แอฟริกาใต้กาลังเผชิญกับความท้าทายในการเป็นมหาอานาจทางเศรษฐกิจของทวีปแอฟริกา ภายหลังจากที่แอฟริกาใต้ประสบความสาเร็จในการเข้าเป็นสมาชิกของกลุ่ม BRICS(1) กลุ่มประเทศ 5 ประเทศที่มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงที่สุดของโลกในเวลานี้และกาลังจะก้าวขึ้นมาเป็นมหาอานาจในศตวรรษที่ 21 หลายฝ่ายได้ตั้งคาถามว่า “เหตุใดกลุ่ม BRIC เดิมถึงเลือกแอฟริกาใต้เข้าร่วมกลุ่ม” ทั้งๆที่แอฟริกาใต้มีขนาดเศรษฐกิจค่อนข้างเล็ก ซึ่งหากเปรียบเทียบกับประเทศอื่นในกลุ่ม BRICS นั้น แอฟริกาใต้ถือว่ามีขนาดเล็กมาก คิดเป็นสัดส่วนเพียง 1 ใน 4 ของอินเดีย รวมทั้ง ประชากรที่มีจานวนน้อยหรือคิดเป็นเพียง 1 ใน 3 ของรัสเซียเท่านั้น ยิ่งเปรียบเทียบกับประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจด้วยกันอย่าง เกาหลีใต้ ตุรกี เม็กซิโก หรืออินโดนีเซียด้วยแล้ว แอฟริกาใต้จึงไม่น่าที่จะเป็นที่สนใจของกลุ่ม BRIC เดิม ซึ่งล้วนมีขนาดใหญ่กว่าแอฟริกาใต้ทั้งเศรษฐกิจและจานวนประชากร แต่หากพิจารณาด้วยคุณสมบัติหลักที่แอฟริกาใต้กล่าวอ้างว่าตน คือ "ประตูสู่แอฟริกา" ทวีปที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) โดยรวมประมาณ 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าทั้งรัสเซียและอินเดีย และเป็นทวีปที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอันดับสองของโลก ซึ่งเหนือกว่ายุโรปและสหรัฐฯ โดยเป็นรองแค่ทวีปเอเชียเท่านั้น รวมทั้งแอฟริกาใต้ยังเป็นประเทศที่มีความสัมพันธ์กับประเทศอื่นๆ ภายนอกทวีปมากที่สุดประเทศหนึ่งในแอฟริกา จึงอาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่กลุ่ม BRICs มองเห็นในศักยภาพของแอฟริกาใต้ แต่แอฟริกาใต้จะสามารถทาตามที่ตนเองกล่าวอ้างได้หรือไม่ ?
เศรษฐกิจของกลุ่ม BRICS
BRICS เป็นกลุ่มความร่วมมือของ 5 ประเทศที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจมากที่สุดของโลก อันประกอบด้วย บราซิล (Brazil) รัสเซีย (Russia) อินเดีย (India) จีน (China) และแอฟริกาใต้ (South Africa) โดย BRICS เกิดขึ้นจากข้อเสนอของนาย จิม โอนีล (Jim O’Neill) ประธานและหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของบริษัทโกลแมนแซคส์ (Goldman Sachs) สถาบันการเงินชั้นนาของโลก ในรายงานการวิจัยที่ชื่อว่า "Building Better Global Economic BRICs" เพื่อแสดงถึงการย้ายศูนย์อานาจทางเศรษฐกิจของโลก จากกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วอย่าง G7(2) มาสู่ประเทศกาลังพัฒนาอย่าง BRICS ภายในปี 2027 โดยสมาชิกในกลุ่ม BRICS มีลักษณะที่คล้ายคลึงกันในแง่ของขนาดพื้นที่ที่กว้างใหญ่ มีจานวนประชากรจานวนมาก รวมทั้งมีแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจที่ชัดเจนและมีสภาพแวดล้อมทางการเมืองที่มีเสถียรภาพ โดยในระยะแรก BRICs ประกอบด้วยสมาชิก 4 ประเทศ คือบราซิล รัสเซีย อินเดีย และจีน ซึ่งเมื่อ 4 ประเทศนี้รวมตัวกันแล้ว จะมีพื้นที่ทางภูมิศาสตร์มากกว่า 1 ใน 4 ของโลก และมีประชากรมากกว่าร้อยละ 40 ของโลก ต่อมา แอฟริกาใต้ได้เข้าเป็นสมาชิกกลุ่มประเทศ BRICS เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2010 ทาให้ชื่อกลุ่ม BRICs ซึ่งเคยใช้อักษรเอสตัวเล็ก ต้องเปลี่ยนเป็นอักษรเอสตัวใหญ่การเข้าร่วมดังกล่าวยิ่งทาให้กลุ่ม BRICS มีความสาคัญต่อโลกค่อนข้างมาก โดยมีพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ครอบคลุมถึงสี่ทวีปคือ ยุโรป เอเชีย อเมริกา และแอฟริกา และเป็นแหล่งสะสมเงินทุนสารองระหว่างประเทศอยู่ที่ประมาณร้อยละ 45 ของทุนสารองระหว่างประเทศทั้งหมดของโลก (4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ)
หมายเหตุ
(1) กลุ่ม BRICS ประกอบด้วย บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้
(2) กลุ่ม G7 ประกอบด้วย สหรัฐฯ แคนาดา อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น นายจิม โอนีลล์ (Jim O’Neil) ประธานบริษัทโกลด์แมนแซคส์ ผู้บัญญัติศัพท์คาว่า “BRICs” โดยเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงกลุ่มประเทศที่กาลังพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมใหม่ ซึ่งต่อมาในปี 2010 แอฟริกาใต้ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกใหม่ของ BRIC ทางกลุ่มจึงได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น BRICS ซึ่ง S นั้นหมายถึง “South Africa” นั่นเอง Vol. 2/55
THE BRICS COUNTRIES
รัสเซีย
- พื้นที่: 17,098,242 ตร.กม.
- ประชากร: 142.8 ล้านคน (2.1%ของโลก)
- GDP: 1,884.90 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
- ส่วนแบ่งตลาดของการส่งออกในโลก: 2.9%
- Inflows FDI: 13,810 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
จีน
- พื้นที่: 9,596,961 ตร.กม.
- ประชากร: 1,347.6 ล้านคน (19.6%ของโลก)
- GDP: 6,988.47 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
- ส่วนแบ่งตลาดของการส่งออกในโลก: 10.1%
- Inflows FDI: 105,735 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
อินเดีย
- พื้นที่: 3,287,263 ตร.กม.
- ประชากร: 1,241.5 ล้านคน (17.1%ของโลก)
- GDP: 1,843.38 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
- ส่วนแบ่งตลาดของการส่งออกในโลก: 1.9%
- Inflows FDI: 37,763 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
แอฟริกาใต้
- พื้นที่: 1,219,090 ตร.กม.
- ประชากร: 50.5 ล้านคน (0.7%ของโลก)
- GDP: 422.04 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
- ส่วนแบ่งตลาดของการส่งออกในโลก: 0.5%
- Inflows FDI: 111 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
การประชุมสุดยอดผู้นาประเทศกลุ่ม BRICS (BRICS SUMMITS)
ที่ผ่านมาความร่วมมือของกลุ่ม BRICS ดาเนินการผ่านทางการประชุม BRICS Summits ซึ่งกาหนดให้มีขึ้นปีละครั้ง เพื่อประสานนโยบายเศรษฐกิจและการเมืองร่วมกัน โดยที่ผ่านมาได้มีการจัดประชุมมาแล้ว 4 ครั้ง ได้แก่
การประชุม BRICs Summit ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2009 จัดขึ้นที่เมือง Yekaterinburg ประเทศรัสเซีย ซึ่งสาระสาคัญของการประชุมฯ คือ การแสดงให้โลกเห็นถึงศักยภาพของกลุ่ม BRICs (ขณะนั้นแอฟริกาใต้ยังไม่ได้เข้าเป็นสมาชิกกลุ่ม BRICs โดยเริ่มเข้าเป็นสมาชิกและร่วมการประชุมใน BRICS Summit ครั้งที่ 3) และการสร้างระบบทุนสารองเงินตราต่างประเทศในอนาคต ที่เน้นไปที่การกระจายความเสี่ยงและความมีเสถียรภาพ เพื่อรองรับความผันผวนของตลาดการเงินโลก
การประชุม BRICs Summit ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2010 จัดขึ้นที่เมือง Brasilia ประเทศบราซิล ซึ่งผู้นาประเทศสมาชิกได้หารือถึงประเด็นสาคัญต่างๆ ได้แก่ การพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของอิหร่าน ความคืบหน้าของการรวมกลุ่ม BRICs สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของโลกในขณะนั้น การปฏิรูปสถาบันการเงิน สถานะทางการเงินของกลุ่ม G20 และความร่วมมือทางด้านความมั่นคงทางพลังงานและอาหาร เป็นต้น อย่างไรก็ดี จีนยังปฏิเสธที่จะพูดถึงเรื่องการปรับลดค่าเงินหยวน ทั้งที่มีแรงกดดันอย่างหนักจากต่างชาติ
การประชุม BRICS Summit ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 14 เมษายน 2011 จัดขึ้นที่เมือง Sanya ประเทศจีน ซึ่งมีการประชุมภายใต้หัวข้อ "Broad Vision, Shared Prosperity" โดยสาระสาคัญของการประชุมฯ คือ กลุ่มประเทศสมาชิก BRICS ประกาศยุติการใช้สกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐฯในการทาการค้าระหว่างกัน และให้กลับมาใช้สกุลเงินของประเทศตนเองแทน พร้อมกันนี้ ได้มีการลงนามความตกลงระหว่างธนาคารเพื่อการพัฒนา (Development Bank) ของประเทศสมาชิก ในเรื่องการค่อยๆปรับเปลี่ยนสกุลเงินกู้จากเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือทางการเงินระหว่างกลุ่ม BRICS เช่นเดียวกับการขยายบทบาทความสาคัญของสกุลเงินประเทศสมาชิก
การประชุม BRICS Summit ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2012 จัดขึ้นที่เมือง New Delhi ประเทศอินเดีย ซึ่งประเทศสมาชิกได้มีมติเสนอให้ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัน เพื่อเปิดโอกาสทางการค้าการลงทุนระหว่างประเทศสมาชิกโดยใช้เงินสกุลท้องถิ่นเป็นหลัก และริเริ่มศึกษาความเป็นไปได้ที่จะจัดตั้งสถาบันทางการเงินของตัวเอง ได้แก่ ธนาคารเพื่อการพัฒนาแนวใต้-ใต้ (BRICS Bank or South-South Development bank) เพื่อลดการพึ่งพิงด้านเงินตราและความช่วยเหลือจากประเทศมหาอานาจ พร้อมกันนี้ BRICS ยังได้ร่วมกันออกตราสารอนุพันธุ์ Benchmark Equity Index เพื่อช่วยนักลงทุนจากประเทศสมาชิก ให้สามารถลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศหนึ่งๆ ได้โดยปราศจากความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน นอกจากนี้ ยังเรียกร้องต่อ IMF และ World Bank ให้เร่งรัดปฏิรูประบบโครงสร้างทางการเงินโลกที่ไม่สมดุลให้มีลักษณะยั่งยืน และภายหลังการประชุมฯ อินเดียและจีนได้มีการหารือทวิภาคีนอกรอบ เพื่อเสาะหาลู่ทางการลงทุนและผลประโยชน์ร่วมกันในภูมิภาคเอเชียกลางและแอฟริกา
บทบาทของแอฟริกาใต้ในกลุ่ม BRICS
แอฟริกาใต้ถือเป็นผู้เล่นเชิงกลยุทธ์ (Strategic player) ของทวีปแอฟริกา คือ การใช้กลยุทธ์ผลักดันให้ทวีปแอฟริกาไปสู่ทิศทางที่ตั้งไว้ภายใต้สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงของโลก โดยมีการจัดสรรทรัพยากรให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพที่สุด รวมทั้ง การผลักดันให้ตนเองเข้าสู่กลุ่ม BRICS เพื่อแสดงให้โลกเห็นถึงความสาคัญของแอฟริกาใต้ และเป็นประเทศจุดหมายปลายทางที่ดีที่สุดสาหรับการลงทุน และหุ้นส่วนทางการค้าที่เหมาะสมที่สุดในทวีปแอฟริกาสาหรับประเทศสมาชิกในกลุ่ม BRICS เดิม เนื่องจากแอฟริกาใต้มีภูมิประเทศที่เป็นจุดยุทธศาสตร์เชื่อมต่อทวีปเอเชีย อเมริกา ยุโรป และตะวันออกกลางเข้าด้วยกัน และเป็นจุดเชื่อมต่อโดยตรงกับส่วนที่เหลือของทวีปแอฟริกาอีกด้วย ซึ่งนางโอคอนโย อีเวอาลา (Mrs. Ngozi Okonjo-Iweala) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังไนจีเรียเคยกล่าวไว้ว่า “แอฟริกาควรมองตนเองในฐานะที่เป็นประเทศที่ห้าในกลุ่ม BRICS เป็นประเทศปลายทางของการลงทุน ไม่ใช่เพียงผู้รอรับการช่วยเหลือจากประเทศอื่นๆอีกต่อไป” ซึ่งเป็นการสนับสนุนบทบาทของแอฟริกาใต้ในฐานะที่เป็น Gateway ของทวีปแอฟริกา
ทั้งนี้ ในปี 2013 แอฟริกาใต้จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม BRICS Summit ครั้งที่ 5 ซึ่งมีประเด็นที่สาคัญในการประชุม คือ การรายงานผลการศึกษาความเป็นไปได้ที่จะจัดตั้งธนาคารเพื่อการพัฒนาแนวใต้-ใต้ (BRICS Bank or South-South Development bank)
แอฟริกาใต้: Gateway สู่ทวีปแอฟริกาจริงหรือ?
ถึงแม้ว่าครั้งหนึ่งแอฟริกาเป็นทวีปที่ไม่มีความปลอดภัย เนื่องจากปัญหาการเมืองและความวุ่นวายภายในของแต่ละประเทศ จึงทาให้นักลงทุนต่างชาติขาดความเชื่อมั่นในการทาธุรกิจกับทวีปนี้ แต่ในช่วง 20 ปีให้หลัง ทวีปแอฟริกาได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ทั้งเรื่องความสงบภายในทวีป ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รวมถึงมีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ทาให้มีการลงทุนจากต่างชาติหลั่งไหลเข้ามามากกว่าในอดีต โดยแอฟริกาใต้เป็นประเทศในอันดับต้นๆ ที่นักลงทุนต่างชาติเลือกเข้ามาลงทุนในทวีปแอฟริกา เนื่องจากอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่รวดเร็ว เป็นตลาดใหม่และอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ทาให้แอฟริกาใต้มักเป็นประเทศแรกๆ ที่นักลงทุนจากต่างชาติให้ความสนใจเป็นจุดสนใจแรกในการลงทุนและเป็นประตูสู่แอฟริกา
จากรายงานการสารวจของภาคเอกชนและธนาคารต่างๆ ยังบ่งบอกว่า แอฟริกาใต้ยังมีความได้เปรียบคู่แข่งทางการค้ารายอื่นๆ ในภูมิภาคอยู่หลายอย่าง เช่น มีจานวนประชากรมากเป็นอันดับ 5 ของทวีปแอฟริกา มีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในทวีป มี GDP (PPP) ต่อประชากรถึง 11,000 เหรียญสหรัฐฯ จากตัวเลขชี้ให้เห็นว่าประชากรในแอฟริกาใต้มีอานาจในการจับจ่ายค่อนข้างสูง ซึ่งมากกว่า GDP (PPP) ของจีนและอินเดีย และมากกว่า GDP (PPP) เฉลี่ยของทวีปแอฟริกาถึง 4 เท่า ทั้งนี้แอฟริกาใต้ยังมีสัดส่วนของประชากรชั้นกลางมากที่สุดในทวีปอีกด้วย
ในส่วนของโครงสร้างพื้นฐาน แอฟริกาใต้มีระบบโครงสร้างพื้นฐานดีที่สุดในทวีป โดยมีโครงข่ายระบบรางรถไฟคิดเป็นร้อยละ 80 ของทั้งทวีป และมีขนาดตลาดหลักทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคด้วย โดยจากงานวิจัยธนาคารโลกจัดให้แอฟริกาใต้เป็นประเทศที่น่าลงทุนอันดับที่ 35 จาก 183 ประเทศทั่วโลก และเป็นอันดับ 2 ของทวีปรองจากมอริเชียส (Mauritius) ในขณะที่ World Economic Forum (WEF) จัดอันดับให้แอฟริกาใต้มีศักยภาพในการแข่งขันของโลก (Global Competitiveness) เป็นอันดับที่ 50 จาก 142 ประเทศทั่วโลก นอกจากนี้ จากการสารวจของ Ernst & Young ใน “Africa Attractiveness Survey” รายงานว่า แอฟริกาใต้สามารถดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศไหลเข้าประเทศได้มากเป็นอันดับ 4 ของทวีปแอฟริกา (Foreign Direct Investment inflows: FDI) ในระหว่างปี 2003 — 2011 แต่หากวัดในแง่ของจานวนโครงการลงทุนจากต่างประเทศ แอฟริกาใต้ยังคงเป็นจุดหมายปลายทางที่ง่ายต่อการลงทุนที่สุด และมีการคาดการณ์ว่าในอีก 5 ปีข้างหน้าจะมีเงินลงทุนจากต่างประเทศไหลเข้ามาประมาณ 10 พันล้านเหรียญสหรัฐฯต่อปี ซึ่งจะเป็นการสร้างงานในประเทศถึง 125,000 ตาแหน่ง ซึ่งมากกว่าไนจีเรียที่คาดว่าจะมีเงินลงทุนจากต่างประเทศไหลเข้ามาประมาณ 23 พันล้านเหรียญสหรัฐฯต่อปี แต่สามารถสร้างงานได้เพียง 95,000 ตาแหน่ง
นอกจากนี้ แอฟริกาใต้ยังเป็นประเทศเดียวในทวีปแอฟริกาที่เป็นสมาชิกของ G 20(3) (Group of Twenty Finance Ministers and Central Bank Governors) ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ และมีบทบาทสาคัญในระบบเศรษฐกิจการเงินของโลก กลุ่ม G20 ก่อตั้งเมื่อปี 1999 ประกอบด้วยประเทศอุตสาหกรรมชั้นนา 8 ประเทศ (G8) ประเทศระบบเศรษฐกิจเกิดใหม่ขนาดใหญ่ 11 ประเทศซึ่งแอฟริกาใต้ถูกจัดอยู่ในกลุ่มนี้ และสหภาพยุโรป (EU) ปัจจุบันประเทศในกลุ่มจี 20 มีขนาดเศรษฐกิจรวมกันมากกว่าร้อยละ 80 ของเศรษฐกิจโลก และมีประชากรรวมกันประมาณ 2 ใน 3 ของโลก
ในช่วงปลายปี 2009 นายโรเบิร์ต วาร์ด (Mr. Robert Ward) ผู้อานวยการฝ่ายคาดการณ์เศรษฐกิจโลกของหน่วยข้อมูลนิตยสาร ดิอีโคโนมิสต์ (EIU) ได้กล่าวถึงประเทศที่มีรูปแบบเศรษฐกิจที่หลากหลาย และมีพลวัตทางเศรษฐกิจ (diverse and dynamic economy) รวมทั้งมีศักยภาพสูงในอนาคต โดยเรียกรวมกันว่ากลุ่ม CIVETS ซึ่งหมายถึง โคลัมเบีย อินโดนีเซีย เวียดนาม อียิปต์ ตุรกี และแอฟริกาใต้
สาเหตุที่ทั้ง 6 ประเทศนี้ได้รับการขนานนามให้เป็นประเทศที่มีศักยภาพสูง เนื่องจากในภาวะที่เศรษฐกิจทั่วโลกถดถอย ประเทศเหล่านี้ยังคงมีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง และเป็นผู้มีบทบาทหลักที่ทาให้เศรษฐกิจในเอเชีย แอฟริกา และละตินอเมริกามีการขยายตัวสูง เกณฑ์ที่นักเศรษฐศาสตร์นามาใช้ในการจัดกลุ่ม ได้แก่ ประเทศเหล่านี้เป็นประเทศกาลังพัฒนาที่มีรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจเหมือนกับกลุ่ม BRICs มีทรัพยากรธรรมชาติที่นามาแปลงเป็นสินค้าทุน พื้นที่ของประเทศมีขนาดใหญ่ มีประชากรคนรุ่นใหม่ที่มีการศึกษาสูงจานวนมาก เช่น อินโดนีเซีย 243 ล้านคน เวียดนาม 87 ล้านคน อียิปต์ 84 ล้านคน ตุรกี 73 ล้านคน แอฟริกาใต้ 50 ล้านคน เป็นต้น ซึ่งการที่แอฟริกาใต้ได้รับการจัดให้อยู่ในกลุ่ม CIVETS กลุ่มประเทศกาลังพัฒนาที่มีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจโลกนี้ แสดงให้เห็นว่าแอฟริกาใต้เป็นประเทศหนึ่งที่มีศักยภาพในเศรษฐกิจระดับโลก
อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันประเทศต่างๆ ในทวีปแอฟริกาต่างก็มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วเช่นกัน เช่น ไนจีเรีย ซึ่งมีจานวนประชากรมากกว่าแอฟริกาใต้ถึงสามเท่า (ประชากรไนจีเรีย 158 ล้านคน ประชากรแอฟริกาใต้ 50 ล้านคน) กาลังเฟื่องฟูด้วยอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจประมาณร้อยละ 7 ต่อปี ซึ่งในอนาคตหากรักษาการขยายตัวในอัตราเช่นนี้จะส่งผลให้ไนจีเรียเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในแอฟริกาภายในปี 2016
หมายเหตุ
(3) G-20 ประกอบไปด้วย อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย บราซิล แคนาดา จีน ฝรั่งเศส เยอรมนี อินเดีย อินโดนีเซีย อิตาลี ญี่ปุ่น เม็กซิโก รัสเซีย ซาอุดีอาระเบีย แอฟริกาใต้ เกาหลีใต้ ตุรกี อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป
นอกจากนี้ กานาและเคนยาก็กาลังแข่งขันกับแอฟริกาใต้ในการเป็นแหล่งที่ตั้งของสานักงานใหญ่ (Headquarters) ของบริษัทข้ามชาติต่างๆ โดยล่าสุดบริษัทข้ามชาติยักษ์ใหญ่ เช่น Coca-Cola Nestle และ Heineken เลือกให้ไนโรบี เมืองหลวงของเคนย่าเป็นศูนย์กลางของ “Sub-Saharan Africa”(4) ตามหลังบริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่าง General Electric (GE) ที่เข้าไปก่อนหน้านั้น โดยมองข้ามประเทศอย่างแอฟริกาใต้ที่ต้องการการลงทุนเพิ่มเติมจากบริษัทเหล่านี้เช่นกัน ซึ่งวันนี้ทิศทางในทวีปแอฟริกากาลังเปลี่ยนไป ประเทศต่างๆที่มีศักยภาพต่างเปิดประเทศรอรับการลงทุนจากนักลงทุนต่างประเทศมากขึ้น รวมทั้ง การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในหลายๆกรอบของทวีปแอฟริกาเองก็เป็นแรงผลักดันให้เศรษฐกิจเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยจะเห็นว่าในปี 1995 ที่ GDP เกือบครึ่งหนึ่งของกลุ่ม Sub- Saharan Africa มาจากแอฟริกาใต้ ในขณะที่ปี 2011 GDP ของแอฟริกาใต้ คิดเป็นร้อยละ 31.97 ของ GDP ในกลุ่ม Sub-Saharan Africa เท่านั้น ถึงแม้ว่าวันนี้ แอฟริกาใต้ยังมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างแข็งแกร่งที่ร้อยละ 5 ต่อปี แต่เป็นไปในลักษณะคงที่ รวมทั้ง อัตราภาษีภายในที่อยู่ในระดับสูง และอัตราค่าจ้างแรงงานที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วในทุกสาขา จึงเป็นสาเหตุให้การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศลดลง และอาจจะส่งผลให้แอฟริกาใต้กลายเป็นประเทศที่มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจน้อยที่สุดประเทศหนึ่งของภูมิภาคในอนาคตได้
จิม โอนีลล์ (Jim O’Neil) ผู้ให้นิยามคาว่า BRICS เป็นคนแรก ได้ให้ความเห็นว่า ในตอนนี้ศักยภาพของแอฟริกาใต้ยังไม่สมควรที่จะเป็นสมาชิกของกลุ่ม “The Next Eleven (N11)” กลุ่มประเทศน้องใหม่ดาวรุ่งที่ฉายแววว่าเศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้จะพัฒนาไปได้ไกลเทียบเคียงกับกลุ่มประเทศ BRICS (The Next BRICS Thing) ได้ภายในศตวรรษที่ 21 และล้วนอยู่ในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) โดยมีคุณสมบัติที่เหมือนกันคือ เป็นประเทศกาลังพัฒนาที่เศรษฐกิจเติบโตสูงและมีประชากรมาก ประกอบไปด้วย บังกลาเทศ อียิปต์ อินโดนีเซีย อิหร่าน เกาหลีใต้ เม็กซิโก ไนจีเรีย ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ ตุรกี และเวียดนาม ทั้งนี้ มีเพียง 2 ประเทศ คือ อียิปต์และไนจีเรียเท่านั้นที่มาจากทวีปแอฟริกา
สาเหตุที่ไม่มีแอฟริกาใต้รวมอยู่ใน N11 เพราะในปัจจุบันแอฟริกาใต้ไม่ใช่ดาวรุ่งเหมือนอดีตที่ผ่านมา ทั้งนี้ กลุ่มองค์กรธุรกิจและลูกจ้างในแอฟริกาใต้ต่างแสดงความกังวลต่อสถานการณ์เศรษฐกิจของแอฟริกาใต้ว่ากาลังจะล้าหลังประเทศอื่นในภูมิภาคอย่าง เคนย่า ไนจีเรีย และอียิปต์ หากสถานการณ์ภายในประเทศเหล่านี้สงบลง โดยในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา แม้ว่าแอฟริกาใต้จะเป็นประเทศที่มีพื้นที่ที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุ (mineral deposits) มากที่สุดในโลก แต่จากการสารวจของแคนาดาเกี่ยวกับอันดับของประเทศที่น่าสนใจและดึงดูดนักลงทุนต่างชาติในการลงทุนทาเหมืองแร่นั้น ผลการสารวจบ่งชี้ว่าแอฟริกาใต้สูญเสียความน่าดึงดูดโดยตกลงมา 17 อันดับ อยู่ในอันดับที่ 54 จาก 93 ประเทศ
หมายเหตุ
(4) กลุ่มประเทศที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาราในทวีปแอฟริกาจานวน 48 ประเทศ มีประชากรรวมกันถึง 574 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่ยากจนและประชาชนมีรายได้เฉลี่ยต่า แต่อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาตินานาชนิด เช่น เพชร ทองคา น้ามัน และก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น
ดังนั้น ความคิดที่ว่าแอฟริกาใต้จะเป็นเพียงประเทศเดียวที่มีศักยภาพในการเป็นประตูสู่ทวีปแอฟริกานั้นอาจไม่ถูกต้องเสมอไป เพราะในปัจจุบันนอกจากแอฟริกาใต้แล้ว ยังมีอีกหลายประเทศในแอฟริกาที่สามารถจะเป็น Gateway ไปสู่ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคแอฟริกาได้ เช่น อียิปต์ เคนยา มอริเชียส หรือไนจีเรีย ซึ่งมีศักยภาพในการลงทุนไม่น้อยไปกว่ากัน ซึ่งเป็นประเด็นท้าทายสาหรับแอฟริกาใต้ที่จะยังรักษาการเป็นแหล่งดึงดูดการลงทุนที่มีขนาดใหญ่และการเป็น Gateway สาหรับทวีปแอฟริกาได้ต่อไปในอนาคตหรือไม่ ?
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เลขที่ 44/100 ถ.นนทบุรี1 ต. บางกระสอ อ. เมือง จ. นนทบุรี 11000 โทรศัพท์ (66) 2507-7444 แฟกซ์ (66) 2547-5630