มิติด้านการค้า: ผลลัพธ์การประชุม Rio+20

ข่าวทั่วไป Thursday July 12, 2012 10:53 —กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

นางศรีรัตน์ รัษฐปานะ อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้เข้าร่วมการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. ๒๐๑๒ หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า การประชุม Rio+20 เมื่อวันที่ ๑๓ — ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๕ ที่ผ่านมา ณ นครริโอ เดอ จาเนโร สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติมาร่วมให้คามั่นต่อการดาเนินงานด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมทั้งรับทราบความก้าวหน้าและเจรจาหารือเกี่ยวกับแนวทางแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เกี่ยวข้องในการดาเนินงานด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยประเด็นหลักของการประชุม Rio+20 ซึ่งเป็นข้อกังวลของประเทศกาลังพัฒนา เนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่อการค้าคือ เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy)นางศรีรัตน์ กล่าวว่า การประชุม Rio+20 ครั้งนี้ ได้มีการสรุปผลออกมาใช้ชื่อว่า “The Future We Want” ถึงแม้ว่าสุดท้ายจะไม่ได้คานิยามของ Green Economy แต่ได้ยืนยันว่าประเทศสมาชิกๆ ต่างมีแนวทาง/กลไกการดาเนินงานที่หลากหลาย เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตามการจัดลาดับความสาคัญและขีดความสามารถของแต่ละประเทศ โดย Green Economy เป็นเพียงแนวทางหนึ่งในการนาไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนและการแก้ไขปัญหาความยากจน รวมทั้งนโยบายด้าน Green Economy จะต้องสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ จะต้องไม่เป็นมาตรการที่ใช้ในลักษณะที่จะก่อให้เกิดการเลือกปฏิบัติ หรือปฏิบัติอย่างไม่มีเหตุผล หรือก่อให้เกิดการจากัดที่แอบแฝงต่อการค้าระหว่างประเทศ หลีกเลี่ยงการดาเนินมาตรการฝ่ายเดียว เพื่อจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นนอกเขตอานาจรัฐของตน และให้การรับรองว่ามาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนเป็นไปตามฉันทามติระหว่างประเทศ

สำหรับการเจรจาเพื่อกาหนดให้ประเด็นการค้าเป็นวิธีการดาเนินงานด้านหนึ่ง (means of implementation) เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ยังไม่มีความคืบหน้า เนื่องจากประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกาลังพัฒนามีท่าทีที่แตกต่างกันมาก ในที่สุดจึงทาได้เพียงยืนยันถึงความสาคัญของการค้าระหว่างประเทศในการขับเคลื่อนการพัฒนาและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยระบบการค้าพหุภาคีที่มีกฎเกณฑ์ มีความยุติธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ และการเปิดเสรีการค้ามีบทบาทสาคัญในการส่งเสริมการพัฒนาและการเจริญเติบโตดังกล่าว รวมทั้งเรียกร้องให้สมาชิกองค์การการค้าโลกเร่งเจรจารอบโดฮาให้บรรลุผลสาเร็จได้อย่างมีความสมดุลและมุ่งเน้นด้านการพัฒนา โดยยึดหลักความโปร่งใสและการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ซึ่งจะสามารถช่วยขจัดปัญหาความยากจนได้ นอกจากนี้ ได้มอบให้องค์การการค้าโลกเป็นผู้ดาเนินการในเรื่องนี้ต่อไป

ในระหว่างการประชุมดังกล่าว อังค์ถัด (United Nations Conference on Trade and Development: UNCTAD) ได้จัดเสวนาเรื่อง “The Trade Dimension in the Follow-up to the Rio+20 Summit” โดย ดร. ศุภชัย พาณิชภักดิ์ เลขาธิการอังค์ถัดกล่าวว่า แม้การค้าจะถูกกล่าวถึงเพียงเล็กน้อยในเอกสารผลลัพธ์ The Future We Want แต่การค้าสามารถเป็นกลไกสาคัญสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ รวมทั้งเรียกร้องให้ประเทศต่างๆ ทาความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการด้านการค้าที่จาเป็นต่อการเปลี่ยนผ่านไปสู่ Green Economy โดยเน้นย้าถึงความคืบหน้าที่สาคัญของ Green Economy ในทศวรรษที่ผ่านมากล่าวคือ การก้าวหน้าด้านพลังงานทดแทน อัตราการปลูกป่าที่เพิ่มขึ้น การผลิตเกษตรอินทรีย์ การพัฒนามาตรฐานสิ่งแวดล้อมต่างๆ เป็นต้น

ดร. ศุภชัย พาณิชภักดิ์ ได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมอีกว่า ประเทศต่างๆควรให้ความสนใจเรื่องการปรับประสานมาตรฐานสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเป็นจานวนมากในปัจจุบัน หากไม่เร่งดาเนินการในเรื่องนี้ มาตรฐานสิ่งแวดล้อมจะกลายเป็นมาตรการกีดกันทางการค้าในที่สุด นอกจากนี้ ยังเสนอแนะว่า ควรมีการปรับประสานกฎระเบียบการค้าและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ปัจจุบัน อังค์ถัดมีแนวคิดเกี่ยวกับการจัดตั้งเวทีระหว่างประเทศด้านเศรษฐกิจสีเขียวกับการค้า(Global Forum on Green Economy and Trade) เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล/ประสบการณ์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม/เศรษฐกิจสีเขียวกับการค้า พิจารณา/หารือผลกระทบด้านเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นและวิธีการแก้ไข/บรรเทาผลกระทบดังกล่าว รวมทั้งป้องกันกรณีพิพาททางการค้าที่อาจเกิดขึ้น

สำหรับงานเสวนา “Multilateral Co-operation towards Sustainable Development” โดยองค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) นาย Pascal Lamy ผู้อานวยการใหญ่องค์การการค้าโลก กล่าวว่างานของ WTO ในหลายๆ ประเด็นสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจสีเขียว เช่น การค้าสินค้าและบริการสิ่งแวดล้อม การจัดทาความตกลงด้านการอุดหนุน เป็นต้น และเห็นว่าการเจรจารอบโดฮาหยุดชะงักเนื่องจากไม่มีแรงผลักดันทางการเมือง (political energy) ที่เพียงพอ ทั้งนี้ นาย Pascal Lamy เน้นย้าให้ภาคประชาสังคมเรียกร้องความจาเป็นและความเร่งด่วนของการบรรลุผลการเจรจารอบโดฮาโดยเร็ว เนื่องจากที่ผ่านมาข้อเรียกร้องของภาคประชาสังคมเป็นบ่อเกิดการดาเนินงานของ WTO มาโดยตลอด ในขณะเดียวกัน นาย Achim Steinerผู้อานวยการใหญ่โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme: UNEP)กล่าวว่า ระบบ/สถาบันระหว่างประเทศของโลกนั้นไม่สมบูรณ์ คือมีช่องว่างระหว่างสถาบันสิ่งแวดล้อมและการค้าเช่น เวทีความตกลงพหุภาคีทางด้านสิ่งแวดล้อม (Multilateral Environment Agreements: MEAs) เห็นว่าประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการค้าควรให้มีการหารือใน WTO ส่วนเวที WTO เห็นว่าประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมควรให้มีการหารือใน MEAs เป็นต้น นาย Achim Steiner จึงเห็นความจาเป็นให้มีระบบ/สถาบันระหว่างประเทศที่ดาเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและการค้าควบคู่กัน (parallel treaty system)

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เห็นว่าเศรษฐกิจสีเขียวเป็นแนวทางหนึ่งเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมทั้งเป็นช่องทางสร้างโอกาสทางการค้าให้กับผู้ประกอบการไทย ปัจจุบัน มีความตื่นตัวมากขึ้นเกี่ยวกับตลาดสีเขียว (Green market) เช่น การปรับใช้ฉลากเขียว/ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ เป็นต้น อย่างไรก็ดี การไปสู่เศรษฐกิจสีเขียวนั้น ทุกฝ่ายต้องเร่งปรับประสานนโยบายและกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อม การลงทุน การอุดหนุนอุตสาหกรรม และการค้า ให้มีความสอดคล้องกัน เนื่องจากประเด็นดังกล่าวล้วนแล้วแต่มีความเชื่อมโยงระหว่างกันและกัน

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เลขที่ 44/100 ถ.นนทบุรี1 ต. บางกระสอ อ. เมือง จ. นนทบุรี 11000

โทรศัพท์ (66) 2507-7444 แฟกซ์ (66) 2547-5630


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ