กองทัพอาเซียนด้านเศรษฐกิจถกหนักเตรียมชงผลงานต่อที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนในเดือนสิงหาคม

ข่าวทั่วไป Wednesday July 25, 2012 11:35 —กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

ไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ 3 ประจาปี 2555 รวมทั้งการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 15-20 กรกฎาคม 2555 ที่ผ่านมา ณ จังหวัดเชียงราย โดยได้ถกหลายประเด็นสาคัญก่อนที่นาเสนอต่อที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ปลายเดือนสิงหาคม ศกนี้ ณ ประเทศกัมพูชา

นางศรีรัตน์ รัษฐปานะ อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ หัวหน้าผู้แทนไทย เปิดเผยว่า การประชุมดังกล่าวถือเป็นการประชุมครั้งสาคัญเพื่อแก้ปัญหาและหาข้อสรุปในประเด็นสาคัญต่างๆ สาหรับการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) ครั้งที่ 44 และการประชุมผู้นาอาเซียน ครั้งที่ 21 ซึ่งกัมพูชาจะเป็นเจ้าภาพในช่วงปลายเดือนสิงหาคม และพฤศจิกายน 2555 ตามลาดับ

นางศรีรัตน์ กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ อาเซียนได้มีการหารือทั้งระหว่างประเทศอาเซียนเอง อาเซียนกับประเทศที่มีความตกลงการค้าเสรีระหว่างกัน (จีน เกาหลี ญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์) และอาเซียนกับประเทศที่มีแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับอาเซียน (สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป) รวมทั้งสิ้น 18 ประเทศ รวมทั้ง ได้มีการพบหารือกับภาคธุรกิจและองค์กรอื่น (สภาธุรกิจเอเชียตะวันออก หรือ EABC กลุ่มอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ในภูมิภาคอาเซียน และธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย หรือ ADB) ด้วย

สำหรับการหารือภายในกลุ่มอาเซียนที่สาคัญ คือ การประชุมร่วมระหว่าง SEOM กับผู้แทนคณะทางานสาขาต่างๆ ภายใต้เสาเศรษฐกิจของอาเซียน อาทิ ทรัพย์สินทางปัญญา เทคโนโลยีสารสนเทศ SMEs เกษตรและป่าไม้ การคลัง และศุลกากร เป็นต้น โดยได้แลกเปลี่ยนความเห็นต่อรายงานการประเมินผลการดาเนินการไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในระยะครึ่งทาง (AEC Blueprint Mid-Term Review) จัดทาโดยสถาบันวิจัยทางเศรษฐกิจเพื่ออาเซียนและเอเชียตะวันออก (Economic Research Institute for ASEAN and East Asia: ERIA) ซึ่งเป็นการศึกษาสาคัญที่ประเมินความคืบหน้าและผลของการดาเนินมาตรการภายใต้แผนงาน AEC Blueprint โดยการศึกษาเห็นว่าเนื่องจากเหลือเวลาอีกเพียงไม่นานอาเซียนจะเข้าสู่ AEC จึงควรเน้นเร่งดาเนินการบางมาตรการที่สาคัญ เช่น การอานวยความสะดวกทางการค้า โดยเฉพาะในด้านการขนส่ง และพิธีการศุลกากร มาตรฐานสินค้า การเปิดเสรีการค้าบริการและการลงทุน การพัฒนา SMEs และการขยายการรวมตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาค (RCEP) เป็นต้น ซึ่งอาเซียนจะนาข้อมูลดังกล่าวมาประกอบการพิจารณาจัดลาดับมาตรการที่ต้องเร่งดาเนินการโดยเร็ว ตามที่ผู้นาอาเซียนระบุในเอกสารวาระพนมเปญ (Phanom Phen Agenda) เมื่อเดือนเมษายน 2555

ในการหารือกับคู่เจรจาที่มี FTA กับอาเซียน ประเด็นสาคัญที่กาลังเป็นที่จับตามองของประชาคมโลกอยู่ในขณะนี้ คือ เรื่อง RCEP ซึ่งเป็นการจัดทาความตกลงการค้าเสรีกับประเทศที่มี FTA กับอาเซียนมากกว่า 1 ประเทศ โดยในการประชุมครั้งนี้อาเซียนได้จัดทาเอกสารหลักการและวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางพื้นฐานในการเจรจา RCEP โดยได้มีการแลกเปลี่ยนความเห็นกับประเทศคู่เจรจาต่อเอกสารดังกล่าวในเบื้องต้น นอกจากนี้ อาเซียนอยู่ระหว่างการจัดทา Template ด้านการเจรจาการค้าสินค้า การค้าบริการ และการลงทุน ทั้งนี้ อาเซียนตั้งเป้าหมายที่จะประกาศการเจรจาความตกลง RCEP อย่างเป็นทางการในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 21 ในเดือนพฤศจิกายน 2555 ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา

นอกจากนี้ อีกประเด็นหนึ่งที่อาเซียนให้ความสาคัญในการประชุมครั้งนี้ คือ การพยายามเจรจาเพื่อบรรลุข้อสรุปการเปิดเสรีการค้าบริการและการลงทุนระหว่างอาเซียนและอินเดียให้ได้โดยเร็ว โดยทั้งสองฝ่ายตั้งเป้าจะสรุปผลการเจรจาให้ได้ก่อนการเฉลิมฉลองครบรอบ 20 ปี ความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนและอินเดีย (Special ASEAN-India Commemorative Summit) ที่จะจัดขึ้นในเดือนธันวาคม 2555 ณ ประเทศอินเดีย

นางศรีรัตน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในช่วงการประชุมครั้งนี้ SEOM ยังได้พบหารือเป็นการครั้งแรกกับเจ้าหน้าที่อาวุโสของกลุ่มประเทศสมาชิกเวทีการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (EAS) ซึ่งประกอบด้วย จีน ญี่ปุ่น เกาหลีออสเตรเลีย อินเดีย นิวซีแลนด์ รัสเซีย และสหรัฐอเมริกา หลังจากที่สหรัฐฯและรัสเซียได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเวที EASอย่างเป็นทางการ เมื่อปี 2553 โดยทั้งสองฝ่ายได้มีการหารือถึงแนวทางในการขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออก และเตรียมการสาหรับการประชุมระดับรัฐมนตรีระหว่าง AEM กับ EAS ในเดือนสิงหาคมนี้ซึ่งจะมีการแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับประเด็นด้านสภาวการณ์เศรษฐกิจโลก อาทิ การพัฒนาอย่างยั่งยืน low carbon growth พลังงาน และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เลขที่ 44/100 ถ.นนทบุรี1 ต. บางกระสอ อ. เมือง จ. นนทบุรี 11000 โทรศัพท์ (66) 2507-7444 แฟกซ์ (66) 2547-5630


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ