลงทุนอาเซียนเข้ามาจัดตั้งธุรกิจ (Mode 3): ได้มีการกำหนดให้ประเทศสมาชิกต้องเปิดให้นักลงทุนอาเซียนเข้ามาจัดตั้งธุรกิจโดยถือหุ้นได้มากขึ้น จนถึง 70% ซึ่งจะเปิดอย่างเป็นขั้นๆ ดังนี้
  • สำหรับสาขาที่เป็น Priority services sectors ซึ่งได้แก่ (1) E-ASEAN - บริการที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และโทรคมนาคม (2) Tou ri sm (3) He alt hca re โดยสาขาดังกล่าวเปิดเป็นขั้นบันไดร้อยละ 49 ในปี 2549, ร้อยละ 51 ในปี 2551, และ ร้อยละ 70 ในปี 2553
  • สำหรับสาขา Logistics: ร้อยละ 49 ในปี 2551, ร้อยละ 51 ในปี 2553 และ ร้อยละ 70 ในปี 2556
  • สำหรับสาขาบริการอื่นๆ ที่เหลือ (ซึ่งได้แก่ บริการด้านวิชาชีพ ก่อสร้าง การจัดจำหน่าย การศึกษา สิ่งแวดล้อม ขนส่ง และอื่นๆ) : ร้อยละ 49 ในปี 2551, ร้อยละ 51 ในปี 2553 และ ร้อยละ 70 ในปี 2558

นอกจากนี้ ต่อไปสมาชิกจะได้มีการหารือเพื่อลด/ยกเลิกข้อจำกัดอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการจัดตั้งธุรกิจอีกด้วย ทั้งนี้ สำหรับสาขาการเงิน และการขนส่งทางอากาศ จะได้มีการกำหนดเป็นการเฉพาะแตกต่างไป

  • การเปิดให้บุคคลธรรมดาเดินทางเข้ามาให้บริการ (Mode 4) : ให้สมาชิก ผูกพันเปิดตลาดมากขึ้น และส่งเสริมในเรื่องการเคลื่อนย้ายบุคลากรอาเซียนให้สามารถ เดินทางและทำงานในประเทศสมาชิกได้สะดวกมากยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม เป้าหมายต่างๆ ข้างต้นอาจมีความยืดหยุ่นได้บ้างในระดับหนึ่ง ซึ่งจะต้องมีการหารือระหว่างประเทศสมาชิกต่อไป

40. ตารางข้อผูกพันการค้าบริการในอาเซียน คืออะไร

ตารางข้อผูกพันการค้าบริการ (Schedule of spec ific comm itment) หรือ เรียกว่าข้อผูกพันการค้าบริการ ที่ทุกสมาชิกอาเซียนจะต้องจัดทำขึ้น เป็นเอกสาร ข้อผูกพันที่มีการระบุสาขาบริการที่มีการเปิดตลาดหรือเปิดเสรีในเอกสารเดียวกันนี้สมาชิกสามารถระบุมาตรการหรือข้อจำกัดที่ต้องการใช้ปฏิบัติกับผู้ให้บริการ ต่างชาติได้ แต่การสงวนมาตรการนั้นต้องได้รับการยินยอมจากอาเซียนก่อน

การผูกพันเปิดตลาดนี้ สมาชิกไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อผูกพันของตนไปในทางที่เป็นข้อจำกัดที่เข้มงวดกว่าที่ผูกพันได้ หรือไม่เพิ่มเติมมาตรการอื่นใดที่ เป็นอุปสรรคทางการค้าบริการต่อผู้ให้บริการของสมาชิกอื่นในอนาคตมากขึ้นไปกว่าที่ได้ระบุไว้ในข้อผูกพัน ยกเว้นการนำเข้าสู่กระบวนการเจรจาใหม่

ข้อผูกพันการค้าบริการ ถือเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้ให้บริการและนักลงทุนของทุก ประเทศสมาชิกต้องเรียนรู้ ใส่ใจ และรู้จักใช้ประโยชน์ เพราะเป็นข้อบ่งชี้ถึงสิทธิประโยชน์ ที่จะได้รับ และในเวลาเดียวกันได้บ่งชี้ถึงมาตรการที่เป็นข้อจำกัดต่อนักลงทุนด้วย

41.ไทยได้ประโยชน์อะไรจากการเปิดตลาดบริการภายใต้อาเซียน

ในด้านสิทธิประโยชน์ที่ไทยจะได้รับ คือ สมาชิกอาเซียนทุกประเทศต้องผูกพันเปิดตลาดบริการให้ไทยด้วยเช่นเดียวกัน โดยมีระดับของการผูกพันเปิดตลาดไม่น้อยไปกว่าระดับการเปิดตลาดของไทย ซึ่งผู้ประกอบการไทยก็จะสามารถเข้าไปลงทุนในธุรกิจ บริการตามที่สมาชิกอาเซียนได้ผูกพันไว้ในตารางข้อผูกพัน โดยการลงทุนของไทยจะได้รับการปฏิบัติจากรัฐบาลของสมาชิกอาเซียนอย่างเป็นธรรม รวมทั้งการลดความเข้มงวดในการใช้มาตรการและกฎระเบียบต่างๆ ต่อการลงทุนของไทยด้วย นอกจากนี้ ไทยจะได้ รับประโยชน์ทั้งในเรื่องของการดึงดูดการลงทุนเข้ามาในประเทศ และยังเป็นการส่งสัญญาณด้านบรรยากาศการลงทุนที่ดีต่อประเทศนอกภูมิภาคอาเซียนด้วย ข้อผูกพันของไทยได้ แสดงให้เห็นถึงการดำเนินการของภาครัฐในการเปิดให้มีการลงทุนจากต่างประเทศภายใต้ ข้อผูกพันเป็นลายลักษณ์อักษร มีความโปร่งใสและชัดเจน ซึ่งจะสร้างความมั่นใจต่อนักลงทุน

42. ทำอย่างไรจึงจะใช้ประโยชน์จากการเปิดเสรีบริการภายใต้ AEC ได้มากที่สุด

การเจรจาเปิดเสรีการค้าบริการมีทั้งสิ้น 4 รูปแบบ (mode of supply) ได้แก่ Mode 1 การให้บริการข้ามพรมแดน (Cross-border Supply) Mode 2 การเดินทางไป ใช้บริการต่างประเทศ (Consumption Abroad) Mode 3 การจัดตั้งธุรกิจ (Commercial Presence) Mode 4 การเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดา (Movement of Natural Person)ดังนั้น นักธุรกิจต้องพิจารณาการใช้ประโยชน์จากการเปิดตลาดทั้ง 4 mode โดยเฉพาะ mode 3 หรือการเข้าไปจัดตั้งธุรกิจ ซึ่งหลังจากปี 2558 นักลงทุนไทยสามารถเข้าไปลงทุนในธุรกิจของอาเซียนโดยการถือหุ้นเป็นสัดส่วนที่สูงถึงร้อยละ 70 หากธุรกิจไทยไม่ใช้ โอกาสดังกล่าวเข้าไปลงทุนในต่างประเทศก็เท่ากับว่าไม่ได้ใช้ประโยชน์จากการเปิดตลาด ใน mode 3 ในขณะนี้ มีธุรกิจของคนไทยที่เข้าไปลงทุนและประสบความสำเร็จในอาเซียน แต่ยังมีจำนวนไม่มาก ส่วนหนึ่งเกิดจากอุปสรรคการจัดตั้งธุรกิจที่ทำให้ต้นทุนสูงแต่เมื่ออาเซียนมีการเปิดเสรีได้ตามเป้าหมาย AEC อุปสรรคทางกฎหมายจะลดลงมาก

นอกจากนี้ การบริการในรูปแบบที่ 1 หรือ การบริการ ข้ามพรมแดน ก็มีแนวโน้มการขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่าง รวดเร็ว ในปัจจุบันทำให้การให้บริการข้ามพรมแดนทำได้โดย ผ่านสื่อคอมพิวเตอร์อินเตอร์เน็ต ผู้ให้บริการและผู้รับบริการต่างไม่จำเป็นต้องเดินทางข้ามพรมแดนไปมาหาสู่กันเพื่อให้หรือใช้บริการ แต่สามารถ ทำธุรกรรมผ่านทางอินเตอร์เน็ต หรือโทรศัพท์ก็ได้ เช่น การซื้อหนังสือผ่านเว็บไซต์ การบริการอ่านผลเอ็กซ์เรย์ผ่านทางอินเตอร์เน็ตโดยรังสีแพทย์ที่อยู่ต่างประเทศ และ การสำรองที่นั่งเครื่องบินทางคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ธุรกิจบริการใน mode 1 นี้ ประเทศ อาเซียนมักไม่มีข้อจำกัดในการเข้าสู่ตลาด จึงน่าจะเป็นโอกาสดีที่ธุรกิจไทยจะใช้ ประโยชน์จากการเปิดเสรีใน mode 1 ให้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการแข่งขัน ในการให้บริการของธุรกิจอาเซียนจะทวีความเข้มข้นขึ้นเป็นลำดับ นักธุรกิจ/ผู้ประกอบ การไทยจำเป็นต้องรักษาคุณภาพของบริการให้ได้มาตรฐานสากล และหมั่นติดตามการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อพัฒนาการให้บริการของตนอย่างต่อเนื่อง

43. ธุรกิจบริการมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของไทยอย่างไร

ธุรกิจการค้าบริการมีความแตกต่างจากการค้าสินค้า มีความหลากหลายใน รูปแบบและวิธีการใช้บริการต่อผู้บริโภค และบริการบางประเภทยังเป็นต้นทุนของ สินค้า รวมทั้งมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ยิ่งเศรษฐกิจมีการพัฒนา ขึ้นมากเท่าไร ภาคบริการจะยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้นไปเป็นลำดับในประเทศพัฒนาแล้ว ภาคบริการมักจะมีสัดส่วนที่ค่อนข้างสูงกว่าภาคเกษตร/อุตสาหกรรม เช่น EU มีภาคบริการร้อยละ 72.8 ของ GDP ในขณะที่ สหรัฐฯ มีภาคบริการร้อยละ 76.9 ของ GDP และญี่ปุ่น ร้อยละ 76.5 สำหรับไทย มีภาคบริการอยู่ที่ร้อยละ 45.1 (ที่มา: World Economic Outlook Database, April 2553) ธุรกิจบริการที่อยู่ในกลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน อย่างบริการสุขภาพ การศึกษา บริการสื่อสารโทรคมนาคม และบริการขนส่ง โลจิสติกส์ มีส่วนสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของประชาชนคนไทยให้มีคุณภาพ ชีวิตที่ดี เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่าของประเทศ นอกจากนี้ บริการในกลุ่มที่ไปเสริมสร้าง ธุรกิจหรือรายได้ก็มีความสำคัญที่ไปช่วยต่อยอด เพิ่มมูลค่าของบริการให้สูงขึ้น เช่น ธุรกิจบันเทิง โสตทัศน์ ท่องเที่ยว สุขภาพ ความงาม และวิชาชีพ เป็นต้น

44.การเปิดตลาดบริการโลจิสติกส์ภายใต้กรอบ AEC มีขอบเขตกว้างขวางเพียงใด

อาเซียนตกลงให้บริการโลจิสติกส์เป็นหนึ่งในสาขาเร่งรัดการรวมกลุ่มหรือ Priority Sectors เพราะตระหนักถึงความสำคัญของบริการโลจิสติกส์ที่มีต่อการเป็น ตลาดสินค้าและบริการร่วมกันและมีฐานการผลิตเดียวกันของอาเซียนตามกรอบ AEC โดยมีเป้าหมายให้อาเซียนเร่งเปิดตลาดบริการโลจิสติกส์ให้แก่กัน โดยการลด/เลิก ข้อจำกัดของการเข้าสู่ตลาด และอนุญาตให้ผู้ให้บริการอาเซียนเข้ามาถือหุ้นใน นิติบุคคลในประเทศไทยได้อย่างน้อยร้อยละ 70 ภายในปี 2556

บริการโลจิสติกส์ที่อาเซียนผูกพันการเปิดตลาด ครอบคลุมเฉพาะกิจกรรมที่ เกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้าหรือ Freight logistics ดังต่อไปนี้

  • บริการยกขนสินค้าที่ขนส่งทางทะเล (Maritime Cargo Handling Services)
  • บริการโกดังและคลังสินค้า (Storage & Warehousing Services)
  • บริการตัวแทนรับจัดการขนส่งสินค้า (Freight Transport Agency Services)
  • บริการเสริมอื่นๆ (Other Auxiliary Services) เช่น โบรกเกอร์ ตรวจสอบสินค้าและจัดเตรียมเอกสารการขนส่ง เป็นต้น- บริการจัดส่งพัสดุ (Courier Services)
  • บริการด้านการบรรจุภัณฑ์ (Packaging Services)
  • บริการรับจัดการพิธีการศุลกากร (Customs Clearance Services)
  • บริการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศ (Internati ona l Mari time Freight Transportation
  • Excluding Cabotage)
  • บริการขนส่งสินค้าทางอากาศระหว่างประเทศ (Air Freight Services)
  • บริการขนส่งสินค้าทางรางระหว่างประเทศ (I nternational Ra il Freight Transport Services)
  • บริการขนส่งสินค้าทางถนนระหว่างประเทศ (International Road Freight Transport Services)
45. ธุรกิจบริการต้องการปรับปรุงประสิทธิภาพในการบริหารจัดการหรือ พัฒนาบุคลากร เพื่อรองรับผลกระทบจากการเปิดเสรี AEC สามารถขอใช้ เงินกองทุน FTA ของกระทรวงพาณิชย์ได้หรือไม่ อย่างไร

กองทุน FTA หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า "โครงการช่วยเหลือเพื่อการ ปรับตัวของภาคการผลิตและภาคบริการที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า"มีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เป็นหน่วยงานรับผิดชอบการบริหาร กองทุน FTA มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบหรือคาดว่า จะได้รับผลกระทบ หรือผู้ประกอบการที่ประสงค์จะให้สิทธิประโยชน์ในการส่งออก สามารถเขียนโครงการขอรับความช่วยเหลือได้ แต่ความช่วยเหลือจะเป็นระยะสั้น 1-3 ปี ในรูปแบบของจัดหาที่ปรึกษาเพื่อช่วยเหลือในการศึกษาวิจัยและพัฒนา ปรับปรุงธุรกิจ การฝึกอบรม และพัฒนาทักษะอาชีพ ที่ผ่านมาได้ให้ความช่วยเหลือ ทั้งภาคสินค้าและบริการ ในส่วนของภาคบริการ ให้ความช่วยเหลือไปแล้ว เช่น บริการขนส่ง บริการอาหาร และบริการท่องเที่ยว ผู้ประกอบการธุรกิจต่างๆ สามารถ เสนอโครงการผ่านสถาบันที่เกี่ยวข้องกับการค้า ได้แก่ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศ ไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และหน่วยงานราชการที่มีหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง โดยสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่กลุ่มงานบริหารกองทุน FTA สำนักสิทธิประโยชน์ทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ นอกจากนี้ ยังมีธุรกิจบริการบางประเภทที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานภาครัฐโดยตรง เช่น กระทรวง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงคมนาคม หากผู้ประกอบธุรกิจบริการ ได้รับผลกระทบ ก็สามารถแจ้งปัญหาต่อหน่วยงานที่ว่าได้อีกทางหนึ่ง 46. ทิศทางการเปิดตลาดธุรกิจบริการของประเทศอาเซียนต่อจากนี้ไป จะเป็นอย่างไร

การเปิดตลาดหรือเปิดเสรีบริการในกรอบ AEC จะมุ่งไปสู่เป้าหมายที่ระบุ ไว้ใน AEC Blueprint ในการจัดทำข้อผูกพันแต่ละชุด จะมีการปรับปรุงระดับการเปิด เสรีให้ครอบคลุม และมีผลผูกพันในเชิงลึกมากกว่าข้อผูกพันชุดก่อนหน้านั้น ระดับ การเปิดตลาดของอาเซียนในชุดที่ 1-7 ส่วนใหญ่แล้ว มีระดับไม่สูงมากนัก หลายประเทศยังจำกัดสัดส่วนการถือหุ้นของนักลงทุนอาเซียนไว้ไม่เกินกึ่งหนึ่ง แต่ในข้อผูกพันชุดที่ 8 และชุดต่อไป จะมีการเปลี่ยนแปลงระดับการเปิดตลาดบริการ ครั้งสำคัญของอาเซียน เพราะประเทศสมาชิกต้องอนุญาตให้นักลงทุนอาเซียนเข้ามา ถือหุ้นในนิติบุคคลในประเทศได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ในสาขาบริการที่เร่งรัด การรวมกลุ่ม หรือ priority integration sectors และร้อยละ 51 ในสาขาอื่นที่เหลือ

47. ดีหรือไม่ที่ปัจจุบันมีนักศึกษาต่างชาติ โดยเฉพาะกลุ่มเพื่อนบ้าน เข้ามาเรียนในประเทศไทยเพิ่มขึ้นมาก

จากสถิติที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ รวบรวมไว้ พบว่านักศึกษาต่างชาติที่เข้ามาเรียนในสถาบันอุดมศึกษาของไทย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะนักศึกษาจากประเทศจีนและประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ พม่า ลาว เวียดนาม และกัมพูชา โดยในปีการศึกษา 2553 นักศึกษาต่างชาติที่เข้ามา เรียนในระดับอุดมศึกษาของไทยที่มีจำนวนมากที่สุด คือ จีน 9,329 คน รองลงมา ได้แก่ สปป.ลาว 1,311 คน พม่า 1,310 คน เวียดนาม 1,100 คน และกัมพูชา 944 คน ตามลำดับ สาขาวิชาที่ได้รับความสนใจมาก เช่น บริหารธุรกิจ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และธุรกิจระหว่างประเทศ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีนักเรียนต่างชาติที่เข้ามาเรียนใน โรงเรียนนานาชาติ และเข้ามาเรียนหลักสูตรระยะสั้นอีกเป็นจำนวนมาก นับว่าการ บริการการศึกษาเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้ให้แก่ประเทศไทยปีละหลายหมื่นล้านบาท

การปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนของสถาบันการศึกษาในระดับ อุดมศึกษาให้มีมาตรฐานที่เป็นสากล เพื่อรองรับการไปสู่ AEC ยังเป็นการดึงดูดให้ นักศึกษาไทยไม่ต้องเดินทางไปเรียนในต่างประเทศ สามารถสงวนเงินตราต่างประเทศ ไว้ในประเทศได้เป็นจำนวนมากในแต่ละปี นอกจากนี้ นักศึกษาต่างชาติจะกลายเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดแนวคิด ศิลปะ วัฒนธรรมประเพณี และภูมิปัญญา ซึ่งจะช่วย ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศให้มีความแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในขณะนี้ ไทยและสมาชิกอาเซียนกำลังก้าวเข้าสู่การเป็น AEC การเตรียมความพร้อมเรื่อง ทักษะภาษาแต่อย่างเดียวจึงไม่เพียงพอ ต้องรวมถึงทักษะในการทำงาน ทักษะในการ อยู่ร่วมกับคนอื่น เพื่อให้สามารถอยู่ท่ามกลางความแตกต่างของเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา และวัฒนธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ นับว่าการศึกษาเป็นสื่อสำคัญในการ เชื่อมโยงประชาชนของอาเซียน หรือ ASEAN Connectivity เข้าด้วยกัน

48. อาเซียนมีนโยบายเกี่ยวกับความร่วมมือด้านการศึกษาอย่างไร

การศึกษาถือได้ว่าเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างประชาคมอาเซียน ความสำคัญด้านการศึกษาปรากฏในแผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมวัฒนธรรมอาเซียน (A Blueprint for ASEAN Socio-Cultural Community) ที่กำหนดให้การพัฒนามนุษย์ เป็นเป้าหมายสำคัญอันดับแรกในการเสริมสร้างวิถีชีวิตที่ดีของประชากรในภูมิภาค ด้วยการส่งเสริมการลงทุนทางการศึกษา และการเรียนรู้ตลอดชีวิต การฝึกอบรม บุคลากร การเสริมสร้างศักยภาพประชากร การส่งเสริมให้มีการสร้างนวัตกรรม และการบริหารจัดการ การส่งเสริมการใช้ภาษาอังกฤษ เทคโนโลยีสารสนเทศและ วิทยาศาสตร์ เป็นต้น เพื่อเสริมสร้างความเป็นอยู่และวิถีชีวิตที่ดีของผู้คนในภูมิภาค

แผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน

ในการดำเนินงานด้านการศึกษา แผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ได้กำหนดเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์โดยให้ความสำคัญต่อการการสร้างสังคมฐานความรู้ การเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกระดับได้รับการเรียนรู้ในระดับประถมศึกษา การส่งเสริมและพัฒนาการดูแลเด็กปฐมวัย และการเสริมสร้างความตระหนักเกี่ยวกับ อาเซียนสำหรับเยาวชน ด้วยการจัดการศึกษาและกิจกรรมต่างๆ เพื่อสร้างอัตลักษณ์ อาเซียนบนพื้นฐานของมิตรภาพและความร่วมมือระหว่างกัน โดยอาเซียนได้กำหนดให้ประเทศต่างๆ มีการดำเนินการด้านการศึกษา เช่น

-การจัดการศึกษาเพื่อให้ทุกคนได้รับโอกาสทางการศึกษาในระดับประถมศึกษาในอาเซียน ภายในปี 2558 โดยมุ่งเน้นการขจัดการไม่รู้หนังสือ และจัดการศึกษาภาคบังคับให้แก่นักเรียนระดับ ประถมศึกษาสำหรับทุกคนอย่างเสมอภาค ปราศจาก ความเหลื่อมล้ำทางสังคม ภูมิศาสตร์ ชาติพันธุ์ และ/ หรือความพิการทางกาย

-การพัฒนาคุณภาพการศึกษา และการปรับตัวในด้านการศึกษารวมทั้ง การจัดการศึกษาฝึกอบรมด้านทักษะ อาชีวศึกษา ด้านเทคนิคในภูมิภาค ด้วยการพัฒนา โครงการความร่วมมือทางการศึกษา และพัฒนาด้านเทคนิค เช่น การฝึกอบรมครู และเจ้าหน้าที่ โครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา โดยเฉพาะในประเทศ สปป.ลาว พม่า เวียดนาม และกัมพูชา

-การส่งเสริมความร่วมมือด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อส่งเสริม การศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยเฉพาะในสังคมที่ถูกละเลย ด้วยการศึกษา ทางไกลและ e-learning

-การส่งเสริมเครือข่ายทางการศึกษาในสถาบันการศึกษาหลายๆ ระดับ และดำเนินการสร้างเครือข่ายมหาวิทยาลัย การเสริมสร้างและสนับสนุนการ แลกเปลี่ยนนักเรียนและเจ้าหน้าที่

-การปฏิสัมพันธ์ทางอาชีพในภูมิภาค ซึ่งรวมถึงการสร้างกลุ่มวิจัยภายใน สถาบันระดับอุดมศึกษา ด้วยความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับองค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่ง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน

-การส่งเสริมโอกาสที่เท่าเทียมทางการศึกษาสำหรับสตรีและเด็กหญิง

-การพัฒนาและเสนอหลักสูตรอาเซียนศึกษา ทั้งในระดับประถม มัธยม และอุดมศึกษา

-การสนับสนุนพลเมืองของประเทศสมาชิกให้เป็นผู้มีความเชี่ยวชาญ ในภาษาอังกฤษ เพื่อให้สามารถสื่อสารกันได้โดยตรงและเข้าร่วมในประชาคมระหว่าง ประเทศได้กว้างขวางขึ้น

-การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต การส่งเสริมการพัฒนาการดูแล เด็กปฐมวัยด้วยการแบ่งปันวิธีปฏิบัติอันดีเลิศ ประสบการณ์ และการเสริมสร้าง ศักยภาพในด้านดังกล่าวระหว่างกัน

แผน 5 ปี ด้านการศึกษา ของอาเซียน

อาเซียนได้จัดทำแผน 5 ปี ด้านการศึกษาของอาเซียน (2554-2558) โดยมีสาระสำคัญของแผนฯ ดังนี้

ยุทธศาสตร์ที่ 1 การเสริมสร้างความตระหนักเกี่ยวกับอาเซียน

-การจัดทำคู่มืออาเซียนเพื่อส่งเสริมการสร้างความตระหนักและค่านิยม ร่วมระหว่างนักเรียนระดับปฐมวัย ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา

-การสนับสนุนให้มีการจัดทำหลักสูตรอาเซียนในระดับประถมศึกษาและ มัธยมศึกษา เพื่อให้นักเรียนเรียนรู้เกี่ยวกับอาเซียนในมุมมองของความเป็นภูมิภาค เดียวกัน

-การส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของนักการศึกษา ครู และบุคลากรของ กระทรวงศึกษาธิการ

-การส่งเสริมให้มีการจัดมุมอาเซียนในโรงเรียน

ยุทธศาสตร์ที่ 2 คุณภาพและโอกาสทางการศึกษา ประกอบด้วย* การเสริมสร้างโอกาสในการได้รับการศึกษาในระดับประถมและมัธยมศึกษา ยุทธศาสตร์นี้ให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาเพื่อบรรลุเป้าหมายการจัดการศึกษา เพื่อปวงชน

-การเพิ่มคุณภาพการศึกษา การจัดมาตรฐานการศึกษา การศึกษาตลอดชีวิตและการพัฒนาอาชีพ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา ในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ส่งเสริมการจัดการศึกษาทั้งในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียนอย่างมีคุณภาพ ตามมาตรฐานการศึกษาที่กำหนดไว้อย่าง ชัดเจน และมีผลตอบแทนครูที่มีผลงานเป็นเลิศ

-การเคลื่อนย้ายข้ามพรมแดนและการจัดการศึกษาให้มีความเป็นสากล เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานและสภาพเศรษฐกิจของยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยแรงงานที่มีทักษะและความชำนาญการสูง และสามารถเคลื่อนย้ายไปประกอบอาชีพในอาเซียน

-การสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรรายสาขาอื่นๆ เพื่อพัฒนาการศึกษา เช่น สนับสนุนการศึกษาด้านสภาพแวดล้อม การจัดการด้านความเสี่ยงและภัยพิบัติ การจัดการศึกษาเพื่อสิทธิมนุษยชน การจัดการศึกษาเพื่อการป้องกัน HIV/AIDS

-ปฏิญญาชะอำ-หัวหินว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือด้านศึกษาเพื่อบรรลุ เป้าหมายประชาคมอาเซียนที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน

บทบาทการศึกษาต่อเสาหลักด้านการเมืองและความมั่นคง

การสร้างความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของกฎบัตรอาเซียน การส่งเสริมหลักการประชาธิปไตย การส่งเสริมการศึกษาด้านสิทธิมนุษยชน การตระหนักในคุณค่าและค่านิยมทางวัฒนธรรม การสร้างเครือข่ายผู้บริหารโรงเรียน เพื่อบูรณาการความร่วมมือด้านการศึกษา การจัดงานฉลองวันอาเซียนในประเทศ สมาชิกในช่วงเดือนสิงหาคมซึ่งเป็นวันก่อตั้งอาเซียน

บทบาทการศึกษาในเสาหลักด้านเศรษฐกิจ

การจัดทำกรอบการพัฒนาทักษะในอาเซียน การพัฒนาระบบการถ่ายโอน นักเรียน การเคลื่อนย้ายแรงงานที่มีความชำนาญการในภูมิภาค การพัฒนามาตรฐาน อาชีพที่เน้นศักยภาพในอาเซียนที่สามารถสนองตอบความต้องการของภาคอุตสาหกรรม

บทบาทการศึกษาในเสาหลักด้านสังคมและวัฒนธรรม

การจัดการศึกษาที่มีคุณภาพในชุมชนชนบท การจัดหลักสูตรระดับปริญญาตรี เกี่ยวกับศิลปะและวัฒนธรรมอาเซียน การสนับสนุนการเรียนภาษาอาเซียน การสร้าง ความตระหนักเกี่ยวกับอาเซียนในเยาวชน การพัฒนาด้านการวิจัยและการพัฒนาในภูมิภาค การสร้างความรู้และตระหนักเกี่ยวกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อบรรลุเป้าหมายการศึกษาเพื่อปวงชน การจัดทำเนื้อหา เกี่ยวกับอาเซียนร่วมกันตลอดจนการร่วมแบ่งปันทรัพยากรและจัดตั้งกองทุนเพื่อ การพัฒนาการศึกษาในภูมิภาค

การดำเนินการของกระทรวงศึกษาธิการ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศาตราจารย์ ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช) ได้ประกาศนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการและยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 7 ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย

1. การพัฒนาคุณภาพการศึกษาทุกระดับทุกประเภท โดยมุ่งเน้นเป้าหมายคือ นักเรียนเป็นศูนย์กลางกระทรวงศึกษาธิการ ประเทศไทยได้ยกร่างปฏิญญาชะอำ-หัวหินว่าด้วยการเสริม สร้างความร่วมมือด้านศึกษาเพื่อบรรลุเป้าหมายประชาคมอาเซียนที่เอื้ออาทรและแบ่งปันและได้ร่วมมือกับกระทรวงการต่างประเทศในการนำเสนอเอกสารดังกล่าวให้ผู้นำอาเซียนให้การรับรองในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 15 เมื่อปี 2553 ปฏิญญาอาเซียนด้าน การศึกษาฯ เป็นกรอบการดำเนินงานด้านการศึกษาฉบับแรกของอาเซียน ที่เน้นความสำคัญของบทบาทการศึกษาในการสร้างประชาคมอาเซียน ทั้ง 3 เสาหลัก ได้แก่ ประชาคม การเมืองและความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจและประชาคมสังคมและวัฒนธรรม ดังนี้

2. การสร้างโอกาสทางการศึกษาแก่ประชาชนทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียม

3. การปฏิรูปครูเพื่อยกฐานะครูและวิชาชีพครูให้เป็นวิชาชีพชั้นสูง

4. การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระดับอาชีวศึกษา และการฝึกอบรมให้สอดคล้องกับตลาดแรงงาน ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ

5. การพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้การศึกษาทัดเทียมนานาชาติ

6. การสนับสนุนการพัฒนาเพื่อสร้างทุนปัญญาของชาติ

7. การเพิ่มขีดความสามารถของทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับการเปิดเสรี

ประชาคมอาเซียนทั้งนี้ แนวทางในการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการศึกษาของประเทศไทย 5 แนวทาง เพื่อเตรียมพร้อมการก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียนของประเทศไทย ภายในปี 2558 ซึ่งมีความสอดคล้องกับแผน 5 ปี ด้านการศึกษาของอาเซียน ได้แก่

แนวทางที่ 1 เผยแพร่ความรู้ ข้อมูลข่าวสาร และสร้างความตระหนักและ เจตคติที่ดีเกี่ยวกับอาเซียน ให้แก่ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป

แนวทางที่ 2 พัฒนาศักยภาพนักเรียน นักศึกษา และประชาชนให้มีทักษะที่ เหมาะสมในการเป็นพลเมืองอาเซียน และสอดคล้องกับการปรับตัวและเปลี่ยนแปลง ทางอุตสาหกรรม รวมทั้งการเพิ่มโอกาสในการหางานทำของประชาชน และการพิจารณาแผนผลิตกำลังคน

แนวทางที่ 3 พัฒนามาตรฐานการศึกษาเพื่อสร้างการยอมรับในคุณภาพการศึกษาการพัฒนาระบบการศึกษาทางไกล เพื่อสนับสนุนการศึกษาตลอดชีวิต การส่งเสริมและปรับปรุงการศึกษาด้านอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมทางอาชีพ รวมทั้งการส่งเสริมและเพิ่มพูนความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาของประเทศสมาชิกอาเซียน

แนวทางที่ 4 เตรียมความพร้อม การพัฒนาความสามารถและประสบการณ์ใน สาขาวิชาชีพสำคัญต่างๆ เพื่อรองรับการเปิดเสรีการศึกษา รวมทั้งการเปิดเสรีด้าน แรงงานในอาเซียน

แนวทางที่ 5 บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนา คุณภาพการศึกษาไทย รวมทั้งการจัดตั้งและพัฒนากลไกที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการ ดำเนินการอย่างยั่งยืน โดยกระทรวงศึกษาธิการมีภารกิจหลักที่จะต้องดำเนินการคือ การพัฒนา ศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ของประเทศให้มีทักษะและความชำนาญการ พร้อมรับความ เปลี่ยนแปลงและการแข่งขันของภูมิภาค การสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับอาเซียน และ ยกระดับคุณภาพสถาบันการศึกษาเพื่อส่งเสริมการเคลื่อนย้ายนักเรียนนักศึกษา ในภูมิภาค โดยมีประเด็นที่สำคัญ ดังนี้

(1) การสร้างความตระหนักเกี่ยวกับอาเซียนแก่เด็ก เยาวชนบุคลากรทางการศึกษา และประชาชนทั่วไป

(2) การเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน และภาษาอาเซียน

(3) การพัฒนาทักษะ ICT

                    (4) การจัดทำหลักสูตรอาเซียนศึกษา เพื่อสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับอาเซียนตลอดจนการอยู่ร่วมกันอย่างสันติท่ามกลางความหลากหลาย    ทางวัฒนธรรม ทั้งในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน การอุดมศึกษา    และการอาชีวศึกษา ทั้งในระบบและนอกระบบการศึกษา

(5) การพัฒนาทักษะวิชาชีพที่จะเป็นในตลาดแรงงานอาเซียนเพื่อรองรับ การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือและการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

(6) การยกระดับคุณภาพสถานศึกษาเพื่อให้เป็นที่ยอมรับ รวมทั้งการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนเพื่อรองรับการถ่ายโอนหน่วยกิตระหว่าง สถาบันการศึกษา และส่งเสริมการเคลื่อนย้ายนักเรียนนักศึกษาในภูมิภาค

(7) การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ด้านการศึกษาเพื่อเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน

49. นักเรียนนักศึกษาไทยควรปรับตัวอย่างไรให้มีงานทำโดยไม่ต้องกังวลต่อ การเข้ามาแย่งงานของสมาชิกอาเซียนภายหลังปี 2558

นักเรียนนักศึกษาไทยควรเร่งฝึกฝนทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ ซึ่งจะกลายเป็น ภาษาของอาเซียน รวมทั้งภาษาเพื่อนบ้านก็มีความสำคัญ ภาษาจะเป็นสื่อให้สามารถ เรียนรู้และเข้าใจในวิถีชีวิต ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม ของประเทศเพื่อนบ้านได้ดียิ่งขึ้นนอกจากนั้น ความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์ และความรู้ พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ มีความสำคัญสำหรับการพัฒนาประเทศ ไปสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือ Creative Econom y ในยุคโลกาภิวัตน์ที่ธุรกิจต้อง แข่งขันกันรุนแรง ต้องอาศัยทรัพยากรบุคคลที่มีศักยภาพสูง สามารถแก้ไขปัญหาได้ดี คิดวิเคราะห์เป็น และมีภาวะการเป็นผู้นำสูง

50. การเข้ามาของการบริการด้าน ICT ที่บริษัทสิงคโปร์ได้เปรียบ เราเตรียมพร้อมรับมือไว้หรือยัง

อาเซียนได้จัดการบริการด้าน ICT อยู่ในกลุ่มสาขาบริการที่ต้องลดข้อจำกัดด้านมาตรการให้เร็วกว่าสาขาบริการอื่นๆ โดยจัดในกลุ่ม e - ASEAN ที่มีสาขา โทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์ การเปิดตลาด e-ASEAN ไม่ควรมองในมิติของการ เสียเปรียบอย่างเดียว ในความเป็นจริงการเปิดตลาดภาคบริการจะส่งผลดีต่อประชากรในฐานะผู้บริโภคที่จะมีโอกาสได้ใช้บริการที่มีคุณภาพในราคาที่ถูก เพราะการเปิด ตลาดเป็นการสร้างให้มีการแข่งขันกันและป้องกันการผูกขาด นอกจากนี้ ผู้ให้บริการ ในสาขาอื่นๆ รวมทั้งผู้ประกอบการในธุรกิจต่างๆ ก็อยู่ในฐานะที่พึ่งพาการพัฒนา ด้าน ICT ด้วย เพื่อลดต้นทุนของธุรกิจทุกภาคส่วนจึงอยู่ในฐานะได้ประโยชน์

อย่างไรก็ตาม หากจะมองในมิติของการเสียเปรียบนั้น อาจมองได้ในประเด็นของการแข่งขันระหว่างผู้ประกอบการภายในประเทศที่เป็น SMEs ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่ม บริการคอมพิวเตอร์ ในเรื่องนี้ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ มียุทธศาสตร์ในการเจรจา

ไม่ใช่ว่าจะต้องเจรจาเปิดตลาดให้มีความเป็นเสรีมากจนไม่คำนึงถึง SMEs สิ่งที่กรมฯ ทำคือ ไทยจะลดข้อจำกัดที่เป็นอุปสรรคต่อการบริการบางประการเท่านั้น ขณะที่ได้สงวนข้อจำกัด หรือเงื่อนไขไว้ในข้อผูกพันเพื่อดูแล SMEs ของไทย เช่น อาเซียนกำหนดให้ทุกประเทศ สมาชิกอนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติสามารถถือหุ้นได้ร้อยละ 70 ซึ่งไทยก็ต้องดำเนินการตามที่กำหนดในเป้าหมายนั้น แต่ในเบื้องต้น ไทยมีการสงวนเรื่องผู้บริหารบริษัทต่างชาติต้องเป็นสัญชาติไทย การสงวนสิทธิในการช่วยเหลือ SMEs ไทยด้วยการอุดหนุน และไม่อนุญาตให้ถือครองที่ดิน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังสามารถสงวนการเปิดตลาดสาขา ที่อ่อนไหวมากได้ ภายใต้หลักการความยืดหยุ่น (Flexibility) แต่ต้องไม่เกินกว่าสัดส่วน ที่ตกลงกัน สำหรับเรื่องการเตรียมความพร้อมและการพัฒนา SME ไทยนั้น เป็นหน้าที่ ของหน่วยงานที่กำกับดูแลและที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ซึ่งได้มีแผนรองรับไว้แล้ว

51. พันธกรณีที่ไทยจะต้องปฏิบัติภายใต้การเปิดเสรีการลงทุนคืออะไร

พันธกรณีสำคัญภายใต้การเปิดเสรีการลงทุนตามกรอบความตกลง ASEAN Investment Area (AIA) ซึ่งได้เริ่มใช้ตั้งแต่ปี 2541 คือ การให้การปฏิบัติเยี่ยงคนชาติแก่ นักลงทุนอาเซียนให้เท่าเทียมกับนักลงทุนในประเทศ ครอบคลุมการลงทุนโดยตรงจาก ต่างประเทศ (Foreign Direct Investment) แต่ไม่รวมถึงการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ (portfolio investment) ในธุรกิจการลงทุน 5 สาขา คือ การผลิต การเกษตร ประมง ป่าไม้ และเหมืองแร่ รวมถึงบริการที่เกี่ยวเนื่องกับทั้ง 5 สาขา ทั้งนี้ ประเทศสมาชิกสามารถ สงวนรายการธุรกิจการลงทุนที่ยังไม่พร้อมให้มีการเปิดเสรีได้ซึ่งจะจัดไว้เป็นรายการข้อสงวนของแต่ละประเทศ

ต่อมา ในปี 2550 รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนได้เห็นชอบให้มีการทบทวน กรอบความตกลงเขตการลงทุนอาเซียน (AIA) และผนวกรวมเข้ากับความตกลงว่าด้วยการคุ้มครองการลงทุนอาเซียน (ASEAN Investment Guarantee Agreement: IGA) เป็น ASEAN Comprehensive Investment Agreement (ACIA) ลงนามโดยรัฐมนตรี

เศรษฐกิจอ่าเซียน 10 ประเทศ เมื่อปี 2552 ครอบคลุมเรื่องการเปิดเสรี การอำนวย ความสะดวก การส่งเสริมและการคุ้มครองการลงทุน โดยมีสาระสำคัญที่เพิ่มเติมจาก ตวามตกลง AIA คือ การให้สิทธิพิเศษภายใต้กรอบความตกลง AIA จะต้องขยาย ให้ครอบคลุม ASEAN-based investors หรือนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาดำเนินกิจการในอาเซียนเพื่อทำให้อาเซียนเป็นแหล่งรองรับการลงทุนที่น่าสนใจมากขึ้น และจะ ส่งผลให้ได้รับประโยชน์จากการถ่ายทอดเทคโนโลยีระดับชั้นนำของโลก

52. บริษัทที่ทำธุรกิจภาพยนตร์ไทยจะต้องติดตามความคืบหน้าของ AEC ด้วยหรือไม่

ธุรกิจภาพยนตร์จัดอยู่ในภาคการค้าบริการภายใต้สาขาบริการโสตทัศน์ ซึ่งเป็น 1 ใน 12 สาขาบริการที่อาเซียนจะต้องเปิดตลาดให้แก่กัน

บริการธุรกิจโสตทัศน์ที่มีการเจรจาเปิดตลาดกันในปัจจุบัน ครอบคลุมธุรกิจ ผลิตและจำหน่ายภาพยนตร์และวิดีโอ ธุรกิจการฉายภาพยนตร์ ธุรกิจด้านรายการ วิทยุและโทรทัศน์ ธุรกิจการส่งสัญญาณออกอากาศทางวิทยุและโทรทัศน์ ธุรกิจ บันทึกเสียง (sound recording) ในระยะที่ผ่านมาธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสาขาโสตทัศน์ มีบทบาทและอัตราการเติบโตค่อนข้างเร็ว เมื่อเทียบกับอัตราการเติบโตของธุรกิจ บริการโดยรวม การขยายตัวของธุรกิจบริการโสตทัศน์ต้องอาศัยการพึ่งพาธุรกิจ บริการสาขาอื่นๆ เช่น บริการท่องเที่ยว บริการนันทนาการ และบริการคอมพิวเตอร์ (ซอฟท์แวร์) ในขณะเดียวกันการขยายตัวของธุรกิจบริการอื่นๆ ก็จำเป็นต้องพึ่งพา บริการโสตทัศน์เช่นเดียวกัน ดังนั้น การติดตามพัฒนาการของการเปิดตลาดบริการสาขาที่เกี่ยวข้องในกรอบ AEC จึงเป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะผู้ที่ต้องการเข้าไปทำธุรกิจ ภาพยนตร์หรือสารคดีในประเทศอาเซียน ก็ควรศึกษาให้ลึกถึงกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมายการทำงานของคนต่างด้าว กฎหมายสิ่งแวดล้อม และกฎหมาย ลิขสิทธิ์ เป็นต้น

53. การเข้าไปเปิดห้างสรรพสินค้าในประเทศอาเซียนทำได้เพียงใด มีปัจจัยอะไรบ้างที่ต้องพิจารณา

การลงทุนในอาเซียนต้องมีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่สำคัญคือ นโยบายส่งเสริม การลงทุนของประเทศนั้นๆ ว่าเอื้อประโยชน์และมีการคุ้มครองนักลงทุนต่างชาติหรือไม่ กฎหมายเกี่ยวกับการจัดตั้งหน่วยธุรกิจ ข้อจำกัดด้านสัญชาติ นโยบายภาษีเงินได้ กฎหมายแรงงาน และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องต่างๆ ของแต่ละประเทศก็แตกต่างกันไป สำหรับการผูกพันการเปิดตลาดของแต่ละประเทศที่ได้ยื่นไว้นั้น เป็นเพียงการรับรองว่า ประเทศนั้นๆ จะต้องเปิดตลาดในแต่ละสาขาบริการไม่น้อย กว่าที่เสนอผูกพันไว้ในตารางข้อผูกพัน เช่น ใน mode 3 (การจัดตั้งบริษัท) ให้นักลงทุนจากอาเซียนสามารถเข้าไปถือหุ้นในกิจการได้ร้อยละ 70 ก็หมายความว่าอย่างน้อย ต้องอนุญาตให้นักลงทุนอาเซียนเข้าไปถือหุ้นของนิติบุคคล ได้ร้อยละ 70 ทั้งๆ ที่ในทางปฏิบัติสมาชิกอาเซียนอาจ อนุญาตให้นักลงทุนอาเซียนเข้าถือหุ้นได้ 100% ภายใต้กฎหมายที่ใช้บังคับปกติที่ให้การอนุญาตการลงทุนของต่างชาติเป็นรายๆ ในส่วนของธุรกิจห้างสรรพสินค้านั้น นักธุรกิจไทยสามารถเลือกเข้าไปลงทุนเปิดกิจการในอาเซียนได้ตามกฎหมายที่มีอยู่ หรือข้อผูกพันที่สมาชิกอาเซียนผูกพันเรื่องการเปิดตลาดไว้

54. อะไรคือสาระสำคัญของแผนงานการเปิดเสรีด้านการลงทุนตามแผนแม่บท ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint)

-นโยบายการลงทุนที่เสรีและเปิดตลาดเป็นปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนให้ อาเซียนเกิดการแข่งขันในการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ และการลงทุน ระหว่างกันในอาเซียน การเปิดเสรีการลงทุนใหม่และการนำผลกำไรกลับมาลงทุน ใหม่ที่ยั่งยืน จะสนับสนุนและพัฒนาเศรษฐกิจของอาเซียน

-ความร่วมมือด้านการลงทุนของอาเซียนกำลังดำเนินการอยู่ภายใต้กรอบความตกลงเขตการลงทุนของอาเซียน (AIA) เมื่อปี 2541 ในขณะที่การคุ้มครองการลงทุนอยู่ภายใต้ความตกลงที่แยกต่างหาก อาทิ ความตกลงด้านการส่งเสริมและ การคุ้มครองการลงทุนของอาเซียนปี 2530 หรือ ที่อ้างถึงโดยทั่วไปในชื่อความตกลง ว่าด้วยการคุ้มครองการลงทุนของอาเซียน (IGA)

-ภายใต้กรอบความตกลงเขตการลงทุนของอาเซียน ทุกอุตสาหกรรม (การผลิต เกษตร ประมง ป่าไม้ และเหมืองแร่ และบริการที่เกี่ยวเนื่องกับ 5 ภาค) จะเปิดเสรีและให้การปฏิบัติเยี่ยงคนชาติแก่นักลงทุนทั้งก่อนและหลังการลงทุน โดยมีข้อยกเว้นได้ตามรายการยกเว้นชั่วคราว (Tempo ra ry Exclusi on Li st) และ รายการอ่อนไหว (Sensitive List) ของประเทศสมาชิก รายการยกเว้นชั่วคราวจะต้องถูกยกเลิกภายในเวลาที่ตกลงกัน ในขณะที่รายการอ่อนไหวไม่มีกรอบเวลาในการ ยกเลิก แต่รายการดังกล่าวจะถูกทบทวนเป็นคราวๆ ไป

-เพื่อสนับสนุนการรวมกลุ่มในภูมิภาคและการเป็นเขตการลงทุนที่แข่งขันได้ จะต้องทบทวนกรอบความตกลงเขตการลงทุนของอาเซียนและความตกลงด้านการส่งเสริมและการคุ้มครองการลงทุนของอาเซียน เพื่อให้มีความตกลงด้านการลงทุน เต็มรูปแบบ ซึ่งจะต้องมองไปข้างหน้าพร้อมกับปรับปรุงคุณลักษณะบทบัญญัติและ ข้อผูกพันโดยคำนึงถึงแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) ระหว่างประเทศ ซึ่งจะช่วย เพิ่มความมั่นใจต่อผู้ที่จะเข้ามาลงทุนในอาเซียน ความตกลงเขตการลงทุนอาเซียน เต็มรูปแบบ (ACI A) ซึ่งจะจัดทำขึ้นโดยอิงความตกลงเขตการลงทุนอาเซียน และ ความตกลงคุ้มครองการลงทุนของอาเซียนที่มีอยู่เดิม โดยครอบคลุมการดำเนินงานในด้านต่างๆ ดังนี้

การคุ้มครองการลงทุน

-ให้การส่งเสริมการคุ้มครองการลงทุนสำหรับนักลงทุนและการลงทุน ที่จะอยู่ภายใต้ความตกลงฉบับนี้อย่างเต็มรูปแบบ

การดำเนินงาน :

ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือด้านการลงทุนดังนี้

-กลไกยุติข้อพิพาทระหว่างนักลงทุนกับรัฐ (investor-s tate dispute mechanism)

  • การโอน (tran sfe r) และการส่งคืน (repatriat ion) ทุน กำไร และ เงินปันผล
  • ขอบเขตการเวนคืน (expropriation) และการชดเชย (compensation) ที่โปร่งใส
  • ให้ความคุ้มครองและความมั่นคงเต็มรูปแบบ; และ
  • ให้การชดเชยจากการเกิดจลาจล (strike)

การอำนวยความสะดวกและความร่วมมือ

-กฎระเบียบ กฎหมาย นโยบาย และขั้นตอนด้านการลงทุนที่มีความโปร่งใส มีความเป็นสากล และสามารถคาดการณ์ได้

การดำเนินงาน : ปรับประสานนโยบายการลงทุน เพื่อบรรลุเป้าหมายการส่งเสริม อุตสาหกรรมและการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ

  • ปรับปรุงขั้นตอนการขอรับการลงทุนและการขออนุญาต
  • ส่งเสริมการเผยแพร่ข้อมูลด้านการลงทุน : กฎระเบียบ กฎหมาย นโยบายและขั้นตอนด้านการลงทุน รวมถึงจุดบริการลงทุนเดียวหรือสำนักงานส่งเสริมการลงทุน
  • ปรับปรุงฐานข้อมูลด้านการลงทุนและบริการให้ดีขึ้น
  • ให้มีการประสานงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ให้มากขึ้น
  • หารือกับภาคธุรกิจของอาเซียนเพื่อส่งเสริมการลงทุน และ
  • สนับสนุนอาเซียนในกรอบกว้าง (ASEAN-Wide) และการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจทวิภาคี

การส่งเสริมและการให้ความสำคัญต่อการลงทุน

  • ส่งเสริมให้อาเซียนเป็นแหล่งรวมของการลงทุนและเครือข่ายการผลิตการดำเนินงาน
  • สร้างสภาพแวดล้อมที่จำเป็นเพื่อส่งเสริมการลงทุนทุกรูปแบบและเรื่องใหม่ๆ ที่มีการเติบโตให้เข้ามายังอาเซียน
  • ส่งเสริมการลงทุนระหว่างกันในอาเซียน โดยเฉพาะจากอาเซียน 6 ไปยังกัมพูชา สปป.ลาว พม่า และเวียดนาม
  • ส่งเสริมการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและกิจการข้ามชาติ
  • ส่งเสริมเครือข่ายอุตสาหกรรมและการผลิตระหว่างบรรษัทข้ามชาติ ที่อยู่ในอาเซียน
  • ส่งเสริมคณะผู้แทนร่วมด้านการลงทุน โดยเน้นการรวมกลุ่มของภูมิภาคและเครือข่ายการผลิต
  • ขยายประโยชน์จากความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมของอาเซียนอื่นๆนอกเหนือจากความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมของอาเซียน (AICO)เพื่อกระตุ้นการรวมกลุ่มของภูมิภาคและเครือข่ายการผลิตและ
  • จัดตั้งเครือข่ายความตกลงสองฝ่าย เพื่อหารือแนวทางการหลีกเลี่ยงการเรียกเก็บภาษีซ้อนระหว่างอาเซียน

การเปิดเสรีการลงทุน

-การเปิดเสรีอย่างก้าวหน้าเป็นลำดับด้านการลงทุนของประเทศสมาชิก เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของการเปิดเสรีด้านการลงทุนในปี 2558

การดำเนินการ

  • ขยายมาตรการไม่เลือกปฏิบัติ รวมถึงการปฏิบัติเยี่ยงคนชาติและการประติบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่งต่อนักลงทุนอาเซียน
          - ลด/ยกเลิกมาตรการกีดกัน หรือข้อจำกัดด้านการเข้ามาลงทุนใน    สาขาสำคัญ รวมถึงการห้ามกำหนดเงื่อนไขการลงทุน (Performance     Requirement)

การเคลื่อนย้ายแรงงาน

55.ภายใต้ AEC การเคลื่อนย้ายแรงงานน่าวิตกหรือไม่

ในการประชุมสุดยอดอาเซียน เมื่อปี 2546 ผู้นำอาเซียนเห็นชอบให้มีการรวมตัวไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ภายในปี 2558 โดยมีเป้าหมาย ให้เป็นตลาดและฐานการผลิตร่วมกัน (Single market and single production base) มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรีแนวทางดำเนินงานเพื่อนำไปสู่การเป็น AEC ในส่วนของการเคลื่อนย้ายแรงงาน ฝีมืออย่างเสรี ซึ่งระบุในแผนงานการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint) ยังไม่ได้มีการตั้งเป้าหมายการเจรจาเปิดเสรีไว้อย่างชัดเจน ขณะนี้เป็นการเจรจาเพื่อหาแนวทางการอำนวยความสะดวกในการเดินทางเข้ามาทำงานของแรงงานวิชาชีพให้ รวดเร็วโปร่งใส มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน โดยยังไม่มีการจัดทำข้อผูกพันการเปิดเสรีเป็นการเฉพาะ

ทั้งนี้ ประเทศสมาชิกอาเซียนได้จัดทำข้อตกลงยอมรับร่วม ( Mut u al Recognition Agreement - MRA) เกี่ยวกับคุณสมบัติของแรงงานวิชาชีพ

เพื่ออํนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายบุคลากรนักวิชาชีพในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยอาเซียนตกลงกันว่าจะยอมรับคุณสมบัติเพื่ออํนวยความสะดวกในขั้นตอน การขอใบอนุญาต แต่ไม่ไปถึงขั้นที่จะยอมรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพซึ่งกันและกัน และเน้นหลักว่านักวิชาชีพต่างด้าวจะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบภายในของประเทศที่ ตนต้องการเข้าไปทงำนโดยแบ่งเป็น MRA ที่เป็นข้อตกลง หรือ Agreement จำนวน 5 สาขาวิชาชีพ คือ ทันตแพทย์ แพทย์ พยาบาล วิศวกร และสถาปนิก และเป็นกรอบข้อตกลงหรือ Framework Agreement จำนวน 2 สาขาวิชาชีพ คือ ด้านการสำรวจ และนักบัญชีสำหรับ MRA กรณีของแพทย์/ทันตแพทย์ ก็ใช้หลักการ/กลไกลักษณะเดียวกัน คือ ให้แพทย์/ทันตแพทย์ที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด สามารถจดทะเบียนหรือขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพใน ประเทศอาเซียนอื่นได้ โดยต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบ ภายในของประเทศนั้นๆ และแพทย์/ทันตแพทย์ อาเซียนที่ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพในประเทศอื่นต้องผ่านการประเมินและอยู่ภายใต้การดูแลของหน่วยงานกำกับดูแลในประเทศที่รับให้ทำงาน (ของประเทศไทย คือ แพทยสภา ทันตแพทยสภา และกระทรวงสาธารณสุข)

กรณีวิศวกรและสถาปนิก มีการกำหนดคุณสมบัติตามที่กำหนดในความตกลง MRA (เช่น กรณีวิศวกรต้องจบปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ มีประสบการณ์ทำงาน อย่างน้อย 7 ปี เคยได้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมในประเทศ) สามารถไป สมัครขึ้นทะเบียนเป็นวิศวกรวิชาชีพอาเซียนได้ จากนั้นเมื่อมีรายชื่อเป็นวิศวกรวิชาชีพ อาเซียนแล้ว ก็สามารถไปสมัครกับสภาวิศวกรของประเทศอาเซียนอื่น เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นวิศวกรต่างด้าวในประเทศนั้นๆ ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบภายในของ ประเทศนั้นๆ เช่น หากมาเลเซียกำหนดว่าต้องมีใบอนุญาต ซึ่งจะต้องผ่านการสอบด้วย วิศวกรไทยที่สนใจจะไปทำงานในมาเลเซียก็จะต้องไปสอบเพื่อให้ได้ใบอนุญาตในมาเลเซีย

ในด้านการบัญชี (Accountancy services) และด้านการสำรวจ (Surveying Qualification) เป็นการจัดทำ MRA Framework ซึ่งเป็นข้อตกลงที่กำหนดกรอบแนวทาง เพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการเจรจาในอนาคต เพื่อจัดทำข้อตกลงยอมรับร่วม (ลงนามเมื่อ เดือนพฤศจิกายน 2550) โดย MRA Framework จะวางหลักเกณฑ์พื้นฐานสำหรับการ ยอมรับคุณสมบัติ ซึ่งประกอบด้วยหลักเกณฑ์เรื่อง การศึกษา การสอบ ประสบการณ์ กระบวนการให้การยอมรับ เป็นต้น โดยยังคงเน้นว่าข้อตกลงที่จะจัดทำขึ้นในอนาคตจะต้องไม่ลดทอนสิทธิ อำนาจ หน้าที่ของสมาชิกอาเซียนแต่ละประเทศในการกำกับดูแลและออกกฎ ระเบียบ หรือกฎหมายภายใน เช่น การออกใบอนุญาต แต่ขณะเดียวกันต้องไม่สร้างอุปสรรคที่เกินจำเป็นด้วย เมื่อสมาชิกอาเซียนใดมีความพร้อมก็สามารถเข้าร่วมเจรจายอมรับคุณสมบัติของกันและกันได้ โดยใช้กรอบข้อตกลงนี้เป็นพื้นฐานในการเจรจา โดยในระหว่างนี้ประเทศอาเซียนที่ยังไม่พร้อมก็สามารถศึกษากรอบ ข้อตกลงนี้ และใช้เป็นแนวทางในการเตรียมความพร้อมของตนทั้งในแง่การส่งบุคลากรออกไปและการรับมือกับบุคลากรจากอาเซียนอาจจะเข้ามาทำงานในไทย

นอกจาก 7 วิชาชีพที่กล่าวมาข้างต้น อาเซียนได้จัดทำความตกลงยอมรับร่วมกัน ในคุณสมบัติของบุคลากรวิชาชีพท่องเที่ยว แห่งอาเซียน (ASEAN Mutual Recognition Arrange menton Tourism Professionals) เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้าย บุคลากรวิชาชีพท่องเที่ยวในอาเซียน และ แลกเปลี่ยนข้อมูลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best practices) ในการสอนและฝึกอบรมบุคลากร วิชาชีพท่องเที่ยว โดยใช้สมรรถนะเป็นหลัก (C omp ete ncy-ba se d) ทั้งนี้เพื่อร่วมมือและ เสริมสร้างความสามารถในหมู่สมาชิกอาเซียน ขณะนี้ อาเซียนอยู่ระหว่างการจัดทำหลักสูตรท่องเที่ยวแห่งอาเซียนสำหรับ 32 ตำแหน่งงาน ใน 6 สาขาแล้วเสร็จและสามารถนำไปใช้ได้ ดังตาราง

32 ตำแหน่งงานในสาขาที่พักและการเดินทาง

ตำแหน่งงานในสาขาต่างๆ

Travel Services 9 ตำแหน่งใน 2 สาขา

รายละเอียดตำแหน่งงาน

1. Travel Agencies: General Manager, Assistant Gene ral Ma nager, Senior Travel Consultant, Travel Consultant

2. Tour operation: Product Manager, Sales and Marketing Manager, Credit Manager, Ticketing Manager และ Tour Manager

Hotel Services 23 ตำแหน่งใน 4 สาขา

รายละเอียดตำแหน่งงาน

1. Front Office: Front Office Manager, Front Office Supervi sor , Receptionist, Telephone Operator และ Bell Boy

2. House Keeping : Executive Housekeeper, Laundry Manager, Floor Supervisor, Laundry Attendant, Room Attendant และ Public Area Cleaner

3. Food Producti on: Executive Chef, Demi Chef, Commis Chef, Chef de Partie, Commis Pastry, Baker และ Butcher

4. Food and Beverage Service: F&B Director, F&B Outlet Manager, Head Waiter, Bartender และ Waiter

สิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อสมาชิกอาเซียนเปิดตลาดจนบรรลุเป้าหมายในปี 2558

1. บุคลากรอาเซียนที่มีฝีมือ (Skilled Labor) ประเภทต่างๆ สามารถเข้ามา ทำงานและพำนักในทุกประเทศสมาชิกอาเซียนอย่างสะดวกมากขึ้น

2. ผู้ประกอบวิชาชีพในสาขาต่างๆ สามารถเข้ามาทำงานในประเทศสมาชิกอาเซียนได้สะดวกขึ้นโดยผ่านข้อตกลงยอมรับร่วม (Mutual Recognition Agreements - MRAs)

สถานะปัจจุบันของการเคลื่อนย้ายแรงงานในอาเซียน

  • สมาชิกส่วนใหญ่ผูกพันเพียงการโอนย้ายพนักงานบริษัทในเครือ ( Inter- Corporate Transfers) โดยจำกัดเฉพาะโอนย้ายในกลุ่มบุคลากรระดับบริหารจัดการ เท่านั้น
  • มีบางประเทศที่ผูกพันผู้ให้บริการวิชาชีพอิสระด้วย เช่น มาเลเซีย และฟิลิปปินส์- การเข้าไปให้บริการวิชาชีพในประเทศอาเซียน จะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบ การกำกับดูแลภายในของแต่ละประเทศ
56. เมื่ออาเซียนกลายเป็น AEC แล้ว แรงงานของประเทศสมาชิกอาเซียน ยังต้องใช้วีซ่าในการเดินทางเข้า-ออกระหว่างประเทศอาเซียนอีกหรือไม่

ขณะนี้ ประเทศสมาชิกอาเซียนส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องทำวีซ่าเข้า-ออกประเทศที่เป็นสมาชิกอาเซียนด้วยกัน ยกเว้นประเทศกัมพูชาและพม่าที่ยังจำเป็นต้องทำวีซ่าเข้าประเทศอยู่ สำหรับกัมพูชาไม่จำเป็นต้องขอล่วงหน้าจากสถานทูตกัมพูชา แตสามารถทำวีซ่าเข้าประเทศได้ที่สนามบินของกัมพูชา(Visa on Arrival) สำหรับพม่า ยังจำเป็นต้องขอวีซ่าเข้าประเทศจากสถานทูตพม่าก่อนเดินทางเข้าประเทศ

ขณะนี้ อาเซียนกำลังพิจารณาเรื่องการตรวจลงตราหนังสือเดินทาง (Visa) ครั้งเดียว สำหรับเดินทางเข้าประเทศในอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ เพื่ออำนวยความสะดวกในการ เดินทางของนักท่องเที่ยวซึ่งอยู่ในแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวอาเซียน ทั้งนี้ ยังไม่มี การกำหนดค่าใช้จ่ายหรือระยะเวลาพำนัก สำหรับการขอวีซ่าครั้งเดียว อย่างไรก็ตาม คาดว่าน่าจะไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จได้ภายใน 5 ปี เนื่องจากยังมีปัญหา ในด้านเทคโนโลยี ประเด็นการเมือง ความกังวลเรื่องอธิปไตยและความมั่นคง รวมทั้ง ระบบวีซ่าของแต่ละประเทศยังมีความแตกต่างกันอีกด้วย

นอกจากนั้น อาเซียนยังมีแนวคิดเกี่ยวกับการขอใบอนุญาตทำงานในอาเซียน (Working Visa) โดยให้มีอายุของ Working Visa แต่ละครั้งนานขึ้น จาก 1 ปี อาจเพิ่มขึ้น เป็น 2 หรือ 4 ปี เพื่อให้การเคลื่อนย้ายแรงงานในอาเซียนเป็นไปอย่างเสรี

57. ประชาชนของประเทศสมาชิกอาเซียนจะสามารถเข้ามาตั้งถิ่นฐานใน ประเทศไทยได้อย่างเสรี ไร้ข้อจำกัดหรือไม่

การที่ไทยหรือประเทศสมาชิกอื่นๆ จะเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 ไม่ได้หมายความรวมถึงการที่คนในประเทศสมาชิกอาเซียนเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ในประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นได้โดยเสรี ทั้งนี้ ในส่วนของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ซึ่งเป็นส่วนที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงพาณิชย์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการ เคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานมีฝีมือ อย่างเสรี และการเคลื่อนย้าย เงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น ทั้งนี้ ยังรวมไปถึงความร่วมมืออื่นๆ เช่น ความร่วมมือด้าน ทรัพย์สินทางปัญญา พลังงาน และการคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น ดังนั้น การเข้ามา ตั้งถิ่นฐานของประชาชนของประเทศอาเซียนอื่นจึงไม่อยู่ในบริบทของ AEC และหากประชาชนของประเทศอาเซียนอื่นต้องการเข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยหรือประเทศอาเซียนอื่น ก็จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและกฎหมายภายในของแต่ละประเทศอย่าง เคร่งครัด

58. แรงงานที่ไปประกอบอาชีพอยู่ในประเทศสมาชิกอาเซียนที่ไม่ใช่ภูมิลำเนาเดิม จำเป็นจะต้องโอนเงินกลับประเทศ อาเซียนมีแนวทางในการอำนวยความสะดวก ไว้แล้วหรือไม่ อย่างไร

ระบบการชำระเงินที่มีประสิทธิภาพ เชื่อถือได้ สะดวกในการใช้สำหรับประชาชนและธุรกิจ รวมถึงราคาที่สมเหตุสมผลที่เชื่อมโยงกันในอาเซียน ถือเป็นบทบาทสำคัญ ของภาคการเงินที่จะส่งเสริมการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2558 ธนาคาร แห่งประเทศไทยและธนาคารกลางอินโดนีเซียจึงได้มีกลยุทธ์ในการพัฒนาระบบการชำระเงินของอาเซียน โดยเริ่มจากการส่งเสริมให้ประเทศสมาชิกมีมาตรฐานด้านระบบการชำระเงินที่เป็นสากลร่วมกัน โดยแต่ละประเทศจะต้องเตรียมความพร้อมของ ระบบการชำระเงินของตัวเองให้สามารถเชื่อมต่อกับระบบการชำระเงินระหว่าง ประเทศสมาชิกอาเซียนได้โดยสะดวก มีความปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ เพื่อรองรับธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศด้านต่างๆ และในระยะต่อไป จะเป็นการสานต่อการเชื่อมโยงระบบการชำระเงินระหว่างอาเซียนกับภายนอกภูมิภาค

ในส่วนของประเทศไทย ระบบการชำระเงินมีการพัฒนาไปค่อนข้างมากโดยปัจจุบัน มีบริการที่สามารถรองรับการชำระเงินในธุรกรรมการค้า การลงทุน และชำระ เงินรายย่อยได้ดีพอสมควร สำหรับการเชื่อมโยงระบบการชำระเงินกับต่างประเทศก็สามารถดำเนินการผ่านระบบ Correspondent Banking และมีการเชื่อมโยงกับระบบATM AS EANPa y ซึ่ง National IT MX ได้ดำเนินการเชื่อมโยงระบบ A TM ของไทยกับมาเลเซียแล้ว และในระยะต่อไปจะขยายการเชื่อมโยงระบบ ATM ให้ครอบคลุมประเทศอื่นๆ ในอาเซียนด้วย ซึ่งจะเห็นได้ว่า ระบบการชำระเงินของไทยมีบริการที่พร้อม ระดับหนึ่งในการที่จะรองรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจในอาเซียนที่มีแนวโน้มขยายตัวและเชื่อมโยงกันมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การที่จะพัฒนาระบบการชำระเงินของไทยให้เกิดความเชื่อมโยงและรองรับกิจกรรมการค้า การลงทุน กับประเทศอาเซียนอื่นได้อย่างมี ประสิทธิภาพ จำเป็นต้องเปลี่ยนพฤติกรรมของคนไทยที่ยังคงนิยมการใช้เงินสดในการชำระเงิน ในขณะที่ประเทศอื่นได้หันไปใช้การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์กันมากขึ้นแล้ว

ดังนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงมีนโยบายที่จะพัฒนาการให้บริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ ให้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค เข้าถึงได้ง่าย ในต้นทุนที่เหมาะสม และมีความมั่นใจในเรื่องความปลอดภัย

59.การเปิดเสรีแรงงานของอาเซียนภายหลังปี 2558 จะเป็นไปในทิศทางใด

ในด้านอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมในอาเซียนบางประเภทคงถูกโยกย้ายไปยังประเทศอาเซียนอื่นที่มี ค่าจ้างแรงงานที่ต่ำกว่า โดยเฉพาะโรงงานที่รับผลิตสินค้าแบรนด์ดังระดับโลกทั้งหลายจะถูกย้ายฐานการผลิต ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เห็นเป็นประจำเมื่อต้นทุนแรงงานสูงขึ้นถึงระดับหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมผลิตรองเท้ากีฬารองเท้าผ้าใบได้เคยมีการย้ายฐานการผลิตออกจากประเทศแม่ไปยังประเทศอื่นๆ เช่น เม็กซิโก ไต้หวัน ต่อมาย้ายมาไทยและอินโดนีเซีย ต่อมาก็ย้ายไปที่จีนแล้วตามด้วยเวียดนาม และแน่นอนที่สุดก็จะไปยังกัมพูชาและพม่าในไม่ช้า สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะเจ้าของแบรนด์ไม่ได้ลงทุนสร้างโรงงานเองในประเทศที่ผลิตแต่เป็นการร่วมทุนกับคนท้องถิ่น เพื่อสะดวกต่อการโยกย้ายไปที่อื่นโดยเสียหาย น้อยที่สุด หรือคุ้มกับการลงทุนในประเทศนั้นแล้ว

สำหรับประเทศไทยในวันข้างหน้า แรงงานต่างชาติจากเพื่อนบ้านที่เข้ามาทำงานอาจจะค่อยๆ ลดลงเป็นลำดับเมื่อบ้านเมืองของเขากลายเป็นจุดสนใจที่น่าจะลงทุนในอุตสาหกรรมประเภทใช้แรงงาน (Labor Intensive Industries) จนกระทั่งขยายไปยังอุตสาหกรรมประเภทที่ใช้เทคนิคและทุนสูงขึ้นในอนาคต แรงงานหรือพนักงานในสายวิชาชีพที่แข็งแกร่งกว่าหรือมีความสามารถความชำนาญมากกว่าก็จะเริ่มเข้าไปแย่งงานคนท้องถิ่น จนกว่าคนท้องถิ่นจะสามารถพัฒนาเรียนรู้ตามได้เป็นวัฏจักร

ส่วนด้านตัวบุคลากร บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถมากกว่าอาเซียนอื่นเช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย ที่มีความสามารถด้านภาษา (อังกฤษ) สูงกว่า จะมีโอกาสเข้ามาทำงานในประเทศอื่น รวมทั้งประเทศไทยในหลายๆ อุตสาหกรรมได้ เช่น การท่องเที่ยว ด้านพลังงาน ด้าน Logistics รวมถึงด้านไอที เป็นต้น

สำหรับบุคลากรของไทยก็มีความโดดเด่นในด้านการแพทย์ เทคนิคทางการเกษตร อุตสาหกรรมรถยนต์ ก็อาจเป็นที่ต้องการของหลายประเทศเพื่อนบ้านด้วยเช่นเดียวกัน ดังนั้น จึงถึงเวลาแล้วที่ทุกคนควรทราบและตระหนักถึงทิศทางและผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ในอีก 3 ปีข้างหน้า เพื่อที่จะปรับตัวให้ทันท่วงที บุคลากรไทยเราไม่ได้ด้อยเรื่องความรู้ความสามารถ แต่อาจขาดทักษะทางด้านภาษาอังกฤษ ดังนั้นจึงควรต้องฝึกฝนเพื่อให้สามารถแข่งขันกับอาเซียนด้วยกันเอง รวมทั้งชาติอื่นๆ ได้ในวันที่ AEC มาถึง

60. ไทยจะได้เปรียบหรือเสียเปรียบจากการเปิดเสรีด้านแรงงานภายใต้ AEC

ผู้ประกอบวิชาชีพอิสระของไทยมีจุดแข็ง คือ การมีทักษะในด้านงานศิลป์ มีจิตใจการให้บริการ และหากสามารถนำภูมิปัญญาไทยมาประยุกต์ใช้ในสินค้าและบริการ จะช่วยเสริมให้มีความโดดเด่นมากขึ้น ส่วนจุดอ่อนสำคัญ คือ เรื่องภาษาอังกฤษ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอาเซียนอื่น เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย และฟิลิปปินส์

การเปิดเสรีแรงงานฝีมือในอาเซียนผ่านทางการจัดทำข้อตกลงยอมรับร่วม (MRAs)ในคุณสมบัติวิชาชีพ จะเป็นการขยายโอกาสให้แก่แรงงานไทยในการออกไป ทำงานในประเทศอาเซียนอื่น โดยเฉพาะในประเทศที่มีค่าจ้างแรงงานสูงกว่าไทย เช่น สิงคโปร์ และมาเลเซีย เป็นต้น ขณะเดียวกัน ธุรกิจไทยที่ยังขาดแคลนแรงงานฝีมือใน บางสาขา สามารถนำเข้าแรงงานจากประเทศอาเซียนได้สะดวกขึ้น โดยยังขึ้นอยู่กับ ขั้นตอนและกฎระเบียบต่างๆ ภายในประเทศ เช่นเดียวกับแรงงานไทย ซึ่งจะช่วยแก้ไข ปัญหาการขาดแคลนแรงงานฝีมือภายในประเทศ

61. การเปิดตลาดธุรกิจบริการมีผลต่อตลาดแรงงานอย่างไร และตลาด ผู้ให้บริการของไทยจะได้รับผลกระทบหรือไม่

การเปิดเสรีการค้าบริการจะเพิ่มโอกาสให้กับผู้ประกอบวิชาชีพต่างๆ เช่น วิศวกร สถาปนิก แพทย์ และพยาบาล รวมถึงแรงงานไทยที่มีฝีมือ เช่น พ่อครัว แม่ครัว พนักงานสปา พนักงานนวดแผนไทย เป็นต้น ให้สามารถเข้าไปให้บริการในประเทศสมาชิกอาเซียนได้ง่ายยิ่งขึ้น ส่วนเรื่องแรงงานไร้ฝีมือไม่อยู่ในบริบทของ การเปิดเสรีบริการอาเซียน ดังนั้น การเปิดเสรีจะไม่มีความเกี่ยวข้องกับปัญหาแรงงานต่างด้าวประเภท กรรมกรหรือรับจ้างทั่วไป รวมถึงแรงงานต่างด้าวที่ลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฏหมาย

ไทยมีศักยภาพในการแข่งขันในธุรกิจการค้าบริการในภาพรวมเป็นอันดับ 2 รองจากสิงคโปร์ ดังนั้น หากมองในแง่ของการลงทุน ไทยไม่เสียเปรียบ หรือหากจะมองในแง่ของการให้บริการของวิชาชีพต่างๆ เช่น แพทย์ พยาบาล วิศวกร เป็นต้น ข้อผูกพันก็ไดกำหนดเงื่อนไขและข้อจำกัด ที่เป็นไปตามกฎหมายไทย ซึ่งไม่อนุญาตให้ต่างชาติเข้ามาประกอบธุรกิจในไทยโดยไม่มีใบอนุญาต และปัจจุบัน กฎหมายก็ไม่อนุญาตให้วิชาชีพซึ่งกำหนดภายใต้พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551 เข้ามาทำงาน

62. ประเทศไทยจะต้องมีมาตรการป้องกันการเคลื่อนย้ายแรงงานภาคเกษตร จากประเทศในกลุ่มอาเซียนอย่างไร เมื่อเป็น AEC ในปี 2558

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ มีมาตรการป้องกันผลกระทบจากการเปิดเสรในส่วนที่กรมฯ สามารถทำได้คือ การกำหนดท่าทีการเจรจาเพื่อประโยชน์ในการป้องกันผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้น นอกจากนี้ การใช้เวทีเจรจาก็ยังเป็นช่องทางหนึ่งในการเยียวยาผลกระทบที่เกิดขึ้น

กรณีการป้องกันการเคลื่อนย้ายแรงงานภาคเกษตรจากประเทศในกลุ่มอาเซียนนั้น อาเซียนมีเป้าหมายให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือในอาเซียน ที่เรียกกัน Free flow of skill labour แต่จะไม่มีการเคลื่อนย้ายแรงงานระดับล่างหรือไม่มีฝีมือ ดังนั้น แรงงานในภาคเกษตรจะไม่อยู่ในกรอบหรือเป้าหมายที่จะให้มีการเคลื่อนย้ายในประเทศสมาชิกอาเซียน อาเซียนมีการทำงาน 2 ด้านในเรื่องการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือในอาเซียน คือ

1) ความร่วมมือภายใต้บริบท Free flow of skill labour ที่กำหนดในแผนการ ดำเนินงานประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC bluepr int) ขณะนี้อาเซียนหารือกันในประเด็นความร่วมในการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานแรงงาน ยังไม่มีการคุยกันในเรื่องการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรี ในส่วนของไทย กระทรวงแรงงานรับผิดชอบในเรื่องนี้ 2) การเปิดตลาดการค้า บริบท Free flow of Services ครอบคลุมรูปแบบการค้าบริการ 4 รูปแบบ ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายคน คือ การเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดา (Movement of natural persons) โดยส่วนใหญ่เป็นการเปิดเสรีการเคลื่อนย้ายบุคลากร ที่เน้นเฉพาะผู้ให้บริการในธุรกิจภาคบริการ ที่สำคัญ คือ บุคลากรด้านวิชาชีพที่ต้องมีใบอนุญาตประกอบอาชีพ เช่น ทนายความ นักบัญชี แพทย์ ทันตแพทย์ วิศวกรสถาปนิก เป็นต้น อีกกลุ่มหนึ่งคือผู้ให้บริการระดับฝีมือ เช่น ผู้บริหารบริษัท ผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจบริการสาขาต่างๆ ที่โอนย้ายระหว่างบริษัทที่เข้าไปจัดตั้งกิจการ หรือบุคลากรภายใต้สัญญาว่าจ้าง บุคลากรดังกล่าว ส่วนใหญ่มักจะมาพร้อมกับการลงทุน อย่างไรก็ตามการเปิดให้เข้ามาทำงานในประเทศเป็นเรื่องอ่อนไหวในทุกประเทศอาเซียน การเปิดตลาด จึงมีการกำหนดคุณสมบัติบุคลากร และเงื่อนไขการเข้ามาทำงานของต่างชาติบางประการ เช่น การกำหนดระยะเวลาทำงานในประเทศ การกำหนดคุณสมบัติพิเศษ เงื่อนไขการออกใบอนุญาต และการกำหนดขอบเขตของประเภทบุคลากร เป็นต้น ซึ่งในการเจรจาเวทีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น WTO, FTA ก็ใช้หลักการเดียวกันกับอาเซียน ที่ต้องมีการควบคุมเรื่องการเข้ามาทำงานของคนต่างชาติ

ปัจจุบันอาเซียนจึงเน้นให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานที่มีฝีมือและคุณภาพจริงๆ การเคลื่อนย้ายแรงงานภาคการเกษตรจะไม่มีโอกาสเกิดขึ้น เพราะต้องเข้าใจว่าทุก ประเทศอาเซียนหรือแม้แต่ประเทศต่างๆ ในโลกก็มีความอ่อนไหวในเรื่องตลาดแรงงานภายในประเทศ ยกเว้นอินเดีย ที่มักจะต้องการให้ประเทศอื่นเป็นฝ่ายเปิดตลาดบุคลากร ให้ แต่ก็ไม่มีประเทศไหนเปิดตลาดให้ เพราะทราบกันดีว่าคนอินเดียต้องการออกไปทำงานในต่างประเทศมากเกินกว่าตลาดจะรองรับได้ เมื่อประเทศใดเปิดตลาดให้ประเทศที่มี คนจำนวนมากต้องการออกไปทำงานในต่างประเทศ ก็จะเป็นฝ่ายเสียเปรียบมากเพราะควบคุมจำนวนคนไม่ได้ในทางปฏิบัติ

การบูรณาการเข้ากับประชาคมโลก

63. ภายใต้ AEC อาเซียนมีแนวนโยบายในการจัดทำความตกลงเขตการค้า เสรีกับประเทศหรือกลุ่มประเทศนอกภูมิภาคอย่างไร

ตามแผนงานไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint) ระบุไว้ว่าอาเซียนจะต้องดำเนินงานเพื่อสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกันที่จะมีปฏิสัมพันธ์ด้าน เศรษฐกิจกับภายนอก ซึ่งเป็นเสาหลักที่ 4 ที่กำหนดไว้ใน Blueprint ซึ่งการมีปฏิสัมพันธ์ ด้านเศรษฐกิจกับประชาคมโลกจะรวมถึงการเจรจาจัดทำเขตการค้าเสรี (Free Trade A gre e me nt ) และความตกลงว่าด้วยหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ (C lo ser E c on om ic Partnership) ที่แสดงให้เห็นว่า อาเซียนเป็นภูมิภาคที่เปิด และพร้อมจะเข้าร่วมการเจรจาเขตการค้าเสรีกับมิตรประเทศเพื่อให้ได้ประโยชน์ร่วมกัน

64. อาเซียนมีท่าทีอย่างไรต่อกรณีที่มีประเทศสมาชิกอาเซียนบางประเทศเข้าร่วม ในการเจรจา Trans Pacific Strategic Partnership (TPP) แล้ว

การที่ประเทศสมาชิกอาเซียน 4 ประเทศ คือ บรูไนฯ สิงคโปร์ มาเลเซียและเวียดนาม ได้เข้าร่วมในการเจรจา TPP แล้ว ถือเป็นปัจจัยที่ลดทอนการให้ความสำคัญของอาเซียนต่อคู่เจรจาลง และอาจทำให้อาเซียนสูญเสียความเป็นศูนย์กลาง (ASEAN Centrality) ได้ ด้วยเหตุนี้ อาเซียนได้เห็นร่วมกันว่ามีความจำเป็นต้องพิจารณาแนวทางการเจรจา FTA นอกภูมิภาคมากกว่า 1 ประเทศ หรือ ASEAN++FTA ซึ่งเป็นการเจรจากับประเทศที่มี FTA กับอาเซียนแล้ว ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ให้มีความชัดเจนโดยเร็ว

สหรัฐฯ ผลักดัน TPP อย่างมากเพราะเกรงว่าการรวมกลุ่มของประเทศในเอเชียตะวันออกโดยไม่มีสหรัฐฯ โดยเฉพาะกรอบ ASEAN+3 อาจเป็นการลดทอนบทบาทของสหรัฐฯ ในภูมิภาคนี้ ซึ่งอาจพัฒนาเป็นประชาคมเอเชียตะวันออก โดยจะมีจีนเป็นผู้นำรวมทั้งแนวคิดการจัดตั้งเขตการค้าเสรีเอเชียตะวันออก ในกรอบ ASEAN+3 และยังมี FTA ในรูปของ ASEAN+1 อยู่อีกมากมาย อาทิ อาเซียน-จีน อาเซียน-อินเดีย อาเซียน-ญี่ปุ่น และเพื่อป้องกันแนวโน้มดังกล่าว สหรัฐฯ ต้องป้องกันการรวมกลุ่มในเอเชียตะวันออก จึงผลักดันความตกลง TPP ซึ่งจะเป็น FTA ที่จะมีสหรัฐฯ เป็นแกนนำ

ที่ผ่านมาประเทศสมาชิกอาเซียนแต่ละประเทศมีนโยบายไม่แทรกแซงการ ตัดสินใจนโยบายต่างๆของประเทศสมาชิกอื่นๆ การพิจารณาว่าจะเข้าร่วมเจรจา TPP หรือความตกลงใดๆ ในกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจต่างๆ ที่แต่ละประเทศสมาชิก อาเซียนมีสถานะเป็นภาคีอยู่จึงขึ้นอยู่กับนโยบายการค้าและเศรษฐกิจของประเทศ สมาชิกอาเซียนแต่ละประเทศเท่านั้น

65. อาเซียนมีนโยบายระดับภูมิภาคที่เกี่ยวข้องกับการเจรจาในกรอบองค์การ การค้าโลก (World Trade Organization: WTO) หรือไม่/อย่างไร

-ตามแผนงานไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community Blueprint) ระบุไว้ว่า อาเซียนจะดำเนินการให้มีระบบที่จะสนับสนุนการประสานงานมากขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรลุกรอบท่าทีการเจรจาร่วมกัน

-สำหรับเวที WTO อาเซียนมีกลไกที่เรียกว่า ASEAN Geneva Committee เป็นเวทีในการหารือร่วมกันระหว่าง 10 ประเทศสมาชิก เพื่อพยายามประสานท่าทีในประเด็นต่างๆ ที่มีการเจรจากันอยู่ในเวที WTO

-อย่างไรก็ดี ประเทศสมาชิกแต่ละประเทศยังมีอำนาจเต็มที่จะตัดสินใจและกำหนดท่าทีอย่างเป็นทางการของประเทศของตน

66. อาเซียนมีนโยบายที่จะจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรีกับประเทศคู่ค้าต่างๆ เพิ่มขึ้นจากเดิมที่ทำกับประเทศคู่ค้าสำคัญ คือ จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ไปแล้ว อีกหรือไม่

อาเซียนมีนโยบายการเป็นภูมิภาคเปิดตามเป้าหมายการบูรณาการเข้ากับ เศรษฐกิจโลก โดยปัจจุบันอาเซียนได้มีการศึกษาและให้ความสำคัญกับการจัดตั้งเขต การค้าเสรีเอเชียตะวันออก (ASEAN+3 และ ASEAN+6) สำหรับการจัดทำเขตการค้าเสรี กับประเทศหรือภูมิภาคอื่นยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น แต่คาดว่า จะมีพัฒนาการไปในทิศทาง ที่เข้มข้นมากขึ้น

67. ความตกลงเขตการค้าเสรีในกรอบอาเซียน+3 และสมาชิกเวทีการประชุม สุดยอดเอเชียตะวันออก (East Asia Summit) มีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร

เพื่อเพิ่มพูนความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่ดีกับทั้งกลุ่ม +3 (จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี) และประเทศสมาชิกเวทีการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก หรือ East Asia Summit (จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี อินเดีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์) ซึ่งทุกประเทศ เป็นคู่ค้าสำคัญและแหล่งที่มาของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศทั้งของไทยและ

อาเซียนมายาวนาน เนื่องจากการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจกับประเทศดังกล่าว จะนำไปสู่การขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างมหาศาล และสร้างตลาดขนาดใหญ่ที่มีประชากรรวมหลายพันล้านคน (จีน 1,300 ล้านคน ญี่ปุ่น 128 ล้านคน และเกาหลีใต้ 49 ล้านคน อินเดีย 1,200 ล้านคน ออสเตรเลีย 23 ล้านคน และนิวซีแลนด์ 5 ล้านคนรวมประชากรอาเซียน 590 ล้าน คน รวมทั้งสิ้น 3,300 ล้านคน เป็นร้อยละ 47.82 ของประชากรโลก หรือ เกือบครึ่งของประชากรโลกทั้งหมด)

68. การเจรจาทำความตกลงเขตการค้าเสรีในกรอบอาเซียน +3 และ East Asia Summit มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรมหรือไม่

แนวโน้มความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติของการขยายการรวมกลุ่มของอาเซียนกับกลุ่มประเทศดังกล่าวมีมากพอสมควร โดยเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2554 ผู้นำอาเซียนได้ รับรองเอกสารกรอบเจรจาของอาเซียน เพื่อเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ อย่างกว้างขวางในภูมิภาค (ASEAN Framework for Regional Comprehensive Economic Partn ers hip) ซึ่งกำหนดกรอบแนวทางและหลักการในการเจรจาเพื่อขยายการรวม กลุ่มในภูมิภาค โดยให้เริ่มจากการเจรจาทำความตกลงระหว่างอาเซียนกับประเทศ คู่เจรจาที่มีความสนใจเข้าร่วมก่อน โดยไม่ได้กำหนดจำนวนของประเทศคู่เจรจาไว้

อื่นๆ (ทรัพย์สินทางปัญญา การคุ้มครองผู้บริโภค พลังงาน)

69. AEC จะทำให้ไทยต้องยอมรับพันธกรณีด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่เข้มงวด เกินไปกว่าพันธกรณีของไทยภายใต้ WTO หรือไม่

ในการเข้าสู่ AEC ไทยไม่ต้องยอมรับพันธกรณีด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่เข้มงวดเกินกว่าพันธกรณีของไทยภายใต้ WTO โดยในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา ไทยจะต้อง ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการด้านสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาอาเซียน ปี 2554-2558 (ASEAN I PR Action Plan 2011-2015) ซึ่งเป็นแผนความร่วมมือด้านทรัพย์สินทางปัญญา โดยครอบคลุมกิจกรรมต่างๆ ที่สำคัญ เช่น การเข้าเป็นภาคีความตกลงระหว่างประเทศเพื่อพัฒนาระบบการรับจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา ได้แก่ พิธีสารมาดริดสำหรับเครื่องหมายการค้า และความตกลงเฮก ด้านสิทธิบัตรการออกแบบ การแลกเปลี่ยนผลการตรวจสอบสิทธิบัตรภายใต้โครงการ ASPEC การฝึกอบรมและพัฒนาศักยภาพผู้ตรวจสอบเครื่องหมายการค้า สิทธิบัตร และสิทธิบัตรการออกแบบ และการจัดทำเวบไซต์เผยแพร่ข้อมูลทรัพย์สินทางปัญญาอาเซียน (IP Portal) เป็นต้น

70. การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของสินค้าไทยจะมีประโยชน์ต่อการ ส่งออกของไทย อย่างไร

-โดยหลักการแล้ว การให้การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาจะช่วยผลักดันให้ เกิดการสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรม สติปัญญา ศิลปะ และการใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ จากการสร้างสรรค์ดังกล่าว ตลอดจนการรับและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงอย่างมี ประสิทธิภาพ และการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังช่วยสร้างความมั่นใจ แก่ผู้มีส่วนได้เสียในการเข้าถึงและได้รับประโยชน์จากสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเท่าเทียมกัน

-การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาจึงจะช่วยลดการปลอมแปลง/ลอกเลียนสินค้าไทยในต่างประเทศ ส่งผลให้ไทยมีโอกาสส่งออกสินค้าไทยไปต่างประเทศมากยิ่งขึ้น

71. การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาสำหรับสินค้าไทยจะส่งผลกระทบต่อการแข่งขันระหว่างสินค้าของไทยกับสินค้าประเภทเดียวกันที่นำเข้ามาขายในตลาดของ ประเทศไทย หรือไม่/อย่างไร

การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาจะช่วยลดการนำเข้าสินค้าต่างชาติที่ปลอมแปลง/ลอกเลียนสินค้าไทย ทำให้สินค้าไทยมีโอกาสพัฒนาและขยายตลาดในประเทศได้มากขึ้น

72. AEC จะส่งผลกระทบต่อสาขาพลังงานอย่างไร

-ภายใต้แผนงานการไปสู่ AEC ครอบคลุมความร่วมมือด้านพลังงานในการพัฒนาและการนำพลังงานมาใช้ ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในการลงทุนในสาขาพลังงาน และขยายความร่วมมือกับประเทศคู่เจรจา ได้แก่ จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น โดยมีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานในภูมิภาค

-ความร่วมมือด้านพลังงานของอาเซียนที่สำคัญ ได้แก่ การพัฒนาโครงการเครือข่ายระบบสายส่งไฟฟ้าของอาเซียน และโครงการเชื่อมโยงท่อส่งก๊าซธรรมชาติของอาเซียน การเสริมสร้างความมั่นคงของแหล่งน้ำมัน และก๊าซในภูมิภาค การสร้างแหล่ง พลังงานทดแทนที่สามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่ อาทิ ไบโอดีเซล การส่งเสริมการค้า และการอำนวยความสะดวก และความร่วมมือในสาขาพลังงานที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ รวมถึง อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับแหล่งพลังงาน

-นอกจากนี้ AEC ยังจะสร้างโอกาสสำหรับความร่วมมือด้านพลังงานอื่นๆ ด้วย อาทิ

1) ความร่วมมือดำเนินการต่อเนื่องในโครงการความร่วมมือด้านพลังงานที่มีอยู่ในปัจจุบัน เช่น แผนงานเชื่อมโยงระบบสายส่งไฟฟ้าและแผนงานเชื่อมโยงระบบท่อส่งก๊าซของอาเซียน

2) ความร่วมมือวิจัยและร่วมลงทุนระหว่างกัน (Joint venture) เพื่อค้นหาพลังงาน ธรรมชาติแหล่งใหม่ เช่น ปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน

3) ความร่วมมือในการวิจัย/ทดลอง ปรับปรุง และร่วมลงทุนด้านพลังงาน ทดแทนเช่น พลังงานแสงอาทิตย์ ลม น้ำ คลื่น ความร้อนใต้พิภพ และ Biomass (จากพืช และสัตว์)

4) ความร่วมมือวิจัยและร่วมลงทุนผลิตผลิตภัณฑ์และเครื่องยนต์ที่ประหยัดพลังงาน เพื่อใช้ในชุมชน การขนส่ง ธุรกิจและสถานศึกษา

5) ความร่วมมือวิจัยการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและอย่างยั่งยืน โดยคำนึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

6) ความร่วมมือในการรณรงค์การใช้พลังงานอย่างประหยัดและใช้กลไก ทางตลาดเพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

7) ความร่วมมือด้านแลกเปลี่ยนข้อมูลและร่วมลงทุนผลิตพลังงาน (ทดแทน)

8) ความร่วมมือสร้างและปรับปรุงเครือข่ายเชื่อมโยงการส่งผ่านพลังงาน และ การจัดตั้งคลังพลังงาน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อการลงทุนในภูมิภาค

9) ขยายความร่วมมือวิจัย/ทดลอง และร่วมลงทุนด้านพลังงานกลุ่มเศรษฐกิจ ภูมิภาคต่างๆ

ผลกระทบ/การปรับตัว/มาตรการรองรับ

73. สินค้าและบริการของไทยประเภทใดบ้างที่อาจได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้าภายใต้ AEC หากไม่มีการเตรียมความพร้อมที่เหมาะสม

สินค้าและบริการของไทยที่อาจได้รับผลกระทบจากการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น มีดังนี้

(1) สินค้า

  • สินค้าเกษตร ได้แก่ น้ำมันปาล์ม (มีคู่แข่งคือมาเลเซีย) เมล็ดกาแฟ (มีคู่แข่งคือเวียดนาม) มะพร้าว (มีคู่แข่งคือฟิลิปปินส์) และชา (มีคู่แข่งคืออินโดนีเซีย) ส่วนข้าว มีข้อกังวลว่าอาจได้รับผลกระทบจากการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นจากประเทศ ในอาเซียน และจากการลักลอบนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน
  • สินค้าอุตสาหกรรม ได้แก่ ปิโตรเลียม (มีโอกาสจะขาดดุลการค้ากับ มาเลเซียและพม่ามากขึ้น) เคมีภัณฑ์ ยาง พลาสติก (มีโอกาสจะขาดดุลการค้ากับ สิงคโปร์และมาเลเซียเพิ่มขึ้น) เหล็ก โลหะ (มีโอกาสจะขาดดุลการค้ากับอินโดนีเซีย และมาเลเซียเพิ่มขึ้น) และยา (มีโอกาสจะขาดดุลการค้ากับฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และอินโดนีเซียเพิ่มขึ้น)

(2) บริการ

-บริการด้านโลจิสติกส์ *โทรคมนาคม *สาขาที่ต้องใช้เงินลงทุนและเทคโนโลยีสูง

-บริการด้านสุขภาพ เช่น โรงพยาบาล (คู่แข่งสำคัญ คือ สิงคโปร์ มีความ ได้เปรียบในแง่ชื่อเสียง ความน่าเชื่อถือ และระบบการบริหารจัดการ)

-บริษัทสถาปนิกขนาดกลางและเล็ก ซึ่งเป็นกลุ่มตลาดใหญ่ ที่มีเงินทุนน้อยและไม่มีเครือข่าย เมื่อเทียบกับบริษัทของอาเซียนอื่น เช่น สิงคโปร์(3) ด้านการลงทุน ประเทศอาเซียนที่มีความน่าสนใจและความได้เปรียบ ด้านต่างๆ อาจแย่งการลงทุนจากต่างชาติไป ทั้งนี้ ประเทศสมาชิกอาเซียนที่เป็น คู่แข่งสำคัญของไทยในด้านความสามารถในการดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ ได้แก่ เวียดนาม สิงคโปร์ และมาเลเซีย

74. ประเทศไทยจะต้องเตรียมความพร้อมในด้านใดบ้างเพื่อที่จะได้รับประโยชน์ จาก AEC ได้อย่างเต็มที่

ในภาพรวม ทุกภาคส่วนต้องตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของตน และเตรียมพร้อมรับความเปลี่ยนแปลง ดังนี้

ประชาชน - จำเป็นต้องเรียนรู้เกี่ยวกับ ประเทศสมาชิกอาเซียน ทั้งในด้านภาษา วัฒนธรรม ทัศนคติ ค่านิยม เพื่อสร้างความเข้าใจในการติดต่อ สื่อสารและลดความขัดแย้งทางสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการสนับสนุนการรวมกลุ่มทาง เศรษฐกิจของอาเซียน

ภาครัฐ

  • ต้องทำหน้าที่สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชนและผู้ประกอบการ โดยเฉพาะกลุ่ม SMEs ซึ่งมีบางส่วนที่ยังไม่พร้อมที่จะแข่งขันกับต่างชาติ และต้องการ ความช่วยเหลือจากภาครัฐในการปรับตัว นอกจากนี้ ยังต้องเตรียมความพร้อมให้แก่ นักเรียน นักศึกษาที่กำลังจะเข้าสู่ตลาดแรงงานในอนาคต
  • เตรียมการช่วยเหลือภาคเอกชนที่จะได้รับผลกระทบให้ปรับตัวโดยการออก นโยบาย/มาตรการที่เหมาะสม
  • สนับสนุนส่งเสริมภาคเอกชนให้ใช้ประโยชน์จาก AEC
  • กำกับติดตามและดำเนินการตามพันธกรณีของไทยใน AEC รวมทั้งติดตาม การปฏิบัติตามพันธกรณีของประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น เพื่อรักษาผลประโยชน์ ของประเทศ
  • สร้างเสริมสมรรรถนะบุคลากรและแรงงาน ที่มีคุณภาพเพื่อสามารถ แข่งขันได้ใน AEC
  • การดำเนินการตามพันธกรณีภายใต้ AEC หลายประการอาจมีความยาก ลำบาก ไม่ว่าในแง่ของการแก้ไขกฏหมาย หรือการให้ภาคส่วนต่างๆ ยอมรับ ดังนั้น ภาครัฐในแต่ละสาขาที่เกี่ยวข้องจะต้องเป็นตัวหลักในการดำเนินการ โดยจะต้อง พิจารณาบนรากฐานของผลประโยชน์ "ส่วนใหญ่" ที่จะเกิดขึ้นกับประเทศ โดยไม่ยึดติด กับความคิดว่า "ติดกฎหมายภายใน" "การแก้ไขจะยุ่งยากลำบาก"
  • ข้าราชการจะต้องเป็น "ผู้นํแห่งการเปลี่ยนแปลง"
  • ภาครัฐจะต้องพิจารณาแนวทางดำเนินการและเป็นแรงผลักดันให้เกิดการ ดำเนินการที่มีประสิทธิภาพและได้ผล เพื่อเยียวยาช่วยเหลือภาคส่วนที่อาจจะได้รับผลกระทบเนื่องจากการต้องปฏิบัติตามพันธกรณี

ภาคเอกชน

  • องค์กรหรือสมาคมธุรกิจต่างๆ เช่น สภาหอการค้าฯ สภาอุตสาหกรรมฯ ควรทำหน้าที่เป็นแกนกลาง ในการปรับประสานสร้างความเข้าใจร่วมกันในระหว่าง อุตสาหกรรมและธุรกิจ โดยมองประโยชน์ของประเทศเป็นสำคัญ และอาจต้องอาศัยแนวทางการสร้างพันธมิตรกับภาครัฐ (Public Private Partnership) เพื่อให้ทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมกันรับภาระหน้าที่การดำเนินการไปพร้อมๆกัน
  • การเป็น AEC อาจทำให้เกิดการแข่งขันที่เข้มข้นมากยิ่งขึ้น ภาคเอกชนจึงควร ให้ความสำคัญต่อการติดตามข่าวสาร และการเรียนรู้ข้อมูลใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง ตลอดจนสนับสนุนการสร้างพันธมิตรกับภาครัฐ เพื่อเป็นช่องทางในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อมูล ใส่ใจและเพิ่มพูนการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ AEC และ FTA ต่างๆ รวมทั้งมี ปฏิสัมพันธ์กับภาครัฐอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เพื่อให้ภาครัฐรับทราบและตระหนักรู้ ถึงความต้องการ ตลอดจนปัญหา-อุปสรรคในทางปฏิบัติที่ภาคเอกชนอาจได้รับด้วย
75.กรณีที่ไทยมีข้อพิพาทกับประเทศสมาชิกอาเซียนในเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการค้า จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินการไปสู่ AEC หรือไม่

ข้อพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน แม้จะไม่เกี่ยวข้องกับการค้าแต่อาจมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของประชาคมโลกในความมุ่งมั่นของอาเซียนเพื่อไปสู่ AE C เนื่องจากความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศย่อมมีผลต่อความ สัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการค้าและการลงทุน อย่างไรก็ตาม เมื่อคำนึงถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับร่วมกันจาก AEC ประเทศสมาชิกอาเซียนจึงยังมีความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติ ตามข้อผูกพันในการไปสู่ AEC ในปี 2558

76. ประเทศไทยมีพันธกรณีต้องยกเลิกมาตรการโควตาภาษีสินค้าเกษตรภายใต้ความตกลงการค้าสินค้าอาเซียน (ATIGA) หน่วยงานที่รับผิดชอบได้เตรียม มาตรการรองรับไว้หรือไม่อย่างไร

กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) ในฐานะหน่วยงานดูแลบริหารการนำเข้าสินค้าเกษตรภายใต้ AFTA ได้จัดทำมาตรการบริหารการนำเข้าสินค้าเกษตร เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อภาคเกษตรของไทย และมีการติดตาม ประเมินผล และปรับปรุงมาตรการบริหารการนำเข้าให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน โดยดำเนินการ ออกมาตรการต่างๆ ได้แก่ กำหนดให้เป็นสินค้าที่ต้องขอหนังสือรับรองประกอบการนำเข้ากำหนดคุณสมบัติผู้นำเข้า กำหนดมาตรฐานการผลิต เช่น ต้องมีใบรับรองสารพิษตกค้าง กำหนดมาตรการสุขอนามัยพืช (SPS) ที่เข้มงวด เช่น ต้องแสดงใบรับรองสุขอนามัยพืชจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้ของประเทศต้นทาง ตรวจเข้มใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้ากำหนดด่านนำเข้า กำหนดช่วงเวลานำเข้า ต้องรายงานการนำเข้า การใช้ การจำหน่ายและสต๊อกคงเหลือภายใน 1 เดือนและมีบทลงโทษหากไม่ดำเนินการ รวมทั้งจัดให้มีระบบติดตามการนำเข้า ตรวจสอบ และประเมินผล ผลจากการบริหารการนำเข้าที่ผ่านมา สามารถกำกับดูแลการนำเข้าภายใต้ A FTA ได้ผลดี โดยเฉพาะสินค้าที่มีความกังวลกันมาก ได้แก่ ข้าว เมล็ดกาแฟ และกาแฟสำเร็จรูป เป็นต้นพร้อมกันนี้ ยังได้ส่งเสริมการใช้สิทธิประโยชน์ ภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ให้มากยิ่งขึ้น เพื่อก้าวไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างสมบูรณ์ในปี 2558 รวมทั้งมีโครงการช่วยเหลือเพื่อการปรับตัวของภาคการผลิตและภาคบริการที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า หรือกองทุน FTA เพื่อช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกอบการในลักษณะของการวิจัยและพัฒนาสินค้า ให้สามารถแข่งขันในตลาดได้

77. อาเซียนเตรียมความพร้อมในการช่วยให้ภาคอุตสาหกรรม สามารถใช้ประโยชน์จากการที่อาเซียนจะกลายเป็นตลาดและศูนย์กลาง การผลิตเดียวกันอย่างไร

-ในการเตรียมความพร้อมให้แก่ภาคอุตสาหกรรม สมาชิกอาเซียนทุกประเทศเน้นกิจกรรมสร้างความตระหนักรู้ และเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับ AEC และการใช้สิทธิประโยชน์ เพื่อขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุน รวมถึงการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจในอาเซียน เพื่อพัฒนาห่วงโซ่การผลิตในภูมิภาคและเชื่อมโยงกับห่วงโซ่อุปทานโลก

-ในระดับภูมิภาค อาเซียนได้จัดให้มีเวทีการหารือเชิงนโยบายระหว่างรัฐมนตรี เศรษฐกิจอาเซียนกับผู้แทนระดับสูงของภาคเอกชนในสาขาต่างๆ เช่น ยานยนต์ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม อิเล็กทรอนิกส์ และโลจิสติกส์ รวมถึงสภาธุรกิจอาเซียน-สหรัฐฯ เพื่อหารือและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นการรวมกลุ่มเศรษฐกิจในสาขานั้นๆโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมในตลาดระหว่างประเทศ และสนับสนุนการรวมตัวของอุตสาหกรรมในภูมิภาค

-นอกจากนี้ ในแต่ละปี สภาธุรกิจที่ปรึกษาอาเซียน จะจัดงาน ASEAN Business and Investment Summit เพื่อเปิดโอกาสให้ตัวแทนจากภาคธุรกิจภายในอาเซียนได้มีโอกาสพบหารือ และสร้างเครือข่ายทางธุรกิจระหว่างกันด้วย

78. หากผู้ประกอบการประสงค์จะแสดงความคิดเห็น หรือนำเสนอ ข้อร้องเรียน/ข้อวิตกกังวล เกี่ยวกับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า จะต้องทำอย่างไร

-ผู้ประกอบการที่มีความกังวลสามารถนำเสนอข้อคิดเห็นต่อหน่วยงาน ภาครัฐที่เกี่ยวข้องผ่านทางสมาคมธุรกิจต่างๆ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย หรือ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

-ในส่วนของกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้จัดตั้งศูนย์บริการข้อมูลประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Information Center) เพื่อเผยแพร่ผลการเจรจาการ ค้าระหว่างประเทศ และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการใช้สิทธิประโยชน์จากการเป็นประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน และจากกรอบความตกลงการเปิดเสรีทางการค้าต่างๆ ของไทย ซึ่งผู้ใช้ บริการจะสามารถนำความรู้ความเข้าใจไปใช้ประโยชน์ในการประกอบธุรกิจได้อย่างเป็นรูปธรรม

-ทั้งนี้ หากผู้ประกอบการมีความประสงค์จะร้องเรียนผลกระทบจากการ ทะลักเข้าของสินค้าบางรายการจากประเทศสมาชิกอาเซียน/ประเทศนอกอาเซียน ที่มีลักษณะเป็นการทุ่มตลาด สามารถติดต่อได้ที่กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวง พาณิชย์ (สายด่วน โทร. 1385)

79. เมื่ออาเซียนเป็น AEC แล้ว ผู้ประกอบการของไทยควรจะใช้แนวทางใด ในการปรับตัวเพื่อเตรียมรับมือการแข่งขันกับบริษัทขนาดใหญ่

ผู้ประกอบการอาจใช้แนวทางการปรับตัวเพื่อรองรับการแข่งขันดังนี้

ในเชิงรุก

1) ศึกษา/เสาะหาแหล่งวัตถุดิบใน AEC เนื่องจากไทยสามารถนำเข้าวัตถุดิบ สินค้ากึ่งสำเร็จรูปจากแหล่งผลิตใน AEC ที่มีความได้เปรียบด้านราคาและคุณภาพ

2) ศึกษารสนิยมและแนวโน้มความต้องการของผู้บริโภคสินค้าและบริการใน AEC เพื่อที่จะผลิต/ให้บริการได้ตรงตามความต้องการของตลาดที่ใหญ่ขึ้น และ ใช้ประโยชน์จาก Economy of Scale หรือการประหยัดต่อขนาดการผลิต

3) ดูความเป็นไปได้ในการย้ายฐานผลิต โดยไทยสามารถย้ายฐานการผลิต ไปยังประเทศสมาชิกอาเซียนที่เหมาะเป็นแหล่งผลิตที่ประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ มีจุดแข็งในส่วนที่ไทยยังไม่มี

4) ให้ความสนใจประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียน (กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม) ในแง่ของการเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออกไปยังตลาดนอกภูมิภาค เพื่อใช้ประโยชน์จากการ รับสิทธิพิเศษด้านภาษีที่ประเทศที่พัฒนาแล้วบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ให้แก่ประเทศดังกล่าวในฐานะประเทศที่มีระดับการพัฒนาน้อยที่สุด

5) พัฒนาและปรับระบบของบริษัท เพื่อให้ใช้ประโยชน์จากโลจิสติกส์ได้เต็มที่ เนื่องจากการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ใน ภูมิภาคจะทำให้ต้นทุนด้านโลจิสติกส์ถูกลงและสะดวกขึ้น

6) ศึกษา/เสาะหาความเป็นไปได้ในการตั้งธุรกิจและใช้แรงงานจาก AEC เนื่องจากจะตั้งฐานธุรกิจที่ใดก็ได้ในอาเซียน เนื่องจากกฎระเบียบต่างๆ จะผ่อนคลายและเปิดกว้าง มากขึ้น และในด้านแรงงานจะช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานฝีมือได้อีกทางหนึ่ง

7) ลงทุนด้านการค้นคว้าวิจัย เพื่อพัฒนาการผลิตสินค้า/ให้บริการที่แตกต่างจากคู่แข่งอื่น เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และสร้างตราสินค้าของตนเองให้เป็นที่ยอมรับในตลาดต่างประเทศ

8) พัฒนาบุคลากรในองค์กรให้มีความรู้/ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และจัดให้มี การฝึกอบรมเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทันกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ที่ทันสมัย และสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้แก่องค์กร

ในเชิงรับ

1) ต้องเรียนรู้คู่แข่ง

2) พยายามพัฒนาประสิทธิภาพของการผลิตเพื่อลดต้นทุน

3) เร่งเสริมจุดแข็ง ลดจุดอ่อน

4) เปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส โดยการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจกับผู้ประกอบการ ในประเทศสมาชิกอาเซียน

5) ใช้กลยุทธ์ที่เหมาะสมเพื่อรักษาและดึงดูดผู้ใช้บริการหรือลูกค้า

6) ต้องเรียนรู้วิธีการรักษาและพัฒนาบุคลากรขององค์กร/บริษัทไว้ เพื่อให้ บุคลากรมีความซื่อสัตย์ต่อองค์กร และทำงานให้องค์กรอย่างเต็มที่และเต็มใจ

80.เพราะเหตุใด การเตรียมการรองรับการเป็น AEC ของประเทศไทยจึงต้อง ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาและยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน

การรวมกลุ่มเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) หมายถึง การรวมตลาดและ ฐานการผลิตเดียวของประเทศอาเซียน 10 ประเทศ มีการเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตทั้งวัตถุดิบ แรงงาน และสินค้าทุนได้อย่างเสรี ผู้ประกอบการที่สามารถใช้ประโยชน์จาก จุดแข็งของตน ควบคู่ไปกับการใช้โอกาสที่เกิดขึ้นจาก AEC ย่อมมีความได้เปรียบในการแข่งขันเหนือคู่แข่งอื่นในอาเซียน ขณะเดียวกัน ภาคเอกชนไทยยังต้องมองภาพตลาดคืออาเซียน 10 ประเทศ ไม่จำกัดเฉพาะในประเทศเท่านั้น ก่อนจะขยายไปในระดับภูมิภาค หรืออาเซียน++ และตลาดโลก นอกจากนั้น ยังต้องคำนึงถึงรูปแบบการแข่งขัน ทางการค้าที่เปลี่ยนไปจากการกีดกันโดยใช้มาตรการด้านภาษี เป็นมาตรการที่มิใช่ภาษี โดยเฉพาะประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม

ดังนั้น การพัฒนาและการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันจึงเป็น กลยุทธ์สำคัญที่ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนไทยต้องให้ความสำคัญเพื่อเตรียมการ รองรับการเป็น AEC และหลีกเลี่ยงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น

81. ประเทศไทยมีกลไกหรือมาตรการอะไรบ้างที่จะช่วยเยียวยาผู้ประกอบการ ที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรี (สินค้า บริการ การลงทุน) ภายใต้ AEC

ประเทศไทยมีกลไกที่จะช่วยเยียวยาผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า ตามพันธกรณีภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรีต่างๆ รวมทั้ง AEC ดังนี้

-กองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถ การแข่งขันของประเทศ ภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร) (โทร. 0-2940-6972, 0-2940-6850) เพื่อปรับโครงสร้างการผลิต ปฏิรูปผลิตผลทางการเกษตร เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต พัฒนาคุณภาพ ตลอดจน การแปรรูป การสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าเกษตรและอาหาร และช่วยเหลือให้เกษตรกร ปรับเปลี่ยนการผลิตจากสินค้าที่ไม่มีศักยภาพสู่สินค้าที่มีศักยภาพ

-โครงการช่วยเหลือเพื่อการปรับตัวของภาคการผลิตและบริการที่ได้รับผลกระทบ จากการเปิดเสรีทางการค้า (กองทุน FTA) ภายใต้การดูแลของกรมการค้าต่างประเทศ (สายด่วน โทร. 1385) กระทรวงพาณิชย์จะสนับสนุนเรื่องการวิจัยและพัฒนา จัดหาที่ปรึกษา และปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารจัดการธุรกิจ

-แผนแม่บทโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา ( int ell ectu al infrastr uctu re )ภายใต้การดูแลของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (0-2202-4321)เน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม วัฒนธรรม การเป็นผู้ประกอบการ(Enpreneurship) และจริยธรรมในสังคม กฏหมายและแรงจูงใจ และโครงสร้างพื้นฐานและสถาบัน

-แผนแม่บทการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพของภาคอุตสาหกรรม ภายใต้การดูแลของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพและผลิตภาพ และแก้ไขปัญหา ตลอดจนสร้างความเข้มแข็งและภูมิคุ้มกันให้กับภาคอุตสาหกรรมของไทยให้สามารถอยู่รอดและแข่งขันได้ในเวทีการค้าโลก ตลอดจนผลักดันให้ภาคเอกชนมีบทบาทในการพัฒนาด้วยตนเอง

อย่างไรก็ดี แต่ละโครงการหรือกองทุนข้างต้นมีเงื่อนใขให้การพิจารณาให้ ความช่วยเหลือหรือให้การเยียวยาผู้ประกอบการแตกต่างกัน ซึ่งผู้ที่สนใจควรติดต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงเพื่อสอบถามรายละเอียดในทางปฏิบัติต่อไป

นอกจากนี้ ในกรณีที่การเปิดเสรีทางการค้า ทำให้สินค้าจากต่างประเทศ ทะลักเข้าประเทศจนเกิดผลกระทบต่อผู้ผลิต/ผู้ประกอบการภายในประเทศ ประเทศไทยสามารถใช้มาตรการปกป้องที่เหมาะสม (เช่น การขึ้นภาษี การจำกัดปริมาณนำเข้า) ตามข้อกำหนดภายใต้พระราชบัญญัติมาตรการปกป้องการนำเข้าที่เพิ่มขึ้น (Safeguard Measure) พุทธศักราช 2550 ภายใต้การดูแลของ กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน 2551 ได้ด้วย

82. ประเทศไทยมีระบบเศรษฐกิจแบบคู่ขนาน (Dual Track) คือมีกลุ่ม ผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรม กับกลุ่มผู้ประกอบการด้านการเกษตร ซึ่งสองกลุ่มจะมีความพร้อมในการรับรู้ หรือปรับตัวเพื่อรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงหลังอาเซียนเป็น AEC ไม่เท่าเทียมกัน กระทรวงพาณิชย์มีแผนงานหรือแนวทาง อะไรที่จะให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็น AEC ได้โดยที่ความแตกต่างระหว่างสองกลุ่ม ยังคงมีอยู่

กระทรวงพาณิชย์ตระหนักถึงความสำคัญของภาคเกษตรไทยซึ่งยังมีบทบาท สำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ เพราะนอกจากจะก่อให้เกิดรายได้แล้ว ยังเป็น แหล่งนำเข้าเงินตราต่างประเทศ โดยไทยเป็นผู้ส่งออกสินค้าเกษตรที่สำคัญของโลก อาทิ ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา แม้ว่าแนวโน้มของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมสาขาเกษตรจะมีสัดส่วนลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับภาคอุตสาหกรรม และบริการ แต่สินค้า เกษตรยังเป็นวัตถุดิบสนับสนุนที่สำคัญ ดังนั้น การเตรียมความพร้อมรองรับการเป็นAEC จึงต้องทำไปพร้อมกันทั้งภาคอุตสาหกรรม บริการ และการเกษตร ในส่วนของกระทรวงพาณิชย์ ได้ตั้งเป้าหมายการขยายสัดส่วนการค้าไทยกับอาเซียนจากร้อยละ 20 ในปัจจุบัน เป็นร้อยละ 30 ของยอดการค้ารวมของไทยในปี 2558 โดยมียุทธศาสตร์ รองรับและใช้ประโยชน์จากการเข้าสู่ AEC 7 กลยุทธ์ คือ

1. พัฒนาระบบและฐานข้อมูลการค้าการลงทุน เพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์ จากการเปิดเสรีการค้าสินค้า บริการ และการลงทุน

2. สร้างความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐไทยและอาเซียนอย่างแน่นแฟ้น

3. ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายพันธมิตรทั้งระหว่างภาคธุรกิจไทยและอาเซียน

4. ส่งเสริมสินค้าและบริการที่ตรงกับความต้องการของตลาดอาเซียน

5. ยกระดับภาพลักษณ์ของสินค้าและบริการไทยและส่งเสริมการสร้างตราสินค้า

6. ส่งเสริมการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและการรวมกลุ่มของ ผู้ประกอบการไทย

7. การเจรจาภายใต้กรอบ AEC เพื่อขยายการค้าการลงทุนในภูมิภาคอาเซียน

นอกจากนี้ จากการที่ไทยมีชายแดนติดกับประเทศสมาชิกอาเซียน จึงให้ความ สำคัญกับการค้าชายแดนไทย-ประเทศเพื่อนบ้าน โดยกระทรวงพาณิชย์ได้ตั้งเป้าหมายให้การค้าชายแดนมีมูลค่า 1 ล้านล้านบาทในปี 2555 ซึ่งได้วางแผนโครงการสำคัญ 4 โครงการ คือ

-โครงการเสริมสร้างศักยภาพทางด้านการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน

-โครงการพัฒนาศักยภาพการค้าชายแดนและภูมิภาคอย่างยั่งยืน

-โครงการขยายตลาดสินค้าเกษตรตามเส้นทางใหม่

โครงการเสริมสร้างความสัมพันธ์และส่งเสริมการค้ากับประเทศเพื่อนบ้านตามกรอบ ECS

นอกจากกลยุทธ์และแผนงานที่กระทรวงฯ ได้กำหนดไว้ดังกล่าว กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศยังมีแผนงานการจัดสัมมนาเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเรื่อง AEC โดยในส่วนของภาคเกษตร ได้ร่วมมือกับกรมส่งเสริมสหกรณ์ และสันนิบาตสหกรณ์ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ให้แก่เกษตรกร และเตรียมการปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลง ทั้งในเชิงรุกและ เชิงรับ ขณะเดียวกัน ยังได้มีการจัดทำโครงการช่วยเหลือเพื่อการปรับตัวของภาคการผลิตและบริการที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า(กองทุน FTA) ภายใต้การดูแลของกรมการค้าต่างประเทศ (สายด่วน โทร. 1385) โดยการสนับสนุนด้านการวิจัยและพัฒนา จัดหาที่ปรึกษาและปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารจัดการธุรกิจ ทั้งภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการ และภาคเกษตร

83. ผู้ได้รับผลกระทบเชิงลบจาก AEC ต้องปรับตัวอย่างไร

การเปิดเสรีการค้าย่อมมีทั้งผู้ได้ประโยชน์และผู้เสียประโยชน์ ซึ่งการเจรจาเปิด เสรีการค้ามีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ประโยชน์ในภาพรวมสูงสุดกับประเทศ สำหรับผู้ที่ได้รับ ผลกระทบในเชิงลบจากการเปิดเสรีการค้า มีแนวทางการในการปรับตัว เช่น

  • การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตหรือการให้บริการและลดต้นทุน การทำธุรกิจ โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการบริหารจัดการที่ทันสมัย
  • การสร้างพันธมิตรทางธุรกิจกับประเทศคู่ค้าในอาเซียน เพื่อใช้ประโยชน์จาก จุดแข็งของหุ้นส่วนทางธุรกิจ เช่น การเข้าถึง S up pli er และกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ในวงกว้างขึ้น
  • การปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตและพัฒนามาตรฐานทางการค้า เช่น มาตรฐานสุขอนามัย มาตรฐานสินค้า เพื่อยกระดับสินค้าให้เป็นสากล
  • การลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา และใช้แนวคิดในเชิงสร้างสรรค์ เพื่อ พัฒนาสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น สร้างความเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากคู่แข่ง
84. ประเทศไทยมีแผนปฎิบัติการที่ชัดเจนภายในระยะเวลาไม่เกิน 4 ปีนี้ว่า ไทยต้อง มีแผนรองรับสำหรับภาคผู้ผลิต ภาคบริการ และประชาชน หรือไม่ อย่างไร

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเป็นวาระสำคัญแห่งชาติประการหนึ่ง ซึ่งหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนได้กำหนดแผนปฏิบัติการในการเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของตนแล้ว ในส่วนของกระทรวงพาณิชย์ที่ผ่านมาได้ทำการ ประชาสัมพันธ์เร่งกระตุ้นให้ภาคเอกชนตื่นตัวในการใช้สิทธิ และพัฒนาขีดความ สามารถในการแข่งขัน ตลอดจนช่วยเหลือให้ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบหรือ คาดว่าจะได้รับผลกระทบ ได้รับความช่วยเหลือจากกองทุนเพื่อการปรับตัวของภาค การผลิตและภาคบริการที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า

85. กระทรวงพาณิชย์ มีแผนการดำเนินการอย่างไร เพื่อให้ผู้ประกอบการ มีความพร้อม และสามารถใช้โอกาส/เตรียมตัวตั้งรับกับ AEC

กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้ดำเนินการเตรียม ความพร้อมโดยการสร้างความรู้ ความเข้าใจ และเผยแพร่ข้อมูลด้านการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ โดยในปี 2554 กรมฯ ได้จัดกิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขัน เพื่อรองรับการเปิดเขตการค้าเสรีให้กับทุกภาคส่วน ดังนี้

1) จัดตั้ง AEC Information Center เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการรวมกลุ่มทาง เศรษฐกิจอาเซียนเพื่อไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2558 ควบคู่กับการ ให้คำปรึกษากับ SMEs รวมทั้งเป็นศูนย์กลางการสื่อสารระหว่างกรมฯ กับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนให้สามารถเข้าถึงข้อมูลของกรมฯ โดยได้จัดตั้งศูนย์ดังกล่าว ณ ชั้น 3 อาคารกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ รวมทั้งมีแผนการจัดตั้งเครือข่ายในส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ ณ สำนักงานพาณิชย์จังหวัด และสำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ

2) สร้างเครือข่ายพันธมิตร โดยกรมฯ ได้ลงนาม MOU ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรในการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเปิดเสรีทางการค้า เพื่อให้หน่วยงานเครือข่ายช่วยเผยแพร่และกระจายความรู้เกี่ยวกับ AEC ซึ่งจะสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย ทุกภาคส่วน โดยในปี 2554 กรมฯ ได้ลงนาม MOU ร่วมกับ 6 หน่วยงาน

3) จัดสัมมนาฝึกอบรม ในหัวข้อประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน การเปิดเสรีการค้า ประโยชน์ และผลกระทบจากการเปิดเสรีให้กับกลุ่มเป้าหมาย สำคัญ ได้แก่ ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ผู้นำเข้า-ส่งออก นักลงทุน SMEs สถาบันการเงิน เกษตรกร หน่วยงาน ภาครัฐองค์กรอิสระ สถาบันการศึกษา ครู อาจารย์ นักเรียนและนักศึกษา

4) ส่งวิทยากรบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับ AEC ร่วมกับหน่วยงานเครือข่าย เพื่อให้ ความรู้เกี่ยวกับโอกาสและความท้าทายจากการรวมกลุ่มของอาเซียนเพื่อไปสู่ AEC รวมถึง แนวทางในการปรับตัวรองรับผลกระทบจากการเปิดเสรีการค้าและการลงทุนใน AEC

5) เผยแพร่ข้อมูลและผลเจรจาผ่านสื่อต่างๆ ทั้งวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อสิ่งพิมพ์ รวมทั้งช่องทางผ่านสื่อใหม่ๆ เช่น Facebook, Twitter และเว็บไซต์ (www.dtn.go.th และ www.thailandaec.com) เพื่อให้การเผยแพร่ข้อมูลกระจายได้อย่างทั่วถึงมากยิ่งขึ้น

86. ผู้ประกอบการด้านสินค้าเกษตรและอาหารของไทยจะได้รับประโยชน์จาก AEC อย่างเป็นรูปธรรมอย่างไร (ทั้งในมิติการเปิดเสรีการค้าสินค้า บริการ การลงทุน และการเคลื่อนย้ายแรงงาน)

ไทยจัดเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารที่สำคัญของโลกอาทิ ข้าว มันสำปะหลัง อาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็งและแปรรูปผักและผลไม้สดและ แปรรูป เป็นต้น ดังนั้น การเปิดเสรีการค้าสินค้า บริการ การลงทุน และการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือ ใน AEC จึงเป็นทั้งโอกาสและความท้าทายของไทย ดังนี้

1) การเปิดเสรีการค้าสินค้า การลด/ยกเลิกมาตรการทางภาษีและที่มิใช่ภาษีในAEC ช่วยเปิดโอกาสให้สินค้าเกษตรและอาหารของไทยที่มีศักยภาพในการแข่งขันสามารถขยายตลาดส่งออกในอาเซียนที่มีประชากรรวมกับเกือบ 600 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่มีรสนิยม

ในการบริโภคคล้ายคลึงกับคนไทย ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการไทยจำเป็นต้องผลิตสินค้าให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า และยังต้องคำนึงถึงการผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐานสากล เช่น GMP, HACCP ฯลฯ ด้านการนำเข้า ผู้ประกอบการไทยสามารถนำเข้าวัตถุดิบสินค้า เกษตรจากประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยต้นทุนที่ถูกลงจากการลด/ยกเลิกภาษีนำเข้าของไทยเพื่อนำมาผลิตเป็นสินค้าเกษตรแปรรูป/สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าเพื่อส่งไปขายต่อไป

2) การเปิดเสรีการลงทุน การลด/ขจัดอุปสรรคด้านกฎระเบียบในการลงทุนของ ประเทศสมาชิกอาเซียน และการอนุญาตให้นักลงทุนที่เป็นคนชาติอาเซียนสามารถเข้าไปลงทุนได้ทั่วภูมิภาคอาเซียนโดยการถือหุ้นส่วนใหญ่ในกิจการด้านการผลิต การเกษตร ประมงป่าไม้ และเหมืองแร่ ช่วยขยายโอกาสในการย้ายฐานการผลิตและลงทุนของผู้ประกอบการ ไทย ไปยังพื้นที่ที่มีความได้เปรียบ เช่น ตั้งอยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบและแรงงานราคาถูก ในทางกลับกัน ประเทศไทยยังมีโอกาสในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศด้วยความได้เปรียบด้านโครงสร้างพื้นฐานและที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของไทยในศูนย์กลางของภูมิภาคซึ่งช่วยสนับสนุนให้ไทยมีศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางทางการค้าและการลงทุนในภูมิภาค

3) การเปิดเสรีภาคบริการ การอนุญาตให้นักลงทุนที่เป็นคนชาติอาเซียนถือหุ้นใน ธุรกิจบริการได้ถึงร้อยละ 70 ช่วยเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการที่มีขีดความสามารถในการ แข่งขันขยายการลงทุนในประเทศสมาชิกอาเซียน ขณะเดียวกัน ยังเป็นแรงผลักดัน ให้ผู้ประกอบการภาคบริการต้องเร่งปรับตัวโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการและ ลดต้นทุนการทำธุรกิจภาคบริการ ซึ่งจะส่งผลดีต่อผู้ผลิตสินค้าเกษตรและอาหาร เนื่องจาก ต้นทุนภาคบริการ เช่น บริการด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ บริการโฆษณา และการทำตลาด บริการวิจัย บริการบัญชี และการค้าส่งค้าปลีก ถือเป็นสัดส่วน สำคัญของต้นทุนในการผลิตสินค้า

4) การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือ การอำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้าย ผู้ให้บริการและแรงงานฝีมือ ช่วยลดปัญหาการขาดแคลนแรงงานคุณภาพในประเทศ ขณะเดียวกัน แรงงานฝีมือของไทยยังมีโอกาสออกไปทำงานในประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นได้ง่ายขึ้น

87. AEC 2558 จะสร้างผลประโยชน์และผลกระทบต่อการลงทุน FDI/Capital Flows ตลาดหลักทรัพย์ และการถือครองที่ดินในประเทศไทย อย่างไร

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมีเป้าหมายมุ่งสู่การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน การเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง มีพัฒนาการทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน การเป็นภูมิภาคที่บูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลกได้อย่างสมบูรณ์ จึงมีหลาย เรื่องที่สมาชิกอาเซียนต้องดำเนินการให้สำเร็จ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปิดเสรีการค้า ที่ต้อง มีการยกเลิกกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าสินค้า บริการ การลงทุน การเคลื่อนย้าย แรงงานฝีมือ และการเคลื่อนย้ายเงินทุน ดังนั้น ผลจากการดำเนินการของสมาชิกอาเซียน จะส่งผลโดยตรงกับการลงทุนทางตรง (FDI) และการลงทุนในตลาดทุน กล่าวคือ สมาชิกอาเซียนต้องยกเลิกกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการลงทุนทางตรงในทุกสาขา รวมทั้งธุรกิจบริการ (เช่น วิศวกรรม สถาปัตยกรรมบัญชี บริการทางการแพทย์ ก่อสร้าง ค้าส่งค้าปลีกท่องเที่ยว ขนส่ง ฯลฯ) และธุรกิจที่ไม่ใช่บริการ (เกษตร ประมง ป่าไม้ เหมืองแร่ และอุตสาหกรรมการผลิต)ทำให้มีการเคลื่อนย้ายการลงทุนทางตรงในอาเซียนได้อย่างเสรีมากขึ้น และช่วยเสริมสร้างความน่าสนใจ ของอาเซียนในสายตานักลงทุนต่างชาติ

ในมุมมองของนักลงทุนไทย การที่สมาชิกอาเซียน 9 ประเทศยกเลิกกฎระเบียบ ที่เข้มงวดด้านการลงทุน ช่วยขยายโอกาสในการออกไปลงทุนเพื่อประกอบธุรกิจในหลาย สาขา สร้างรายได้กลับเข้าประเทศ ในทางกลับกันนักลงทุนหรือบริษัทของสมาชิก อาเซียนอื่นจะสามารถเข้ามาลงทุนในประเทศไทยง่ายขึ้น นอกจากนี้ การเคลื่อนย้ายการลงทุนทางตรงได้อย่างเสรีดังกล่าวช่วยสนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ทันสมัย และยกระดับความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการในตลาดระหว่างประเทศขณะเดียวกันยังส่งเสริมให้เกิดการจ้างงานในประเทศและการขยายตัวของเศรษฐกิจ

ในส่วนของตลาดทุน อาเซียนได้ดำเนินการพัฒนาตลาดทุนอาเซียน โดยมี แผนงานในการสร้างความเชื่อมโยงของตลาดทุน (Capital Market) และตลาดตราสารหนี้ (Bond Market) เพื่อให้มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนในอาเซียนได้อย่างเสรีมากขึ้น ซึ่งจะช่วย ให้ธุรกิจของไทยสามารถระดมทุนในตลาดทุนอาเซียนที่กว้างขวางมากขึ้น ขณะเดียวกัน นักลงทุนไทยที่ลงทุนใน Por tforli o ยังสามารถกระจายความเสี่ยง ในการลงทุน โดยสามารถถือหุ้น/ซื้อหลักทรัพย์และตราสารหนี้ของประเทศสมาชิกอาเซียน ที่หลากหลายมากขึ้น และยังได้รับประโยชน์จากการโอนย้ายทุนและผลกำไรที่เสรีมากขึ้น

นอกจากนี้ การเปิดเสรีธุรกิจบริการด้านการเงิน ทั้งธนาคาร สถาบันการเงินประกันภัย และธุรกิจการเงิน ในแง่ผู้ใช้บริการ จะได้รับประโยชน์จากการมีทางเลือก มากขึ้นในการใช้บริการทางการเงินของธุรกิจบริการของสมาชิกอาเซียนที่มีต้นทุนทางการเงินที่ต่ำลงจากการแข่งขันที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ในแง่ผู้ให้บริการด้านการเงินในประเทศ ไทยจะต้องเผชิญกับการแข่งขันที่สูงขึ้นจึงจำเป็นต้องเร่งปรับปรุงประสิทธิภาพการให้ บริการและการบริหารจัดการของธุรกิจเพื่อลดต้นทุนการให้บริการให้สามารถแข่งขันได้กับธุรกิจของประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น รวมถึงธุรกิจการเงินของต่างชาตินอกอาเซียน

อย่างไรก็ตาม สำหรับการถือครองที่ดินในประเทศ เนื่องจากเป็นเรื่องที่อยู่ นอกเหนือจากข้อผูกพันการเปิดเสรีการค้าและการลงทุนใน AEC จึงไม่มีผลกระทบ ต่อนโยบาย กฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องในเรื่องการถือครองที่ดินในประเทศไทย กล่าวคือ นักลงทุนต่างชาติทั้งในและนอกอาเซียนจะไม่สามารถซื้อ/ถือครองที่ ดินในประเทศไทย เช่นเดียวกับที่นักลงทุนไทยก็ไม่สามารถซื้อ/ถือครองที่ดินใน ประเทศอาเซียนได้ภายใต้การเปิดเสรีอาเซียน

ขั้นตอนการเจรจา FTA/หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับพันธกรณี AEC

88. หากรัฐบาลไทยประสงค์จะเข้าร่วมในการเจรจาจัดทำความตกลงเขตการค้า เสรีกับประเทศคู่ค้าต่างๆ รัฐบาลจำเป็นต้องรับฟังความเห็นของประชาชนหรือไม่ ด้วยเหตุผลใด

-รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยปีพุทธศักราช 2550 (มาตรา 190) กำหนดให้รัฐบาลต้องรับฟังความคิดเห็นของประชาชนด้วยหากรัฐบาลจะทำสนธิสัญญา หรือข้อตกลงระหว่างประเทศ

-มาตรา 190 ข้างต้น ระบุดังนี้ "หนังสือ สัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หรือเขตพื้นที่นอกอาณาเขต ซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอำนาจตาม หนังสือสัญญาหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรือจะต้องออกพระราชบัญญัติ เพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา หรือมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน หรือ งบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา ในการนี้ รัฐสภาจะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องดังกล่าว ก่อนการดำเนินการเพื่อทำหนังสือสัญญากับนานาประเทศหรือองค์การระหว่าง ประเทศตามวรรคสอง คณะรัฐมนตรีต้องให้ข้อมูลและจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และต้องชี้แจงต่อรัฐสภาเกี่ยวกับหนังสือสัญญานั้น ในการนี้ ให้รัฐมนตรีเสนอกรอบการเจรจาต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบด้วย

-เมื่อลงนามในหนังสือสัญญาตามวรรคสองแล้ว ก่อนจะแสดงเจตนาให้มีผล ผูกพัน คณะรัฐมนตรีต้องให้ประชาชนสามารถเข้าถึงรายละเอียดของหนังสือสัญญานั้นและในการที่การปฏิบัติตามหนังสือสัญญาดังกล่าวก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน หรือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม คณะรัฐมนตรีต้องดำเนินการแก้ไขหรือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบนั้นอย่างรวดเร็ว เหมาะสม และเป็นธรรม ให้มีกฎหมายว่าด้วยการกำหนดขั้นตอนและวิธีการจัดทำหนังสือสัญญาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือ สังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพันด้านการค้า หรือการลงทุน อย่างมีนัยสำคัญ รวมทั้งการแก้ไขหรือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติตามหนังสือสัญญาดังกล่าวโดยคำนึงถึงความเป็นธรรมระหว่างผู้ที่ได้ประโยชน์กับผู้ที่ได้รับผล กระทบจากการปฏิวัติตามหนังสือสัญญานั้นและประชาชนทั่วไป"

89. ในการเจรจาจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างประเทศไทยกับประเทศ คู่ค้า รัฐบาลต้องดำเนินการอย่างไร เพื่อให้ถูกต้องตามแนวทางภายใต้มาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยปีพุทธศักราช 2550

-กระบวนการดำเนินการตามมาตรา 190 ในการจัดทำความตกลงเขตการค้า เสรี หรือข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศอื่นๆ ปรากฎตามแผนภูมิด้านล่าง

90. การดำเนินการตามพันธกรณีของอาเซียนไปสู่การเป็น AEC ของประเทศไทยเกี่ยวข้องกับหน่วยงานราชการหน่วยงานใดบ้าง

-กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรีให้ เป็นหน่วยประสานงาน AEC ระดับชาติ (AEC National Coordinating Agency) ของไทย รับผิดชอบด้านการประสานงานและติดตามการดำเนินงานไปสู่การเป็น AEC ของไทย ในภาพรวม

-ส่วนในเรื่องการปฏิบัติตามพันธกรณีในแต่ละเรื่อง หน่วยงานราชการ ของไทยเกือบทั้งหมดมีส่วนเกี่ยวข้อง ดังนี้

หน่วยงาน

กรมเจรจาการค้า ระหว่างประเทศ (www.dtn.go.th)(www.thailandaec.com)

บทบาท

-อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมประชุมในการประชุมด้านเศรษฐกิจ ของอาเซียนในระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสและการประชุมเรื่อง ความตกลงการค้าเสรีระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา

-การเจรจาลดภาษีสินค้าในอาเซียน ภายใต้กรอบความ ตกลงด้านการค้าสินค้า

-ที่ผ่านมา สนับสนุนและร่วมการเจรจาขจัดมาตรการที่ มิใช่ภาษีในอาเซียน (Non-Ta riff Barriers) อาทิ โควต้า การขออนุญาตนำเข้าต่างๆ

-สนับสนุนและร่วมการเจรจาพัฒนากฎว่าด้วยถิ่นกำเนิด สินค้า (Rules of Origin) ของอาเซียนให้ตอบสนอง กระบวนการผลิตของภูมิภาค

-เป็นแกนหลักในการเจรจาจัดทำและดำเนินการด้านการ อำนวยความสะดวกทางการค้าของอาเซียน เพื่อให้ กฎระเบียบ ขั้นตอน และข้อมูลทางศุลกากรในอาเซียน เป็นไปในแนวเดียวกัน

-สนับสนุนและร่วมการเจรจาให้เกิดการรวมกลุ่มด้าน ศุลกากร (Custo ms Integr a tion) ปรับประสานกระบวน การและขั้นตอนศุลกากรให้ง่ายและเป็นไปในแนวเดียวกัน อาทิ ฟอร์มใบขนสินค้า การประเมินศุลกากร ขั้นตอน การตรวจปล่อยของอาเซียน-เป็นแกนหลักในการเจรจาเปิดเสรีด้านการค้าบริการ ลดข้อกีดกันการเปิดเสรีการค้าบริการ และอำนวยความ สะดวกการเคลื่อนย้ายบุคลากรในภูมิภาคอาเซียน

หน่วยงาน

กรมการค้าต่างประเทศ(www.dft.go.th)

บทบาท

-สนับสนุนและร่วมการเจรจาเปิดเสรีด้านการลงทุน และ คุ้มครองการลงทุนของอาเซียน ภายใต้กรอบความตกลง เขตการลงทุนของอาเซียน ( AS EAN Comp re hen s ive Investment Area: ACIA)

-ดำเนินการในการยกเลิกระบบโควตาภาษีของสินค้าที่อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบ

-ปรับลดขั้นตอนด้านพิธีการที่เกี่ยวข้องกับการรับรองถิ่น กำเนิดสินค้าของอาเซียน

-การพัฒนาเพื่อเชื่อมโยงกับกรมศุลกากรภายใต้ระบบ Nationa l Single Window สำหรับในส่วนที่เกี่ยวกับ แบบฟอร์มรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (ATIGA Form D) เพื่อ ให้สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายอาเซียนสำหรับการให้ บริการยื่นเอกสารต่างๆ ณ จุดเดียว ( ASEAN Single Window)

-การพัฒนาระบบเพื่อให้มีการรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า ด้วยตนเอง (Self Certification)

-การบังคับใช้ พ.ร.บ.มาตรการปกป้องการนำเข้าที่เพิ่มขึ้น

-ให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีสินค้าและบริการ ผ่านกองทุนเพื่อการปรับตัวของภาคผลิต และบริการที่ได้รับผลกระทบ

หน่วยงาน

กรมส่งเสริมการส่งออก(www.ditp.go.th)

บทบาท

-จัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดสินค้าและบริการที่ไทยมีศักยภาพสู่ตลาดอาเซียนให้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม

-เสริมสร้างเครือข่ายการผลิตร่วมกันระหว่างประเทศ สมาชิกอาเซียน

-สนับสนุนให้นักธุรกิจไทยไปลงทุนประกอบธุรกิจใน ต่างประเทศ

-ให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการและประชาสัมพันธ์การใช้ ประโยชน์จากการจัดทำข้อตกลงทางการค้าตามแผน ดำเนินการไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งสินค้าไทยได้รับสิทธิประโยชน์ทั้งด้านภาษีศุลกากรและมิใช่ภาษี ศุลกากร

-ให้ความรู้กับภาคเอกชนในการปรับระดับมาตรฐานการ ผลิต และคุณภาพการให้บริการ ให้สอดคล้องกับมาตรฐาน ของอาเซียน

-ส่งเสริมการใช้เครือข่ายทางอิเล็กทรอนิกส์ ระหว่างภาค ธุรกิจของไทยกับอาเซียน

-เสริมสร้างศักยภาพของผู้ประกอบการ และสร้างเครือข่าย ผู้ประกอบการด้านการผลิตและส่งออกกับผู้ประกอบ การสาขาโลจิสติกส์

หน่วยงาน

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า(www.dbd.go.th)

บทบาท

-ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ เป็นไปตามพันธกรณี โดยรวมถึงการเพิ่มสัดส่วนการ ถือหุ้นของนักลงทุนต่างชาติในธุรกิจต่างๆ

-ส่งเสริมการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

-พัฒนาศักยภาพของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

หน่วยงาน

กรมการค้าภายใน(www.dit.go.th)

บทบาท

-เป็นผู้แทนหลักของไทยเข้าร่วมประชุมคณะผู้เชี่ยวชาญ อาเซียนด้านนโยบายการแข่งขัน

-การหารือร่วมกับหน่วยงานที่กำกับดูแลด้านนโยบายการแข่งขันทางการค้าของอาเซียนเพื่อพัฒนานโยบายการ แข่งขันของแต่ละประเทศ

-การหารือกับหน่วยงานที่กำกับดูแลด้านการคุ้มครอง ผู้บริโภคของอาเซียน เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และ ข้อมูลระหว่างกัน

หน่วยงาน

กรมทรัพย์สินทางปัญญา(www.ipthailand.go.th)

บทบาท

-เป็นผู้แทนหลักของไทยเข้าร่วมประชุมคณะทำงานความ ร่วมมือด้านทรัพย์สินทางปัญญาอาเซียน

-ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการด้านทรัพย์สินทางปัญญา ของอาเซียน

-ประชุมหารือระหว่างหน่วยงานกำกับดูแลด้านการ คุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศสมาชิกอาเซียน

-เตรียมความพร้อมเพื่อนำไปสู่การจัดตั้งระบบยื่นคำขอ จดทะเบียนการออกแบบผลิตภัณฑ์ของอาเซียน

-จัดทำโครงการพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ของไทย (Creative Thailand) และของอาเซียน (Creative ASEAN)

หน่วยงาน

สำนักงานเศรษฐกิจ การคลัง (www.fpo.go.th)

บทบาท

-เป็นผู้แทนหลักของไทยเข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีคลัง อาเซียน

-เป็นแกนหลักการเจรจายกเลิกภาษีศุลกากรขาเข้าสำหรับสินค้าภายในอาเซียน

-ร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทยในการเจรจาและกำกับ ดูแลการเปิดเสรีด้านเงินทุน

หน่วยงาน

ธนาคารแห่งประเทศไทย(www.bot.or.th)

บทบาท

-เป็นผู้แทนหลักของไทยร่วมกับกระทรวงการคลังดำเนิน งานความร่วมมือทางการเงินและระบบสอดส่องดูแล เศรษฐกิจของประเทศสมาชิกในภูมิภาคอาเซียน โดย ดำเนินการในกรอบประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวง การคลังอาเซียน

-นอกเหนือจากความร่วมมือภายใต้กรอบรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการคลังแล้ว ธนาคารแห่งประเทศไทยยังได้ เข้าร่วมในกรอบการความร่วมมือระหว่างธนาคารกลาง อาเซียนด้วย

-เจรจาและกำกับดูแลการเปิดเสรีด้านเงินทุน โดยลด ข้อจำกัดสาขาบริการด้านการเงิน ตามหลักการที่กำหนดของอาเซียน

-ผ่อนคลายข้อจำกัดในการเคลื่อนย้ายทุน ตามความ เหมาะสม

หน่วยงาน

กรมสรรพากร(www.rd.go.th)กรมศุลกากร(www.customs.go.th)

บทบาท

-จัดทำความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อน

-เป็นผู้แทนหลักในการประชุมและการเจรจาด้านศุลกากรและกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า-ปรับปรุงกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดของอาเซียน

-ปรับปรุงระเบียบพิธีการและการไหลเวียนของข้อมูลทางการค้าและศุลกากรให้เรียบง่าย มีมาตรฐานเดียวกันใน อาเซียน

-ดำเนินการด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้าของ อาเซียน เพื่อให้กฎระเบียบ ขั้นตอน และข้อมูลทาง ศุลกากรในอาเซียนเป็นไปในแนวเดียวกัน-จัดเตรียมระบบพัฒนาให้เกิดการรวมกลุ่มทางศุลกากร

-จัดตั้งระบบ N ational Single Window และประสาน กับประเทศสมาชิกอาเซียนในการจัดตั้ง ASEAN Single Window

หน่วยงาน

สำนักงานมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(www.tisi.go.th)

สำนักงานมาตรฐานสินค้า เกษตรและอาหารแห่งชาติ(www.acfs.go.th)

สำนักงานคณะกรรมการ อาหารและยา(www.fda.moph.go.th)

บทบาท

-เป็นผู้แทนหลักของไทยเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการ ที่ปรึกษาด้านมาตรฐานและคุณภาพของอาเซียน

-ปรับมาตรฐาน กฎระเบียบ และกระบวนการตรวจสอบ รับรองมาตรฐานให้เป็นที่ยอมรับในระดับภูมิภาคและ สากล

หน่วยงาน

สำนักงานส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม(www.sme.go.th)

บทบาท

-เป็นผู้แทนเข้าร่วมประชุมในคณะทำงานด้านวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมของอาเซียน

-ดำเนินการตามแผนกลยุทธสำหรับการพัฒนาวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมของอาเซียน

-จัดตั้งเครือข่ายวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของ ภูมิภาค

หน่วยงาน

กระทรวงการต่างประเทศ(www.mfa.go.th)

บทบาท

-กรมอาเซียน เป็นสำนักงานอาเซียนแห่งชาติ (ASE AN National Secretariat)

-กรมอาเซียน เป็นผู้แทนหลักของไทยในการเข้าประชุม เจ้าหน้าที่อาวุโสของอาเซียนและการประชุมรัฐมนตรี ต่างประเทศอาเซียน

-ดำเนินการตามแผนงานริเริมเพื่อการรวมตัวของอาเซียน ซึ่งครอบคลุมความร่วมมือเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร สร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน พัฒนา ด้านพลังงาน การท่องเที่ยว การลดระดับความยากจน และการปรับปรุงคุณภาพชีวิต

-อำนวยความสะดวกในการออกวีซ่าสำหรับแรงงานฝีมือ และผู้ประกอบวิชาชีพอาเซียน

หน่วยงาน

กระทรวงแรงงาน(www.mol.go.th)

บทบาท

-เป็นผู้แทนหลักของไทยเข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีและ เจ้าหน้าที่อาวุโสด้านแรงงานของอาเซียน

-การจัดทำข้อตกลงยอมรับคุณสมบัติวิชาชีพ และส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรและเสริมสร้างขีดความสามารถ ในการค้าบริการ

หน่วยงาน

กระทรวงการท่องเที่ยว และกีฬา(www.mots.go.th)

บทบาท

-อำนวยความสะดวกในการออกใบอนุญาตทำงานสำหรับวิชาชีพเชี่ยวชาญ

-เป็นผู้แทนหลักของไทยเข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน

-การจัดทำข้อตกลงยอมรับคุณสมบัติวิชาชีพของบุคลากร สาขาท่องเที่ยว

-ดำเนินการตามแผนการรวมกลุ่มสาขาการท่องเที่ยวของ อาเซียน

หน่วยงาน

สำนักงานคณะกรรมการ คุ้มครองผู้บริโภค(www.ocpb.go.th)

บทบาท

-เป็นผู้แทนหลักของไทยเข้าร่วมประชุมในคณะทำงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคของอาเซียน

-จัดตั้งเครือข่ายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องการกำกับดูแลการ คุ้มครองผู้บริโภค โดยมีการดำเนินงานตามแผนความ ร่วมมือ เช่น จัดอบรม การแลกเปลี่ยนข้อมูล ประสบการณ์ ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น

-การจัดตั้งกลไกการร้องเรียนและแลกเปลี่ยนข้อมูล

-พัฒนากลไกการเยียวยาผู้บริโภคข้ามพรมแดนภายใน ปี 2558

หน่วยงาน

กระทรวงอุตสาหกรรม(www.industry.go.th)

บทบาท

-เป็นผู้แทนของไทยเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจ อาเซียนกับคณะกรรมาธิการเขตการลงทุนอาเซียน

-เป็นผู้แทนหลักของไทยในการประชุมคณะกรรมการ ประสานงานด้านการลงทุนของอาเซียน

หน่วยงาน

กระทรวงคมนาคม(www.mot.go.th)

บทบาท

-เจรจาและกำกับดูแลการดำเนินการตามกรอบความ ตกลงเขตการลงทุนอาเซียนเต็มรูปแบบ (ASEAN Co mprehensive Investment Area: ACIA) ดำเนินการ ตามแผนงานการรวมกลุ่มสาขาเร่งรัดในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ สินค้า เช่น สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ผลิตภัณฑ์ไม้ ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์

-เป็นผู้แทนหลักของไทยเข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีและ เจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการขนส่งของอาเซียน

-จัดทำความร่วมมือภายในอาเซียนด้านการขนส่งและ บริการโลจิสติกส์ ทั้งการขนส่งทางบก (รถยนต์และรถไฟ) การขนส่งทางน้ำ และทางอากาศ

-พัฒนาโครงข่ายเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟสายสิงคโปร์คุนหมิง และโครงข่ายทางหลวงอาเซียน

-ดำเนินการตามแผนงานการขนส่งทางทะเล

-ดำเนินการตามแผนงานการรวมกลุ่มสาขาการบิน-ดำเนินการตามความตกลงว่าด้วยการอำนวยความ สะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดน

-ดำเนินการตามความตกลงพหุภาคีอาเซียนว่าด้วยการ เปิดเสรีเที่ยวบินขนส่งสินค้า

-ดำเนินการตามความตกลงพหุภาคีอาเซียนว่าด้วยการให้บริการทางอากาศ

หน่วยงาน

กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์(www.moac.go.th)

บทบาท

-เป็นผู้แทนหลักของไทยเข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีเกษตร และป่าไม้อาเซียน

-ดำเนินการลดภาษีสินค้าเกษตร

-พัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ประมงให้ปลอดภัยและสามารถแข่งขันได้

-จัดตั้งระบบแนวปฏิบัติที่ดีสำหรับผลิตภัณฑ์เกษตรและ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ( Good Agriculture/Aq uacultu re Practices) การจัดการสุขาภิบาลและสุขภาพสัตว์ที่ดี (Good Animal Husbandry Practices) การปฏิบัติทางสุขลักษณะที่ดี (Good Hygiene Practices) การปฏิบัติที่ดีด้านการ ผลิต (Good Manufac turing Practices) และมีระบบการ วิเคราะห์อันตรายและจัดวิกฤติที่ต้องควบคุม (Hazard Analysis Critical Control Point)

-ปรับประสานระบบการกักกันและวิธีการตรวจสอบ หรือ สุ่มตัวอย่าง ตลอดจนมาตรการด้านสุขอนามัยสำหรับ ผลิตภัณฑ์เกษตร อาหาร และป่าไม้-ปรับประสานระดับปริมาณสารตกค้างสูงสุดที่ยอมรับได้ ของยาปราบศัตรูพืช

-ปรับประสานกฎเกณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์เกษตรที่มาจาก เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ ( modern biotechnology) ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล

-ปรับประสานมาตรฐานด้านความปลอดภัยและคุณภาพ ผลิตภัณฑ์พืชสวนและผลิตภัณฑ์เกษตร

หน่วยงาน

กระทรวงพลังงาน(www.energy.go.th)

บทบาท

-ปรับประสานการควบคุมสุขภาพสัตว์ (ทั้งสัตว์บกและ สัตว์น้ำ) เพื่อความปลอดภัยของอาหาร โดยใช้กรอบ มาตรฐานร่วมในการบริหารจัดการเกี่ยวกับความปลอดภัย ทางชีวภาพ ให้สอดคล้องกับหลักสากล

-ปรับประสานแนวทางการใช้สารเคมีในการเพาะเลี้ยง สัตว์น้ำ และมาตรการขจัดการใช้สารเคมีอันตราย ให้สอดคล้องกับหลักสากล

-พัฒนากรอบระดับภูมิภาคสำหรับระเบียบการออกใบ รับรองด้านป่าไม้ (Forest Certification)

-ส่งเสริมความร่วมมือและการถ่ายโอนเทคโนโลยี โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เกษตร อาหาร และป่าไม้ ระหว่าง อาเซียนกับองค์กรนานาชาติทั้งภาครัฐและเอกชน

-เสริมสร้างความร่วมมือต่อต้านการค้าไม้ที่ผิดกฎหมาย การป้องกันไฟป่า

-เสริมสร้างความร่วมมือเพื่อต่อต้านการทำประมงที่ผิด กฎหมาย

-ส่งเสริมให้เกิดสหกรณ์การเกษตรของอาเซียน (ASEAN Agricultural Cooperatives)

-เป็นผู้แทนหลักของไทยเข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีอาเซียน ด้านพลังงาน

-จัดทำความร่วมมือในภูมิภาคด้านโครงการเชื่อมโยงท่อ ส่งก๊าซธรรมชาติ และโครงการเครือข่ายระบบสายส่ง ไฟฟ้าของอาเซียน

-การสร้างแหล่งพลังงานทดแทน อาทิ ไบโอดีเซล และ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับแหล่งพลังงาน ดังกล่าว

-พัฒนาความร่วมมือด้านการทำเหมืองแร่

หน่วยงาน

กระทรวงเทคโนโลยีสาร สนเทศและการสื่อสาร(www.mict.go.th)

สำนักงานคณะกรรมการ กิจการโทรคมนาคม แห่งชาติ(www.nbtc.go.th)

บทบาท

-เป็นผู้แทนหลักของไทยเข้าร่วมประชุมระดับรัฐมนตรีด้านโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศอาเซียน

-ดำเนินการตามแผนงานการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจสาขาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

-การจัดทำโครงสร้างพื้นฐานด้านสารสนเทศ และการ เชื่อมต่อโครงข่ายระหว่างกัน

-การพัฒนาการเชื่อมต่อความเร็วสูงทางอินเตอร์เน็ต และ เพิ่มความปลอดภัยบนเครือข่ายสารสนเทศ

-วางนโนบายและหลักกฎหมายสำหรับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

หน่วยงาน

สำนักงานสถิติแห่งชาติ(www.nso.go.th)

บทบาท

-เป็นผู้แทนหลักของไทยเข้ารวมประชุมหัวหน้าหน่วยงาน ด้านสถิติของอาเซียน

-จัดทำกรอบความร่วมมืออาเซียนด้านสถิติเพื่อใช้เป็น แนวทางในการจัดตั้งระบบสถิติของประชาคมอาเซียน

91. กรมศุลกากรของไทยมีบทบาทอะไรที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการไปสู่ AEC

กรมศุลกากรมีบทบาทสำคัญในฐานะหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบปฏิบัติตามพันธกรณีด้านศุลกากรตามที่กำหนดไว้ในแผนงานไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน (AEC Blueprint) อาทิ การออกประกาศ/ระเบียบเรื่องการลดภาษี การปรับประสานพิกัดศุลกากรภายในอาเซียน การปรับปรุงกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดของสินค้าการจัดตั้ง ASEAN Single Window เป็นต้น

92. ประเทศสมาชิกอาเซียนรวมทั้งไทยจะใช้ AEC เป็นปัจจัยที่ช่วยกระตุ้นและ เชื่อมโยงนโยบายภายในประเทศได้อย่างไร เพื่อจะรักษาขีดความสามารถในการ แข่งขันของประเทศไว้ ทั้งในระดับอาเซียน และการแข่งขันในตลาดของประเทศคู่ค้า ของอาเซียน

-สมาชิกอาเซียนรวมทั้งไทยควรศึกษาและใช้เป้าหมายและพันธกรณี ภายใต้ A EC โดยละเอียดและใช้ข้อมูลเหล่านั้นเป็นแนวทางหลักในการกำหนด นโยบายเศรษฐกิจภายในประเทศ

-ภาครัฐควรสนับสนุนและส่งเสริมให้ภาคเอกชนศึกษาลู่ทางการนำ ทรัพยากรต่างๆ จากภายในภูมิภาคอาเซียนมาใช้ประโยชน์ในกระบวนการผลิต ส่งเสริมการขยายฐานการผลิตไปสู่ประเทศอื่นๆ ในอาเซียน และส่งเสริมการใช้สิทธิประโยชน์จากความตกลงเขตการค้าเสรีที่อาเซียนจัดทำกับประเทศคู่เจรจาด้วย

93. หน่วยงานราชการต่างๆ ควรจะดำเนินอย่างไรเพื่อเป็นการปรับตัวสำหรับ การที่ประเทศไทยจะเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ AEC

กล่าวโดยทั่วไป หน่วยงานราชการควรดำเนินการดังนี้*ส่งเสริมให้ข้าราชการในสังกัดมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศสมาชิก อาเซียนทั้งในมิติด้านการเมือง สังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ

-ส่งเสริมให้ข้าราชการในสังกัดมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องการ รวมกลุ่มเป็น AEC เข้าใจถึงประโยชน์และความท้าทายที่ไทยจะได้รับ

-พัฒนาข้าราชการในด้านภาษาต่างประเทศโดยเฉพาะภาษาอังกฤษ และภาษาของประเทศสมาชิกอาเซียน

-ส่งเสริมให้ข้าราชการในสังกัดมีความเข้าใจการดำเนินงานเพื่อมุ่งสู่ AEC ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานของตน

-มีการกำหนดแนวทางการดำเนินงานและแนวทางแก้ไขปัญหา รวมทั้ง ข้อเสนอแนะในการดำเนินงานของแต่ละหน่วยงานเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายของAEC และพันธกรณีของอาเซียน

-ให้ความร่วมมือในการประสานการดำเนินงานกับหน่วยงานอื่นๆ*ประสานการดำเนินการกับภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดเพื่อรับรู้ ปัญหาอุปสรรค และหาแนวทางแก้ไข ตลอดจนดำเนินมาตรการเตรียมความพร้อม และรองรับ เพื่อส่งเสริมภาคเอกชนในการก้าวไปสู่ประชาคมอาเซียน

-จัดกิจกรรมเพื่อสร้างความตระหนักรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับ AEC ในส่วนที่ เกี่ยวข้องกับภารกิจของแต่ละหน่วยงาน

94. ผู้สนใจจะสามารถขอข้อมูลเกี่ยวกับ AEC ได้จากแหล่งใดบ้าง

(1) ศูนย์บริการข้อมูลประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Information Center) กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ (โทรศัพท์ 0 2507 7209-11, ema il: i nfo@dtn.go. th Call C enter 0 2507 7555, website : www . dtn.go.th / www.thailandaec.com)

(2) ข้อมูลเรื่องลู่ทางการค้าและการลงทุน ติดต่อ กรมส่งเสริมการส่งออก (www.depthai.go.th สายด่วน Call center : 1169, 0-2507-8424)

(3) แนวการใช้สิทธิประโยชน์และมาตรการรองรับผลกระทบ ติดต่อ กรมการค้าต่างประเทศ (www.dft.go.th สายด่วน Call Center: 1385, 0-2547-4855)

(4) การพัฒนาผู้ประกอบการ SME s ติดต่อ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (www.dbd.go.th สายด่วน Call Center : 1570, 0-2528-7600)

95. AEC Information Center คืออะไร มีวัตถุประสงค์อย่างไร

AEC Information Center เป็นหน้าต่างของกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศในการสื่อสารกับภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน โดยจะทำหน้าที่เป็น ศูนย์ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เพื่อสร้างความเข้าใจ ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเปิดเสรีการค้าสินค้า การบริการ และการลงทุนของอาเซียน ซึ่งศูนย์ มีวัตถุประสงค์หลัก ดังนี้

1. เพิ่มช่องทางให้ทุกภาคส่วนได้รับทราบข่าวสารความคืบหน้าเกี่ยวกับผล การเจรจาเปิดเสรีการค้าที่หลากหลายยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการใช้สิทธิประโยชน์จาก ความตกลงเปิดเสรีการค้าของอาเซียน และอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา (ASEAN Plus)

2. เสริมสร้างความตระหนักถึงผลจากการเปิดเสรีและเตรียมความพร้อมเพิ่มขีดความสามารถแข่งขัน รวมทั้งการปรับตัวรองรับผลกระทบของทุกภาคส่วน

3. เกิดเครือข่ายที่ใกล้ชิดระหว่างภาครัฐและผู้มีส่วนได้เสียที่จะร่วมกันกำหนด แนวทางการใช้ประโยชน์ และแก้ไขปัญหาจากผลกระทบของการเปิดเสรีทางการค้า

96. ธุรกิจสามารถใช้บริการอะไรของศูนย์ AEC ได้บ้าง หากต้องการติดต่อ AEC Information Center จะต้องทำอย่างไร

ศูนย์บริการข้อมูลประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ให้บริการข้อมูลดังนี้

1. ข้อมูลสิทธิประโยชน์จากการเปิดเสรี AEC และ FTA

2. กิจกรรมอบรมพัฒนาศักยภาพสำหรับผู้ประกอบการ SME

3. แนะนำและให้คำปรึกษาการทำธุรกิจระหว่างประเทศสนใจสมัครสมาชิกและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

ศูนย์บริการข้อมูลประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 0-2507-7555 อีเมล์ info@dtn.go.th website : www.dtn.go.th, www.thailandaec.com

คำศัพท์ที่พบบ่อย

          คำศัพท์          RTA

คำอธิบาย

Regional Trade Agre ement หมายถึง ข้อตกลงทางการค้า ระหว่างประเทศตั้งแต่สองประเทศขึ้นไปเพื่อการรวมตัวทาง เศรษฐกิจในรูปแบบต่างๆ กัน โดยจะมีความเข้มข้นของความ สัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกันไป เช่น ข้อตกลงการให้สิทธิพิเศษของศุลกากร (Partial-union) เขตการค้าเสรี (Free Trade Areas) สหภาพศุลกากร (Customs Union) ตลาดร่วม (Common Market) เป็นต้น

          คำศัพท์          FTA

คำอธิบาย

Free Trade Agreement หรือความตกลงการค้าเสรี เป็นความตกลงที่ประเทศตั้งแต่ 2 ประเทศขึ้นไปจัดทำขึ้นเพื่อให้เกิดการรวมตัวทางเศรษฐกิจเข้าด้วยกัน โดยจะลด และ/หรือยกเลิกอุปสรรคทางการค้าระหว่างกัน ซึ่งในอดีต FTA ในระยะเริ่มแรกมุ่งเน้นเรื่องการลดภาษีนำเข้าระหว่างกัน แต่ปัจจุบันความตกลงเขตการค้าเสรี มักมีขอบเขตที่กว้างขวางขึ้น คือ รวมเรื่องการเปิดเสรีการค้าและการลงทุน ข้อกำหนด/ระเบียบกฎเกณฑ์ในประเทศที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าบริการและการลงทุน และมีแนวโน้มที่จะครอบคลุมกว้างขวางมากขึ้น โดยรวมประเด็นใหม่ๆ อาทิ แรงงาน สิ่งแวดล้อมทรัพย์สินทางปัญญา นโยบายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

คำศัพท์ ASEAN Charter

คำอธิบาย

กฎบัตรอาเซียน เป็นธรรมนูญของอาเซียน ซึ่งทำให้อาเซียนมีสถานะเป็นองค์กรระหว่างประเทศ

          คำศัพท์          AC

คำอธิบาย

ASEAN Community คือ เป้าหมายในการรวมกลุ่มของอาเซียนในปี 2558 (ค.ศ. 2015) โดยประชาคมอาเซียนมีโครงสร้างตามที่ระบุ ในกฎบัตรอาเซียนรวมแล้ว 3 ด้านหรือเสาหลัก ได้แก่ ประชาคมการเมือง-ความมั่นคงอาเซียน (ASE AN Po li ti cal - Se c uri ty C ommun it y: A P SC ) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (A SE AN Economic Community: AEC) และประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community: ASCC) ซึ่งแต่ละเสาหลักจะมีคณะมนตรีประจำเสาหลักเป็นผู้กำกับดูแลการดำเนินการไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้

          คำศัพท์          ACC

คำอธิบาย

ASEAN Coordinating Council คณะมนตรีประสานงานอาเซียน ประกอบด้วยรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของทุกประเทศ สมาชิกอาเซียนทำหน้าที่ประสานงานการดำเนินการในด้านต่างๆ ของอาเซียน

          คำศัพท์          AEC

คำอธิบาย

ASEAN Economic Community หรือ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเป็นหนึ่งในสามองค์ประกอบของประชาคมอาเซียน ซึ่งวางเป้าหมายการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียนในปี 2558 (ค.ศ. 2015)ซึ่งมีองค์ประกอบหลายด้าน ทั้งการเปิดเสรีการค้าสินค้า (ได้แก่ เขตการค้าเสรีอาเซียนหรือ AFTA ซึ่งนับได้ว่าเป็นความตกลง FTA ฉบับแรกของไทย) การค้าบริการ และการลงทุน ตลอดจนร่วมมือกัน กำหนดกฎเกณฑ์ กฎระเบียบทางการค้าและการลงทุน ปรับประสาน นโยบายการแข่งขัน และทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น จึงกล่าวได้ว่า AEC นั้นมีลักษณะเป็น FTA ยุคปัจจุบัน

          คำศัพท์          APSC

คำอธิบาย

ASEAN Political-Security Community หรือประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียน เป็นหนึ่งในสามองค์ประกอบของประชาคมอาเซียน มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสันติสุขในภูมิภาค การแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธี และยึดมั่นในหลักความมั่นคงรอบด้าน

          คำศัพท์          ASCC

คำอธิบาย

ASEAN Socio-cul tural Community หรือประชาคมสังคมวัฒนธรรมอาเซียน เป็นหนึ่งในสามองค์ประกอบของประชาคมอาเซียน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ภูมิภาคอาเซียนเป็นสังคมที่เอื้ออาทรประชนมีความเป็นอยู่ดี ได้รับการพัฒนาในทุกด้าน และมีความมั่นคงทางสังคม

          คำศัพท์          AEC  Blueprint

คำอธิบาย

ASEAN Economic Co mmunity Blueprint หรือ แผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เป็นแผนงานที่ครอบคลุมการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจทุกด้าน เพื่อเป็นแนวทางในภาพรวมสำหรับการดำเนินมาตรการต่างๆไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนภายในปี 2558 (ค.ศ. 2015) ซึ่งหากเปรียบเทียบกับการสร้างบ้านแผนงานนี้ก็เปรียบเสมือนพิมพ์เขียวที่จะช่วยบอกส่วนประกอบและรูปร่างหน้าตาของบ้านหลังนี้ว่า เมื่อสร้างเสร็จแล้วจะมีรูปร่างหน้าตาอย่างไร แผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนี้ประกอบด้วยมาตรการทางเศรษฐกิจทุกด้าน เพื่อนำอาเซียนไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ที่มีลักษณะสำคัญ 4 ประการ ได้แก่

(1) การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวโดยการเปิดเสรีสินค้า บริการการลงทุน แรงงาน และเงินทุน

(2) การสร้างขีดความสามารถในการ แข่งขันทางเศรษฐกิจของอาเซียนโดยการดำเนินความร่วมมือเรื่องนโยบายการแข่งขัน การคุ้มครองผู้บริโภค สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ นโยบายภาษี และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การเงิน การขนส่ง เทคโนโลยีสารสนเทศ และพลังงาน

(3) การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาโดยกาพัฒนา SMEs และ การลดช่องว่างของการพัฒนาทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ สมาชิก และ

(4) การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลกผ่านการจัดทำความตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreement) ระหว่างอาเซียน กับประเทศคู่เจรจา

          คำศัพท์          AEC Scorecard

คำอธิบาย

ASEAN EconomicC ommunity Scorecard เป็นเครื่องมือวัดผลการดำเนินงานการไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ที่จัดทำขึ้นตามข้อตัดสินใจของรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนเพื่อใช้เป็นเป็นเครื่องมือติดตามประเมินผลการปฏิบัติตามพันธกรณีภายใต้แผนงาน การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint) ของประเทศสมาชิกอาเซียน โดย AEC Scorecard ประกอบด้วยตารางติดตามผลการดำเนินมาตรการในด้านต่างๆ อาทิ การเปิดเสรีการค้า บริการการลงทุน การปรับประสานมาตรฐานด้านต่าง การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ที่ประเทศสมาชิกอาเซียนต้องดำเนินการตามกรอบเวลาภายใต้แผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Council) จะนำผลการดำเนินการของประเทศสมาชิกอาเซียนที่มีการวัดผลด้วย AEC Scorecard นี้ เสนอให้ผู้นำอาเซียนรับทราบเป็นประจำทุกปี

          คำศัพท์          AEC Council

คำอธิบาย

ASEAN Economic Commu nity Council หรือ คณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทำหน้าที่กำกับดูแลการดำเนินงานเพื่อมุ่งสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และให้แนวทางในการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิ รวมทั้งดูแลการดำเนินงานของรัฐมนตรี รายสาขาที่เกี่ยวข้องกับด้านเศรษฐกิจ เช่น รัฐมนตรีเศรษฐกิจ รัฐมนตรีการคลัง รัฐมนตรีขนส่ง และรัฐมนตรีเกษตรและป่าไม้

          คำศัพท์          MPAC

คำอธิบาย

Master Plan on ASEAN Connectivity หรือ แผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน เป็นแผนงานโดยละเอียดสำหรับการดำเนินการตามข้อริเริ่มของอาเซียนที่มุ่งจะสร้างความเชื่อมโยงในด้านต่างๆ ระหว่างกันภายในภูมิภาคทั้งเรื่องการคมนาคมการค้าการลงทุน และความสัมพันธ์อันดีระหว่างประชาชน เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งเป็นปึกแผ่นของประชาคมอาเซียนที่กำลังจะมาถึงในปี 2558 ประกอบไปด้วยมาตรการที่ประเทศสมาชิกอาเซียนจะดำเนินการร่วมกันเพื่อเชื่อมโยงปัจจัยสำคัญที่จะช่วยสร้างให้ อาเซียนเป็นภูมิภาคที่เข้มแข็งรวม 3 ประการ ได้แก่ (1) การ เชื่อมโยงทางกายภาพ ได้แก่ เครือข่ายเส้นทางการคมนาคมขนส่งเทคโนโลยีสารสนเทศ และพลังงาน (2) การเชื่อมโยงทางสถาบันหรือกฎระเบียบ ได้แก่ การเปิดเสรีและอำนวยความสะดวกทางการค้าสินค้า การค้าบริการ การลงทุน การปรับประสานกฎระเบียบอำนวยความสะดวกการขนส่งผ่านแดน และการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่ประเทศสมาชิกอาเซียนที่ยังมีระดับการพัฒนาน้อยและ (3) การเชื่อมโยงประชาชน ได้แก่ การส่งเสริมการท่องเที่ยวการศึกษา และวัฒนธรรม

          คำศัพท์          RCEP

คำอธิบาย

Regional Closer Economic Partnership หมายถึง ข้อริเริ่มของอาเซียนในการขยายการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาคโดยการจัดทำความตกลงการค้าเสรีร่วมกันเป็นฉบับเดียว โดยเริ่มแรกมี เป้าหมายจะจัดทำความตกลงดังกล่าวกับประเทศภาคี FTAs ปัจจุบันของอาเซียน 6 ประเทศ (จีน เกาหลี ญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลียนิวซีแลนด์) ที่สนใจเข้าร่วมก่อน ส่วนประเทศอื่นๆ นอกเหนือจากนั้นจะสามารถเข้าร่วมได้ภายหลังการเจรจาเสร็จสิ้น โดยคาดว่าจะเริ่มเจรจาได้ภายในสิ้นปี 2555 หรือต้นปี 2556

          คำศัพท์          ASEAN Plus

คำอธิบาย

ASEAN Plus หมายถึง กรอบความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา กรอบความร่วมมือเหล่านี้มีหลายด้าน ทั้งในด้านการเมือง ความมั่นคง สังคม และเศรษฐกิจ และปัจจุบัน มีการนำคำศัพท์ ASEAN Plus มาใช้ในหลายบริบท ดังนี้

ASEAN Plus One (ASEAN+1) หมายถึงกรอบความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา 1 ประเทศ ตัวอย่างเช่น ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน และความตกลงเขตการค้าเสรี อาเซียน-ญี่ปุ่น จัดเป็นเขตการค้าเสรีแบบ ASEAN Plus One

ASEAN Plus Three (ASEAN +3) หมายถึงกรอบความร่วมมือ ระหว่างอาเซียนกับจีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งริเริ่มขึ้นตั้งแต่ ปี 2540

ASEAN Plus Six (ASEAN+6) โดยทั่วไปใช้อ้างอิงถึงข้อริเริ่มใน กรอบการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ( East Asia Summit: E AS) ซึ่งมีการประชุมครั้งแรกในปี 2548 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อริเริ่มเรื่อง การจัดทำพันธมิตรทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดใน เอเชียตะวันออก (Closer Economic Partnership in East Asia: CEPEA) เนื่องจากเวทีการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกในช่วง เริ่มต้นมีประเทศผู้เข้าร่วมรวม 16 ประเทศ คือ อาเซียน 10 ประเทศ จีน เกาหลี ญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์

ASEAN Plus Eight (ASEAN+8) ใช้อ้างอิงอย่างไม่เป็นทางการถึง ข้อริเริ่มในกรอบการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกเช่นกัน เนื่องจากเวทีนี้มีการขยายสมาชิกภาพเมื่อปี 2553 โดยรับรัสเซีย และสหรัฐอเมริกาเข้ามาเป็นสมาชิกเพิ่มอีก 2 ประเทศ

ASEAN Plus Plus (ASEAN++) หมายถึง การขยายการรวมกลุ่ม ทางเศรษฐกิจในอนาคตที่กว้างขวางไปกว่ากรอบ ASEAN +1 กล่าวคือ ในอนาคต อาเซียนอาจจะจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรี กับประเทศคู่เจรจาจำนวนมากกว่าหนึ่งประเทศขึ้นไปขึ้นอยู่กับ ความพร้อมของประเทศคู่เจรจาแต่ละประเทศเองอาเซียน จึงเรียกแนวทางนี้ว่า ASEA N Plu s Plu s เพราะไม่ได้ระบุไว้ว่า ประเทศคู่เจรจาที่อาจขอเข้าเจรจากับอาเซียนนั้น ในท้ายที่สุด แล้วจะมีจำนวนเท่าใด

          คำศัพท์          AEM

คำอธิบาย

ASEAN Economic Minister หรือ การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนเป็นส่วนหนึ่งของกลไกการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจของอาเซียน ปกติจะประชุมอย่างเป็นทางการปีละ 1 ครั้ง ประมาณเดือนสิงหาคม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดแนวนโยบายความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียน พิจารณาการขยายกรอบหรือริเริ่มความร่วมมือใหม่ๆ รวมทั้งความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา และจะมีการประชุมอย่างไม่เป็นทางการ(AEM Retreat) อีกปีละ 1 ครั้ง ในช่วงไตรมาสแรกของปีเพื่อให้ แนวทางและแก้ไขปัญหาความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่เป็นเรื่องจำเป็น เร่งด่วน หรือเป็นพิเศษ นอกจากนี้ ยังอาจมีการประชุมรัฐมนตรี เศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (Informal AEM) หรือสมัยพิเศษ (Special AEM) ได้อีก ตามแต่โอกาสและความจำเป็น โดยไม่มีการระบุระยะเวลาที่แน่นอน ทั้งนี้ ในส่วนของประเทศไทย หัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน คือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์โดยตำแหน่ง

          คำศัพท์          SEOM

คำอธิบาย

Senior Economic Official Meeting หรือ การประชุมเจ้าหน้าที่ อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียนเป็นเวทีการประชุมของผู้แทนหน่วยงานหลักด้านเศรษฐกิจของทุกประเทศสมาชิกอาเซียน โดยแต่ละประเทศจะมีหัวหน้าคณะผู้แทนเรียกว่า SEOM Leader ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ภาครัฐระดับอธิบดีของหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงที่ ทำหน้าที่ดูแลภาพรวมของเศรษฐกิจการค้าของประเทศ ทั่วไปจะมี สมัยประชุมปกติปีละ 3 ครั้ง แต่อาจมีการประชุมสมัยพิเศษได้อีกตามที่ประเทศสมาชิกพิจารณาว่าเหมาะสม โดยประเทศสมาชิกอาเซียนจะหมุนเวียนเป็นเจ้าภาพ อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมา มีแนวปฏิบัติว่า ประเทศสมาชิกที่ดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนในแต่ละปีปฏิทินจะ รับเป็นเจ้าภาพการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียนสมัยปกติครั้งแรกของปีนั้นๆ ทั้งนี้ SEOM เป็นเวทีที่ประเทศสมาชิกอาเซียนใช้หารือเพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงานและขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียนในทุกด้าน และความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาต่างๆ รวมทั้ง พิจารณาแนวทางการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นภายในระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยกันเอง และปัญหาเกี่ยวกับความร่วมมือทางเศรษฐกิระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่ เจรจา โดยสำหรับประเทศไทย อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ (ปัจจุบัน คือ นางศรีรัตน์ รัษฐปานะ)ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าคณะ หรือ SEOM Leader ของไทยในการประชุมSEOM

          คำศัพท์          ATIGA

คำอธิบาย

ASEAN Trade in Goods Agreement หรือ ความตกลงว่าด้วยการ ค้าสินค้าของอาเซียนเป็นความตกลงที่อาเซียนลงนามในปี 2552 เพื่อนำมาใช้ทดแทนความตกลงว่าด้วยอัตราภาษีพิเศษที่เท่ากันสำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน (Agreement on the Common Effective Prefer ential Tariff Sche me for the ASEAN Free T rade Area: CEPT - AFT A) โดย ATIGA มีขอบเขตกว้างกว่า CEPT-AFTA กล่าวคือ ครอบคลุมทั้งการลดภาษีสินค้ามาตรการ ที่ไม่ใช่ภาษี การอำนวยความสะดวกทางการค้า กระบวนการด้านศุลกากร มาตรการสุขอนามัยพืชและสัตว์ และกฎระเบียบทางเทคนิคที่เป็นอุปสรรคทางการค้า ส่วนในเรื่องการลดภาษีภายใต้

ATIGA ยังเป็นไปตามพันธกรณีเดิมของ CEPT - AFTA คือประเทศสมาชิกเดิม 6 ประเทศ คือ บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซียฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทยต้องยกเลิกภาษีสินค้าทุกรายการที่ ค้าขายกันระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนภายในปี พ.ศ. 2553 ส่วน อีก4 ประเทศที่เหลือ คือ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม หรือที่ เรียกรวมสั้นๆว่า CLMV ต้องดำเนินการแบบเดียวกันนั้นภายในปี 2558 แต่ก็มีความยืดหยุ่นให้สินค้าบางรายการไปถึงปี 2561

          คำศัพท์          ASW

คำอธิบาย

ASEAN Single Window หรือ ระบบศุลกากรหน้าต่างเดียว หมายถึงระบบการอำนวยความสะดวกทางการค้าของอาเซียนเพื่อให้ ผู้ประกอบการสามารถผ่านขั้นตอนการอนุญาตจากหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องในการรับรองเอกสารหลักฐานพร้อมกัน ณ จุดเดียว เพื่อให้สามารถปฏิบัติพิธีการนำเข้า ส่งออกและนำสินค้าผ่านแดนได้ตามข้อกำหนด กฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง โดยอาเซียนตั้งเป้าหมายจะ ดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในปี 2558

          คำศัพท์          Self-certification

คำอธิบาย

ระบบการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเอง ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ส่งออกที่ได้รับสถานะเป็น Certified Exporter ทำการรับรองแหล่ง กำเนิดของสินค้าของตนเองได้ โดยในปัจจุบัน บรูไน มาเลเซีย สิงคโปร์เริ่มดำเนินโครงการนำร่องระบบการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า ด้วยตนเองตั้งแต่ปี 2553 ในขณะที่ไทยดำเนินการตั้งแต่ปลายปี 2554 และล่าสุด อินโดนีเซีย ลาว และฟิลิปปินส์ ก็ได้เริ่มต้นดำเนิน โครงการนำร่องระบบดังกล่าวด้วยแล้ว

          คำศัพท์          CO

คำอธิบาย

Certificate of Origin หรือหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า เป็นเอกสารที่ออกให้โดยหน่วยงานผู้มีอำนาจของประเทศผู้ส่งออก โดยหน่วยงานดังกล่าวต้องตรวจสอบและรับรองแหล่งกำเนิดของสินค้าตามเงื่อนไขของข้อตกลงทางการค้าฉบับต่างๆ สำหรับประเทศไทยหน่วยงานที่เป็นผู้ออกหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าคือ กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

          คำศัพท์          ROO

คำอธิบาย

Rules of Origin เป็นเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาว่าสินค้ามีแหล่งกำเนิดจากประเทศใดเนื่องจากปัจจุบันการผลิตสินค้า อาจไม่ได้ผลิตภายในประเทศหนึ่งประเทศใดเท่านั้น แต่มีการนำเข้าวัตถุดิบหรือชิ้น ส่วนจากหลายประเทศเพื่อให้ต้นทุนการผลิตต่ำและได้ผลกำไรมากที่สุด ซึ่งเป็นการยากที่จะระบุได้ว่า สินค้านั้นๆ มีถิ่นกำเนิดในประเทศใดกฎแหล่งกำเนิดสินค้าสามารถนำมาใช้ประกอบการดำเนินนโยบายการค้าต่างๆ เช่น การกำหนดอัตราภาษีศุลกากรสำหรับสินค้านำเข้าการกำหนดปริมาณโควตา การให้สิทธิประโยชน์ทางการค้าทั้งในรูปการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรแก่ประเทศกำลังพัฒนา( Ge neral iz ed Sys tem of Preference: GSP) และการให้สิทธิ พิเศษแก่สมาชิกในเขตการค้าเสรีเดียวกัน (Free T rade Are a)การเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดหรือภาษีต่อต้านการอุดหนุนการใช้มาตรการปกป้อง และการจัดซื้อโดยรัฐ นอกจากนั้น ยังใช้ในการเก็บข้อมูลสถิติทางการค้าและการติดฉลากสินค้าว่าผลิตจากประเทศใด เป็นต้น

          คำศัพท์          NTBs

คำอธิบาย

Non-tariff Barriers หมายถึง มาตรการที่มิใช่ภาษีศุลกากรซึ่งเป็น กฎระเบียบข้อบังคับของภาครัฐบาลที่เป็นอุปสรรคต่อการค้า ระหว่างประเทศ

          คำศัพท์          e-ASEAN Initiative

คำอธิบาย

หมายถึง การดำเนินงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของกลุ่มสมาชิกอาเซียน โดยมีสาระสำคัญของการดำเนินการประกอบด้วย 5 ด้านหลักได้แก่ (1) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคม (2) การกำหนดนโยบายและกฎหมายที่อำนวยความสะดวกต่อการพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ (3) การเปิดเสรีการค้าสินค้า บริการ และการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (4) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และ (5) การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในภาครัฐ

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เลขที่ 44/100 ถ.นนทบุรี1 ต. บางกระสอ อ. เมือง จ. นนทบุรี 11000

โทรศัพท์ (66) 2507-7444 แฟกซ์ (66) 2547-5630


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ