‘พาณิชย์’ สั่งเร่งแก้ปัญหาอุปสรรคการส่งออกและนาเข้าสินค้าผักผลไม้ของอินโดนีเซียก่อนสูญเสียตลาด

ข่าวทั่วไป Monday November 12, 2012 11:14 —กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กังวลต่อปัญหาอุปสรรคการกีดกันการนาเข้าสินค้าจากประเทศไทยของรัฐบาลอินโดนีเซีย ซึ่งประกาศใช้มาตรการที่ไม่ใช่ภาษี (NTBs) หลายฉบับอย่างต่อเนื่องในช่วงปี 2555 ส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าไทยไปอินโดนีเซียหลายรายการ

นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ได้รับการร้องเรียนจากผู้ส่งออกไทยและผู้นาเข้าของอินโดนีเซียอย่างต่อเนื่องถึงปัญหาอุปสรรคการนาเข้าสินค้าจากประเทศไทย โดยเฉพาะสินค้าผักผลไม้และพืชสวน ข้าวหอมมะลิ สินค้าอาหารสาเร็จรูป ยาและผลิตภัณฑ์ ซึ่งมีมาตรการกีดกันทางการค้า อาทิเช่น (1) การลดจานวนท่าเรือนาเข้าผักผลไม้สดและพืชสวน (ไม่ให้นาเข้าที่ท่าเรือ ณ กรุงจาการ์ตา) ทาให้ต้นทุนการขนส่งสูง และพืชผักผลไม้สดเสียหายเนื่องจากระยะทางการขนส่งไกล (2) กาหนดเงื่อนไขและใช้เวลาในการออกใบอนุญาตนาเข้านาน เช่น ต้องได้รับหนังสือรับรองการนาเข้าจากกระทรวงเกษตรก่อน ซึ่งจะพิจารณาอนุญาตให้ตามความจาเป็น ขึ้นอยู่กับผลผลิตภายในประเทศ นอกจากนี้ ยังกาหนดให้ผู้นาเข้าต้องเป็นเจ้าของห้องเย็น รถขนส่งที่มีการเก็บความเย็น และต้องมีสัญญาขายสินค้าให้แก่ผู้จัดจาหน่ายอย่างน้อย 3 ราย เป็นเวลา 1 ปี (3) การออกใบอนุญาตนาเข้าพืชสวน (เช่น หอมแดง หอมหัวใหญ่ ทุเรียน ลาใย กล้วยไม้) ให้เฉพาะผู้นาเข้าพืชสวนเพื่อการผลิต (Producing Importer: PI) และผู้นาเข้าพืชสวนเพื่อธุรกิจการค้า (Register Importer: RI) เท่านั้น (4) ข้าวหอมมะลิของไทยที่นาเข้าโดยภาคเอกชนอินโดนีเซียยังถูกจัดให้เป็นข้าวชนิดพิเศษ กาหนดให้ขายได้เฉพาะในภัตตาคารและโรงแรมเท่านั้น ไม่สามารถจาหน่ายในซุปเปอร์มาเก็ตได้ และการขออนุญาตนาเข้าต้องใช้เวลานานมาก (5) สินค้าอาหารสาเร็จรูปประเภทอื่น อินโดนีเซียไม่ยอมรับตราฮาลาลของไทย ทาให้ต้องไปขอตรารับรองจากอินโดนีเซียซึ่งใช้เวลานานมากเช่นกัน จนกระทั่งผู้นาเข้าสินค้าไทยหลายรายถอดใจ ชะลอการนาเข้าสินค้าไทยหลายรายการในช่วงปี 2555

นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2555 รัฐบาลอินโดนีเซีย แถลงข่าวว่าการนาเข้าผลไม้จากต่างประเทศลดลงร้อยละ 29.7 นับตั้งแต่อินโดนีเซียประกาศลดจุดการนาเข้าสินค้าผักผลไม้ เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2555 ซึ่งรัฐมนตรีพาณิชย์เห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องเร่งด่วน มิฉะนั้น ไทยจะสูญเสียตลาดส่งออกสินค้าไทยและสินค้าเกษตรที่สาคัญและมีขนาดใหญ่ จึงได้มอบหมายให้อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ (นางพิรมล เจริญเผ่า) เร่งเจรจาแก้ไขปัญหาอุปสรรคดังกล่าว

นางพิรมล เจริญเผ่า อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า ได้เร่งให้คณะผู้แทนไทยประจาองค์การการค้าโลก (WTO) ณ นครเจนีวา หยิบยกเรื่องนี้หารือกับประเทศอื่นๆ ในเวที WTO ซึ่งได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน เช่น จีน สหรัฐฯ แคนาดา ออสเตรเลีย อินเดีย เวียดนาม และมาเลเซีย เป็นต้น และเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2555 ได้มีการประชุมหารือกับนายอิมาน ปัมบักโย อธิบดีกรมความร่วมมือการค้าระหว่างประเทศของอินโดนีเซียและทีมงาน ณ กรุงจาการ์ตา เพื่อแจ้งข้อกังวลและขอให้รัฐบาลอินโดนีเซียเร่งพิจารณาผ่อนปรนเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆและได้รับทราบเป็นการภายในว่าประเทศคู่ค้าของอินโดนีเซียเกือบทุกประเทศ กาลังเร่งเจรจาหาทางแก้ไขเช่นเดียวกับไทย ซึ่งจากการหารือกับอธิบดีกรมความร่วมมือการค้าระหว่างประเทศ สรุปได้ว่า จะช่วยเร่งการจัดทาความตกลงยอมรับการตรวจรับรองร่วมกัน (MRA) กับประเทศไทยให้เร็วที่สุด เพื่อให้สินค้าผักผลไม้ได้ผ่านเข้าได้ทุกจุดและไม่ต้องตรวจสารตกค้างที่ด่าน โดยกระทรวงพาณิชย์ไทยจะร่วมกับอินโดนีเซียจัดประชุมสัมมนา (Workshop)ช่วงเดือนพฤศจิกายน — ธันวาคม ศกนี้ เพื่อชี้แจงกฎระเบียบ พิธีการปฏิบัติเพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการขอใบอนุญาตต่างๆ ให้แก่ผู้นาเข้าสินค้าไทย สาหรับการแก้ไขปัญหาระยะยาว นายอิมานฯ อธิบดีกรมความร่วมมือการค้าระหว่างประเทศของอินโดนีเซียรับที่จะไปเร่งรัดติดตามเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาต่อไป

ทั้งนี้ อินโดนีเซียเป็นตลาดส่งออกผักและผลไม้อันดับที่ 4 ของไทย รองจาก จีน ฮ่องกง และญี่ปุ่น การส่งออกมีมูลค่าเกือบร้อยละ 10 ของการส่งออกผักและผลไม้ไทยทั้งหมด ในปี 2554 การส่งออกมีมูลค่าถึง 113 ล้านเหรียญสหรัฐ

ในการนี้ นายบุญทรงฯ แจ้งว่า ขณะนี้ปัญหาอุปสรรค NTBs ได้เพิ่มมากขึ้น จึงได้มอบหมายให้อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศเป็นหัวหน้าคณะในการดาเนินการแก้ไขปัญหาอุปสรรคการค้าระหว่างประเทศที่ไม่ใช่ภาษี (NTBs) โดยบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของกระทรวงพาณิชย์ร่วมกับผู้แทนภาคเอกชนในรูปของหน่วยปฏิบัติการพิเศษ (Special Task Force) ลงพื้นที่และประชุมร่วมกับคู่ค้าเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาอุปสรรค ทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีซึ่งมีจานวนเพิ่มมากขึ้นทุกวัน โดยขอให้ผู้ประกอบการไทยที่มีปัญหาการค้าระหว่างประเทศสามารถนาเรื่องร้องเรียนผ่านศูนย์ AEC ของกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ และที่ศูนย์ AEC ของกระทรวงพาณิชย์ ณสานักงานพาณิชย์จังหวัด (สพจ.) ทุกแห่งทั่วประเทศ โดยจะมีคณะทางาน STF เป็นผู้ดาเนินการเร่งรัดการแก้ไขปัญหาต่างๆ ซึ่งจะส่งผลทาให้สามารถเพิ่มปริมาณและมูลค่าการค้าระหว่างประเทศของไทยให้มากขึ้นอีกด้วย

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เลขที่ 44/100 ถ.นนทบุรี1 ต. บางกระสอ อ. เมือง จ. นนทบุรี 11000 โทรศัพท์ (66) 2507-7444 แฟกซ์ (66) 2547-5630


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ