นางพิรมล เจริญเผ่า อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า สมาพันธ์ธุรกิจเขตคันไซ เป็นการรวมกลุ่มของบริษัทหรือองค์กรธุรกิจ อาทิ ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าชั้นนาของโลก ธุรกิจการนาเข้าส่งออก ธุรกิจก่อสร้าง มีสัดส่วนผลิตภัณฑ์มวลรวมประมาณร้อยละ 20 ของญี่ปุ่นรองจากกรุงโตเกียว จึงมีบทบาทสาคัญในการให้ข้อเสนอแนะด้านนโยบายเศรษฐกิจต่อรัฐบาลญี่ปุ่น
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ใช้โอกาสนี้สร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนเกี่ยวกับนโยบายจัดการน้าของไทยซึ่งรัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณวงเงิน 350,000 ล้านบาท เพื่อป้องกันอุทกภัยน้าท่วม โดยสมาพันธ์ฯ แจ้งว่า หลังเกิดอุทกภัยน้าท่วมปลายปี 2554 ไม่มีบริษัทญี่ปุ่นถอนการลงทุนจากไทยเลย แสดงถึงความเชื่อมั่นที่นักธุรกิจญี่ปุ่นมีต่อไทยและยังคงรักษาฐานการผลิตในไทย นอกจากนี้ ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในญี่ปุ่น ทาให้มีการย้ายฐานการผลิตมาในไทย ซึ่งไทยก็มีความพร้อมทั้งทางด้านสถานที่ตั้ง ทรัพยากร ฝีมือแรงงาน โลจิสติกส์ และห่วงโซ่อุปทานเพื่อรองรับการลงทุนจากญี่ปุ่นและประเทศอื่นๆด้วย การลงทุนดังกล่าวจะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ การจ้างงาน การลงทุน และการกระจายรายได้ทั้งในระดับ SME และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
ทั้งนี้ นักธุรกิจญี่ปุ่นแสดงความสนใจชักชวนไทยเข้าไปลงทุนในเมียนมาร์ แต่มีความกังวลว่าโครงสร้างพื้นฐานยังเป็นจุดอ่อนที่ต้องการการพัฒนา ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ยินดีให้ความร่วมมือเข้าไปร่วมลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานในเมียนมาร์ อีกทั้งภาคเอกชนไทยได้รับสัมปทานการพัฒนาท่าเรือน้าลึกทวาย ซึ่งคาดว่าเมื่อดาเนินการแล้วเสร็จจะช่วยร่นระยะทางในการขนส่งสินค้าไปยังประเทศต่างๆ ถือเป็นประตูการค้าไปสู่ภูมิภาค และช่วยขยายการค้าการลงทุนไปยังอาเซียนที่กาลังจะรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558
“รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้มอบหมายให้กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด และพิจารณาหาแนวทางความร่วมมือระหว่างไทยและญี่ปุ่น เพื่อขยายการค้าและการลงทุนในเมียนมาร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนด้านสาธารณูปโภคพื้นฐาน ซึ่งกรมฯ จะหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและภาคเอกชนในเรื่องนี้ต่อไป” นางพิรมล กล่าว
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เลขที่ 44/100 ถ.นนทบุรี1 ต. บางกระสอ อ. เมือง จ. นนทบุรี 11000 โทรศัพท์ (66) 2507-7444 แฟกซ์ (66) 2547-5630