โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 2555 นี้ เป็นปีที่อาเซียนและจีนมีการลดภาษีระหว่างกันมากยิ่งขึ้น โดยภาษีสินค้าปกติในกลุ่มที่ 2 (Normal track 2) ของจีน และประเทศอาเซียน 6 (ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน สิงคโปร์) ได้ลดภาษีเป็น 0 แล้ว นอกจากนี้ รายการสินค้าอ่อนไหวของจีนและประเทศอาเซียน 6 ประเทศรวมทั้งไทย ได้ลดภาษีในรายการดังกล่าวลงเหลือไม่เกินร้อยละ 20 แล้ว ซึ่งสินค้าในกลุ่มดังกล่าวของจีนได้แก่ สินค้าประเภท เมล็ดพันธ์ กาแฟ ข้าว ถั่ว หอม กระเทียม เป็นต้น ในขณะที่ไทยลดภาษีสินค้าจาพวก สิ่งทอ ข้าวสาลี น้าผลไม้ โพลีเอสเตอร์ รถยนต์ ยาง รองเท้ากีฬา ผ้าไหม บุหรี่ ลงเป็นต้น สาหรับกัมพูชา ลาว พม่าและเวียดนาม จะลดภาษีสินค้าในรายการอ่อนไหวลงเหลือไม่เกินร้อยละ 20 ในปี 2558 และลดภาษีสินค้ารายการปกติกลุ่มที่ 2 ลงในปี 2561 ทั้งนี้ ผู้นาเข้าและผู้ส่งออกสามารถตรวจสอบรายการสินค้าที่นามาลดภาษีเพิ่มเติมได้ที่ www.thaifta.com หรือ www.customs.go.th
นายบุณยฤทธิ์ กล่าวว่า ที่ประชุมยังอยู่ระหว่างการเจรจาต่อเนื่องในด้านการปรับปรุงความตกลงเพื่อช่วยอานวยความสะดวกทางการค้าระหว่างกันให้คล่องตัวมากยิ่งขึ้น โดยทั้งอาเซียนและจีนอยู่ระหว่างเจรจาข้อบทด้านพิธีการศุลกากรและการอานวยความสะดวกทางการค้า และการเจรจาทบทวนกฎว่าด้วยถิ่นกาเนิดสินค้าภายใต้ความ ตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน โดยขอให้จีนพิจารณาปรับเกณฑ์ถิ่นกาเนิดสินค้าจากกฎถิ่นกาเนิดสะสมในภูมิภาคร้อยละ 40 เพียงอย่างเดียว (RVC 40% Single Rule) เป็นแบบกฎทางเลือกโดยสามารถเลือกเกณฑ์สะสมในภูมิภาคร้อยละ 40 หรือเกณฑ์การเปลี่ยนพิกัดสินค้าในระดับ 4 หลัก (RVC 40% หรือ CTH และ PSR as Derogation) เพื่อให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีการผลิตในปัจจุบัน และมีความทันสมัยทัดเทียมความตกลงที่อาเซียนทากับคู่เจรจาอื่นๆ ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสให้แก่ผู้ประกอบการในการใช้สิทธิประโยชน์จากความตกลงอาเซียน-จีน ทั้งนี้ คาดว่าทั้งสองฝ่ายจะสรุปการเจรจาได้ภายในปี 2556
นอกจากนี้ ในการประชุมครั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายหารือและเตรียมความพร้อมการลงนามพิธีสารสาคัญ 2 ฉบับในช่วงการประชุมผู้นาอาเซียน-จีน ในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2555 ซึ่งได้แก่ (1) พิธีสารเพื่อผนวกข้อบทอุปสรรคเทคนิคต่อการค้า และมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช เข้าไปในความตกลงด้านการค้าสินค้า ภายใต้กรอบความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน เพื่อให้ความตกลงฯ มีความครอบคลุมมากยิ่งขึ้น สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ในด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช รวมถึงจัดการกฎระเบียบทางเทคนิคด้านการค้าให้อยู่บนมาตรฐานเดียวกัน อันจะเป็นประโยชน์ต่อภาคเอกชนของทั้งสองฝ่าย และ (2) พิธีสารเพื่อแก้ไขกรอบความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน เพื่อให้คณะกรรมการร่วมกากับการดาเนินงานภายใต้ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน มีสถานะทางกฎหมายอย่างครบถ้วน มีอานาจหน้าที่ครอบคลุมทั้งด้านเจรจาการค้าและการปฎิบัติตามพันธกรณี (Negotiation and Implementation) รวมถึงสามารถตั้งคณะคณะอนุกรรมการหรือคณะทางานในสาขาเฉพาะต่างๆ เพื่ออานวยความสะดวกในการทางานของคณะกรรมการร่วมฯ ซึ่งกลไกดังกล่าวนี้ถือเป็นกลไกสาคัญของไทยในการทางานที่มุ่งตอบสนองต่อภาคธุรกิจ ในการขยายการค้าและการลงทุนระหว่างกัน เนื่องจากเป็นเวทีที่ประเทศไทย ทาหน้าที่ในฐานะประธานฝ่ายอาเซียนร่วมกับฝ่ายจีน ทั้งนี้ พิธีสารทั้งสองฉบับจะมีผลใช้บังคับในวันที่ 1 มกราคม 2556
นอกจากนั้น ที่ประชุมยังได้หารือประเด็นสาคัญในเรื่องการอนุมัติเงินทุนในโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจภายใต้ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน ซึ่งที่ผ่านมามีปัญหาเรื่องความล่าช้าในการอนุมัติเงินทุนเพื่อดาเนินโครงการ ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ จีนแจ้งว่าอยู่ระหว่างกระบวนการขออนุมัติเงินทุนจากรัฐบาลจีนและน่าจะมีข่าวดีในไม่ช้านี้ ทาให้โครงการต่างๆ ที่เสนอเข้ามาภายใต้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอาเซียน-จีน น่าจะสามารถดาเนินการได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
พร้อมกันนี้ ไทยยังได้นาเสนอ Concept โครงการภายใต้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอีกจานวน 2 โครงการได้แก่ (1) โครงการ “ASEAN-China Capacity Building Workshop on Rules and Regulations under Trade in Services” ซึ่งเป็นโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ข้อมูลด้านกฎระเบียบและข้อบังคับในอุตสาหกรรมการค้าบริการ ระหว่างประเทศจีนและสมาชิกอาเซียนที่มีความสนใจ เพื่อเป็นการเสริมสร้างศักยภาพระหว่างกันในเรื่องการเข้าถึงตลาดการค้าบริการ และ (2) โครงการ Best Practice on Good Agricultural Production (GAP) เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างอาเซียนและจีน และรับทราบแนวทางการพัฒนามาตรฐานการผลิตและตรวจสอบสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออกของจีนและประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ ซึ่งที่ประชุมให้ความสนใจและเห็นว่าโครงการทั้งสองจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อทั้งสองฝ่าย กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศจึงจะเร่งเสนอโครงการดังกล่าวเพื่อพิจารณาอนุมัติเงินทุนอย่างเป็นทางการต่อไป เพื่อให้สามารถดาเนินโครงการได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ เป็นประโยชน์ต่อภาคเอกชนไทยในการเข้าตลาดจีนทั้งด้านสินค้าเกษตรและบริการต่อไป
นายบุณยฤทธิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า จีนนับเป็นประเทศที่มีความสาคัญกับทั้งอาเซียนและไทย โดยเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของอาเซียนและตลาดส่งออกอันดับ 2 ของอาเซียน ในขณะที่อาเซียนเป็นแหล่งนาเข้าอันดับ 1 ของจีน และปีนี้นับเป็นปีที่ครบรอบ 10 ปีที่อาเซียนและจีนได้ลงนามกรอบความตกลงการค้าเสรีระหว่างกันในเดือนพฤศจิกายน 2545 และนับจากปี 2546 เป็นต้นมา มูลค่าการค้าระหว่างอาเซียน-จีนขยายตัวกว่า 5 เท่า โดยขยายตัวจาก 59.6 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2546 เป็น 288.39 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2555 (มกราคม-กันยายน) และเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2554 มูลค่าการค้าอาเซียน-จีน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 7 สาหรับสัดส่วนการส่งออกโดยใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน (มกราคม-พฤษภาคม 2555) อยู่ที่ประมาณ ร้อยละ 83.51
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เลขที่ 44/100 ถ.นนทบุรี1 ต. บางกระสอ อ. เมือง จ. นนทบุรี 11000 โทรศัพท์ (66) 2507-7444 แฟกซ์ (66) 2547-5630